แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Permit To Work แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Permit To Work แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2568

เรื่องของ สี่ผู้

 


ที่อับอากาศ เป็นมฤตยูที่คร่าชีวิตของคนงานเป็นอันดับต้นๆ พอๆกับการตกจากที่สูงและการถูกไฟดูด ไฟช๊อต ต่างกันนิดก็ตรงที่ว่า ที่อับอากาศมักจะตายคราวละหลายๆคน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

มันเป็นความเข้าใจผิดๆว่า เวลาเข้าที่อับอากาศ ต้องเข้าไปคราวละหลายๆคน เผื่อว่าเวลาเป็นอะไรจะได้ช่วยกันออกมาได้ 

อันตรายในที่อับอากาศมีสองลักษณะ คือ บรรยากาศอันตราย เช่นขาดออกซิเจน มีก๊าซพิษ ก๊าซไวไฟ  กับอีกแบบคือ สภาพอันตราย เช่นไฟรั่ว ไฟดูด หรือเครื่องถูกสตาร์ทขึ้นมาทั้งที่มีคนอยู่ข้างในบดจนเละเป็นเศษเนื้อ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเข้าไปกี่คน เวลาตายก็ตายพร้อมกันหมด

ร่างกายขาดออกซิเจน กล้ามเนื้อจะอ่อนแรง เพราะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆเป็นกล้ามเนื้อลาย ขาดออกซิเจนแค่ไม่เกิน 8 นาที ก็ไม่รอดแล้ว 

ส่วนก๊าซพิษ อย่าง ก๊าซไข่เน่า มันทำให้เราตายได้เร็วมากๆ ด้วยความเข้มข้นเพียงแค่ 15 ppm ในเวลาไม่เกิน 15 นาทีรับรองได้ ต้องห่อกลับบ้าน บางคนยังจินตนาการไม่ออกว่า ไอ้ก๊าซไข่เน่านี่จะไปหาดมได้จากที่ไหน ก็จะแนะนำว่า ลองนอนคลุมโปงแล้วตดรมควันตัวเองดู นั่นแหละมันเลย ก๊าซไข่เน่า ใครที่ชอบค้นคว้าก็นี่เลย ข้อมูลเกี่ยวกับตด  ก๊าซไข่เน่าฆ่าคนโดยไปยับยั้งการหารใจระดับเซลล์ แบบเดียวกับพวกไซยาไนด์เลยเชียว 

หากคุณอยากรู้ว่าในการตดแต่ละทีจะเกิดก๊าซไข่เน่ากี่พีพีเอ็ม ก็ลงทุนเครื่องวัดแก็สหน่อย เอาไปจ่อแล้วตดใส่ ดูซิว่าเข้มข้นเท่าไหร่ 


คนงานจำนวนไม่น้อย มาเข้ารับการอบรมที่อับอากาศแบบสี่ผู้ คือ ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ปฎิบัติงาน และผู้เฝ้าระวังช่วยเหลือ ผมเพิ่มให้อีกสองผู้เลย คือ ผู้ต้องหา กับผู้เสียชีวิต 

กฏหมายที่อับอากาศ บังคับนายจ้างละเอียดยิบ สรุปใจความง่ายๆ คือที่อับอากาศห้ามเข้า จะเข้าต้องได้รับอนุญาต ใครอนุญาต ก็นายจ้าง ซึ่งไม่ค่อยเห็นว่าจะมีนายจ้างมาเรียนเป็นผู้อนุญาต ส่วนใหญ่ส่งลูกจ้างมาเรียน 

เข้ามาก็นั่งหงอยห่อเหี่ยว ถามว่าคาดหวังอะไร ก็ไม่หือไม่อือ บอกแค่ว่าอยากได้ใบเซอร์ หารู้ไม่ว่าใบเซอร์ที่ได้ มีคุกติดไปด้วย ใครที่เที่ยวไปเซ็นอนุญาตส่งเดช ระวัง คุกเห็นๆ ผู้ต้องหาเลยทีเดียว 

ที่อับอากาศมันไม่ใช่แค่ส่งคนมาเรียนเอาใบเซอร์ มันต้องทำอะไรหลายๆอย่าง (ที่นายจ้างไม่ค่อยอยากทำ) ที่ว่าไม่อยากทำก็เริ่มตั้งแต่

ไม่มีหรอกที่อับที่เอิบอากาศ บ้าไปแล้ว เรามีแต่ถังน้ำ นายจ้างและบรรดานายใหญ่ๆทั้งหลายจะเริ่มที่มุขนี้ก่อน ด้วยการตีตกว่ามันไม่ใช่ที่อับอากาศ 

ก็ในเมื่อมันไม่ใช่ ก็ไม่ต้อง ส่งคนไปเรียน ไม่ต้องตรวจร่างกาย ไม่ต้องระบายอากาศ ไม่ต้องวัด และอื่นๆ อีกมากมาย 

 ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับที่อับอากาศก็ไม่มีปากไม่มีเสียง เครื่องวัดแก็สไม่มี พัดลมระบายอากาศไม่มี ก็ไม่ว่าอะไร กูก็เซ็นๆไปงานจะได้เสร็จๆ 

ส่วนคนงานก็เป็นผู้รับเหมา ส่วนใหญ่ก็แรงงานด่างด้าว พูดยังไม่ชัดเลย จะเถียงเป็นรึ

ผู้บังคับใช้กฏหมาย โอ่ย รายนี้ไม่ต้องพูดถึง เขามักจะจ่อเอาผิดนายจ้าง จ่อแล้วจ่ออีก จ่อจนกูเสียว เขาจะปรากฏตัวในชุดเสื้อกั๊กสีดำ เวลาเกิดเหตุแล้ว แถมมาช้ากว่าพวกอาสาสมัครกู้ภัยซะอีก 

ที่อับอากาศมีอยู่ทั่วไป บ่อพักน้ำเสียใต้ดินตามตลาด นี่ก็ตายมาเยอะ ท่อระบายน้ำ ที่เรามักจะเห็นเขาเอานักโทษมาลอกท่อ ลงไปตัวเปล่า ไม่มีอะไรเลย ส่วนใหญ่เป็นพวกหน่วยงานรัฐซึ่งบรรดา พรบ.และกฏกระทรวงไม่ได้บังคับใช้กับเขา 

ล่าสุดบ่อปลาร้า สถานประกอบการที่มีคนงานไม่ถึง 20 คน ไม่ต้องมี จป.อะไรเลย ก็เลยไม่มีใครบอกคอยเตือน 

นี่เป็นผลจากการจัดประเภทสถานประกอบการโดยใช้จำนวนลูกจ้างเป็นเกณฑ์ พอคนน้อยกว่าเกณฑ์ก็บอกว่าไม่ต้องทำ พอคนเป็นหมื่นๆ กลับบอกว่า จอปอวิชาชีพมีคนเดียวก็พอ โอวววว 

การเอาคนงานเข้าที่อับอากาศ ที่ยังไม่สามารถกำจัดบรรยากาศอันตรายจนหมด ก็สามารถทำได้อีก โดยบอกว่านายจ้างต้องให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสม ป๊าด เหมาะสมของใครล่ะทีนี้ 

เคยมีผู้จัดการคนหนึ่งเดินมาหาผมหน้าเครียด เขาเป็นฝรั่งเศษแต่พูดไทยชัดมาก เขาถาม ษมน ผมไม่ซื้อเครื่องวัดแก็สได้ไหม 

ทำไมล่ะโทนี่ ผมถาม 

มันแพง และก็เราไม่มีที่อับอากาศที่อันตรายอะไรมากมาย มีแต่พวกน้ำและสารเคมีธรรมดาๆ (น่าน) 

แต่เราต้องมีการตรวจอากาศก่อนการอนุญาตนะโทนี่ 

ผมจะเอาเครื่องวัดแสตกไปใช้ แทน 

โอว เครื่องนั่นมันไม่อ่านค่าตรงๆนะ ต้องเอาเข้าแลป ไปคำนวณอีกที แถมมันใหญ่มาก 

แต่มันแพง โทนี่ว่า 

เท่าไหร่ ผมถามไปงั้น เพราะรู้ว่ามันแพง อะไรที่เป็นของเซฟตี้ ภาษี 200 % บางอย่างต้องยุ่งยากในการขออนุญาตเพราะถูกจัดเป็นยุทธภัณฑ์ (ประเทศกูเลย) 

สี่เซ็นเซอร์ก็เกือบสี่หมื่นแล้ว โทนี่อ้อน 

เอาล่ะ โทนี่ ฟังนะ คนที่เซ็นใบอนุญาตทั้งหลายล่ะ ลูกน้องยูทั้งนั้น ไม่สงสารเขารึ เวลาเกิดอะไรขึ้น ลายเซ็นหราเลย เขาติดคุก และที่ว่าแพงน่ะ เมื่อคืนยูพาเอฟดีอาร์ (FDR)ไปเลี้ยง (พี่เฟรดเขาเป็น CEO) ยูเลี้ยงไวน์ไปกี่ขวดล่ะ ขวดละเท่าไหร่ แพงกว่าเครื่องวัดแก็สมั้ย 

โทนี่ไม่ตอบ เดินออกไปแบบเคืองๆ 


ผมก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่อยู่ในลิสต์ที่ต้องถูกปลดโดยเร็ว เพราะเหตุฉะนี้แล ดันไปขัดใจซีอีโอเข้า หุๆๆๆ ผู้ประสบภัย 

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

แบ้งค์กงเต็ก กับเพอร์มิททูเวิร์ค





โดนัลทัมป์คงใจแทบขาดถ้ามาเห็นบ้านเราเผาแบ้งค์ดอลลาร์เป็นปึกๆ

ให้มันรู้ซะมั่งว่าประเทศไหนมั่งคั่งที่สุด เมื่อวานนี้ ไอเผาไปสามเข่งใหญ่ๆ ส่งไปให้ ก๋ง เตี่ย (วันนี้อยากเป็นลูกจีนกะเขามั่ง ปกติไม่ได้เรียกเตี่ย) แบ้งค์กงเต็กดอลลาร์ที่เผาส่งไปเมื่อวานทำให้ผมกังวลจนนอนไม่หลับ หลังจากกลับถึงบ้านแล้ว ก็ค่อยมานึกได้ว่า ตายห่าละสิ เตี่ยกูจะไปแลกที่ไหนละเนี่ย เอาไว้ปีหน้าดอลลาร์อ่อน บาทแข็งกว่านี้ ผมจะเผาเงินไทยไปให้ละกัน

การเผาแบ้งค์ เผารถ เผานาฬิกา เสื้อผ้าแบรนด์เนม ส่งไปให้ผู้ล่วงลับ มันเป็นพิธีกรรม ที่ผมเองก็ไม่เข้าใจว่าทำไปทำไม เห็นคนอื่นเผา ก็เผากับเขามั่ง นี่ถ้าไอ้ข้างบ้านมันเผาบีเอ็ม เผาเบ้นซ์ หรือเผาบ้านมันจริงๆ ผมก็ยังไม่รู้เลย ว่าจะเผามาสด้าเก่าๆ ส่งไปให้เตี่ยมั่ง มันจะสมหน้าตาและฐานะกระจอกๆกะเขามั๊ย

เอาเป็นว่า พิธีกรรมพวกนี้ เขาทำๆตามๆกันมา เรื่องเซฟตี้ก็เหมือนกัน เดี๋ยวนี้คนไทย เห่อใส่เสื่้อสะท้อนแสงสีเขียว ใส่หมวก ในพิธีเปิดป้าย เปิดงาน ปล่อยขบวนรถ สาระพัด ประมาณว่า เรานี่โคตรจะให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยเรย
ไอ้เรื่องพิธีกรรมนี่ ถนัดกันนัก แต่ไอ้เรื่องที่มีความจำเป็นและสำคัญ ไม่ชอบ อย่างเรื่อง Permit To Work คนเอเชีย เกือบทุกชาติ ไม่เฉพาะในกะลาแลนด์ เป็นแบบเดียวกันหมด ไม่ชอบ ไม่ทำ แถมบ่นอีกว่า เสียเวลา ขั้นตอนเยอะ เอกสารมากมาย ทำไมต้องมีฟอร์มนั้น ฟอร์มนี้ บางแห่งฉลาดหนักมาก มีฟอร์มเดียว หน้าเดียว ใช้ได้ทุกงาน ไม่ว่าจะเป็นงานขี้หมูราขี้หมาแห้ง เพื่อที่ว่าจะได้ไม่เสียเวลา
ไอ้ความคิดที่ว่า ต้องทำเซฟตี้ มันมีอยู่แถวๆในประเทศแถบเอเชียนี่แหละ จะเชื่อมจะตัดทีต้องตรวจนู่นตรวจนี่ โคตรจะเสียเวลาเลย นี่ถ้ามีงานที่สูงด้วยนะ โอยต้องมีแบบฟอร์มทำงานบนที่สูง ต้องนู่นนี่นั่น เสียเวลาจริงๆเลย

พอถามเข้าว่า ไอ้ที่มึงว่าเสียเวลาเนี่ย เวลาของใคร  เวลามึงหรือเวลานายจ้าง เคยเห็นไหม หมาหงุดหงิด โดนเหาแดก คันยิกๆ เกาไปครางไป แหมเซฟตี้แม่งเรื่องมาก หงิงๆ กฎเกณฑ์เยอะ สร้างแต่ความกลัว กดขี่ชีวิตกูจัง หงิงๆๆๆ

ในระบบ Permit To Work เนี่ย มันไม่ได้มีอะไรสลับซับซ้อนเลย มันเป็นระบบที่โคตรจะมีประสิทธิภาพต่ำที่สุดด้วยซ้ำ เมื่อเทียบกับมาตรการอื่นๆ เช่นมีระบบตัดแก็สอัตโนมัติ ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ ระบบขึงตาข่ายรองรับคนตก หรือปีกแบบพกพาได้ เวลาตกก็มีเซ็นเซอร์ กางพรึบ ต่อให้หล่นยากยอดตึกใบหยก มันก็ไม่ตาย แต่คำถามก็คือ มึงมีของแบบนั้นมั๊ยล่ะ ไอ้ขี้เกลือ
ในระบบ Permit To Work มันจึงเป็นระบบที่อาศัยกระดาษมาเป็นเครื่อง เป็นข้อตกลงว่า เอาละนะ ถ้ามึงทำตามนี้ หนึ่งสองสามสี่ห้า กูจะอนุญาต แล้วไอ้คนอนุญาตก็เซ็นฉึกลงไป ส่วนไอ้คนรับใบอนุญาต ก็รับว่าข้าพเจ้าจะทำตามที่กำหนดนั้น เซ็นฉับลงไป ถ้าผิดไปจากเงื่อนไขก็สั่งระงับยับยั้ง
ถ้าไปเจอเอาไอ้พวกเผาแบ้งกงเต็ก สักแต่ว่าเซ็นๆกันไป แล้วมันจะเป็นยังไง

เซฟตี้เนี่ย ว่ากันไปแล้ว มันไม่ต้องมีกฎนู่นนี่ ให้ไอ้พวกโลกสวยมานั่งกระแนะกระแหนว่า กฎเซฟตี้ มีไว้เพื่อสร้างบรรยากาศมาคุ สร้างความหวดกลัว ทำไมไม่ใช้วิธีละมุนละม่อม ทำไมการละเมิดกฎอย่าง Lock Out Tag Out กฎอย่าง Permit To Work จะต้องซีเรียส ทำไมไม่ให้โอกาส 

ก็เอาดิ ให้โอกาสก็ได้ เราอนุญาตให้โรงงานเราระเบิดได้ไม่เกินปีละสามครั้ง อนุญาตให้พวกมึงเอามือยัดเข้าโรลเลอร์ได้ห้าครั้ง แขนขาดได้ไม่เกินสี่คน เอาแบบนั้นไหมล่ะ

กฎพวกนี้ ที่เขาเรียกว่า โกลเด้นรูล ที่เอาไปผูกกับงานอันตรายอย่าง Permit To Work เป็นส่วนใหญ่ก็เพราะเขากลัวไอ้พวกเผาแบ้งค์กงเต็กนี่แหละ พวกที่สักแต่ว่าเซ็นๆไป ถวายเจ้า (นาย)

เซฟตี้ ไม่ต้องมีกฎอะไรมากมายหรอก ว่ากันตามจริงๆ ธรรมชาติของเซฟตี้ ถ้าไม่เซฟ มึงก็เจ็บ ก็ตาย (เวลาโน๊สอุดมพูดมึงๆกูๆ แหม มันน่ารักจัง) มึงไม่ต้องมาเถียง ว่าทำไมไม่ใช้วิธีการอบรม การชักชวน การโน้มน้าว นี่ กูจะบอกให้นะ ความเสี่ยงที่เกี่ยวโยงกับการที่ไอ้พวกเผาแบ้งกงเต็ก เซ็น Permit ซี้ซั็วมันสูง มันตาย เวลาตาย ไม่ได้ตายคนเดียว มึงเข้าใจยัง

แต่ก็อีกนั่นแหละ คนไม่เข้าใจ ยังไงก็ไม่เข้าใจ พูดเรื่องนี้ซ้ำๆซากๆ คนมันไม่เห็นด้วยมันรำคาญ เหมือนเสียงชักโครกจากห้องข้างบน เวลานอนโรงแรม แหมมันโคตรจะหนวกหู

แต่เสียงชักโครก จากห้องที่มึงยืนรอ ปวดขี้จนแทบราด เสียงชักโครก ครืดๆๆๆๆปรี๊ดๆๆๆๆ ตามมาด้วยเสียงขยับนุ่งกางเกงของไอ้คนข้างใน มันยิ่งกว่าเสียงสวรรค์เลยนะมึง ไม่เชื่อลองคิดดู สักวันมึงจะคิดถึงคำพูดกู