แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กฏหมาย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กฏหมาย แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2568

การป้องกันการพังทลายของดินในงานขุด (Cave-In Prevention)


ดินถล่มทับคนงาน ไม่ใช่ว่าในต่างประเทศเขาไม่เคยเกิด แต่พอเกิดขึ้นแล้ว เขาหาทางแก้ไขและป้องกัน

ทางหนึ่งก็ด้วยการออกและบังคับใช้กฏหมายอย่างเข้มงวด ประโยคเมื่อกี้ มีสองคำ คือ ออกกฏหมาย และบังคับใช้อย่างเข้มงวด 

ประเทศนี้ล่ะ ออกกฏหมายมั้ย 

อย่างน้อยๆ มีกฏกระทรวงสองสามฉบับที่พูดถึงเรื่องนี้ ได้แก่

กฏกระทรวงว่าด้วยเรื่องที่อับอากาศ ที่พูดถึง บ่อ หลุม ว่าเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่อับอากาศ และพูดถึง สภาพอันตรายที่ลูกจ้างอาจจะถูกวัสดุถล่มทับจนจมลงไป นายจ้างบางราย (ที่มีจิตสำนึกก็จะตีความร่องลึก บ่อ หลุม เป็นที่อับอากาศ แล้วกำหนดให้ต้องมีการขออนุญาตกัน) ส่วนนายจ้างที่ไม่มี ก็จะไม่ตีความเอาแบบนั้นเพราะมันยุ่งยากและสิ้นเปลือง

อีกฉบับ ก็เป็นกฏกระทรวงเกี่ยวกับงานก่อสร้าง ที่พูดถึงเรื่องงานเจาะ งานขุด ไว้ในหมวดที่ 2 เนื้อหาในหมวดนี้เขียนไว้หยาบๆ ไล่ไปตั้งแต่ว่า ต้องมีการเคลื่อนย้ายสาธารณูปโภคในละแวกที่จะขุดออกไปก่อนเพื่อกันอันตราย แต่ถ้าย้ายไม่ได้ก็ต้องมีมาตรการป้องกัน 

พูดถึงราวกันตก ป้ายเตือนอันตรายและสัญญานแสงสีส้มเห็นได้เวลากลางคืน ถ้ารูหลุมนั้นลูกจ้างอาจจะพลัดตกได้ก็ให้หาอะไรมาปิดเสีย ให้แข็งแรงพอและทำราวกั้น ข้อนี้เป็นมาตรฐานปลายเปิด ตามอัธยาศัยและจิตศรัทธาของผู้ปฏิบัติ เคยมีคนเดินเหยียบแผ่นไม้อัดที่ปิดรูลึกกว่า 5 เมตร หล่นลงไปตายระหว่างวิ่งข้ามถนนลัดเข้าไปในเกาะกลางที่บริษัทโทรคมนาคมทำค้างไว้ แต่เขาไม่ใช่ลูกจ้าง กฏกระทรวงข้อนี้เลยเอาไปใช้ไม่ถนัดนัก 

ข้อ 25 และ 26 เนื้อหาค่อยใกล้เคียงมาตรฐานที่ชาติอื่นเขาทำกัน เช่น ต้องจัดให้มีปลอกเหล็ก แผ่นเหล็ก ค้ำยัน หรืออุปกรณ์อื่น กันดินทลาย และต้องให้วิศวกรตรวจสอบ ไอ้ที่จะได้เห็น การ Shoring, Shielding มาตรฐานเรื่องการกองขี้ดิน การตรวจเนื้อดินและออกแบบการขุด ไม่มี บอกแล้วว่ามันเป็นกฏหมายหยาบๆ 

ข้อ 28 พูดเรื่องขั้นตอนการลงไปในรูในหลุมที่ลึกเกินกว่า 2 เมตร คล้ายๆเข้าที่อับอากาศ แต่หยาบๆ เน้นให้ผู้ควบคุมงานต้องมีความรู้เรื่องงานดิน และช่วยชีวิต เป่าปากกดหัวใจเป็น เน้นเก็บกู้ซะมากกว่า บอกแล้วว่ากฏหมายหยาบๆ 

ข้อ 29 ห้ามลูกจ้างลงหลุมที่กว้างไม่เกิน 75 ซม. ลึกเกินสองเมตร ก็ประมาณความกว้างบุ้งกี๋รถแบคโฮ งานถนัดของการเดินท่อเลย ห้ามได้ไง กฏหมายหยาบๆ 

งานขุด Trenching, Excavation ในมาตรฐานประเทศที่เขาเจริญแล้ว ละเอียดกว่านี้มาก เขาพูดถึง

ให้มีผู้ชำนาญการ (Competent Person) ที่รู้เรื่องประเภทของดิน A,B,C,และรู้วิธิป้องกันดินถล่มด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น Sloping, Benching, Shoring กันการถล่ม หรือที่เรียกว่า Cave-In ผมเอามาแปะไว้ เผื่อมีใครจะสนใจอ่าน แต่ไม่อยากอ่านก็ไม่เป็นไร ไม่ว่ากัน เอาเป็นว่า ดินขนาดแค่ลูกบาศก์เมตร น้ำหนักก็พอๆกับรถปิกอัพคันหนึ่ง ถ้าถล่มทับใครเข้า ขุดกันนานเลย เซฟตี้เมืองไทย วัฒนธรรมความปลอดภัยแบบไทยๆ บอกตรงๆ หยาบมาก 






 

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ไม่ต้องหามไกล

 ไฟ 22 KV ดูดลูกจ้าง


เหตุการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2568 นาย จ ชื่อจริงเขาปกปิดไว้ อาจจะชื่อ จ่องเมี๊ยะ นายจ่วงเมย หรืออาจจะชื่อนายจำรัส จำรูญ  เป็นคนเมียนมา อายุ 29 ปี เป็นลูกน้องนาย ข ชื่อจริงไม่ทราบ รู้แต่ว่าเป็นคนเมียนมาเหมือนกัน ทั้งคู่เป็นลูกจ้างบริษัทชื่อ A อาจจะย่อมาจาก Abdominal Construction หรือ เอไอเอฟ ไฟเบอร์ อะไรสักอย่าง เขาไม่บอกก็อย่าไปรู้มันเลย มันคงเป็นความลับกระมัง 
บริษัท A ได้รับว่าจ้างจากบริษัท B อาจจะเป็น บิ๊กบราเธอร์ คอนสตรัคชั่น เขาปกปิดเอาไว้ก็อย่าไปใส่ใจมันเลย 

นายจ่องเมี๊ยะ พนักงานตำแหน่งปีนเสา อันนี้ก็เป็นตำแหน่งเดียวกันกับผมสมัยเป็นเด็กเครื่องไฟ ปีนไปติดดอกลำโพงมั่ง ติดไฟมั่ง นายจ่องเมี๊ยะ ได้รับคำสั่งจากนาย ขอ ชื่อจริงไม่รู้ ผมจะเรียกว่านายขะหมิบละกัน จะได้ไม่หงุดหงิด นายขะหมิบเขาเป็นหัวหน้าว่างั้น สั่งให้จ่องเมี๊ยะขึ้นไปเพื่อตรวจสอบสัญญานโทรคมนาคมที่อุปรกรณ์ ที่ห้อยอยู่แถวๆสายแรงต่ำนั่น ที่เห็นเป็นพวงระย้า เขาใช้เหล็กฉาก ยาว 1 เมตร ที่ปลายติดอุปกรณ์ตรวจวัดความแรงของระบบโทรคมนาคม เป็นเข็มทิศ บริเวณที่นายจ่องเมี๊ยะขึ้นไปตามรูปมันเป็นหลังคากันสาดของร้านสะดวกก็ซื้อ ไม่สะดวกก็ไม่ซื้อ ใกล้ๆกันเป็นหม้อแปลง และเหนือขึ้นไปไม่ห่างนัก เป็นสายไฟ 22 KV 

นายจ่องเมี๊ยะคงถึงคราวเคราะห์ เพราะอ่านดูปรากฏว่า ทั้งบริษัท เอและบี ล้วนแต่มีระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยแบบหาที่ตำหนิไม่เจอ ระหว่างกำลังยักแย่ยักยันจ่อเหล็กฉากติดเข็มทิศขึ้นไป มันก็ดันไปโดนสายไฟแรงสูง เสียงดังเปรี๊ยะ จ่องเมี๊ยะกระตุกไม่กี่ที ไฟแลบแปรบปร๊าบ เสียชีวิตบนหลังคา ปากประตูทางเข้าวัด สร้างความตกใจสุดขีดให้แก่นายขะหมิบหัวหน้างานที่ยืนคุมงานอยู่เบื้องล่าง 

เอาล่ะ มาวิเคาะห์กันว่า ในแง่กฏหมายความปลอดภัย ใครผิด ใครถูก ดีนะ ใกล้วัด ไม่ต้องหามไปไกล 


วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

คนงานตกรูเสาเข็ม

 


รูเสาเข็ม มันเป็นที่อับอากาศ ที่มีสภาพอันตรายที่ลูกจ้างอาจจะตกลงไปติดค้าง (Entrapment Hazards) ถูกดิน หรือน้ำทับถม ซ้ำยังมีสภาพบรรยากาศอันตราย (Hazardous Atmosphere) ที่ระดับออกซิเจนไม่พอ 

หมวด 2 มาตรการความปลอดภัย ข้อ 10  ให้นำยจ้ำงจัดให้มีสิ่งปิดกั้นที่สำมำรถป้องกันมิให้บุคคลใดเข้ำหรือตกลงไปในที่อับอำกำศ ที่มีลักษณะเป็นช่อง โพรง หลุม ถังเปิด หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ำยกัน

กฏกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๒

ชัดเจน ว่านายจ้างไม่ได้ดำเนินการตามที่กฏกระทรวงกำหนด  ถือว่านายจ้างรายนี้ละเมิดมาตรา 8 ของ พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งระบุบทลงโทษไว้ตามมาตรา 53 มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 400,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 

มิหนำซ้ำ หากพบว่านายจ้าง ไม่ดำเนินการตามมาตรา 14 ของ พรบ. ฉบับเดียวกัน ก็มีโทษปรับอีก 50,000 บาท 

และหากปรากฏว่าวานนี้นายจ้างไม่ได้ดำเนินการตามมาตรา 32 นายจ้างผ้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๓๒ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนบรรดาผู้จัดการโครการ หัวหน้าหัวนายทั้งหลายหากพบว่าละเลยไม่ดำเนินการ ก็มีสิทธิ์โดนโทษเท่าๆกับนายจ้าง ตามมาตรา 69 

งานนี้ ถ้า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานขยัน ก็จะพบข้อบกพร่องอีกหลายข้อตาม  กฎกระทรวง ๒ มีนาคม ๒๕๖๔ กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๔ อีกหลายมาตราเลยทีเดียว ทำไปทำมาก็จะผิดมาตรา 8 ตาม พรบ.ปี 2554 เข้าอีก ก็จะโดนอีกกระทง เป็นจำคุก 2 ปี ปรับ 800,000 เข้าไปแล้วนั่น 

หน้าที่ดำเนินการเอาผิดกับนายจ้าง เป็นของ พนักงานตรวจความปลอดภัย ที่ต้องสอบสวน ถ้าเขาไม่ตรวจไม่สอบ หงุมหงิมงุบงิบ หรือทำท่าขึงขังดึ๋งดั๋งสองสามวัน พอข่าวเงียบ เรื่องก็จบ หรือไม่ก็เลี่ยงไปปรับพอเป็นพิธิ ด้วยมาตรากระจอกๆ อย่าง มาตรา 13 มาตรา 16 พวกนี้ 

งานนี้ คงมะงุมมะงาหรากันตั้งแต่มาตรา 4 แบบปัดกันไปโยนกันมาว่าลูกจ้างชะตาขาดคนนี้เป็นของใคร เผลอๆ เขาก็ตายเปล่า ตามกฏหมายคุ้มครองแรงงาน กฏหมายกองทุนเงินทดแทนและอื่นๆ จับอะไรดมไม่ได้ 

เศร้าใจ เสียใจ สลดใจ กับมาตรฐานความปลอดภัยในบ้านเรา คุณว่ามั้ย (ที่ยกมาตรานั้นมาตรานี้มา ผมรับประกันได้พวกคุณไม่เข้าใจหรอก  ยังดีใจอยู่บ้างที่เราได้ผู้ว่า กทม.ดี ท่านไม่ละเลย 

ส่วนกระทรวงแรงงาน ผมว่าท่านหงุมหงิมมาตลอดตั้งแต่ เหตุซ้ำๆบนพระรามสอง มาถึงตึกถล่มของ สตง.ท่านสงวนท่าทีเกินไปทั้งๆที่เป็นพระเอกได้ แต่ไม่ทำ 


วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2568

อันตรายของเหี้ย

 


คนไทยด่าคนจัญไรว่า ไอ้เหี้ย อีเหี้ย 

ถ้าเป็นคนสุพรรณบ้านผมก็จะต้องลากเสียงยาววววว ตามความเจ็บแค้น ยิ่งยาว ไอ้คนนั้นมันต้องเหี้ยหนักมากกกกกก
บ้านผมไม่ใกล้คลองใกล้แม่น้ำ แถมยังกันดารแร้นแค้น เลยไม่ค่อยเจอเหี้ยตัวจริงเป็นๆ แต่คนเหี้ยๆนี่เจอบ่อยเลย ยิ่งพอมาทำงาน โอย เหี้ยเยอะมากกกกกก บางคนหน้าตาดี สวย แต่จิตใจเหี้ยแท้ 

เดือนก่อน เราเกิดไอเดียจะหาไก่มาเลี้ยง นัยว่าเป็นงานอดิเรกและได้ไข่มากินในครอบครัว ไปซื้อลูกเจี๊ยบมาสี่ตัว ตั้งชื่อให้ว่า กู เด ตา มา ตามหนังการ์ตูนในเน็ทฟลิกซ์ 
อุตส่าห์ซื้อไม้ ซื้อหลังคาใสๆ ซื้อตาข่ายมาทำกรง กลัว กูเดตามาจะอึดอัด กรงเบ้อเริ่ม ตามทักษะด้านช่างไม้ที่มีอยู่น้อยนิด กรงที่ทำเสร็จ ห่างไกลจากจินตนาการ ตาข่ายที่ติดไว้ เอาเข้าจริงๆ มันกันอะไรแทบจะไม่ได้ เอาวะ อยู่ๆไปก่อน ใช้ๆไปก่อน คำนี้เหี้ยในที่ทำงานชอบพูดดดดด เพื่อจะได้ไม่ต้องแก้ไขอะไรให้ปลอดภัย ใช่เลย รู้ทั้งรู้ว่าไม่ปลอดภัย แต่ทำไงได้ กูเหนื่อยจนลมจับ เอาแค่นั้นก่อน 

และแล้ว เช้าวันหนึ่ง หลังจากที่ กูเดตามา ย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านใหม่ ราคา สองพันล้าน มีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครันสมถานะ  คืนนั้นผมได้ยินเสียงลูกเจี๊ยบร้อง คล้ายๆว่าจะมีอะไรอันตราย แต่ผมกำลังหลับๆตื่นๆ พวกมันคงไม่ชินกั้บตึกใหม่ ไม่เป็นไรหรอก คิดอย่างที่พวกเหี้ยๆชอบคิดดดดด เวลาที่เห็นคนงานกำลังมีอันตราย 

กู หายตัวไปอย่างลึกลับ  

ทิ้งความสะพรึงไว้เบื้องหลัง มันต้องมีอะไร เข้าไปในกรง ผู้ต้องหาคนแรก น่าจะเป็นแมวจรจัดที่ตุหรัดตุเหร่อยู่แถวนั้น หรือไม่ก็อาจจะเป็นงู ข้อนี้เป็นการสันนิษฐานแบบข้างๆคูๆว่ากรงที่กูทำนี่ราคาสองพันล้าน คงไม่ถล่มง่ายๆ แม้ฮวงจุ้ยจะไม่ค่อดีนัก แมวน่าจะเข้าได้แต่ออกยาก ที่สำคัญถ้าเป็นแมว ก็น่าจะทิ้งร่องรอยอย่างขนไก่หล่นกระจายไว้ให้เห็น ต้องเป็นงูแน่ๆ มันอาจจะได้กลิ่นไก่ เพราะกรงตั้งอยู่บนฝาท่อระบายน้ำ ฮวงจุ้ยไม่ดี มันคงได้กลิ่นแล้วขึ้นมางาบกู แล้วอนตรธานหายไป โดยไม่มีร่องรอย ในอินเตอร์เน็ทก็แนะว่าน่าจะเป็นงู 

จากนั้น ไก่เหลือสามตัว ในใจก็ปลงๆว่า ชีวิตไก่น้อย ช่างสั้นนัก เข้าไปในตึกราคาสองพันล้านได้ไม่กี่วัน โถ อนิจา เหี้ยก็แบบนี้แหละ คิดได้เวลามีคนตาย 

จัดการอุดรู เสริมตาข่าย เรื่องถูกส่งให้ดีไอเอส -Do It Stupidly ไปสอบสวนกันต่อ 

แล้วเช้าวันต่อมา ก็ต้องทะลึ่งลงจากเตียง เพราะมีเหี้ยน้อย เข้าไปอยู่ในกรงไก่ มันกำลังตกใจ ตาลีตาเหลือก หาทางออก ไอ้เหี้ยเอ๋ย เข้าทางไหน เสือกไม่จำ แต่เหี้ยก็คือเหี้ย มันหาทางออกเจอ เพราะงบประมาณที่ทุ่มลงไปเสริมความแข็งแรงหนนี้ ยังไม่มากพอ เหี้ยตะกายออกทางรูโหว่ มันกระโจนหายไปอย่างไร้ร่องรอย ก่อนไปมันหันมามอง ราวกับจะบอกว่า เค้าไม่ผิดนะ เค้าบริสุทธ์ ไอ้เหี้ยยยยย

เอาล่ะ มาดูคุณสมบัติของเหี้ย

ข้อแรก พวกมันจะคิดเสมอว่ามันฉลาด เก่ง ดี และบริสุทธ์ ไม่มีใครสุจริตเท่ากูแล้ว ในประเทศนี้
ข้อสอง พวกมันเจ้าเล่ห์ 
ข้อสาม เวลาพวกมันลงมือ หาใครจับได้ไล่มันทัน มันไวและเหี้ยมาก 
ข้อสี่ มันกินไม่เลือกและกินไม่เหลือ
ข้อห้า มันไม่กระโตกกระตาก มันเงียบมาก 
ข้อห้ามันมีทางหนีทีไล่ 

ในทุกวงการ ถ้ามีเหี้ยสักตัวสองตัว หลุดเข้าไป ความบรรลัยจะมาเยือน ยิ่งถ้าเหี้ยรวมฝูง มีนายๆใหญ่ๆคุ้มกะบาล พวกมันจะอันตรายมากเลย จริงไม่จริง 

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2567

พระรามสยอง ปลาร้าสยิว

 ข่าวสะเทือนใจกลางปีนี้ก็คงหนีไม่พ้นรถบัสนรกที่ย่างสดนักเรียนไปกว่า 20 ชีวิต และเขย่าขวัญกันด้วยข่าว Launcher Gantry ถล่มที่ถนนพระรามสยอง ต่อด้วยข่าวบ่อปลาร้าสยิวที่คร่าชีวิตไป 5 ศพ 😐


มีคนถามขึ้นดังๆว่า ก็ในเมื่อมี จป.วิชาชีพเป็นแสนคน จป.หัวหน้างานอีกหลายแสนคน จป.บริหารอีกมากมาย ทำไมยังเกิดอุบัติเหตุไม่หยุด 

บ้างก็ข้อนขอดว่า มีกฏหมา(ย)มากมายจากแต่ละกระทรวง ทบวง กรม นี่ไม่นับรวมบรรดาประกาศ คำสั่งที่ออกโดยคณะปฏิวัติ ก็แล้วทำไมไม่ดีขึ้นบ้างเลย

มีผู้รู้ กูรู้ กูไม่รู้แต่แกล้งรู้ กูปีนเสาก็เลยรู้ กูโดนกระโถนฟาดก็เลยรู้  และบรรดาดอกเตอร์ ดอกแต๋ว มากมาย ทำไมเราไม่สามารถหาข้อยุติแล้วเอาไปแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

มีอะไรที่คล้ายคลึงกันและเป็นแกนกลางของปัญหาเหล่านั้น 

ถ้าเป็นเมื่อสมัยปี 1930 Herbert William Hienrich ก็จะบอกว่า ความยากจนไง ประเทศที่ยากจน คนยากจน เวลาทำอะไรแต่ละอย่าง มันก็ไม่คิดอะไรหรอก เพราะงานมันต้องรีบ ต้องเร่ง ต้องเสร็จ ไม่งั้นไม่ได้ค่าจ้าง มีอะไรก็ใช้ไปก่อน จะไปเอาอะไรหรูหราหมาเห่า เขาไม่ซื้อมาให้ใช้หรอก เรื่องความตระหนัก ไม่ต้องถามหา ก็มันจน จะเอาเงินที่ไหนไปเรียนรู้ ดูได้อย่างดีก็ติ๊กต่อก คำว่าอย่าทำอย่างนี้ ไม่มีหรอก ไม่ทำแล้วใครจะทำ  ส่วนพวกเซฟตี้จะไปหือไปอืออะไรได้ มีงานให้ทำก็ดีตายห่าแล้ว นายสั่งก็ต้องทำ ส่วนไอ้พวกเซฟตี้ซ่าๆก็ไปนั่งเขียนบล็อกอยู่นั่นไง เขาไล่ออก เพราะพูดมาก เฮ่อๆๆๆ วงจรโง่จนเจ็บ มันไม่ใช่แค่คน บริษัทก็เหมือนกัน ของขายไม่ดีจะเอาเงิน เอาทรัพยากรที่ไหนมาใส่ลงไปในเรื่องความปลอดภัย มันก็ต้องกำไรก่อนเรื่องแรก ส่วนระดับชาติ ก็โกง กิน คอรัปชั่นกันทุกระดับ อย่าให้ต้องสาธยาย อย่างกรณีรถทัวร์นรกนั่น ป่านนี้ จับคนโกงได้กี่คน ส่วนเรื่องเครนถล่ม คงไม่ต้องสาวไปไกลๆ จับตรงไหนก็เจอ รึใครจะเถียง 

ถ้าเป็นสมัยปี 1996 Frank E.Bird ก็บอกว่า มันเพราะระบบการจัดการไม่ดี ไม่มีมาตรการที่เพียงพอ ไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน หรือถ้ามี ก็ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน อะไรๆก็เลย ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสักเรื่อง แล้วก็ลงเอยด้วยอุบัติเหตุไง เออๆๆๆ ฟังดูเข้าท่า ประเทศจนๆ มักจะมีกฏหมายมากมายจนคนออกกฏหมาย คนใช้กฏหมายและคนเดินดินงงไปตามๆกัน แต่กฏหมายที่มีส่วนใหญ่ สักแต่ว่ามี ต้องมี เพราะดันไปเซ็นตกลงในองค์กรระดับโลกมา เลยต้องตามน้ำ ไม่งั้นโลกเขาไม่นับญาติด้วย พอมีกฏหมายมากๆเข้า มีหน่วยงานมากๆเข้าคราวนี้งงครับ เพราะไม่รู้ใครต้องทำอะไร ไม่มีเจ้าภาพ มีแต่เจ้านายตัดริบิ้นเสร็จ ไม่มีคนทำงาน มีแต่ภารโรง คราวนี้ก็ต้องบูรณาการ อีคำนี้ถ้าหมายถึง Integration ผมก็เห็นด้วย แต่ถ้าเป็นแค่คำสวยๆในการประกาศภาระกิจในเว็ปไซท์ของกระทรวง ผมก็ว่า มันไม่มีประโยชน์อะไรเลย 

ปี 2000 ดอกเตอร์ Jame Reason ก็อธิบายว่าความห่วยแตกทั้งหลายมันก็เหมือนรูที่เกิดจากฟองอากาศในแผ่นชีส คนในประเทศจนๆไม่ค่อยได้กินชีสก็นึกไม่ค่อยออก Swiss Cheese Model อธิบายความล้มเหลวไว้สองประเภท ได้แก่ Latent Failure หรือความล้มเหลวที่ซ่อนเร้นมาเนิ่นนาน กับความล้มเหลวแบบ Active Failure เป็นความล้มเหลวที่เกิดขึ้นแล้วตูมตามเลย จริงๆแล้วทั้งสามคนพูดไว้ไม่ผิดเลย ความเห็นของ H.W. Heinrich กับ James Reason คล้ายกันตรงเรื่องคน แต่ต่างกันก็ตรงที่เพิ่มเติมว่าความห่วยแตกนั้นมันไม่ได้มาจากคนงานอย่างเดียว องค์กรนี่ก็เป็นต้นเหตุสำคัญ 

อย่างกรณีรถบัสย่างสดเด็กๆ มันก็เป็นแค่ฝีที่แตกออกมาก่อน ถ้าไม่เกิดเหตุนี้ก็อาจจะได้เห็นกรณีรถขนบรรดาพวก อบต. อบจ. ที่กำลังเดินทางท่องเที่ยวด้วยขบวนรถบัสอย่างคึกคัก เพราะจะสิ้นปีแล้วต้องผลาญงบประมาณให้หมด ตอนนี้ถนนจะคลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยววัยเก๋า ไปกันทีเป็นขบวนยาวเหยียด เดี๋ยวสิ้นปีแล้ว พอเดือนกุมภาก็เลือกตั้งกันใหม่ บางจังหวัดก็มีเรื่องยิงกันตูมตามตายคาบั้น ป่านนี้ยังหาคนยิงไม่เจอ ถ้าเด็กเหล่านั้นไม่ตายก่อน ก็คงได้เห็นทัวร์นรกอีกหลายคันเลยทีเดียว สงสารพวกหนูจัง 

กรณีบ่อปลาร้านั่น ก็เป็นความห่วยของกฏหมายที่มีแต่ไม่บังคับใช้อย่างรัดกุม สถานประกอบกิจการแบบนี้จะว่าเป็นโรงงานรึเปล่า กรมที่เขาดูแลโรงงานอาจจะส่ายหัวดิกๆเกาหัวยิกๆ ส่วนกรมที่เขาดูแลลูกจ้างก็อาจจะไม่อยากออกตัวแรง กลัวงานเข้า ส่วนกลไกที่วางไว้อย่างเช่น จป.ระดับต่างๆ อย่าง จป.หัวหน้างาน จป.บริหาร จป.เทคนิค อย่างหลังนี่ไม่มีแน่เพราะคนงานไม่ถึงเกณฑ์ ต่อให้ถึงเกณฑ์ ใครจะบอก ส่วนกฏกระทรวงที่อับอากาศ อย่าไปหวังว่าจะเอาไทำ ขนาดเกิดเรื่องแล้วยังไม่มีการลงมืออะไรเลย 

เอาเป็นว่า ปัญหาใหญ่ๆของความปลอดภัยในประเทศจนๆ เอาทฤษฎีไหนมาอธิบาย มันก็น้ำตาจะไหลทุกอัน เพราะมันใช่ไปหมด อย่างกรณีเครนล้ม เครนหัก เครนหลุด ขนาดมีกฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานเรื่องเครน เรื่องการตรวจ การออกแบบ การติดตั้ง การใช้งาน มีกฏกระทรวงสี่ผู้ ผมเพิ่มให้อีกผู้ คือผู้ต้องหา ยังล้มกันรายวัน คุณว่ามันเกิดจากอะไร ผีผลัก ไม่มีมาตรฐาน หรืออะไร ใครก็ได้ช่วยตอบที

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567

อิด' ส อับ ทู ยู

 


นานๆจะเห็นผู้คนมีอารมย์ร่วมกันแบบนี้ซักที

ตั้งแต่ลุงเข้ามาปฎิวัติรัฐประหาร หยุดปรากฎการณ์กีฬาสี แบบที่ว่า ถ้ามีคนใส่เสื้อแดงหลงไปในดงคนใส่เสื้อเหลือง ก็มีสิทธิ์ถูกตีถูกระทืบตาย แบบถวายชีวิตกันเลย ในทางกลับกัน ก็ทำนองเดียวกัน การปรากฏกายของลุงในวันนั้น ทำให้เพลง เราจะทำตามสัญญา ขอเวลาอีกไม่นาน ก็กระหึ่มขึ้นมาแทนเพลงที่เคยดังในเวทีเสื้อแดง เสื้อเหลืองและลายธงชาติ 

แปดปีผ่านไป คนก็เริ่มมีอารมย์ร่วมกันอีกหน คราวนี้เป็นเสียงตะโกน ไอ เฮีย ทู ตอนนี้ลุงแกไปสู่สุขคติแล้ว ไปสบายแล้ว ไม่ต้องมาบ่นเหนื่อยออกทีวี  พอเลือกตั้งเสร็จ พรรคคนรุ่นใหม่ชนะถล่มทะลาย ลุ้นกันอยู่หลายเดือน สุดท้ายเจอบรรดา สอวอ ออกมาขวางว่าถ้าไอ้หล่อนี่เป็นนายก เราไม่โหวตให้ อารมย์ที่มีต่อสอวอ ก็กระหึ่มอีกที เสียงบ่น ไอ้ควาย ไอ้ควายกระหึ่มไปทั่ว ไม่รู้เขาหมายถึงใคร แต่มันเป็นอารมย์ 

ในที่สุด พรรคเพื่อใครก็ได้จัดตั้งรัดทะบาน แบบทุกลักทุเล คนที่เคยหล่อ แบบหมอคนน่าน กลายเป็น หอมออา... เสียคนไปเลย เพราะแกไปออกหน้าแทนนาย  นั่นก็เป็นผลจากอารย์ร่วม ของคนเคยรัก แล้วต่อมา ลุกทักกี้ก็ได้กลับบ้านมานอนหลบอยู่ชั้นสิบสี่ กระหึ่มอีก รัดถะบวมลุงนิดบริหารเก่งจนคนเริ่มร้องระงมหาลุงตุ่ย มันก็เป็นอารมย์ของคนที่จะอดตาย เฮ่อๆๆๆ 

แล้วเสียงของผู้คนที่มีอารมย์ร่วมกันก็กระหึ่ม แต่คราวนี้มันเป็นอารมย์แบบว่า เรื่องของมึงเลย เอาที่มึงสบายใจ อยากทำอะไรทำเลย บางคนก็ต่อคำสร้อยให้ด้วย เช่น ไอ้ควาย อะไรทำนองนี้ มันเป็นอารมย์เบื่อหน่าย เพราะเห็นทำกันแบบนี้มาไม่รู้กี่หน ขนาดคนไม่ได้ทำยังเบื่อ ผมพูดถึงการยุบพรรคการเมือง ไม่ได้อะไรมาก อิด'ส อับทูยู เลย 

เรื่องความปลอดภัยก็ทำนองเดียวกัน บางทีคนเป็นเซฟตี้เสนอแนะอะไรไป บรรดาเจ้า นายก็ไม่ค่อยจะฟัง บางคนไม่ฟังปล่าว เถียงด้วยว่า เราอยู่กัยมาสามสิบปีไม่เห็นเคยมีอะไร อันนี้ไม่นับไอ้สองคนที่ตกหลังคาคอหักตายเมื่อสองปีก่อน 

คนพวกนี้ บางทีก็ต้องบอกว่า เอาที่มึงสบายใจเลย กูไม่ได้ไปติดคุกติดตารางกับมึง ไม่อยากทำก็ไม่ต้องทำ โรงงานก็ของมึง มึงอยากปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำป่าสัก ก็น้ำมึง เอาที่สบายใจ 

คนงานบางคนก็ดื้อด้านมาก ห้ามอะไร สอนอะไรก็ไม่ค่อยฟัง เถียงด้วย โหทำอะไรทีต้องตัดไฟต้องล๊อกต้องแท่ก เสียเวลาตายห่า พอถามว่าไอ้ที่เสียเวลาเนี่ยมันเวลาของใคร มีสักนาทีมั้ยที่เป็นเวลามึง มันเป็นเวลาของบริษัททั้งนั้น เขาต้องการให้มึงทำให้ปลอดภัยก่อน แหมฮึดฮัด กระฟึ่ดกระฟัด เจอไอ้พวกแบบนี้ก็ต้องบอกว่า เอาเลย เอาที่มึงสบายใจ ไอ้ควาย 

ที่ผ่านมาสองสามเดือนนี้ มีแต่ข่าวปลาหมอคางดำ ข่าวสานรัดถะทำมะนวย ข่าวยุบพรรค ข่าวปลดนายก ข่าว สอวอ  ข่าวปริญญาปลอม 

เอาที่ยูสบายใจเลย พวกเราเข้าใจ 












วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2567

เรื่องกากๆ

กากแคดเมี่ยม ถูกขุดขึ้นมาจากหลุม แล้วส่งไปซ่อนไว้ในโกดังต่างๆหลายแห่ง พอเป็นข่าวขึ้นมา คราวนี้ก็ออกมาแก้เกี้ยว กันพัลวัน คนที่เกี่ยวข้องตรงๆ ก็หนีไม่พ้น ก็คือกรมโรงงาน เพราะตัวเองเป็นคนกำกับดูแล เรื่องการจดทะเบียน การอนุญาต โรงงานกำจัดกาก และเรื่อง การแจ้ง รายงาน การมีขึ้นของบรรดาของเสีย วัสดุไม่ใช้แล้ว รวมไปจนถึงบรรดาขยะอันตราย แถมมีระบบที่ต้องกรอกข้อมูลด้วยระบบออนไลน์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า แหล่งกำเนิดของเสียเหล่านั้น ถูกขนส่งไปยังสถานที่บำบัดที่ได้รับอนุญาต โดยผู้รับจ้างขนส่งที่ได้รับอนุญาต ระบบ Manifest แบบนี้นับได้ว่าถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้มีการลักลอบขน นำไปกำจัดแบบมั่วๆ แต่คำถามที่ทำเอาติดคอกันไปตามๆกันคือ อยู่ๆ มีคนไปขุดบ่อฝังกลบ กากของเสียอันตราย ใส่ถุงบิ๊กแบ๊ค ขนไปไว้ในโกดัง ทั้งใน กทม.และหัวเมือง มันเกิดขึ้นได้อย่างไร 

เรื่องนี้ ไม่ต้องการคำตอบอะไรทั้งสิ้น ก็ขนาดโรงงาน ปล่อยน้ำที่ไม่ได้บำบัดออกไปนอกโรงงานทุกเดือน อุตสาหกรรมจังหวัดเข้าไปตรวจ ก็ยังไม่เห็นจะทำอะไร ทั้งๆที่ตัวเองมีประกาศกรมโรงงาน สามารถปรับผู้ก่อมลพิษได้วันละสองแสน ยังไม่ทำอะไร เรื่องนี้ใครข้องใจว่า ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ หลังไมค์เข้ามา จะให้ดูรายงานที่เคยทำเรื่องสอบสวนผู้บริหารระดับสูงของโรงงานชื่อดัง จะได้ประจานกันไปว่า เรื่องกากๆ คนกากๆ มีอยู่ทั่วไปหมด ฝังเท่าไหร่ก็ไม่หมด เหมือนผีดิบ เดี๋ยวมันก็ลุกออกมาเดินได้ 


กลับมาที่กากแคดเมี่ยม คนที่ก่อให้เกิดกากชนิดนี้ เขาก็รู้ ว่าแคดเมี่ยมมีอันตรายต่อร่างกาย เขาก็ส่งไปกำจัดที่บ่อฝังกลบ 

ส่วนไอ้เจ้าของบ่อฝังกลบนี่แหละ ที่ต้องตอบคำถาม ว่าอยู่ดีๆ ทำไมถึงเปิดป่าช้า ขุดเอาซากซอมบี้ที่นอนอยู่ในหลุม ใส่ถุงบิ๊กแบ๊ค ขนใส่รถบรรทุก เอาไปไว้ในโกดังที่ปลายทาง เออ ตอบมาว่าเพราะอะไร

ส่วนไอ้เจ้าของโกดังปลายทาง ทำไมอยู่ดีๆ เปิดโกดังเอาถุงใส่ซากซอมบี้มาเก็บไว้ 

ถ้าไอ้สองคนนี่มันซัดทอดว่า ที่ขุด ที่ขนมาเนี่ย เจ้าหน้าที่เขาอนุญาตแล้ว ก็ต้องถามว่าใครอนุญาต เพราะผมก็เคยเจอ ตนที่อนุญาตให้โรงไฟฟ้าแถวๆมาบตาพุด ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ยังไม่เสร็จ ปล่อยน้ำที่ไม่ได้บำบัด ฟองฟ่อด ลงทะเลหน้าตาเฉย ผมก็เคยไปเจอและถามมาแล้วเหมือนกัน เคสนี้ มันก็ต้องมีคนอนุญาตแหละ อยู่ๆจะขุดซากขึ้นมา มันก็คงไม่ง่ายละม้าง 

อีกคนหนึ่ง โบกรถเหยงๆอยู่ข้างถนน เห็นขนอะไรมา ไม่เรียกขอดูอะไรบ้างเลยรึ ขนขยะอันตราย ป้งป้ายไม่ติด หรือจะเถียงว่า ไอ้โบกน่ะก็โบกแหละ แต่มันมีใบผ่านทาง ก็ต้องให้ไป นี่ก็รอกำนันนกเขาออกคุกมาจะได้ไปกินเลี้ยงดันเหมือนเคย แหะๆๆๆๆ พูดลำบาก วัวเคยค้าหมาเคยขี่ 

เอาหละ ถ้าไอ้คนที่เขาอนุญาตมันชิ่ง ติ๊ดชึ่ง ออกตัวล้อฟรีว่าไม่ได้อนุญาต ก็เท่ากับว่า ไอ้เจ้าของป่าช้า กับเจ้าของโกดังก็รับไปเต็มๆ จะหลบท่าไหนก็โดนอยู่ดี 

เรื่องอลเวง ที่เกิดจากการเอาหูไปนี่ เอาอี๋ไปนู่น มันก็ลงเอยแบบนี้แหละ อย่าให้ฉะอย่าให้แฉ จิ้มไปตรงไหนก็เยิ้มไปหมด เหมือนผีเน่า 

ไงล่ะเมิง นี่ขนาดกากแคดเมี่ยมน่ะ ถ้าเป็นกากกัมมันตภาพรังสีล่ะก็งานเลย ว่าแต่ว่าเห็นรึ่มๆจะเอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ใช่รึ ค่าไฟจะได้ถูกลงอีกสักสองสลึง 

วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

บ่าวร้อนเสียเหลือเกิน ภาคต่อ

กระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกาสั่งปรับบริษัทอลาบามาคอนสตัคชั่น ข้อหาปล่อยปละให้คนงานฉาบปูนอายุ 33 ปีเกิดอาการป่วยจากความร้อน เพ้อ อาเจียน หมดสติและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ผลการสอบสวนพบว่าคนงานดังกล่าว ทำงานในวันที่ระดับค่าดัชนีความร้อน (Heat Index) สูงถึง 107 ดีกรีและระดับความชื้นสัมพัทธ์ 85 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นยังพบว่ามีคนงานอีก 18 คนที่ถูกให้ทำงานในสภาพเดียวกันเป็นเวลา 10 ชั่วโมงต่อกะเลยทีเดียว อ่านจากข้อมูลต้นฉบับเอาเอง 

เรื่องคนงานอยู่ๆก็ตาย ในหน้าร้อนในเมืองกะลาแลนด์นี่ ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีให้เห็นกั้นทุกปี แต่ขอประทานโทษ ไม่มีการสอบสวนดำเนินการเอาผิดใดๆกับนายจ้าง บ่าวร้อนเหลือเกินแล้วเจ้านาย บางคนอาจจะส่ายหัวว่าแหม มันจะอารายกันนักหนา ร้อนก็ไปหลบร่มดี๊ เขาจ้างมาทำงาน ไม่มีใครร้อนถึงตายหรอก แหมลูกจ้างสมัยนี้มันสำอางค์เหลือเกิ้น 

ประเทศกะลาแลนด์เนี่ย เอาค่าระดับความร้อนที่วัดแบบ WBGT -Wet Bulb Globe Temperature มากำหนดเป็นมาตรฐานเพื่อไม่ให้ลูกจ้างที่ทำงานในลักษณะงานแบบ เบา งานปานกลาง และงานหนัก ต้องเจอกับความร้อนที่เกินกว่าที่กฏหมายกำหนด จนเกิดอันตรายขึ้น ตรงนี้ผมต้องชื่นชมความพยายามของหน่วยงานที่ออกกฏหมายว่า มีความก้าวหน้ามากขึ้น เพราะ WBGT เอาปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้เกิดอันตรายจากความร้อนมาประกอบ เช่น อุณหภูมิจากแสงแดดที่วัดกลางแจ้ง ความชื้นในอากาศ ความเร็วลม หรือการระบายอากาศ เรียกว่า ถ้างานยิ่งหนัก ก็ยิ่งต้องระวังไม่ให้ทำงานในที่ที่อุณหภูมิเกินกว่าที่กำหนด ไม่งั้น ต้องหามส่งหมอ หรือไม่ก็ฝากสับปะเหร่อไปจัดการ 



เอาล่ะ กฏหมายก็มีแล้ว จป.บริหาร จป.หัวหน้างาน จป.เทคหน่งเทคนิค ไปจนระดับวิชาชีพก็มีแล้ว แต่ยังมีลูกจ้างบ่นบอกว่า ผมเพลียจังเลย แล้วล้มชักกะแด่กๆ เพราะความร้อน แบบนี้ จะให้เรียกว่าอะไร ถูกของเขมรรึไง ก่อนจะหามเขาไปเผา ลองถามดูบ้างมั้ย ทำไมเขาถึงตาย 

วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567

สลดแล้ว สลดอีก สลดกันต่อไป

 




ขอหักมุมจากเรื่องฮาฮา มาเป็นเรื่องสลดหดเหี่ยวกันหน่อย ว่าเวลาที่คนงาน บาดเจ็บ ล้มตายกันแต่ละที เหตุการณ์ต่อจากนั้นมันเป็นยังไง ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร

ตัวอย่าง พอเกิดเหตุ คนงานลงไปตายในบ่อบำบัดน้ำเสีย คนงานที่มาประสบเหตุก็จะตกอกตกใจ โวยวาย บางคนก็กระโจนลงไปกะว่าจะช่วยเพื่อน บางคนก็วิ่งไปบอก ไปโทรหาหัวหน้า หัวหน้าก็โทรหา ผู้จัดการ ผู้จัดการโทรหาผู้จัดการ ผู้จัดการโทรหาผู้จัดการ จังหวะนี้ อาจจะมีคนที่พอมีสติโทรหารถพยาบาล โทรไม่ติด โทรติดไม่มีคนรับ มีคนรับพูดไม่รู้เรื่อง เอาเป็นว่า รถหวอคันแรกที่มาถึงก็มักจะเป็น กู้ภัย พระเอกตัวจริงของไทย กู้ภัยก็รีบลงไปช่วยกู้ศพขึ้นมา ตำรวจมาพอดีเลย อีกสักพักหมอก็มา ชันสูตรพลิกศพ ที่ถูกแบกขึ้นมาแล้ว ตามกฏหมาย มาตรา 34 พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย 2554 นายจ้าง ซึ่งก็มักจะเป็นผู้บริหารใหญ่ๆโตๆ ยศระดับ ผอ. ผจ. ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนนายจ้าง หรือถ้าเป็นโรงงานเล็กๆ ก็เจ้าของโรงงานนั่นแหละ ต้องแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันทีที่ทราบ โดยโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิธีอื่นใดที่มีรายละเอียดพอสมควร และให้แจ้งรายละเอียดและสาเหตุ เป็นหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกจ้างเสียชีวิต  ถ้าไม่แจ้ง มีสิทธิ์โดนปรับ ห้าหมื่นบาทกันเลยเชียว ส่วนว่าแจ้งไปแล้ว พี่เค้าจะมาเลย หรือไม่มา นั่นมันก็ขึ้นอยู่กับพี่เค้าแหละ ส่วนใหญ่ ถ้าไม่เป็นข่าวครึกโครม พี่เค้าก็จะไม่ค่อยมาหรอก มาทีนึงพี่ๆเค้าก็จะยังไม่ว่าอะไรมาก ส่วนใหญ่ก็จะแค่บอกว่า จ่อๆ หรือเล็งๆ เอาผิดนายจ้าง ไม่รู้ว่าที่เล็งๆจ่อๆ มีลั่นไกไปมั่งรึยัง 



อย่างกรณีเครนถล่ม แถวพระรามสาม ก็จ่อเอาผิดนายจ้าง เหมือนกัน 

ตัดฉากกลับมาที่ เจ้าพนักงานสอบสวน เขาก็มาสอบๆไป ส่วนใหญ่ ก็ประเด็นไว้กว้างๆก่อน ว่า เป็นอุบัติเหตุ หรือ ความประมาท  พี่ๆพนักงานสอบสวนเค้าไม่ค่อยมีอะไรสลับซับซ้อน เค้าเล็งมาที่ 

มาตรา 291 "ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท"
องค์ประกอบความผิด (1) ผู้ใด (2) กระทำโดยประการใด (3) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย (4) โดยประมาท (องค์ประกอบภายใน (ไม่ต้องมีเจตนา))


การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำที่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังทั้งๆที่สามารถใช้ความระมัดระวังเช่นนั้นได้ ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 59 วรรคสี่ "กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่"

สอบคนงานที่ทำงานแถวๆนั้น สอบหัวหน้างาน สอบเจ้าของโรงงาน สอบไปสอบมา ก็อาจจะแจ้งข้อหา คนงานด้วยกันที่บังเอิ้น รอดตายมาได้ หรือไม่ก็หัวหน้างาน รึไม่ก็ไฟร์แมน ส่วนบรรดานายจ้างรอดแน่นอน ก็หลักฐานมันไปไม่ถึง ไม่เข้าองค์ประกอบ 

ส่วน เจ้าหน้าที่ตรวจแรงงาน ถ้าจะหยิบเอา มาตรา ๘ ให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวง มาเลียบๆเคียงๆ ถ้าไม่กล้าถาม ก็อ้อมๆแอ้ม ถามก็ได้ อย่างเช่น กรณีคนงานลงไปตายในบ่อบำบัดน้ำเสียนั้น เขาลงไปทำอะไรกัน ลงไปนั่งเล่นเหรอ ถ้านายจ้างจะบอกว่าไม่รู้ คำถามต่อมาก็ลองอ้อมแอ้มถามดูก็ได้ว่า ทางเข้าทางออก ไม่ได้ปิดกันไม่ให้มีคนลงไปโดยพละการดอกรึ ลองหยิบ กฏกระทรวงเรื่องที่อับอากาศมาไล่นิ้วดู มีกี่ข้อที่นายจ้างไม่ได้ทำตาม แล้วแบบนี้ ถือว่านายจ้างละเมิด มาตรา 8 วรรคแรก ใน พรบ.ความปลอดภัยมั้ย ถ้าใช่ ก็มีบทลงโทษในมาตรา 53 หรือถ้าสอบไปสอบมา การณ์ปรากฏว่า มี ผจ. ผอ.นั่นแหละเป็นคนสั่ง บังคับให้ลงไป แถมรั้นอีกว่า ลงไปล้างแป๊บเดียวเอง จป.ท้วงว่ามันคือที่อับอากาศ ก็เถียงตาปูดตาปลิ้นว่าไม่ใช่ รูเบ้อเร่อเบ้อเถร มันจะอับได้ยังไง แบบนี้ ก็มาตรา 69 เลยครับ 

มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้น เกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของบุคคลใด หรือเกิดจากการไม่สั่งการ หรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ ที่ต้องกระทําของกรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย

เชื่อผมมั้ย ว่าส่วนใหญ่ ลูกจ้างตายไปแต่ละที ไม่เคยมีนายจ้างโดนลงดาบด้วย พรบ.ความปลอดภัยเลย ฆ่าตัดตอนกันด้วย มาตรา 291 เร็ว ครบ จบง่ายดี ส่วนลูกจ้าง ยังไงก็ไปร้อง กองทุนเงินทดแทนเอาละกัน สลดแล้ว สลดอีก สลดกันต่อไป 





วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กระทำการโดยประมาท ใครทำไว้วะ


อยากได้แบบนี้มั่งจัง


 

กฎหมาย บิล ซี-45

ประเทศแคนาดา ออกกฎหมายแก้ไขกฎหมายอาญา และประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2004 สิบปีมาแล้ว กฎหมายฉบับนี้กำหนดความรับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพในสถานประกอบการ และกำหนดโทษขั้นรุนแรงในการละเมิดกฎหมายจนเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต กฏหมายฉบับนี้ยังเอาผิดกับองค์กร รวมถึงระดับกลุ่มบริษัท ผู้กระทำการแทน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลการทำงาน

กฎหมายนี้เพิ่มข้อความลงไปในหมวดใหม่ ของกฎหมายอาญาเลย เป็นหมวด 217.1 ใจความว่า

บุคคลใดๆที่ทำ หรือมีหน้าที่ ในการกำกับดูแลถึงวิธีการทำงาน หรือทำหน้าที่ใดๆของบุคคล มีหน้าที่ตามกฏหมายที่จะต้องรับผิดชอบขั้นตอนต่างๆที่สมเหตุสมผลในการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากการทำงานนั้นต่อบุคคลนั้นหรือบุคคลอื่นๆ

ข้อ 22.1 และ 22.2 ในกฎหมายอาญา ให้เอาผิดกับองค์กร และผู้ทำการแทน สำหรับการละเลยและการฝ่าฝืนอื่นๆ

ทำไมแคนาดาออกกฎหมายในหมวดนี้

กฎหมายฉบับนี้เรียกอีกอย่างว่า เวสต์เทรย์ บิล สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์เหมืองถ่านหินเวสต์เทรย์ที่เมือง โนวาสโคเทียระเบิดเมื่อปี 1992 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นคนงานทั้งหมด 26 ราย เหตุการระเบิดเกิดจากการติดไฟของแก็สมีเธน ซึ่งแม้ว่าจะมีการร้องเรียนจากคนงาน สหภาพแรงงาน และหน่วยงานราชการก่อนหน้านั้น แต่บริษัทไม่ดำเนินการอะไรอย่างดีพอ จนเกิดเหตุโศกนาฎกรรมขึ้นในที่สุด

ตำรวจและหน่วยราชการจับมือใครมาดมไม่ได้สักคน ได้แต่ยืนกุมกระดือตาปริบๆ เหมือนเมืองไทยเลย กฎหมายเพียบ แต่ใช้ไม่ได้เลยซักฉบับ "นี่ก็เห็นร่ำๆจะเลือกนายก เลือกรัฐมนตรีโดยตรง กูว่า ไม่ต้องเลือกเลยดีกว่า อยู่กันไปแบบนี้แหละ เบื่อก็ลุกมาประท้วงกันที ปฏิวัติกันทีนึง มันส์ดีออก (ผีผู้ชุมนุมเข้าสิงครับ ผมไม่ได้พูดเองนะ)"

ที่สหรัฐอเมริกา มีการฟ้องในข้อหา Wrongful Death แปลเป็นไทยก็คือ ผิดเต็มๆจนเป็นเหตุให้มีผู้ถึงแก่ความตาย ก็คือว่า สามารถฟ้องร้องเอาผิดกับคนที่ทำให้บุคคลอันเป็นที่รักของผู้ฟ้องถึงแก่ความตาย เนื่องมาจากการปล่อยปละละเลย หรือ Negligence การฟ้องร้องค่าเสียหายยังสามารถไล่เบี้ยไปถึงบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ที่รับผิดชอบ และหน่วยงานที่รับผิดชอบสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายจนถึงตาย อย่างเช่น ไอ้พวกขุดถนน ไม่ตั้งป้าย ไม่กั้นรั้ว ไม่ติดไฟ ไม่ให้สัญญาน แล้วรถวิ่งตกลงไปตาย แบบนี้ ถ้าเป็นที่อเมริกา สามารถฟ้องเอาผิดกับคนที่เกี่ยวข้อง ยาวไปจนถึงกรมทางหลวงที่รับผิดชอบงานนั้น เรียกว่าฟ้องกันให้รวยไปข้างหนึ่ง บางคนตาลุกโพลง แหม ช่างดีเสียนี่กระไร ไอ้แก่กับกิ๊กมัน ขับรถไปตกหลุมตายดั่งใจแล้วยังฟ้องได้ตังค์ เรียกค่าเสียหายจากการตายของบุคคลอันเป็นที่รักด้วย (อุแหวะ) การฟ้องแบบนี้ยังรวมไปถึง การที่คนงานเสียชีวิต จากการกระทำหรือไม่กระทำของนายจ้าง แหมฟังดูแล้ว อยากให้เมืองไทยมีแบบนี้มั่งจัง

ยกตัวอย่าง คดี เมื่อปี 2010 ศาลสั่งให้บริษัทแห่งหนึ่งจ่ายค่าเสียหายแก่เด็กสองคนที่ต้องสูญเสียพ่อไปในการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน เป็นวงเงินถึง 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย ที่ค่าเงินบาท ด่อกแด่ก 30 บาทต่อดอลลาร์ เท่ากับ 48 ล้านบาท ไงล่ะ

จะว่าไปแล้ว กฎหมายไทยก็มีนะ ไอ้ข้อความทำนองนี้ ใน พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 แต่โทษที่กำหนด อย่างมากก็แค่ติดคุกหนึ่งปี ปรับไม่เกิน 400,000 บาท ส่วนใหญ่ ก็ไม่เคยถึงคนใหญ่ๆโตๆในบริษัท อย่างมากก็ โฟร์แมน ซวยทั้งขึ้นทั้งล่อง  งานก็จะเอาเร็ว เซฟตี้ก็ไม่ให้งบให้เวลา

คนงานโดนเครื่องตัดนิ้งกุด เหลือสามนิ้ว ไอ้นี่ ถ้าไปเดินเกะกะแถวอนุสาวรีย์ มีหวังโดนข้อหากระทำการอันก่อความไม่สงบ พกพาสามนิ้วไปในที่สาธารณะ คสช.รับไม่ได้ โดยเอาไปปรับทัศนคติแน่

 

 

กฏหมายอาญาของบ้านเรานะเรอะ เฮอะ (กว่าจะตีความว่ากระทำการโดยประมาท เป็นเหตุให้มีผู้ถึงแก่ชีวิต แล้วฟ้องกันจบ กว่าจะไปต่อคดีแพ่ง คดีมันล้มตั้งแต่ขยับตูดออกจากโรงพักแล้ว