วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เควายที มือชี้ ปากย้ำ





สมาคมความปลอดภัยและสุขภาพญี่ปุ่น หรือ JISHA ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2507 หรือ 1964 ภายหลังจากการพ่ายแพ้สงคราม เมืองสำคัญๆถูกระเบิดปรมาณูถล่มพินาศ ทหารญี่ปุ่นกลับสู่แผ่นดินพระจักรพรรดิ์ด้วยร่างกายและหัวใจที่แหลกสลาย ญี่ปุ่นในยามนั้นอยู่ในสภาพลำบากยากเข็ญ
การพัฒนาประเทศและอุตสาหกรรมจึงกลายเป็นเพียงความหวังเดียวของการอยู่รอดและกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
  • เพื่อลดความผิดพลาด
  • เพื่อลดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
  • เพื่อเพิ่มความปลอดภัย
  • เพื่อปลูกฝังจิตสำนึก
  • เพื่อสร้างทีมเวิร์ค
  • เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ
  • เพื่อกระตุ้นให้มีการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร
  • เพื่อเพิ่มทักษะในการแก้ปัญหา
คนญี่ปุ่นจึงเริ่มใช้เทคนิคที่ง่ายแสนง่ายที่เรียกว่า เควายที เพื่อสร้างวินัยในการทำงาน โดยบริษัทซูมิโตโม่ เมทัล อินดัสตรี้ส เป็นที่แรก ที่ใช้เควายที เมื่อปี พ.ศ. 2519 หรือ 1976 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

เควายทีแพร่หลายไปในหลายประเทศ โดยเฉพาะในบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทย เควายทีก็คล้ายๆกับกิจกรรมเข้าจังหวะที่ฮือฮากันอยู่พักใหญ่ๆ แล้วก็ค่อยๆซาไปในที่สุด เช่นเดียวกันกับ กิจกรรมอย่าง 5 ส. เก็มบะ อะไรเทือกนั้น ที่ยังยั่งยืน ไม่มีทีท่าจะเสื่อมความนิยมก็อย่างเช่น ทงคัสสึ ราเม็ง ซูชิ วาซาบิ ที่เอาเข้าปาก เคี้ยวและกลืนได้ คนไทยก็มักจะไม่หลงลืมเสื่อมความนิยม

คงเป็นเพราะอารมย์มันคนละโหมดกัน คนญี่ปุ่น ต้องการขจัด ความดราม่า (Illusion) ความประมาท (Carelessness)  ความมั่วซั่ว (Sloppiness) ความหย่อนยานเหยาะแหยะ (Relaxation)  การตัดสินใจที่ผิดพลาด (Mis-judgement) คลาดเคลื่อน การละเมิดกฏระเบียบ (Violation)  มีเป้าหมายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
แต่คนไทยทำเควายทีด้วยอารมย์ประมาณว่า "แม่ง อีกแระ กูละโคตรเบื่อ"  พอเสียงนาฬิกาดัง ทุกคนต้องยืนข้างๆโต๊ะ แล้วออกกำลังกาย แค่นี้กูก็จะตายแล้ว เบื่อจริงโว๊ย

พอให้ทำเควายที ก็ทำแบบขอไปที พูดๆ ชี้ๆไป เสียงดังๆ จะได้เสร็จๆ
เควายทีในบ้านเรา เลยต้องพึ่งการโปรโมท เช่น มีการแข่งขัน มีการแต่งเพลง ประกอบท่าเต้น ถ่ายวิโดีโอลงยูทูป
เควายทีแบบขอควายไปที เลยไม่ได้ช่วย กระตุ้นสมองส่วนที่เป็นสัญชาติญาน (Safety conscious brain) ไม่มีจิตสำนึก (Safety awareness)เพิ่มขึ้น ไม่กระตุ้นการเอาใจใส่ (Attention)  ได้ผลแค่ มือ ชี้ (ส่งเดช) ปากย้ำ (ส่งเดช) ทุกวัน ทำๆไปให้ซาโจ้แฮปปี้ก็พอ อิอิ

เควายทีแบบญี่ปุ่น ที่ผมเคยเห็น ตอนที่ไปดูงานที่นั่น มันคนและแบบกับที่ออกมาเต้นหยองแหยงกันในยูทูป มันคนละเรื่องกันเลย

ผมเดินตามหัวหน้างานชาวญี่ปุ่นเข้าโรงงาน พอถึงทางแยก เขาหยุด แล้วก็ชี้ซ้าย ขวา ซ้าย ปากก็พูดอะไรสักอย่างผมจำไม่ได้ ส่วนผม มัวแต่ดูโน่นดู่นี่ หยุดไม่ทัน เลยเผลอชนหลังเขาป๊าบ เป็นแบบนี้หลายที จนอดรนทนไม่ไหวจึงถามไปว่ายูทามอาร๊าย เขาก็ตอบว่า อีนี่คือเควายที อ๋อ
ตอนเปลี่ยนกะ คนงานญี่ปุ่นจะเข้าแถวในห้องคอนโทรลรูม คำนับกัน แล้วก็จะก้าวมาข้างหน้าทีละคน พูดๆๆๆๆ แล้วก็ส่งสมุดโน๊ทให้เพื่อนคู่กะที่จะเข้า ทำแบบนี้จนจบ แล้วเขาก็ทำเควายที ผมไม่เห็นมีใครมีท่าทีเบื่อหน่าย เหยาะแหยะ หรือหลบๆอยู่หลังเพื่อนเลยสักคน ไม่เหมือนที่บ้านกูเลย (ผมนึก) เควายทีแบบวาซาบิมันได้สร้าง สำนึก( Awareness) จนติดเป็นนิสัย (Habit) กลายเป็นบรรยากาศ (Climate) และหลอมรวมกลายเป็นวัฒนธรรม (Culture) ของคนญี่ปุ่นแบบแนบเนียน

ด้วยความที่เขามีวัฒนธรรมส่วนรวมแบบนั้น เวลาเขาทำอะไร เขาก็จะเอาจริงเอาจัง เซฟตี้สไตล์ญี่ปุ่นไม่ค่อยมีแบบฟอร์ม มีเช็คลิทส์ มีแบบฟอร์มอะไรมากมาย แม้แต่ที่เราเรียกว่า โปรสิเด๋อร์ (Procedure)ของญี่ปุ่นที่ผมเห็น ก็มีเป็นรูปวาด เหมือนการ์ตูนซะมากกว่าที่จะเขียนอะไรเยิ่นเย้อ

จิตสำนึกแบบฝังจนเป็นสันดานเนี่ย มันสร้างได้ ในขณะเดียวกัน ความไร้สำนึกจนเป็นกมลสันดานเนี่ย มันลบยาก

มีคนถามว่า จิตสำนึกความปลอดภัยกับจิตสำนึกเรื่องคุณภาพมันไปด้วยกันได้ไหม เอาอะไรมาใช้ทำไมมันตายหมดที่เมืองไทย ให้ทำระบบคุณภาพ ก็ติ๊กมั่วจนลูกค้าเคลมคืน ขาดทุนแถมโดนฟ้องอีก โอ๊ว อารายกานนี่ ไทยแลนด์ ทามมายเป็นอย่างนี๊ สงสัยจริงๆ
คือ... เราไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้น ...เรามีเอกราชมาช้านาน เราเลยดักดาน ภาษาอังกฤษก็ไม่แตกฉาน มึงจะทำไม พ่อแม่กูไม่เคยหวังให้เป็นขึ้ข้าใคร เขาส่งเรียนเพื่อเป็นเจ้าคนนายคน ค้าขายมันเป็นเรื่องของพวกเจ๊กจีน ญี่ปุ่นยุ่นปี่ แขกดอย ฝรั่งดองโน่น เราเลยไม่ชิน อย่ามาแตะต้องความเป็นเทย (ออกเสีย เทยยยย)

เอาง่ายๆ สูตรในการทำธุระกิจ   

           กำไร (Profit) = ยอดขาย (Sales) -ต้นทุน (Cost) 

  • Poor Safety - ทำงานห่วยแตก มีอุบัติเหตุไม่เว้นแต่ละวัน เดี๋ยวตาย เดี๋ยวเจ็บ ไฟไหม้ ระเบิด รถชน รถคว่ำ แบบนี้ มันจะมีกำไรไหม ต้นทุนบานเบอะ พอสิ้นปีไม่มีโบนัส ประท้วงอีก
  • Poor Deliver- ไม่ต้องพูดถึงว่าส่งของตรงเวลา ส่งของแบบมีคุณภาพ กูส่งให้มึงช้าไปสามวันนี่ถือว่าเป็นบุญโขแล้ว  
  • Poor production, poor maintenance อันนี้ ไม่ต้องพรรณา ถนัดอยู่แล้ว ไม่ใช่ตังค์กู ผลาญมันเข้าไป
  • Poor Quality -- โอ้ย แบบฟอร์มเขามีให้กรอก เช็คลิสท์มีให้ติ๊ก คิดไรมาก
  • Poor Service-- บริการดีๆเขามีไว้ให้ฝรั่งนู่น ให้เลียตูดยังได้เลย คนชาติเดียวกัน คนเอเชีย เอาตีนเขี่ยๆก็ดีตายห่าแล้ว
สรุปง่ายๆ ถ้าจิตสำนึกความปลอดภัยไม่มี อย่าหวังเรื่องอื่นๆจะมี ขนาดเรื่องเป็นเรื่องตายยังไม่สำนึก ยังไม่มี จะเอาอะไรอี๊ก

สมัยหนึ่ง ผมดูแลทั้งหมด 5 ประเทศ แต่ละประเทศแหม อย่าให้พูด เด็ดๆทั้งน้าน จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย เกาหลี
ผมได้ไปยืนสังเกตุการณ์ การทำ เควายที ของคนงานที่โรงงานที่รังสิต (คงไม่ต้องบอกว่าประเทศอะไร) เซฟตี้ประจำโรงงาน หันมามองผม ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ มันดูเขินๆ

เอ้า มาๆๆๆ เข้ามา วันนี้เจ้านายกูมา ทำเควายทีโชว์หน่อย
คนงานเข้ามายืนเก้ๆกังๆ มีหลายคนหลบอยู่ห่างๆ
กว่าจะเข้ามาได้นานเลย
ว่าแล้วก็เริ่มพิธีกรรม
มือชี้ปากย้ำ
ประโยคสุดท้าย พวกเขาตะโกนดังลั่นว่า

เซฟตี้ ต้องเป็นศูนย์ โอ้ เค้

ผมนี่ใจหายวาบ












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประวัติศาสตร์เซฟตี้

 Abraham Maslow พูดถึงเซฟตี้ไว้เมื่อปี 1943 ว่าลำดับขั้นของความต้องการของคนนั้นมีอยู่เป็นลำดับๆ เริ่มตั้งแต่ความต้องการพื้นฐาน อย่างอาหาร อา...