แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Hearing loss แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Hearing loss แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

Noise Reduction Rate


ห.อูหู ห.อีอี๋


 

นี่เป็นบทความแรกที่ยอมลงทุนเป็นนายแบบเอง ดูจากด้านข้าง เฉพาะตรงใบหู เรานี่ก็หล่อไม่เบาเลยนี่หว่า ส่วนเอียร์ปลั๊กดำๆนั่น ก็ของเรา พกจนดำ

 

เพื่อนร่วมงานเก่า และค่อนข้างแก่ โทรมาถามข้อสอบ จอปอเทคนิค ว่าวิธีคำนวณหาค่าความดังของเสียงหลังจากที่สวมใส่อุปกรณ์ลดเสียงแล้ว ทำยังไง... แถมเล่าต่อว่าพวกที่ไปเรียนจอปอ ตกวิชานี้กันระนาว..

ฉบับนี้ ก็เลยจะมาสาธยายวิชาการป้องกันการสูญเสียการได้ยินแบ่งปันความรู้กันฟัง

 

ก่อนอื่น ถามพวก จอปอก่อนเลย คำถามแรก เวลาที่คุณวัดเสียงที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่นเสียงจากเครื่องจักร คุณวัดด้วยเครื่องวัดที่บอกค่าความดังของเสียงเป็นสเกลอะไร สเกล เอ (dB(A))  หรือสเกล ซี dB (C).. บางคนทำหน้าหมาสงสัย เคยเห็นหมาทำหน้าสงสัยมั๊ย น่านแหละ แบบนั้นแหละ ที่กำลังทำนั่นแหละ ไม่เชื่อลองส่องกระจกดู

ถามต่อ ก่อนคุณจะซื้อปลั๊กอุดหู หรือซื้อที่ครอบหูมาให้พนักงานใช้ คุณใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือก บางคนบอก เลือกจากเซลล์ที่มาขายพีพีอีครับ ถ้าขาวสวยหมวยอึ๋ม ผมไม่ซื้อครับ เพราะผมชอบกระเทย บางคนบอกก็ดูจากระดับเสียงที่ได้จากการตรวจวัดครับ อือแล้วไง ฟังดูเข้าที ถ้าเสียงดังเกินหรือใกล้เคียงมาตรฐานที่กฎหมา-กำหนดก็หามาตรการลดเสียงครับ พูดถึงตรงนี้ จอปอทำหน้าหมาเศร้า...น้ำตาคลอ ... เรื่องจะลดเสียงด้วยวิธีทางวิศวกรรม ฝันไปเถอะครับ บริษัทผมให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยครับ แต่ไม่มีงบ...ว่าแล้วก็ปล่อยโฮออกมาอย่างสุดจะกลั้น...แล้วสาธยายต่อพร้อมสะอื้นฮักๆ ผมก็เลยต้องซื้อเอียร์ปลั๊กให้พนักงานใส่ครับ... น่ะ กูว่าแล้วเชียว แล้วอีตอนจะซื้อเอียร์ปลั๊กเนี่ย เคยลองคำนวณดูมั๊ยว่า เอียร์ปลั๊กรุ่นที่เซลล์กระเทยมาเสนอนั้น สามารถลดเสียงลงได้จนอยู่ในระดับปลอดภัย หรือที่ผรั่งเรียกว่า Protected Exposure สุดท้ายเหลือเท่าไหร่

 

เอองั้นถามต่ออีกหน่อย ว่าเวลาจะแจกเอียร์ปลั๊กให้คนงานใส่ เคยอธิบายเค้ามั๊ยว่าต้องใส่ยังไง ทำไมต้องใส่ให้ถูก ถ้าใส่ไม่ถูกจะเป็นยังไง เสียงที่ลดได้จะเหลือเท่าไร พอๆ ไม่ต้องตอบแล้ว...

ข้างๆกล่องเอียร์ปลั๊กหรือเอียร์มัฟ จะมีเลเบลติดไว้ เคยอ่านมั๊ย.. ทำหน้าเหมือนหมาเคยอ่านซิ น่านแหละ..

เห็นมั๊ย มีคำว่า Noise Reduction Rate มีตัวเลขอยู่ บางยี่ห้อก็ 14, 19, ยี่ห้อนี้ 25 หน่วยเป็น เดซิเบล มีวงเล็บบอกว่า (ถ้าใส่อย่างที่บอก)

คราวนี้มาดูกันว่า ไอ้คำว่า Noise Reduction Rate หรือ NRR เนี่ยมันหมายความว่าอย่างไร เอานะ หายใจลึกๆ จะพูดเรื่องที่มีประโยชน์แล้วนะ

ค่า NRR เป็นตัวเลขตัวหนึ่ง ที่บอกให้รู้ว่า อุปกรณ์ลดเสียงนั้นสามารถลดเสียงได้เท่าไหร่ ตัวเลขนี้ได้มาจากการทดสอบในห้องทดลอง อย่าเพิ่งรู้เลยว่าเค้าทดสอบยังไง มีกี่วิธี เอาเป็นว่ามีหลายวิธี และมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะ ใครสนใจไปหาอ่านเอาจากลิงค์นี้  http://www.cdc.gov/niosh/z-draft-under-review-do-not-cite/hpdcompdev/pdfs/NIOSH_Compendium_Calculation.pdf

 แปลง่ายๆ หยิบเอียร์ปลั๊กมาอันหนึ่ง เห็นตัวเลข NRR = 25 dBs แปลว่า มันจะลดเสียงได้ 25 dBs จบป่ะ

ทีนี้ก็มาดูต่อว่า ถ้าระดับเสียงที่วัดได้ในที่ทำงาน สมมติว่า เท่ากับ 95 dB(A) ถ้าใส่เอียร์ปลั๊กอันนี้เข้าไป จะเหลือเสียงที่ทะลุเข้าไปในห.อูหู เท่าไหร่ ม่ะ มาดูสูตรคำนวณกัน

ถ้าวัดด้วยสเกล เอ ให้ใช้สูตรคำนวณ

ระดับเสียงที่เหลืออยู่  = (ระดับเสียงที่ไม่ได้ใส่อะไร) – (NRR-7)  

ม่ะแทนค่าสูตรกัน

ระดับเสียงที่เหลืออยู่ = 95 – (25-7)  = 95-18 = 77 dB

ถ้าวัดด้วยสเกล ซี ให้ใช้สูตรคำนวณ

ระดับเสียงที่เหลืออยู่  = (ระดับเสียงที่ไม่ได้ใส่อะไร) – (NRR) 

ม่ะแทนค่าสูตรกัน

ระดับเสียงที่เหลืออยู่ = 95 – (25) = 70 dB

 

อธิบายมาถึงตรงนี้ พวกขี้สงสัยชักเริ่มมีคำถาม อยากรู้ว่า สเกลเอ กับสเกล ซี ต่างกันยังไง เอาแบบนี้นะไอ้น้อง มึงกลับไปลงเรียนวิชา Industrial Hygiene อีกรอบไป ขี้เกียจอธิบาย มันยาว

เอาสูตรไปใช้ทำข้อสอบก่อน

ทีนี้จะอธิบายต่อว่า NIOSH ยังแนะนำต่อว่า ในโลกแห่งชีวิตบัดซบ เวลาแจกเอีย์รมัฟ เอียร์ปลั๊กแต่ละแบบ แต่ละรุ่นให้คนงานไปใช้เนี่ย ค่า NRR ควรจะต้องถูกปรับลดลงไป เช่น

เอีร์ยมัฟ ต้องเอาค่า NRR คูณด้วย 75% จะได้ค่า NRR ที่มันทำได้ในโลกแห่งความเป็นจริง เช่น ถ้าตอนซื้อมา ข้างกล่องมันบอกว่า NRR = 45  คูณด้วย 75%  ก็คือ = 33.75 

ถ้าเอียร์ปลั๊กแบบโฟม ที่ก่อนใส่ต้องบี้ๆๆๆๆแล้วมันไปพองในรูหู (Slow recovery foam) แบบนี้ ให้เอา 50% คูณ  ถ้าข้างกล่องบอกว่ารุ่นนี้ ลดได้ NRR = 25  คูณด้วย 0.50 = 12.5 แปลว่า NRR จะเหลือแค่ 12.5

ถ้าเป็นเอียร์ปลั๊กแบบในรูป ให้เอา 30% คูณกับ NRR ก็จะเหลือแค่ 25x 0.30 = 7.5

 

ถ้าใช้วิธีของ NIOSH เอาค่า NRR ที่ปรับลดค่าลงตามโลกแห่งชีวิตจริงไปใส่สูตรข้างบน ก็จะเห็นว่า โอ้วแม่เจ้า  ถ้าวัดด้วย สเกลเอ ใส่เอียร์ปลั๊กเข้าไปในที่เสียงดัง 95 dB(A) เอียร์ปลั๊กที่อีกระเทยขายให้ จะลดเสียงลงเหลือเพียงแค่  = 95 – (12.5-7) = 75.5 

 

ทีนี้ลองคิดดู  ถ้าคนงานเจียร์ชิ้นงาน เสียงดังปานฟ้าผ่า วัดออกมาได้ 140 dB(A)  ใส่เอียร์ปลั๊กอีกระเทยนั่นเข้าไป เสียงที่เขาได้ยิน จะ =  140- (12.5-7) = 120.5 dB(A) เกินมาตรฐานมั๊ยหละ เกิ้น....

 

สรุปก็คือ อย่าเชื่อกระเทย อย่าเฉยเมยต่อรายละเอียด อย่าขี้เกียจคำนวณ อย่าชวนทะเลาะ จบดีกว่า

 

ษมน รจนาพัฒน์

23 January 2015



ประวัติศาสตร์เซฟตี้

 Abraham Maslow พูดถึงเซฟตี้ไว้เมื่อปี 1943 ว่าลำดับขั้นของความต้องการของคนนั้นมีอยู่เป็นลำดับๆ เริ่มตั้งแต่ความต้องการพื้นฐาน อย่างอาหาร อา...