แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เครื่องจักร แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เครื่องจักร แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Entanglement ฉุดกระชากงั่บๆ

 

Entanglement


แปลเป็นภาษาไทยว่าฉุด ดึง รั้ง พัวพัน ติดอีรุงตุงนัง อะไรประมาณนั้น คำนี้จะพบเห็นตามป้ายเซฟตี้เล็กๆที่ติดอยู่ข้างเครื่องจักร เช่นตรงฝาครอบโซ่สายพาน พูลเล่ หรือตรงจุดที่มีการหมุนเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนของเครื่องจักรที่อาจจะเกิดการฉุด ดึงเอาผม เสื้อผ้า เครื่องประดับ เนคไทด์ เข้าไป หรือแม้แต่การที่จุดเหล่านี้จะดึงถุงมือ แปรงทำความสะอาด ผ้าขี้ริ้ว  นิ้วมือ หรือแขนของคนงานเข้าไป

ในการทำงานตามปกติกับเครื่องจักรที่มีจุดหมุน จุดหนีบประเภท Running In Nip point ที่ไม่มีการ์ดป้องกันและคนงานต้องมีการป้อนวัตถุดิบ เช่นกระดาษ หรือแผ่นวัสดุ หรือวัตถุดิบเข้าไปในเครื่องเพื่อรีด บด อัด เคลือบ สาระพัดจะทำ สภาพทำนองนี้จะเกิดอุบัติเหตุและเกิดการบาดเจ็บต่อคนงานที่ค่อนข้างรุนแรง เช่น คำว่า Crushing ซึ่งหมายถึงการบดบี้ บดขยี้ (ฟังดูแล้วอาจจะรู้สึกวาบหวาม) แต่ถ้าดูภาพประกอบข้างล่างอาจจะได้อีกอารมณ์หนึ่ง



อย่างรูปนี้เป็นเด็กคุมเครื่องพิมพ์ กำลังป้อนกระดาษแล้วลูกกลิ้งของเครื่องพิมพ์มันดึงทั้งกระดาษและมือของเขาเข้าไป อีตอนถูกดึงมันคงไม่ได้รู้สึกวาบหวามอะไรแต่อีตอนครัชชิ่ง หรือบดขยี้นี่สิ ความรู้สึกตอนนั้นมันคงสุดจะบรรยาย สุดท้ายเขาก็ได้รับการช่วยเหลือ กระดูกนิ้วมือและแขนหักหลายที่ นั่นคือตัวอย่างของภาษาเซฟตี้สองคำที่เกี่ยวข้องกับคำว่า เอ็นแทงเกิ้ลเม้นท์ แต่ในหลายๆกรณีคนที่ถูกดึงเข้าไปในเครื่องจักรอาจจะไม่โชคดีทุกคน เพราะเครื่องจักรบางอย่างมันมีแอ็คชั่นแบบ

Cutting, stabbing and puncturing

ซึ่งก็คือ บาด ทิ่มทะลวงและเจาะทะลุ ส่วนใหญ่เหยื่อมักจะกลับบ้านด้วยสภาพสุดสยองอย่างเจ้าของมือนี้เป็นสาวอีสานมาทำงาน 

 

แถวเมืองชล โรงงานอาหารกระป๋อง คุมเครื่องบดเนื้อ ถุงมือของเธอเข้าไปติดในเครื่อง ตอนแรกก็ยังไม่ลึกมาก เธอหยุดเครื่องทันแล้วขอให้เพื่อนคนงานอีกคนมาช่วย แต่บังเอิญ อีนังนั่นมันเป็นคนเขมรพูดไทยไม่รู้เรื่อง บอกให้กดปุ่มเดินเครื่องย้อนทาง มันดันกดปุ่มเดินเครื่องต่อ นิ้วของสาวเคราะห์ร้ายเลยกุดหมดเลย

รูปนี้ออกจะวาบหวามไปสักนิดเพราะคนเจ็บถูกถลกเสื้อไปหมด และเสียชีวิตคาเครื่อง เหตุเกิดจากการที่เสื้อผ้าหลวม กรุยกราย ทำงานใกล้ๆเครื่องจักรที่หมุนด้วยความเร็ว เมื่อเครื่องดึงเสื้อเข้าไปก็ติดเข้าไปทั้งตัว พวกที่ชอบแต่งตัวแบบเพื่อชีวิต ผมเผ้ากระเซอะกระเซิง ใส่กางเกงหลุดตูด เสื้อหลวมโครก ระวังให้ดี ส่วนพวกหน้าตาดี มาจากออฟฟิศกรุงเทพผูกไทด์ใส่สายคล้องบัตรพนักงานก็ระวัง เพราะคนหน้าตาไม่ดีที่คุมเครื่องอาจจะหมั่นใส้เอาได้ แล้วปล่อยให้ดิ้นกระแด่วๆตอนสายคล้องบัตรถูกดึงเข้าเครื่อง

 

วิธีป้องกันอันตรายจากเอ็นแทงเกิ้ลเม้น, ครัชชิ่ง, คัตติ้ง, สะแต๊บบิ้ง, พั๊งเจอริ่ง, เทือกนี้ต้องเริ่มจากการออกแบบเครื่องจักรที่ปลอดภัย  มีการ์ดที่ดี มือ นิ้ว เข้าไปไม่ได้ มีระบบหยุดเครื่องจักรอัตโนมัติเมื่อฝาครอบถูกเปิดออก เมื่อจะมีการซ่อมแซม ต้องมีการตัดไฟ ติดกุญแจ เก็บกุญแจของตัวเอง ใครทำใครติด อย่าไปคิดว่าคนอื่นใส่กุญแจแล้วตัวเองไม่ต้องใส่เพิ่ม คิดแบบนี้ไม่รอดมานักต่อนักแล้ว

ต้องขออภัยหากรูปประกอบมีความน่าหวาดเสียวมาก แต่ท่านเชื่อหรือไม่ ว่าอันตรายประเภทเอ็นแทงเกิ้ลเม้นท์จะไม่มีทางเกิดได้เลยถ้าคนไม่เอามือแหย่เข้าไประหว่างที่เครื่องจักรทำงาน ร้อยทั้งร้อย ไปถามดูเถอะ จะตอบเป็นเสียงเดียวกัน กูรีบ

ษมน รจนาพัฒน์
10 December 2014

 


 

 

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Amputation ฉับเดียว เสียวไปนาน


ไม่ต้องบรรยายต่อแล้วใช่มั๊ย ว่า Amputation แปลว่าอะไร

เคยไปสัมภาษณ์งานอยู่ที่หนึ่ง เขาถามผมว่า คุณไม่เคยทำงานในโรงงานปิโตรเคมีมาก่อน คุณจะทำงานเซฟตี้ได้หรือ (สมัยนั้นยังไม่อยากเข้าวงการเคมี)

ฟังให้ดีนะไอ้น้อง งานเซฟตี้เนี่ย ต่อให้อยู่โรงน้ำปลา โรงงานบดขี้หมูอัดเม็ด ถ้ามันจะเก่ง มันก็เก่งได้เท่ากัน เพราะมันเรียนตำราเล่มเดียวกัน บางคนอยู่โรงปิโตรเคมี ทั้งชีวิตมันได้ทำอยู่เรื่องเดียว คุม รปภ. คุมพนักงานดับเพลิง คุมห้องพยาบาล คุมห้องฝึกอบรม เหลี่ยมมุมมันยังไม่เท่าพวกที่เผชิญโลกมาหลากหลายอุตสาหกรรม เจอเครื่องจักรมาสาระพัด เจอปัญหามาร้อยแปด อย่าถามคำถามโง่ๆอีก เข้าใจไหม

กลับเข้าเรื่องดีกว่า ว่าแต่ว่า เอ็งรู้มั๊ยว่าการป้องกันการกุดด้วนเนี่ย ต้องทำยังงัย

ไม่ต้องทำท่านึกนาน กูรู้มึงคิดไม่ออก เพราะวันๆนั่งแต่ในห้องคอนโทรลรูม งานซ่อมมึงก็ไม่ทำเอง จ้างผู้รับเหมาตลอด เผลอๆแอบไปตั้งบริษัทมารับเหมางานตัวเองอีกต่างหาก จะบอกให้ ลูกน้องมึงนั่นแหละโคตรกร่างๆ ที่โดนยึดบัตรไล่ออกไปเมื่อสามวันก่อน มันบอกมันจะมาฟ้องมึง (ขอโทษครับ ฟินไปหน่อย อดีตวิญญานเฮี้ยนสมัยเป็นเซฟตี้หนุ่มๆเข้าสิง)

การป้องกันคนถูกเครื่องจักรกัดนิ้วกุด ง่ายมากครับ ข้อแรก ก็อย่าเอานิ้วแหย่เข้าไปให้มันกัดสิครับ เขาบอกให้หยุดเครื่อง ตัดพลังงาน ล็อกกุญแจแขวนแท็ก ก็ทำเถิดครับ ทำให้มันอยู่ในสภาพที่เรียกว่า ซีโร่อีเนอร์จี้สะเตจ (Zero Energy Stage) น่ะ ทำงง ไหนบอกอยู่ปิโตรเค็มงัย แค่นี้ทำโง่
ข้อสอง อยากแหย่ก็แหย่ไป แต่อย่าให้เข้าถึงจุด โอปะเรติ้งพ้อยท์ (Operating Point) หรือจุดที่เครื่องจักรกระทำใดๆกับชิ้นงาน เช่น บด บี้ อัด ตัด เฉือน ขูด เย็บ ไส ถาก ถาง กลึง เจียร์ รีด รูด ดูด ดึง ทึ้ง แทะ สาระพัด เขาเรียกว่า โอปะเรติ้งพ้อยท์ อีกจุดหนึ่งก็คือ พาวเวอร์ทรานสะมิดชั่นพ้อยท์ (Power transmittion point) อย่างพวกสายพาน พูลเลย์ โซ่ เฟือง เพลา ล้อ อะไรพวกนั้น และส่วนประกอบอื่นๆที่เป็น มูฟวิ่ง แมคคานิคอล พ้อยท์ เติมเอส ที่พูดมาข้อนี้ก็คือ เรื่องการป้องกันการเข้าถึงเครื่องจักร ที่เรียกว่า แมชีนการ์ดดิ้งงัย เข้าใจยัง

ถ้าจะไล่เรียงไป ก็ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ออกแบบเครื่อง ออกแบบระบบป้องกัน การติดตั้ง การซ่อมบำรุง เรื่อยไปจนถึงเรื่องหญ้าปากคอก คือการใช้ ไม่ใช้ ถุงมือในการทำงานกับเครื่องจักรที่มีมูฟเม้นท์ที่เป็นอันตรายต่อการฉุดดึง เอาถุงมือเข้าไปติดแล้วพาลทำให้มึอถูกกัดถูกทับจนขาดไปด้วย

สมัยก่อน กฎหมายไทย ห่วย มีแค่กว้างๆ ในประกาศกระทรวงมหาดไทย สมัยนี้ กฎหมายดี รัดกุม แต่คนบังคับใช้ห่วย สรุปก็คือ ยังห่วยเท่าเดิม
พวกห่วยคงเส้นคงวาก็คือพวกประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน ตอนเก็บเงินเขา ขาดสลึงขาดสตางค์ โวยวายราวกับจะตาย พอเขาเจ็บป่วย เบิกยากแสนยาก

พวกนี้น่าจะส่งไปอยู่อิหร่าน ที่นั่น เขามีเครื่องทำให้กุด สำหรับพวกขี้ขโมย พวกชอบข่มขืนกระทำชำเรา เขาจับมาลงโทษ เอามือยัดเข้าเครื่อง ฉับเดียว กุดเลย


ไปดีกว่า เสียวว่ะ


ษมน รจนาพัฒน์
9 December 2014


ประวัติศาสตร์เซฟตี้

 Abraham Maslow พูดถึงเซฟตี้ไว้เมื่อปี 1943 ว่าลำดับขั้นของความต้องการของคนนั้นมีอยู่เป็นลำดับๆ เริ่มตั้งแต่ความต้องการพื้นฐาน อย่างอาหาร อา...