วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ภาวะไร้อารมย์

 

ชื่อเจ้าของโมเดลนี้เรียกยากหน่อย แต่เรื่องนี้เข้าใจไม่ยาก มันคือแบบจำลองการไหล (ไม่รู้อะไรไหล)

 Csikszentmihalyi's flow model.

โมเดลของลุงฉะซิกฉะเซ็นท์มิหันละยี้  ไงล่่ะมึง แค่ชื่อกูก็เครียดแล้ว แกบอกว่า ไอ้หลานเอ้ย อะไรที่มันทำยากๆ แล้วเราก็ดันไม่เคยซะด้วยเนี่ยมันเครียดนะเว้ยเฮ้ย (High Challenge Level-Low-Skill Level) 

ยังไงลุง แกหันมาสบตา ลังเลจะบอกดีไม่บอกดี บอกมาเถอะ ผมไม่เอาไปเล่าต่อ 

ก็มีอยู่ครานึง รุ่นพี่พาไปเปิดจุกแถวๆประตูน้ำ ลุงเนี่ยให้ตายเถอะ ไม่เคยเลยเรื่องแบบนี้ อย่างมากก็แค่ช่วยตัวเองในที่ลับตา

มันเป็นความยากขีดสุดสำหรับเด็กหนุ่มบ้านนา ที่ไม่ประสีประสาอะไรเรื่องแบบนั้น พอถูกดันเข้าไปในห้องกับผู้หญิงอ้วนๆลงพุง ที่ไม่นุ่งอะไรเลย มันโคตรเครียด (Anxiety) 

ตรงกันข้ามกับสาวใหญ่ที่นอนเปลือยกายรออยู่ เธอดูไร้อารมย์ (Apathy) โดยสิ้นเชิง ก็เพราะว่างานของเธอมันไม่ได้มีความยากและท้าทายสำหรับเธอแล้วแทบไม่ต้องใช้ทักษะอะไรในการทำให้หนุ่มน้อยคนนี้แตกซ่าน

แต่ในสถานการณ์ที่ทำให้ Flow มันอธิบายได้ว่า ความท้าทายกับทักษะที่ต้องใช้มันทำให้เร้าร้อน เอ็งก็มันข้าก็มัน 

ลุงแกว่า ทำตาเคลิ้มถึงอดีต การเสียตัวครั้งที่สิบห้ากับสาวหน้าใสพูดไทยไม่ชัดครั้งนั้นมันทำให้แก Flow 

อธิบายแบบนี้ เข้าใจทฤษฏีของลุงรึยัง 

ทฤษฏีนี้ใช้ทำอะไร คำตอบคือ การใช้คนให้เหมาะกับความยากง่าย และหรือเข้าใจมากขึ้นว่าอะไรทำให้คนบางคนเครียดจนขี้แตก เมื่อเจองานหินที่ตัวเองไม่มีทักษะ ในขณะที่พวกมือโปรเจองานกระจอกก็นั่งกัดเล็บด้วยความเบื่อหน่าย (Boredom)

ไม่มีความคิดเห็น: