แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ที่อับอากาศ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ที่อับอากาศ แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

คนงานตกรูเสาเข็ม

 


รูเสาเข็ม มันเป็นที่อับอากาศ ที่มีสภาพอันตรายที่ลูกจ้างอาจจะตกลงไปติดค้าง (Entrapment Hazards) ถูกดิน หรือน้ำทับถม ซ้ำยังมีสภาพบรรยากาศอันตราย (Hazardous Atmosphere) ที่ระดับออกซิเจนไม่พอ 

หมวด 2 มาตรการความปลอดภัย ข้อ 10  ให้นำยจ้ำงจัดให้มีสิ่งปิดกั้นที่สำมำรถป้องกันมิให้บุคคลใดเข้ำหรือตกลงไปในที่อับอำกำศ ที่มีลักษณะเป็นช่อง โพรง หลุม ถังเปิด หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ำยกัน

กฏกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๖๒

ชัดเจน ว่านายจ้างไม่ได้ดำเนินการตามที่กฏกระทรวงกำหนด  ถือว่านายจ้างรายนี้ละเมิดมาตรา 8 ของ พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งระบุบทลงโทษไว้ตามมาตรา 53 มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 400,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 

มิหนำซ้ำ หากพบว่านายจ้าง ไม่ดำเนินการตามมาตรา 14 ของ พรบ. ฉบับเดียวกัน ก็มีโทษปรับอีก 50,000 บาท 

และหากปรากฏว่าวานนี้นายจ้างไม่ได้ดำเนินการตามมาตรา 32 นายจ้างผ้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๓๒ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนบรรดาผู้จัดการโครการ หัวหน้าหัวนายทั้งหลายหากพบว่าละเลยไม่ดำเนินการ ก็มีสิทธิ์โดนโทษเท่าๆกับนายจ้าง ตามมาตรา 69 

งานนี้ ถ้า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานขยัน ก็จะพบข้อบกพร่องอีกหลายข้อตาม  กฎกระทรวง ๒ มีนาคม ๒๕๖๔ กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๔ อีกหลายมาตราเลยทีเดียว ทำไปทำมาก็จะผิดมาตรา 8 ตาม พรบ.ปี 2554 เข้าอีก ก็จะโดนอีกกระทง เป็นจำคุก 2 ปี ปรับ 800,000 เข้าไปแล้วนั่น 

หน้าที่ดำเนินการเอาผิดกับนายจ้าง เป็นของ พนักงานตรวจความปลอดภัย ที่ต้องสอบสวน ถ้าเขาไม่ตรวจไม่สอบ หงุมหงิมงุบงิบ หรือทำท่าขึงขังดึ๋งดั๋งสองสามวัน พอข่าวเงียบ เรื่องก็จบ หรือไม่ก็เลี่ยงไปปรับพอเป็นพิธิ ด้วยมาตรากระจอกๆ อย่าง มาตรา 13 มาตรา 16 พวกนี้ 

งานนี้ คงมะงุมมะงาหรากันตั้งแต่มาตรา 4 แบบปัดกันไปโยนกันมาว่าลูกจ้างชะตาขาดคนนี้เป็นของใคร เผลอๆ เขาก็ตายเปล่า ตามกฏหมายคุ้มครองแรงงาน กฏหมายกองทุนเงินทดแทนและอื่นๆ จับอะไรดมไม่ได้ 

เศร้าใจ เสียใจ สลดใจ กับมาตรฐานความปลอดภัยในบ้านเรา คุณว่ามั้ย (ที่ยกมาตรานั้นมาตรานี้มา ผมรับประกันได้พวกคุณไม่เข้าใจหรอก  ยังดีใจอยู่บ้างที่เราได้ผู้ว่า กทม.ดี ท่านไม่ละเลย 

ส่วนกระทรวงแรงงาน ผมว่าท่านหงุมหงิมมาตลอดตั้งแต่ เหตุซ้ำๆบนพระรามสอง มาถึงตึกถล่มของ สตง.ท่านสงวนท่าทีเกินไปทั้งๆที่เป็นพระเอกได้ แต่ไม่ทำ 


วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2568

เรื่องของ สี่ผู้

 


ที่อับอากาศ เป็นมฤตยูที่คร่าชีวิตของคนงานเป็นอันดับต้นๆ พอๆกับการตกจากที่สูงและการถูกไฟดูด ไฟช๊อต ต่างกันนิดก็ตรงที่ว่า ที่อับอากาศมักจะตายคราวละหลายๆคน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

มันเป็นความเข้าใจผิดๆว่า เวลาเข้าที่อับอากาศ ต้องเข้าไปคราวละหลายๆคน เผื่อว่าเวลาเป็นอะไรจะได้ช่วยกันออกมาได้ 

อันตรายในที่อับอากาศมีสองลักษณะ คือ บรรยากาศอันตราย เช่นขาดออกซิเจน มีก๊าซพิษ ก๊าซไวไฟ  กับอีกแบบคือ สภาพอันตราย เช่นไฟรั่ว ไฟดูด หรือเครื่องถูกสตาร์ทขึ้นมาทั้งที่มีคนอยู่ข้างในบดจนเละเป็นเศษเนื้อ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเข้าไปกี่คน เวลาตายก็ตายพร้อมกันหมด

ร่างกายขาดออกซิเจน กล้ามเนื้อจะอ่อนแรง เพราะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆเป็นกล้ามเนื้อลาย ขาดออกซิเจนแค่ไม่เกิน 8 นาที ก็ไม่รอดแล้ว 

ส่วนก๊าซพิษ อย่าง ก๊าซไข่เน่า มันทำให้เราตายได้เร็วมากๆ ด้วยความเข้มข้นเพียงแค่ 15 ppm ในเวลาไม่เกิน 15 นาทีรับรองได้ ต้องห่อกลับบ้าน บางคนยังจินตนาการไม่ออกว่า ไอ้ก๊าซไข่เน่านี่จะไปหาดมได้จากที่ไหน ก็จะแนะนำว่า ลองนอนคลุมโปงแล้วตดรมควันตัวเองดู นั่นแหละมันเลย ก๊าซไข่เน่า ใครที่ชอบค้นคว้าก็นี่เลย ข้อมูลเกี่ยวกับตด  ก๊าซไข่เน่าฆ่าคนโดยไปยับยั้งการหารใจระดับเซลล์ แบบเดียวกับพวกไซยาไนด์เลยเชียว 

หากคุณอยากรู้ว่าในการตดแต่ละทีจะเกิดก๊าซไข่เน่ากี่พีพีเอ็ม ก็ลงทุนเครื่องวัดแก็สหน่อย เอาไปจ่อแล้วตดใส่ ดูซิว่าเข้มข้นเท่าไหร่ 


คนงานจำนวนไม่น้อย มาเข้ารับการอบรมที่อับอากาศแบบสี่ผู้ คือ ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ปฎิบัติงาน และผู้เฝ้าระวังช่วยเหลือ ผมเพิ่มให้อีกสองผู้เลย คือ ผู้ต้องหา กับผู้เสียชีวิต 

กฏหมายที่อับอากาศ บังคับนายจ้างละเอียดยิบ สรุปใจความง่ายๆ คือที่อับอากาศห้ามเข้า จะเข้าต้องได้รับอนุญาต ใครอนุญาต ก็นายจ้าง ซึ่งไม่ค่อยเห็นว่าจะมีนายจ้างมาเรียนเป็นผู้อนุญาต ส่วนใหญ่ส่งลูกจ้างมาเรียน 

เข้ามาก็นั่งหงอยห่อเหี่ยว ถามว่าคาดหวังอะไร ก็ไม่หือไม่อือ บอกแค่ว่าอยากได้ใบเซอร์ หารู้ไม่ว่าใบเซอร์ที่ได้ มีคุกติดไปด้วย ใครที่เที่ยวไปเซ็นอนุญาตส่งเดช ระวัง คุกเห็นๆ ผู้ต้องหาเลยทีเดียว 

ที่อับอากาศมันไม่ใช่แค่ส่งคนมาเรียนเอาใบเซอร์ มันต้องทำอะไรหลายๆอย่าง (ที่นายจ้างไม่ค่อยอยากทำ) ที่ว่าไม่อยากทำก็เริ่มตั้งแต่

ไม่มีหรอกที่อับที่เอิบอากาศ บ้าไปแล้ว เรามีแต่ถังน้ำ นายจ้างและบรรดานายใหญ่ๆทั้งหลายจะเริ่มที่มุขนี้ก่อน ด้วยการตีตกว่ามันไม่ใช่ที่อับอากาศ 

ก็ในเมื่อมันไม่ใช่ ก็ไม่ต้อง ส่งคนไปเรียน ไม่ต้องตรวจร่างกาย ไม่ต้องระบายอากาศ ไม่ต้องวัด และอื่นๆ อีกมากมาย 

 ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับที่อับอากาศก็ไม่มีปากไม่มีเสียง เครื่องวัดแก็สไม่มี พัดลมระบายอากาศไม่มี ก็ไม่ว่าอะไร กูก็เซ็นๆไปงานจะได้เสร็จๆ 

ส่วนคนงานก็เป็นผู้รับเหมา ส่วนใหญ่ก็แรงงานด่างด้าว พูดยังไม่ชัดเลย จะเถียงเป็นรึ

ผู้บังคับใช้กฏหมาย โอ่ย รายนี้ไม่ต้องพูดถึง เขามักจะจ่อเอาผิดนายจ้าง จ่อแล้วจ่ออีก จ่อจนกูเสียว เขาจะปรากฏตัวในชุดเสื้อกั๊กสีดำ เวลาเกิดเหตุแล้ว แถมมาช้ากว่าพวกอาสาสมัครกู้ภัยซะอีก 

ที่อับอากาศมีอยู่ทั่วไป บ่อพักน้ำเสียใต้ดินตามตลาด นี่ก็ตายมาเยอะ ท่อระบายน้ำ ที่เรามักจะเห็นเขาเอานักโทษมาลอกท่อ ลงไปตัวเปล่า ไม่มีอะไรเลย ส่วนใหญ่เป็นพวกหน่วยงานรัฐซึ่งบรรดา พรบ.และกฏกระทรวงไม่ได้บังคับใช้กับเขา 

ล่าสุดบ่อปลาร้า สถานประกอบการที่มีคนงานไม่ถึง 20 คน ไม่ต้องมี จป.อะไรเลย ก็เลยไม่มีใครบอกคอยเตือน 

นี่เป็นผลจากการจัดประเภทสถานประกอบการโดยใช้จำนวนลูกจ้างเป็นเกณฑ์ พอคนน้อยกว่าเกณฑ์ก็บอกว่าไม่ต้องทำ พอคนเป็นหมื่นๆ กลับบอกว่า จอปอวิชาชีพมีคนเดียวก็พอ โอวววว 

การเอาคนงานเข้าที่อับอากาศ ที่ยังไม่สามารถกำจัดบรรยากาศอันตรายจนหมด ก็สามารถทำได้อีก โดยบอกว่านายจ้างต้องให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสม ป๊าด เหมาะสมของใครล่ะทีนี้ 

เคยมีผู้จัดการคนหนึ่งเดินมาหาผมหน้าเครียด เขาเป็นฝรั่งเศษแต่พูดไทยชัดมาก เขาถาม ษมน ผมไม่ซื้อเครื่องวัดแก็สได้ไหม 

ทำไมล่ะโทนี่ ผมถาม 

มันแพง และก็เราไม่มีที่อับอากาศที่อันตรายอะไรมากมาย มีแต่พวกน้ำและสารเคมีธรรมดาๆ (น่าน) 

แต่เราต้องมีการตรวจอากาศก่อนการอนุญาตนะโทนี่ 

ผมจะเอาเครื่องวัดแสตกไปใช้ แทน 

โอว เครื่องนั่นมันไม่อ่านค่าตรงๆนะ ต้องเอาเข้าแลป ไปคำนวณอีกที แถมมันใหญ่มาก 

แต่มันแพง โทนี่ว่า 

เท่าไหร่ ผมถามไปงั้น เพราะรู้ว่ามันแพง อะไรที่เป็นของเซฟตี้ ภาษี 200 % บางอย่างต้องยุ่งยากในการขออนุญาตเพราะถูกจัดเป็นยุทธภัณฑ์ (ประเทศกูเลย) 

สี่เซ็นเซอร์ก็เกือบสี่หมื่นแล้ว โทนี่อ้อน 

เอาล่ะ โทนี่ ฟังนะ คนที่เซ็นใบอนุญาตทั้งหลายล่ะ ลูกน้องยูทั้งนั้น ไม่สงสารเขารึ เวลาเกิดอะไรขึ้น ลายเซ็นหราเลย เขาติดคุก และที่ว่าแพงน่ะ เมื่อคืนยูพาเอฟดีอาร์ (FDR)ไปเลี้ยง (พี่เฟรดเขาเป็น CEO) ยูเลี้ยงไวน์ไปกี่ขวดล่ะ ขวดละเท่าไหร่ แพงกว่าเครื่องวัดแก็สมั้ย 

โทนี่ไม่ตอบ เดินออกไปแบบเคืองๆ 


ผมก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่อยู่ในลิสต์ที่ต้องถูกปลดโดยเร็ว เพราะเหตุฉะนี้แล ดันไปขัดใจซีอีโอเข้า หุๆๆๆ ผู้ประสบภัย