แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Vehicle safety แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Vehicle safety แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ยางระเบิดดังปุ



อุบัติเหตุที่ทำให้สถิติแตกโพละ ที่เพิ่งเกิดที่โรงงานของเราที่ชลบุรี ทำให้ต้องย้อนกลับมาดูสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในกิจกรรมต่างๆที่นอกเหนือไปจากงานที่เกี่ยวกับการผลิตและการซ่อมบำรุงปกติ งานพวกนี้มักไม่ค่อยมีใครสนใจ ประเมินอันตรายและจัดการกับความเสี่ยง งานพวกนี้มักจะทำโดยคนไม่กี่คน ทำอยู่ในมุมมืด แดนสนธยา ไม่ค่อยมีการตรวจ การอบรม หรือมาตรการใดๆ

งานถอดเปลี่ยนยาง เติมลมยาง รถตักแร่ รถบรรทุก รถยก ที่ทั้งคนทำและคนยืนดูมองข้ามอันตรายไปโดยสิ้นเชิง

ปะยาง เติมลมยาง ถือว่าเป็นงานกระจอกสำหรับช่างทั้งหลาย พวกเก๋าๆ ไม่ค่อยทำเอง ส่วนใหญ่ใช้เด็กใหม่ทำมากกว่า

 

รูปที่เห็น เป็นการถ่ายโดยใช้กล้องความเร็วสูง 1500 ภาพต่อวินาที จับภาพของยางที่กำลังถูกเติมลม โดยมีหุ่นเด็กปั๊มชะตาขาดยืนดูอยู่ ภาพสุดท้ายยางระเบิดสลัดกระทะล้อที่ทั้งใหญ่และหนักกระแทกใบหน้าและศีรษะหุ่นตัวนี้ ผลก็คือ ตายคาที่
แล้วคุณละ เคยไปยืนดูช่างเปลี่ยนยางเติมลมใกล้ๆแบบนี้หรือไม่ ถ้าเคย แนะนำให้โอนมรดก หนี้สิน ที่ดิน ลูกเมียให้คนอื่นซะ เพราะไม่นานหรอก เมียจะเป็นหม้าย ลูกจะกำพร้า เจ้าหนี้จะชวดได้เงินคืน
 
 
 
 
มาตรการป้องกัน
·       ก่อนการเติมลมยางควรตรวจสอบสภาพยาง น็อตกระทะล้อและสภาพของกระทะล้อ ให้ดีว่าอยู่ในสภาพที่ชำรุดหรือไม่
·       วางยางในคอกเติมลม
·       ตรวจสอบหัวเติมลม สาย และตัววัดแรงดันลม
·       กันพื้นที่อย่าให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าใกล้
·       สวมแว่นตานิรภัยทุกครั้ง เพราะแรงระเบิดจะซัดสาดเศษหินเศษดินเข้าตาแตกได้ง่ายๆ
·       อย่าเติมลมเกินพิกัดกำหนด
·       อย่าใช้แก็สหรือความร้อนเป่ากระทะล้อที่ใส่ยางที่เติมแล้วเด็ดขาด
·       สำหรับพนักงานแวร์เฮาส์ อย่าเข้าใกล้ยางล้อรถที่มาบรรทุกของจนเต็มแล้วโดยไม่จำเป็น อย่าใช้ฆ้อน ท่อนเหล็กเคาะเช็คลมยางรถที่บรรทุกของ หรือยางที่วิ่งมาร้อนๆ
 
 
 


ประวัติศาสตร์เซฟตี้

 Abraham Maslow พูดถึงเซฟตี้ไว้เมื่อปี 1943 ว่าลำดับขั้นของความต้องการของคนนั้นมีอยู่เป็นลำดับๆ เริ่มตั้งแต่ความต้องการพื้นฐาน อย่างอาหาร อา...