แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Behavioral Safety แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Behavioral Safety แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2567

วัฒนธรรมเน้นเปลือก

เห็นกำลังรณรงค์กันมากมายเกี่ยวกับ "วัฒนธรรมความปลอดภัย"



ก็เลยอยากจะแจมกับเขาบ้าง ในฐานะคนในวงการ (ทำไม ไม่เขียนว่า ถานะ หรือทำไมเขียนว่า สถานะ) เห็นมั้ย แค่คำศัพท์ในภาษาพูด ภาษาเขียน คนไทย (หรือว่า คนไท คำไหนถูกใจ คำไหนถูกต้อง) 

ประเทศไทย ใช้คำว่า วัฒนธรรมเยอะมาก แต่มักจะออกไปในแนว

พิธีกรรม พิธีการ ซึ่งก็จะต่อท้ายไปหน่อยว่า ได้รับการสืบทอดกันต่อๆมา ตอนหลังก็เริ่มเสียงแตกว่า ไอ้ที่สืบทอดกันมามันก็ไม่ได้ดีไปเสียทั้งหมด บางอย่างก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าไอ้คนทำคนแรกนั้นมันคือผู้ใด ทำไปทำไม กูทำตามก็ยังงงๆว่าทำไปทำไม พอจะนึกออกมั่งมั้ยวัฒนธรรมแนวนี้  ในงานเซฟตี้นี่เยอะเลย เช่น จะซ้อมดับเพลิงที วิ่งหาเช่าวิทยุ หาซื้อหมวกสีทอง เอาให้บรรดานายๆเขาใส่ทำท่าแอ็คชั่น เวลาถ่ายรูปจะได้ดูสวย พิธีปลูกต้นไม้ มีกระบวยผูกโบว์ พิธีเปิดงานสัปดาห์ความปลอดภัย หูยๆๆๆๆใส่หมวก สายรัดคางเป๊ะ ใส่แว่น ใส่เสื้อสะท้อนแสง หนักๆเลยก็ใส่แมส เดินเปิดงานในห้องแอร์ กูจะบ้า  ไปตรวจงาน อีคนตรวจใส่ครบ คนถูกตรวจไม่ใส่อะไรเลย ดีนะที่ยังมีเสื้อ กางเกง 

เน้นแบบแผน อันนี้ก็ไม่รู้แผนใคร แผนอะไร มีแผนแล้วไงต่อ เคยไปดูมั่งมั้ยว่า เอาไป Implement มั่งมั้ย มีงบให้เค้ามั้ย เอาเข้าจริงก็ แพลนนิ่ง (แพลนที่อยู่นิ่งๆ)

เคารพผู้หลักผู้ใหญ่ หัวหงอกหัวดำให้มันรู้มั่ง ใครเป็นใคร เป็นเด็กเป็นเล็กอย่าสะเออะ ข้อนี้ ผมเห็นวัฒนธรรมคลานเข่า เข้าไปหา ผจ.โรงงาน เห็นแล้วช็อก ยิ่งบริษัทที่มีอายุยาวๆมาตั้งแต่เลิกทาสใหม่ๆด้วยแล้ว เห็นแล้ว บรื๋อ ความจริงแล้วประเทศที่เขาเจริญมากๆ คนของเขาเท่าเทียมกัน ในเรื่องความคิดความอ่าน ไม่ได้หมายความว่าคนหัวหงอกจะฉลาดกว่าเด็กหัวดำ เก็ทมั้ย เดี๋ยวนี้เด็กๆมันก็หัวขาวกันเยอะแยะไป มันย้อมกันได้  

เลือกปฏิบัติ คนไทยมีกฏหมายมากมาย แต่เอาเข้าจริง มันมีมาตรฐานว่า คุณรู้จักใครใหญ่ๆโตๆ คุณนามสกุลอะไร หลังๆมานี่นามสกุลมันตั้งให้หรูหราอลังการได้ ก็ต้องดูว่าคุณขับรถอะไร หิ้วกระเป๋าอะไร ใส่นาฬิกาอะไร บางโรงงานประกาศกฏ Life Saving Rules แต่พอเอาเข้าจริง พอนายๆทำผิดก็ติดอ่าง อึกๆอักๆ ไม่กล้าเอาออก ที่โดนก็พวกบรรดาซุปๆทั้งน้าน 

เน้น บูรณาการ คำนี้ผมก็ไม่ค่อยจะเข้าใจว่าเขาหมายความถึงอะไร สมัยรัฐบาลลุงๆทั้งหลายนั่น อย่างเยอะ บูรณาการมันน่าจะหมายถึง Integration ซึ่งมันมีเจ้าภาพ -Responsible มีคนนั่งหัวโต๊ะ - Authority ไม่ใช่ขี้เยี่ยวไม่ออกก็ให้นายกเป็นประธาน ตลกว่ะ คนบ้าอะไรเป็นประธานเป็นร้อยเป็นพันคณะ อันนี้ในโรงงานที่ไม่ค่อยจะเน้นการมีส่วนร่วม เขาจะหนักเรื่องนายใหญ่ๆ ที่นั่งอยู่ในโซฟาแถวหน้าๆ คล้ายๆในศาลาสวดศพ ไปดูเหอะ นั่งหัวโด่เด่คนเดียวกลางศาลา โซฟาเบ้อเริ่ม กลัวผีหลอกมั่งมั้ยล่ะนั่น

เน้นสมัครสมานสามัคคี คือห้ามคิดแตกต่าง เพราะความเห็นต่างจากผู้น้อยคือความกระด้างกระเดื่อง ความเห็นแย้งจากคนระดับเดียวกันนำมาซึ่งความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ทุกคนจึงต้องคมในฝัก ส่วนจะไปคมใน ฟัก (F_CK) กันข้างหลังอันนี้รับกันได้ คนไทยไม่รู้จักคำว่า Consensus  

เน้นสัญลักษณ์ เน้นเปิดป้าย ตัดริบบิ้น แบคดรอปหรูๆ กดปุ่มทีมีควันพวยพุ่ม มี Pritty พาเดินขึ้นเวที จูกลงเวที อันนี้ (ข้าใจได้ มันทำให้ลุงเขากระชุ่มกระชวย)

เน้นรางวัลดีเด่น รางวัลระดับชาติ ผมเคยเห็นมาเยอะแล้ว และก็จะได้เห็นกันต่อๆไปเรื่อยๆ 

รักษาไว้เป็นขนบธรรมเนียม อย่าเปลี่ยนแปลง (ข้อนี้ไม่มีใครพูดถึง )แต่ผมเห็นมาตลอด อย่างค่าธรรมเนียม น้ำร้อนน้ำชา ใส่ซอง ใต้โต๊ะ ถุงขนม ประมาณนั้น


ที่พูดมานั่น ไม่ได้เห็นแย้ง เรื่องการสร้าววัฒนธรรมความปลอดภัย ผมเห็นด้วยครับพี่ ดีครับผม เหมาะสมครับท่าน เอาที่สะดวกๆๆๆ  เอ้า ดนตรี ม่ะ 

แตรน ตะละแลน แต่น แตน แตน แต้นๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ 

 





 

 



วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2567

ลิงห้าตัว

 


 

นักวิทยาศาสตร์ เอาลิงมาห้าตัว ใส่เข้าไปในกรง ที่เพดานกรง มีกล้วยหวีหนึ่งห้อยอยู่ ใต้กล้วยหวีนั้นมีบันไดเตี้ยๆ พอที่ลิงเมื่อปีนไปบนบันไดแล้วจะคว้ากล้วยมาได้ง่ายๆ 

นักวิทยาศาสตร์ เฝ้าดูลิงทั้งห้าตัว 

หากมีลิงตัวใดตัวหนึ่ง เจี๊ยก ขุก ขุก เดินไปแตะบันไดและทำท่าจะขึ้น พวกเขาก็จะระดมฉีดน้ำเย็นเจี๊ยบใส่เจ้าลิงตัวนั้น มันร้องจ๊ากๆๆๆๆ และลิงสี่ตัวที่เหลือก็จะถูกน้ำเย็นนั้นฉีดใส่ ต้องร้องจ๊ากๆๆๆเจี๊ยกๆๆๆ ไปด้วยกันทุกตัว 

ทำอยู่เช่นนี้ทุกวัน เป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม 

ไม่มีลิงตัวไหนกล้าเข้าใกล้บันไดและกล้วยศักดิ์สิทธิ์นั่นเลย พวกมันได้แต่นั่งมองกล้วยศักดิ์สิทธิ์ด้วยความอยากกิน 

นักวิทยาศาสตร์ เอาลิงออกมาหนึ่งตัว เอาลิงน้องใหม่ใส่เข้าไปแทนหนึ่งตัว เจ้าเด็กใหม่ เข้าไปในกรง เห็นกล้วยศักดิ์สิทธิ์ มันบ่น ขุกๆๆๆ แล้วเดินอาดๆ เข้าไปที่บันได 

ทันทีที่มันคว้าบันได ลิงสี่ตัวที่นั่งหงอยๆอยู่ในกรงก็พากันรุมกระตื๊บและฉุดลากเด็กใหม่ออกมา เจ้าเด็กใหม่งงกับปรากฏการณ์นี้ มันได้แต่นั่งมองกล้วยนั่นด้วยความอาลัย ผ่านไปหนึ่งเดือน ลิงเก่าถูกเปลี่ยนออกไป มีลิงใหม่มาแทนหนึ่งตัว 

เหมือนเดิม เด็กใหม่เข้ามาในกรง มองกล้วย มองลิง ส่งเสียงถามเป็นภาษาลิง เฮ้ยๆๆๆ พวกเอ็งทำไมปล่อยให้กล้วยมันห้อยอยู่แบบนั้น ทำไมไม่กิน ว่าแล้วก็อาดๆเข้าคว้าบันได 

ความโกลาหลเกิดขึ้น ลิงสี่ตัว ซึ่งหนึ่งในนั้นเคยเป็นลิงใหม่ที่ไม่เคยเจอน้ำเย็นๆ ก็ร่วมกันกระทืบไอ้หน้าใหม่อย่าเอาเป็นเอาตาย 

ทำอยู่แบบนี้ เอาลิงเก่าออก เอาลิงใหม่ใส่แทนไปครั้งละตัว ได้ผลเหมือนเดิม จนกระทั่งลิงชุดแรกที่เคยโดนน้ำเย็นออกไปหมดแล้ว ยังปรากฏว่า เมื่อลิงใหม่เข้ามา หากไปแตะต้องกล้วยศักดิ์สิทธิ์นั่นมีอันเจ็บตัว 

การทดลองนี้พิสูจน์ให้เห็นสาเหตุที่เด็กอาชีวะต้องตีกัน ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปกี่รุ่น มันยังไม่รู้เลยว่าตีกันเรื่องอะไร 

เซฟตี้ก็เหมือนกัน หากทำให้เกิดปรากฏการณ์การยอมรับและเอาใจใส่เรื่องความปลอดภัยไปได้เรื่อยๆ แบบลิงห้าตัว แบบนี้ถึงจะเรียกว่า เจ๋งจริง 



วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567

สลดแล้ว สลดอีก สลดกันต่อไป

 




ขอหักมุมจากเรื่องฮาฮา มาเป็นเรื่องสลดหดเหี่ยวกันหน่อย ว่าเวลาที่คนงาน บาดเจ็บ ล้มตายกันแต่ละที เหตุการณ์ต่อจากนั้นมันเป็นยังไง ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร

ตัวอย่าง พอเกิดเหตุ คนงานลงไปตายในบ่อบำบัดน้ำเสีย คนงานที่มาประสบเหตุก็จะตกอกตกใจ โวยวาย บางคนก็กระโจนลงไปกะว่าจะช่วยเพื่อน บางคนก็วิ่งไปบอก ไปโทรหาหัวหน้า หัวหน้าก็โทรหา ผู้จัดการ ผู้จัดการโทรหาผู้จัดการ ผู้จัดการโทรหาผู้จัดการ จังหวะนี้ อาจจะมีคนที่พอมีสติโทรหารถพยาบาล โทรไม่ติด โทรติดไม่มีคนรับ มีคนรับพูดไม่รู้เรื่อง เอาเป็นว่า รถหวอคันแรกที่มาถึงก็มักจะเป็น กู้ภัย พระเอกตัวจริงของไทย กู้ภัยก็รีบลงไปช่วยกู้ศพขึ้นมา ตำรวจมาพอดีเลย อีกสักพักหมอก็มา ชันสูตรพลิกศพ ที่ถูกแบกขึ้นมาแล้ว ตามกฏหมาย มาตรา 34 พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย 2554 นายจ้าง ซึ่งก็มักจะเป็นผู้บริหารใหญ่ๆโตๆ ยศระดับ ผอ. ผจ. ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนนายจ้าง หรือถ้าเป็นโรงงานเล็กๆ ก็เจ้าของโรงงานนั่นแหละ ต้องแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันทีที่ทราบ โดยโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิธีอื่นใดที่มีรายละเอียดพอสมควร และให้แจ้งรายละเอียดและสาเหตุ เป็นหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกจ้างเสียชีวิต  ถ้าไม่แจ้ง มีสิทธิ์โดนปรับ ห้าหมื่นบาทกันเลยเชียว ส่วนว่าแจ้งไปแล้ว พี่เค้าจะมาเลย หรือไม่มา นั่นมันก็ขึ้นอยู่กับพี่เค้าแหละ ส่วนใหญ่ ถ้าไม่เป็นข่าวครึกโครม พี่เค้าก็จะไม่ค่อยมาหรอก มาทีนึงพี่ๆเค้าก็จะยังไม่ว่าอะไรมาก ส่วนใหญ่ก็จะแค่บอกว่า จ่อๆ หรือเล็งๆ เอาผิดนายจ้าง ไม่รู้ว่าที่เล็งๆจ่อๆ มีลั่นไกไปมั่งรึยัง 



อย่างกรณีเครนถล่ม แถวพระรามสาม ก็จ่อเอาผิดนายจ้าง เหมือนกัน 

ตัดฉากกลับมาที่ เจ้าพนักงานสอบสวน เขาก็มาสอบๆไป ส่วนใหญ่ ก็ประเด็นไว้กว้างๆก่อน ว่า เป็นอุบัติเหตุ หรือ ความประมาท  พี่ๆพนักงานสอบสวนเค้าไม่ค่อยมีอะไรสลับซับซ้อน เค้าเล็งมาที่ 

มาตรา 291 "ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท"
องค์ประกอบความผิด (1) ผู้ใด (2) กระทำโดยประการใด (3) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย (4) โดยประมาท (องค์ประกอบภายใน (ไม่ต้องมีเจตนา))


การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำที่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังทั้งๆที่สามารถใช้ความระมัดระวังเช่นนั้นได้ ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 59 วรรคสี่ "กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่"

สอบคนงานที่ทำงานแถวๆนั้น สอบหัวหน้างาน สอบเจ้าของโรงงาน สอบไปสอบมา ก็อาจจะแจ้งข้อหา คนงานด้วยกันที่บังเอิ้น รอดตายมาได้ หรือไม่ก็หัวหน้างาน รึไม่ก็ไฟร์แมน ส่วนบรรดานายจ้างรอดแน่นอน ก็หลักฐานมันไปไม่ถึง ไม่เข้าองค์ประกอบ 

ส่วน เจ้าหน้าที่ตรวจแรงงาน ถ้าจะหยิบเอา มาตรา ๘ ให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวง มาเลียบๆเคียงๆ ถ้าไม่กล้าถาม ก็อ้อมๆแอ้ม ถามก็ได้ อย่างเช่น กรณีคนงานลงไปตายในบ่อบำบัดน้ำเสียนั้น เขาลงไปทำอะไรกัน ลงไปนั่งเล่นเหรอ ถ้านายจ้างจะบอกว่าไม่รู้ คำถามต่อมาก็ลองอ้อมแอ้มถามดูก็ได้ว่า ทางเข้าทางออก ไม่ได้ปิดกันไม่ให้มีคนลงไปโดยพละการดอกรึ ลองหยิบ กฏกระทรวงเรื่องที่อับอากาศมาไล่นิ้วดู มีกี่ข้อที่นายจ้างไม่ได้ทำตาม แล้วแบบนี้ ถือว่านายจ้างละเมิด มาตรา 8 วรรคแรก ใน พรบ.ความปลอดภัยมั้ย ถ้าใช่ ก็มีบทลงโทษในมาตรา 53 หรือถ้าสอบไปสอบมา การณ์ปรากฏว่า มี ผจ. ผอ.นั่นแหละเป็นคนสั่ง บังคับให้ลงไป แถมรั้นอีกว่า ลงไปล้างแป๊บเดียวเอง จป.ท้วงว่ามันคือที่อับอากาศ ก็เถียงตาปูดตาปลิ้นว่าไม่ใช่ รูเบ้อเร่อเบ้อเถร มันจะอับได้ยังไง แบบนี้ ก็มาตรา 69 เลยครับ 

มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้น เกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของบุคคลใด หรือเกิดจากการไม่สั่งการ หรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ ที่ต้องกระทําของกรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย

เชื่อผมมั้ย ว่าส่วนใหญ่ ลูกจ้างตายไปแต่ละที ไม่เคยมีนายจ้างโดนลงดาบด้วย พรบ.ความปลอดภัยเลย ฆ่าตัดตอนกันด้วย มาตรา 291 เร็ว ครบ จบง่ายดี ส่วนลูกจ้าง ยังไงก็ไปร้อง กองทุนเงินทดแทนเอาละกัน สลดแล้ว สลดอีก สลดกันต่อไป 





วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อีสามตัว


การทำอะไรที่ไม่ปลอดภัย หรือที่เรียกว่าอันเซฟแอกชั่น เป็นพฤติกรรม ที่คนเราเป็นกันทุกคน ที่ทำแบบนั้น มีคำอธิบายได้ว่า

ก็ทำแบบนี้มาเป็นร้อยๆพันๆครั้ง ไม่เห็นเป็นอะไร

ปีนบันได ก็ไม่เห็นต้องมีคนจับ บันไดขะโยกขะเยก ก็ใช้มาเป็นชาติแล้ว ไม่เห็นเคยตก สายไฟแบบนี้ก็ใช้กันทุกที่ ไม่เห็นเคยโดนไฟช๊อตสักที ลงบันได ไม่เคยจับราว แถมโทรศัพท์อีกต่างหาก ไม่เคยตกบันได จะอะไรกันนักกันหนา

เมาแล้วขับ ก็เรื่องธรรมดา ไม่เห็นจะเคยชนใคร แว่นนี่ก็เหมือนกัน ใส่แล้วปวดตา ปวดหัว บีบขมับ คับจมูก ท้องผูก คลื่นใส้ ใข่ดันบวม โอ๊ย รำคาญ  ร้อยทั้งร้อยครับ ถ้าโดนไปสักที จะไม่ทำแบบนั้นอีกเลย

ทั้งหมดนั้น เป็นพฤติกรรม หรือที่เรียกว่า บีเฮฟวิเออร์ Behavior

ภาษาไทยแบบคนคุ้นเคยกัน เรียกว่า สันดาน (น่าจะหมายถึงพฤติกรรมแย่ๆที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกแก้ไม่หาย)

นักวิชาการด้านความปลอดภัย เริ่มหันมาสนใจเรื่องพฤติกรรม กันมานานพอสมควร หลังจากที่ใช้ความพยายามป้องกันอุบัติเหตุ ด้วยมาตรการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือ เทคนิคทางวิศวกรรม การฝึกอบรม การออกกฎ ข้อบังคับ

สมัยก่อน ผมเรียกวิธีพวกนี้ว่า ทฤษฎีอีสามตัว 3E

 

ทฤษฎีอีสามตัว เป็นเรื่องที่ผมเขียนลงวารสารบริษัทสมัยอยู่โรงไฟฟ้าเอกชน จั่วหัวเรื่องแบบนี้เลย ส่งให้อีนางสนมของ เจ้านาย นังนี่เป็นผู้จัดการแผนกประชาสัมพันธ์ ปรากฏว่าไม่ถึงครึ่งชั่วโมง มันส่งต้นฉบับกลับมา บอกว่า หัวเรื่อง ไม่สุภาพ อ้าว อีนี่... ก็ตัวอีสามตัวจะให้อ่านยังไง อีสามตัวไม่สุภาพตรงไหน
·       อีแรก คืออีเอ็นจิเนียริ่ง Engineering คือวิศวกรรม
·       อีที่สองคืออีเอ็ดยูเคชั่น Education การให้ความรู้ การศึกษา
·       อีที่สามคืออีเอ็นฟอร์ซเม้นท์ Enforcement คือการใช้กฎกติกา
 
อีเวรนี่ ไม่ทันอ่าน ตีเรื่องกลับ จะเอาเรื่องที่เป็นวิชาการเซฟตี้ ก็นี่งัยอีหอก นี่แหละวิชาการสำคัญเลยนะมึง (สมัยก่อนนั้นผมปากจัดมาก จำได้ว่าอีนี่โดนผมด่าเป็นหมันไปเลย) มันไม่เอาเรื่องผมไปลง ตัดเรื่องผมออก แล้วไปเขียนคอลัมน์เอง เลาะรั้วโรงงาน มีแต่เรื่อง หมาเจ้านายชื่อนั้นชื่อนี้ อู๊ย น่ารักอย่างนั้นอย่างนี้ แหวะ ใครอยากรู้วะ ว่าหมาเจ้านายชื่ออะไร มันชอบแดกใส้กรอกบีเคพี อีควาย (ขออภัย พูดถึงอีนี่แล้วมันเดือดดาล  พุทโธ ไว้ เย็นไว้ หายใจเข้า พูธ หายใจออกโธ)
 
กลับเข้าเรื่องดีกว่า ทฤษฎีอีสามตัวเหมือนว่าจะเอาอยู่ อย่างอันตรายจากการข้ามถนน มีอันตรายเกิดจากรถราขวักไขว่ ชนคนก็ตาย ชนกันเองก็พัง แก้ด้วยวิธีวิศวกรรมทำยังไง ก็สร้างสะพานลอยไง  สะพานลอยนี่เป็นวิธีทางวิศวกรรมที่ผมไม่ค่อยเห็นในประเทศไหนๆ ที่เมืองไทยนี่เยอะสุดแล้ว กะว่าสร้างสะพานลอยเสร็จ ผู้คนจะข้าม จะใช้มัน แต่เปล่าเลย วิ่งข้ามถนนเหมือนเดิม สะพานลอยกลายเป็นที่สำหรับขอทาน หรือพวกโจรขโมยใช้ทำมาหากิน

สะพานลอยไม่เวิร์ค คนยังวิ่งข้ามถนนใต้สะพานลอย ผู้บริหารหัวเหม่ง ไม่ท้อถอย วิ่งข้ามถนนใต้สะพายลอยใช่มั๊ย ทำราวกั้นเลย ทำรั้วกั้น ยาวไปเลย ทำเสร็จแล้วเป็นไง  มันปีนข้ามรั้ว วิ่งข้ามถนนใต้สะพานลอยเหมือนเดิม รถชนตายท่าเดิมเลย

ทีนี้ก็รณรงค์กันเป็นการใหญ่ ใช้อีตัวที่สอง เอ็ดยุเคชั่น ให้ความรู้ ทำป้ายโฆษณา แล้วงัย ... ทั้งเด็กผู้ใหญ่ นักเรียนนักศึกษา ครูบาอาจารย์ ปีนรั้ว วิ่งข้ามถนนใต้สะพานลอย เช่นเดิม

ใช้อีตัวสุดท้าย Enforcement เอาตำรวจมาไล่จับไล่ปรับ เอาจ่าเฉยมาตั้ง เอากล้องมาติด โอ้ว แม่เจ้า... ประเทศสาระขันธ์นี่ สามอียังเอาไม่อยู่ เลยต้องยึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญ ปฏิรูปประเทศกันยกใหญ่ (ไปนู่นได้ยังไงนะเรา)
 
ทฤษฎีเขาน่ะดี ครับ แต่ไม่สามารถเข้าถึงพฤติกรรมคนไทย เมื่อสักครู่ผมแปลว่าไงนะครับ อ๋อ ไม่เข้าถึงสันดานคนไทย ครับๆ ทำนองนั้น เพราะว่าทฤษฎีทางพฤติกรรมมันละเอียดอ่อน น่าสนใจ มาถึงตรงนี้ เลยจะเล่าให้ฟัง ว่า มีทฤษฎีอะไรบ้าง ที่เกี่ยวกับพฤติกรรม Behavioral Science

เอาจากเก่ามาหาใหม่เลยนะครับ
ทฤษฏีเอ็กซ์วายแซท XYZ บางคนงงๆ ทฤษฏีอะไรวะ ฟังดูเหมือนหนังเอ๊กซ์  ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เมืองนอกมันไม่รู้จักกันหรอก หนังเอ๊กซ์ เอ๊กซ์มูฟวี่ ไปหาซื้อ ฝรั่งมันงง มันคิดว่ามันฝรั่งทอดกรอบ
ทฤษฎีเอ็กซ์วายนี่ ค้นพบโดยฝรั่ง (คนไทยเรียกชาวต่างชาติว่าฝรั่ง น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า ฟร้านซ (France) พวกฝรั่งเศษ หรือพวก ฟร้านเซส ทำนองนั้น ไอ้ฝรั่งนี่มันชื่อว่า ดั๊กลาสแมคเกรเกอร์ ค้นพบเมื่อปี 1960 ก่อนผมเกิดห้าปี ตอนนั้นผมคงยังเป็นสัมภเวสีอยู่มั๊ง ไอ้นี่มันบอกว่า คนเรามีสองแบบ คือพวกเอ็กซ์ เป็นคนจำพวกขี้เกียจมาแต่อ้อนแต่ออก ใช้คำว่า อินเฮียร์เร้นทลี่ คือเกิดมาก็มีขี้ติดมาเลย เรียกขี้ชนิดนี้ว่าขี้เกียจ
ดั๊กลาสบอกอีกว่า พวกนี้ไม่ชอบทำงาน จะต้องคอยกำกับบังคับบัญชา กันอย่างใกล้ชิด เผลอเป็นหลับ ขยับเป็นแดก ทำนองนั้น เทคนิคการบริหารพวกเอ็กซ์ก็ต้องใช้การลงโทษ ถึงจะเอาอยู่ แบบว่า ออกมาชูสามนิ้วใช่มั๊ย  ไปจับไปอาบน้ำกันในค่ายทหาร พวกนี้ต้องเจอท่าเก็บสบู่ อะไรทำนองนั้น
อีกพวกหนึ่งคือพวกวาย คนแบบนี้เป็นประเภททะเยอทะยาน กระเหี้ยนกระหือ กระตือรือร้น พวกบ้าพลังอย่างเจ๊เนตรนี่แหละ

คนแบบวาย การทำงานมันโคครสนุก เหมือนเล่น ไม่เคยเบื่อ เลย ต่างกับพวกเอ๊กซ์ ไอ้พวกนี้ ขนาดให้เล่น จัดงานปีใหม่ งานแฟมิลี่เดย์ ไอ้พวกนี้ยังเบื่อเลย ขนาดไม่ได้ทำงานนะ โฮ่ๆๆๆ โดนละดิ โดนหลายคนเลย พวกวายนี่ ขืนทำโทษ โกรธจนลูกบวช แต่ถ้าชมนิดชมวันละหน่อย พวกนี้ทำตายเลย มันบ้ายอ
 
ริงๆแล้ว ไอ้ดั๊กลาสมันค้นพบทฤษฎีนี้ทีหลังปู่ย่าตายายเราเสียอีก ทฤษฎีรักวัวให้ผูกรักลูกให้ตีรักสามีให้หยิก รักกิ๊กให้มือถือ เราเจอก่อนมันอีก
ทฤษฎีในการสร้างแรงจูงใจของดั๊กลาสเกิดขึ้นและต่อยอดมาจากทฤษฎีของ อับบราฮัม มาสโลว์ 1943 ที่บอกว่า มนุษย์เราเนี่ย จะมีแรงจูงใจทำอะไรก็ต่อเมื่อความต้องการในแต่ละขั้นๆได้รับการตอบสนองก่อน
 
ความต้องการขั้นต่ำสุดของมนุษย์ก็คือ ความต้องการทางกายภาพ ท้องต้องอิ่ม มีน้ำดื่ม มีที่หลับนอน มีที่ขับถ่าย ถ้าคนยังหิว ไม่มีบ้าน ไม่มีส้วม ไม่มีเซ็กซ์ ไม่ได้สืบพันธุ์ จะไปบอกมันบอกว่า เฮ๊ย ใส่แว่นนะ ใส่เอียร์ปลั๊กดิ ใส่เซฟตี้ฮาร์นเนสนะ มันไม่สนหรอก บริษัทก็เหมือนกัน ยอดขายไม่ดี กำไรไม่มี ขาดทุนทุกเดือน โบนัสไม่มี จะให้ทำเซฟตี้ ฝันไปเถอะ
 
ความต้องการขั้นแรกได้รับหมดแล้ว มีบ้าน มีรถ มีเมีย คราวนี้ก็เรื่องความปลอดภัย บ้านก็ต้องปลอดภัย กันฝนกันแดด ร้อนไปใช่มั๊ย ซื้อฝ้าตราช้างมาติดดิ ดีนะ ของเค้าดี มีงานมีการทำ สภาพจิตใจ สภาพร่างกาย ดี พวกนี้ ให้ทำเซฟตี้ เขาก็เอา
ขั้นต่อมา ทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง พวกนี้เริ่มแสวงหาเพื่อนฝูง บางคนนั่งดูเฟสบุคทั้งวัน ใครส่งอะไรมา กูยังไม่อ่านเลย กดไลค์ไปก่อน เพื่อนจะได้รัก พวกที่มีเมียแล้วตอนขั้นที่หนึ่ง ก็เริ่มหารักแท้ ความสุขสมทางเพศ จากคู่รักใหม่ คนไทยเรียกกิ๊กกั๊ก
มีครบหมดแล้ว ขั้นเอสตีม พวกนี้ เริ่มแสวงหาความภาคภูมิใจ อย่างเล่นการเมือง เป็นนายก ไปไหนมีแต่คนยกมือไหว้ ใครๆนับหน้าถือตา มือเป็นฝักถั่ว (บางคนยกนิ้วกลางให้ยังคิดว่ามันยกมือไหว้เลย รับไหว้ปะลกปะลก
ขั้นต่อมา พวกที่แสวงหาความสุขสุดยอด ทำอะไรแปลกๆ เช่น กระโดดร่มดิ่งพสุธาตอนอายุเก้าสิบแปด ดำน้ำแต่งงานกลางทะเลลึก แสวงหาโมกขธรรม หาทางบรรลุจุดสุดยอดทางใจ (ต่างกับพวกแรกนะครับ ไอ้พวกแรกมีวิธีถึงจุดสุดยอดเหมือนกัน แต่สุขไม่เท่ากัน พวกนั้นมันสุขแปบเดียว)
ทฤษฎีมาสโลว์นี่ ผมใช้บ่อยๆ บางทีเห็นพวกฝรั่งเอามาใช้แล้วขัดใจ เพราะเวลาจะให้รางวัลคนงาน พวกฝรั่งบอกว่า อย่าไปแจกของ แจกเงิน แจกมาม่า แจกกาแฟ เดี๋ยวจะเคยตัวแบบทฤษฎีเอ็กซวาย ให้แจกเป็นใบประกาศนียบัตร สงสารคนงาน รับรางวัลเซฟตี้ดีเด่น ได้ใบประกาศไปใบหนึ่ง พอถึงบ้าน พ่อๆ ได้อะไรมา พ่อบอก นี่งัย กระดาษนี่ เอาไป(แดก) มันไม่ใช่ง่ะ ให้รางวัลไม่ตรงความต้องการ แรงจูงใจมันไม่เกิด กูรู้ ไม่ให้โบนัสแต่ให้ใบประกาศ เพราะพวกมึงขี้ตืด อย่ามาอ้างส่งเดช ไอฟาย (ต้องให้หลวงพี่สั่งสอนอีกสองป๊าบ ไอ้พวกนี้)

 
ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมอย่างชัดเจน จะทำให้เราแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสุดท้ายแล้ว พฤติกรรมที่ปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในองค์กร ก็จะทำให้เกิดสภาพหรือบรรยากาศการทำงานที่คนหมู่มากทำตามๆกัน อย่างปลอดภัย เหมือนอย่างเรื่องลิงห้าตัว ไว้วันหลังจะมาขยายความตรงนี้ต่อ วันนี้เอาไว้แค่นี้ก่อน
 
ษมน รจนาพัฒน์
December 18, 2014
 
 
 
 
 
 
 

 


ประวัติศาสตร์เซฟตี้

 Abraham Maslow พูดถึงเซฟตี้ไว้เมื่อปี 1943 ว่าลำดับขั้นของความต้องการของคนนั้นมีอยู่เป็นลำดับๆ เริ่มตั้งแต่ความต้องการพื้นฐาน อย่างอาหาร อา...