วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Entanglement ฉุดกระชากงั่บๆ

 

Entanglement


แปลเป็นภาษาไทยว่าฉุด ดึง รั้ง พัวพัน ติดอีรุงตุงนัง อะไรประมาณนั้น คำนี้จะพบเห็นตามป้ายเซฟตี้เล็กๆที่ติดอยู่ข้างเครื่องจักร เช่นตรงฝาครอบโซ่สายพาน พูลเล่ หรือตรงจุดที่มีการหมุนเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนของเครื่องจักรที่อาจจะเกิดการฉุด ดึงเอาผม เสื้อผ้า เครื่องประดับ เนคไทด์ เข้าไป หรือแม้แต่การที่จุดเหล่านี้จะดึงถุงมือ แปรงทำความสะอาด ผ้าขี้ริ้ว  นิ้วมือ หรือแขนของคนงานเข้าไป

ในการทำงานตามปกติกับเครื่องจักรที่มีจุดหมุน จุดหนีบประเภท Running In Nip point ที่ไม่มีการ์ดป้องกันและคนงานต้องมีการป้อนวัตถุดิบ เช่นกระดาษ หรือแผ่นวัสดุ หรือวัตถุดิบเข้าไปในเครื่องเพื่อรีด บด อัด เคลือบ สาระพัดจะทำ สภาพทำนองนี้จะเกิดอุบัติเหตุและเกิดการบาดเจ็บต่อคนงานที่ค่อนข้างรุนแรง เช่น คำว่า Crushing ซึ่งหมายถึงการบดบี้ บดขยี้ (ฟังดูแล้วอาจจะรู้สึกวาบหวาม) แต่ถ้าดูภาพประกอบข้างล่างอาจจะได้อีกอารมณ์หนึ่ง



อย่างรูปนี้เป็นเด็กคุมเครื่องพิมพ์ กำลังป้อนกระดาษแล้วลูกกลิ้งของเครื่องพิมพ์มันดึงทั้งกระดาษและมือของเขาเข้าไป อีตอนถูกดึงมันคงไม่ได้รู้สึกวาบหวามอะไรแต่อีตอนครัชชิ่ง หรือบดขยี้นี่สิ ความรู้สึกตอนนั้นมันคงสุดจะบรรยาย สุดท้ายเขาก็ได้รับการช่วยเหลือ กระดูกนิ้วมือและแขนหักหลายที่ นั่นคือตัวอย่างของภาษาเซฟตี้สองคำที่เกี่ยวข้องกับคำว่า เอ็นแทงเกิ้ลเม้นท์ แต่ในหลายๆกรณีคนที่ถูกดึงเข้าไปในเครื่องจักรอาจจะไม่โชคดีทุกคน เพราะเครื่องจักรบางอย่างมันมีแอ็คชั่นแบบ

Cutting, stabbing and puncturing

ซึ่งก็คือ บาด ทิ่มทะลวงและเจาะทะลุ ส่วนใหญ่เหยื่อมักจะกลับบ้านด้วยสภาพสุดสยองอย่างเจ้าของมือนี้เป็นสาวอีสานมาทำงาน 

 

แถวเมืองชล โรงงานอาหารกระป๋อง คุมเครื่องบดเนื้อ ถุงมือของเธอเข้าไปติดในเครื่อง ตอนแรกก็ยังไม่ลึกมาก เธอหยุดเครื่องทันแล้วขอให้เพื่อนคนงานอีกคนมาช่วย แต่บังเอิญ อีนังนั่นมันเป็นคนเขมรพูดไทยไม่รู้เรื่อง บอกให้กดปุ่มเดินเครื่องย้อนทาง มันดันกดปุ่มเดินเครื่องต่อ นิ้วของสาวเคราะห์ร้ายเลยกุดหมดเลย

รูปนี้ออกจะวาบหวามไปสักนิดเพราะคนเจ็บถูกถลกเสื้อไปหมด และเสียชีวิตคาเครื่อง เหตุเกิดจากการที่เสื้อผ้าหลวม กรุยกราย ทำงานใกล้ๆเครื่องจักรที่หมุนด้วยความเร็ว เมื่อเครื่องดึงเสื้อเข้าไปก็ติดเข้าไปทั้งตัว พวกที่ชอบแต่งตัวแบบเพื่อชีวิต ผมเผ้ากระเซอะกระเซิง ใส่กางเกงหลุดตูด เสื้อหลวมโครก ระวังให้ดี ส่วนพวกหน้าตาดี มาจากออฟฟิศกรุงเทพผูกไทด์ใส่สายคล้องบัตรพนักงานก็ระวัง เพราะคนหน้าตาไม่ดีที่คุมเครื่องอาจจะหมั่นใส้เอาได้ แล้วปล่อยให้ดิ้นกระแด่วๆตอนสายคล้องบัตรถูกดึงเข้าเครื่อง

 

วิธีป้องกันอันตรายจากเอ็นแทงเกิ้ลเม้น, ครัชชิ่ง, คัตติ้ง, สะแต๊บบิ้ง, พั๊งเจอริ่ง, เทือกนี้ต้องเริ่มจากการออกแบบเครื่องจักรที่ปลอดภัย  มีการ์ดที่ดี มือ นิ้ว เข้าไปไม่ได้ มีระบบหยุดเครื่องจักรอัตโนมัติเมื่อฝาครอบถูกเปิดออก เมื่อจะมีการซ่อมแซม ต้องมีการตัดไฟ ติดกุญแจ เก็บกุญแจของตัวเอง ใครทำใครติด อย่าไปคิดว่าคนอื่นใส่กุญแจแล้วตัวเองไม่ต้องใส่เพิ่ม คิดแบบนี้ไม่รอดมานักต่อนักแล้ว

ต้องขออภัยหากรูปประกอบมีความน่าหวาดเสียวมาก แต่ท่านเชื่อหรือไม่ ว่าอันตรายประเภทเอ็นแทงเกิ้ลเม้นท์จะไม่มีทางเกิดได้เลยถ้าคนไม่เอามือแหย่เข้าไประหว่างที่เครื่องจักรทำงาน ร้อยทั้งร้อย ไปถามดูเถอะ จะตอบเป็นเสียงเดียวกัน กูรีบ

ษมน รจนาพัฒน์
10 December 2014

 


 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประวัติศาสตร์เซฟตี้

 Abraham Maslow พูดถึงเซฟตี้ไว้เมื่อปี 1943 ว่าลำดับขั้นของความต้องการของคนนั้นมีอยู่เป็นลำดับๆ เริ่มตั้งแต่ความต้องการพื้นฐาน อย่างอาหาร อา...