แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Safety Law แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Safety Law แสดงบทความทั้งหมด
วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557
กระทำการโดยประมาท ใครทำไว้วะ
อยากได้แบบนี้มั่งจัง
กฎหมาย
บิล ซี-45
ประเทศแคนาดา
ออกกฎหมายแก้ไขกฎหมายอาญา และประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2004 สิบปีมาแล้ว
กฎหมายฉบับนี้กำหนดความรับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพในสถานประกอบการ
และกำหนดโทษขั้นรุนแรงในการละเมิดกฎหมายจนเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
กฏหมายฉบับนี้ยังเอาผิดกับองค์กร รวมถึงระดับกลุ่มบริษัท ผู้กระทำการแทน
และผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลการทำงาน
กฎหมายนี้เพิ่มข้อความลงไปในหมวดใหม่
ของกฎหมายอาญาเลย เป็นหมวด 217.1 ใจความว่า
บุคคลใดๆที่ทำ
หรือมีหน้าที่ ในการกำกับดูแลถึงวิธีการทำงาน หรือทำหน้าที่ใดๆของบุคคล มีหน้าที่ตามกฏหมายที่จะต้องรับผิดชอบขั้นตอนต่างๆที่สมเหตุสมผลในการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากการทำงานนั้นต่อบุคคลนั้นหรือบุคคลอื่นๆ
ข้อ
22.1 และ 22.2
ในกฎหมายอาญา
ให้เอาผิดกับองค์กร และผู้ทำการแทน สำหรับการละเลยและการฝ่าฝืนอื่นๆ
ทำไมแคนาดาออกกฎหมายในหมวดนี้
กฎหมายฉบับนี้เรียกอีกอย่างว่า
เวสต์เทรย์ บิล สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์เหมืองถ่านหินเวสต์เทรย์ที่เมือง
โนวาสโคเทียระเบิดเมื่อปี 1992 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นคนงานทั้งหมด 26 ราย เหตุการระเบิดเกิดจากการติดไฟของแก็สมีเธน
ซึ่งแม้ว่าจะมีการร้องเรียนจากคนงาน สหภาพแรงงาน และหน่วยงานราชการก่อนหน้านั้น
แต่บริษัทไม่ดำเนินการอะไรอย่างดีพอ จนเกิดเหตุโศกนาฎกรรมขึ้นในที่สุด
ที่สหรัฐอเมริกา
มีการฟ้องในข้อหา Wrongful Death แปลเป็นไทยก็คือ ผิดเต็มๆจนเป็นเหตุให้มีผู้ถึงแก่ความตาย ก็คือว่า สามารถฟ้องร้องเอาผิดกับคนที่ทำให้บุคคลอันเป็นที่รักของผู้ฟ้องถึงแก่ความตาย
เนื่องมาจากการปล่อยปละละเลย หรือ Negligence การฟ้องร้องค่าเสียหายยังสามารถไล่เบี้ยไปถึงบุคคล
หรือกลุ่มบุคคล ที่รับผิดชอบ
และหน่วยงานที่รับผิดชอบสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายจนถึงตาย อย่างเช่น ไอ้พวกขุดถนน
ไม่ตั้งป้าย ไม่กั้นรั้ว ไม่ติดไฟ ไม่ให้สัญญาน แล้วรถวิ่งตกลงไปตาย แบบนี้
ถ้าเป็นที่อเมริกา สามารถฟ้องเอาผิดกับคนที่เกี่ยวข้อง ยาวไปจนถึงกรมทางหลวงที่รับผิดชอบงานนั้น
เรียกว่าฟ้องกันให้รวยไปข้างหนึ่ง บางคนตาลุกโพลง แหม ช่างดีเสียนี่กระไร
ไอ้แก่กับกิ๊กมัน ขับรถไปตกหลุมตายดั่งใจแล้วยังฟ้องได้ตังค์
เรียกค่าเสียหายจากการตายของบุคคลอันเป็นที่รักด้วย (อุแหวะ)
การฟ้องแบบนี้ยังรวมไปถึง
การที่คนงานเสียชีวิต จากการกระทำหรือไม่กระทำของนายจ้าง แหมฟังดูแล้ว
อยากให้เมืองไทยมีแบบนี้มั่งจัง
ยกตัวอย่าง
คดี เมื่อปี 2010 ศาลสั่งให้บริษัทแห่งหนึ่งจ่ายค่าเสียหายแก่เด็กสองคนที่ต้องสูญเสียพ่อไปในการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน
เป็นวงเงินถึง 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ
หรือคิดเป็นเงินไทย ที่ค่าเงินบาท ด่อกแด่ก 30 บาทต่อดอลลาร์ เท่ากับ 48 ล้านบาท ไงล่ะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ประวัติศาสตร์เซฟตี้
Abraham Maslow พูดถึงเซฟตี้ไว้เมื่อปี 1943 ว่าลำดับขั้นของความต้องการของคนนั้นมีอยู่เป็นลำดับๆ เริ่มตั้งแต่ความต้องการพื้นฐาน อย่างอาหาร อา...
-
โบ๊ะ ดึ่ง โบ๊ะ ดึ่ง ดึ่ง โบ๊ะ ดึ่ง โบ๊ะ ดึ่ง โบ๊ะ ดึ่ง ดึ่ง เปรี้ยงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ว๊าย พี่ ๆๆๆ เป็นอะไร เสียงหวีดร้องอย่างตกใจ ...
-
ผู้บริหารบางคน อาจจะคิดว่า พวกเซฟตี้ นี่มันเงินเดือนแพง ก็แหงละ งานที่พวกเซฟตี้ทำ มันโคตรยาก ขอบอก ทำให้คนไม่ขึ้นไปทำงานบนที่สูง โดยไม่...