วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568

นาทีชีวิต

 ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตและสูญหาย




เหตุไฟไหม้โรงงาน สร้างความสูญเสียมากมายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ในฐานะคนที่คร่ำหวอดในแวดวงความปลอดภัย จึงอยากจะฝากไว้เป็นข้อคิด สำหรับคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน และคนทำงาน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เป็นผู้ออกและบังคับใช้กฏหมาย ไล่เป็นข้อๆ ตามแบบจำลองการเกิดความสูญเสียของ Frank E. Bird

ความสูญเสีย (Loss)

ความสูญเสียจากเหตุเพลิงไหม้คราวนี้ มากมายมหาศาล แม้จะเทียบไม่ได้กับเหตุการณ์โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ ครั้งนี้มีผู้คนสูญหายและเสียชีวิตมากมาย คำถามตัวใหญ่ๆ ก็คือ 
  • เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้น ทำไมจึงเกิดการลุกลามอย่างรวดเร็ว แทนที่จะมีการระงับเหตุได้ตั้งแต่เพลิงยังมีขนาดเล็กๆ (Incipient Stage) 
  • มีผู้พบเห็นเหตุการณ์ในขณะที่ไฟเริ่มไหม้หรือเปล่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเวลาทำงาน กลางวันแสกๆ ไม่มีผู้พบเห็นไฟหรือควันเลยหรือ
  • หากมีผู้พบเห็น เขาได้แจ้งเหตุเพลิงไหม้อย่างไร บางโรงงาน แม้จะมีขนาดพื้นที่ต่อชั้นมากกว่า 300 ตรม. และมีมากกว่าสองชั้น ก็ไม่มีระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้อัตโนมัติ มีเพียงเครื่องส่งสัญญานแบบมือหมุน หรือว่า
  • มีระบบแจ้งเหตุ แล้วมันอยู่ในสภาพที่ใช้การไม่ได้ 
  • หรือระบบแจ้งเหตุทำงานแต่ไม่มีใครเข้าระงับเหตุในช่วงแรก 
  • หรือระบบดับเพลิงใช้การไม่ได้ ไฟจึงลุกลาม 
  • แล้วเหตุใดจึงไม่มีการอพยพออกจากอาคาร จนทำให้มีผู้สูญหายและเสียชีวิต 
  • หรือมีการอพยพ แต่ไม่เป็นระบบ ไม่เป็นไปตามแผนอพยพ 
  • การเข้าระงับเหตุของหน่วยกู้ภัย มีการแจ้งเหตุและประสานงานอย่างไร เหตุใดจึงมาถึงที่เกิดเหตุในขณะที่ไฟโหมจนเข้าไม่ได้ เพราะโครงสร้างอาคารอาจจะทรุดตัว

ก่อนเกิดเหตุและขณะเกิดเหตุ

  • เกิดอะไรขึ้นจนทำให้เกิดการลุกไหม้และไฟลามอย่างรวดเร็ว 
  • มีงานเชื่อม งานเจียร งานตัดหรืองานที่มีความร้อนหรือไม่
  • มีการลัดวงจรไฟฟ้าหรือไม่
  • มีการสูบบุหรี่ในพื้นที่ซึ่งมีวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงหรือไม่ 
คำถามเหล่านี้ จะนำไปสู่การค้นหาความจริงว่า มาตรการความปลอดภัยที่มีอยู่ มีประสิทธิภาพเพียงใด ได้มาตรฐานหรือไม่ หรือได้รับการปฎิบัติตามมาตรการและมาตรฐานเหล่านั้นอย่างเคร่งครัดแค่ไหน

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ภาวะไร้อารมย์

 

ชื่อเจ้าของโมเดลนี้เรียกยากหน่อย แต่เรื่องนี้เข้าใจไม่ยาก มันคือแบบจำลองการไหล (ไม่รู้อะไรไหล)

 Csikszentmihalyi's flow model.

โมเดลของลุงฉะซิกฉะเซ็นท์มิหันละยี้  ไงล่่ะมึง แค่ชื่อกูก็เครียดแล้ว แกบอกว่า ไอ้หลานเอ้ย อะไรที่มันทำยากๆ แล้วเราก็ดันไม่เคยซะด้วยเนี่ยมันเครียดนะเว้ยเฮ้ย (High Challenge Level-Low-Skill Level) 

ยังไงลุง แกหันมาสบตา ลังเลจะบอกดีไม่บอกดี บอกมาเถอะ ผมไม่เอาไปเล่าต่อ 

ก็มีอยู่ครานึง รุ่นพี่พาไปเปิดจุกแถวๆประตูน้ำ ลุงเนี่ยให้ตายเถอะ ไม่เคยเลยเรื่องแบบนี้ อย่างมากก็แค่ช่วยตัวเองในที่ลับตา

มันเป็นความยากขีดสุดสำหรับเด็กหนุ่มบ้านนา ที่ไม่ประสีประสาอะไรเรื่องแบบนั้น พอถูกดันเข้าไปในห้องกับผู้หญิงอ้วนๆลงพุง ที่ไม่นุ่งอะไรเลย มันโคตรเครียด (Anxiety) 

ตรงกันข้ามกับสาวใหญ่ที่นอนเปลือยกายรออยู่ เธอดูไร้อารมย์ (Apathy) โดยสิ้นเชิง ก็เพราะว่างานของเธอมันไม่ได้มีความยากและท้าทายสำหรับเธอแล้วแทบไม่ต้องใช้ทักษะอะไรในการทำให้หนุ่มน้อยคนนี้แตกซ่าน

แต่ในสถานการณ์ที่ทำให้ Flow มันอธิบายได้ว่า ความท้าทายกับทักษะที่ต้องใช้มันทำให้เร้าร้อน เอ็งก็มันข้าก็มัน 

ลุงแกว่า ทำตาเคลิ้มถึงอดีต การเสียตัวครั้งที่สิบห้ากับสาวหน้าใสพูดไทยไม่ชัดครั้งนั้นมันทำให้แก Flow 

อธิบายแบบนี้ เข้าใจทฤษฏีของลุงรึยัง 

ทฤษฏีนี้ใช้ทำอะไร คำตอบคือ การใช้คนให้เหมาะกับความยากง่าย และหรือเข้าใจมากขึ้นว่าอะไรทำให้คนบางคนเครียดจนขี้แตก เมื่อเจองานหินที่ตัวเองไม่มีทักษะ ในขณะที่พวกมือโปรเจองานกระจอกก็นั่งกัดเล็บด้วยความเบื่อหน่าย (Boredom)

ความกดดันทางจิตใจ (Psychological Hazards)

 


ความเครียดและกดดันทางใจก่อให้เกิดผลกระทบมากมายเกินกว่าที่คุณและผมจะเข้าใจ มันไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่มันเป็นภัยคุกคามในสภาพแวดล้อมการทำงานที่สำคัญมากๆเลยทีเดียว

ตอนเรียนหนังสือที่โรงเรียนก็ถูกพวกลูกคนรวย อย่างพวกลูกๆเถ้าแก่ในตลาดรังควาน ถูกพวกลูกตำรวจ ลูกครูรังแก ก็เก็บกดไปพอประมาณ

พอเรียนจบเข้าทำงาน ก็ไปเจอหัวหน้า เพื่อนร่วมงานที่เขาจบมหาวิทยาลัยเดียวกัน รวมหัวกันกดดันกลั่นแกล้ง 

เขาไม่ยอมส่งมอบงานให้ ในขณะที่เราก็เป็นคนใหม่ เข้าไปในตำแหน่งผู้จัดการแผนก งานเซฟตี้ก็มีคนสูงอายุสองคนทำอยู่ก่อนเรา คนหนึ่งเป็นทหารเรือเก่า ใครๆก็กลัวแกเพราะแกดุ พอถึงวันที่นายใหญ่จะเข้าโรงงาน แกจะเตรียมธงเขียวไปยืนรอที่ประตูทางเข้า ซึ่งเป็นประตูโรงงานโอเลฟิน พอรถมาถึงแกจะโบกธงผึงแล้ววิ่งชูธงนำหน้ารถเหยาะจนรถเข้าโรงไฟฟ้าของเรา ทำแบบนี้เพราะนายเขาไม่ชอบลงไปติดต่อที่ป้อม รปภ.ข้างหน้า และแกก็ไม่เคยติดบัตรพนักงาน 

วันหนึ่งมีผู้บริหารแก่ๆมาเยี่ยม บรรดาผู้จัดการเข้ากันหมด ในห้องพวกเขาดูครื้นเครงระหว่างพวกเขา แล้วผู้บริหารท่านก็ถามขึ้นมาว่า กรดซัลฟุริคสองพันกว่ากิโลรั่ว ปั๊มเอย ท่อเอย วาวล์เอยจมใต้กรด ไม่มีใครเห็น มันเป็นเพราะอะไร 

หนึ่งในนั้นตอบเสียงดังทีเล่นทีจริงว่า เขื่อนมันสูง เราเดินผ่านแล้วมองไม่เห็น นี่ผมว่าจะเสนอให้ทุบเขื่อนให้เหลือสักห้าสิบเซ็นต์ แล้วเขาก็คุยครื้นเครง จนผู้บริหารท่านนั้นหันมาเห็นผมเข้า พยักหน้าถาม เซฟตี้เมเนเจอร์คนใหม่รึ คุณเห็นอย่างไร

ผมขออนุญาตพูดแล้วก้าวฉับๆไปที่เครื่องฉายแ่นใส วาง Loss Causation Model ของ Frank E.Bird แล้วอธิบาย ผมเสนอว่า สิ่งที่เราควรต้องมีและทำมีหลายอย่าง ได้แก่ มาตรการในการตรวจสอบระบบท่อ Joint Flanges Valves เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการผุกร่อนและรั่วไหลขึ้น แถมเสนอมาตรการป้องกันการหกล้น ระหว่างการเติมกรดจากรถบรรทุกสารเคมี แล้วเสริมว่า Secondary Containment ที่มีนั้นดีอยู่แล้วไม่ควรทุบให้เตี้ยลง 

แล้วก็มีเสียงสอดขึ้นว่า ทำไมไม่เสนอให้สร้างเขื่อนรอบโรงไฟฟ้าเลยล่ะครับ เวลาอะไรรั่วจะได้ไม่ออกไปข้างนอก แล้วพวกเขาก็ฮาครืน ราวกับผมเป็นโหน่ง เท่งมาเล่นตลกให้ดู 

ครั้งนั้นบอกได้เลยว่าเครียดจนเจ็บจี๊ดในอก 

คงไม่ใช่ผมคนเดียวที่เจอ พวกเซฟตี้ตัวเล็กตัวน้อยในบริษัทใหญ่บริษัทเล็ก และคนที่ทำงานอื่นๆในที่ต่างๆ ก็ล้วนมีเรื่องที่ทำให้เกิดความเครียดความกดดันกันทั้งนั้น อยู่ที่ว่าใครจะมีน้ำอดน้ำทนแค่ไหน 

ในทางวิชาการ เราต้องทำหลายอย่างเพื่อจัดการอันตรายประเภท Psychological Hazards อย่างระมัดระวัง

ขั้นแรก ทำความเข้าใจปัจจัยที่นำมันมา มีอะไรบ้าง อย่างกรณีผม ความไม่ให้เกียรติ และการแสดงออกในลักษณะเหยียดหยามรังแกด้วยความเป็นคนเก่า มีมากกว่า มันกดดัน

บางแห่ง หัวหน้างานเอาเปรียบลูกน้อง อย่างกรณีหัวหน้างานที่ดูแลจัดตารางการเดินรถ ที่จะจัดทริปให้เฉพาะลูกน้องในคอก เพราะใครได้ทริปมากก็มีรายได้มาก ใครไม่เข้าคอกก็ไม่ค่อยได้ทริป แบบนี้ ประยูร เคนเล่าให้ผมฟังพร้อมๆกับน้ำตาคลอเบ้า ความเอาเปรียบและแบ่งพรรคแบ่งพวก 

บางทีหัวหน้าหรือผู้จัดการเอาแต่ใจ ใช้อารมย์ก่นด่าหยาบคาย ไม่อธิบายให้ชัดเจนว่าจะเอาอะไร ลูกน้องถามก็ด่าว่าโง่ พอเขาขอคำอธิบายก็หาว่าเถียง 

คนงานหัวร้อน ใช้ความรุนแรงกับเพื่อนร่วมงานก็มีให้เห็นมากมาย 

ผู้บริหารที่ไม่ใช่ Leader ก็จะไม่เข้าใจ เพราะพวกเขาเป็นแค่ Manager เรื่องละเอียดแบบนี้เขาไม่เข้าใจหรอก 

มันต้องเริ่มที่หัว หางจึงกระดิก 

เรื่องแบบนี้เวลาป่วย มันออกอาการทางกาย นอนไม่หลับ เครียด บางคนเลยเถิดเป็นโรคซึมเศร้า ทำอะไรที่เราไม่คาดคิดก็มีมากมาย 

บริษัทไหนที่เขาให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยและ Well-Being จริงๆ ไม่ใช่แค่ถุยๆตามที่นายฝรั่งเมืองนอกเขาสั่งมา ก็พอจะได้เป็นบุญเป็นกุศลให้คนที่ด้อยกว่า แต่ถ้าแค่ถุยๆ ก็คงจะได้แค่โปสเตอร์สวยๆส่งมาจากเมืองนอก แปลแล้วส่งให้บรรดานายๆเอาปากกาเมจิมาเซ็นรับทราบนโยบาย จบ แบบเครียดๆ ในความฮามันก็มาพร้อมกับความเครียด 

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2568

คุยกับอังเคิ้ล

 ใครๆก็มีลุงกันทั้งนั้น คนไทยก็อยู่กับลุงมาตั้งหกปี บางคนก็ได้ลุงส่งเสียจนเรียนจบ แต่บางคนคุยกับลุงแค่ 17 นาที คนทั้งประเทศลุกฮือเรียกร้องให้ลาออก 


ไม่รู้จะสงสารหรือสมเพสดี 

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2568

การป้องกันการพังทลายของดินในงานขุด (Cave-In Prevention)


ดินถล่มทับคนงาน ไม่ใช่ว่าในต่างประเทศเขาไม่เคยเกิด แต่พอเกิดขึ้นแล้ว เขาหาทางแก้ไขและป้องกัน

ทางหนึ่งก็ด้วยการออกและบังคับใช้กฏหมายอย่างเข้มงวด ประโยคเมื่อกี้ มีสองคำ คือ ออกกฏหมาย และบังคับใช้อย่างเข้มงวด 

ประเทศนี้ล่ะ ออกกฏหมายมั้ย 

อย่างน้อยๆ มีกฏกระทรวงสองสามฉบับที่พูดถึงเรื่องนี้ ได้แก่

กฏกระทรวงว่าด้วยเรื่องที่อับอากาศ ที่พูดถึง บ่อ หลุม ว่าเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่อับอากาศ และพูดถึง สภาพอันตรายที่ลูกจ้างอาจจะถูกวัสดุถล่มทับจนจมลงไป นายจ้างบางราย (ที่มีจิตสำนึกก็จะตีความร่องลึก บ่อ หลุม เป็นที่อับอากาศ แล้วกำหนดให้ต้องมีการขออนุญาตกัน) ส่วนนายจ้างที่ไม่มี ก็จะไม่ตีความเอาแบบนั้นเพราะมันยุ่งยากและสิ้นเปลือง

อีกฉบับ ก็เป็นกฏกระทรวงเกี่ยวกับงานก่อสร้าง ที่พูดถึงเรื่องงานเจาะ งานขุด ไว้ในหมวดที่ 2 เนื้อหาในหมวดนี้เขียนไว้หยาบๆ ไล่ไปตั้งแต่ว่า ต้องมีการเคลื่อนย้ายสาธารณูปโภคในละแวกที่จะขุดออกไปก่อนเพื่อกันอันตราย แต่ถ้าย้ายไม่ได้ก็ต้องมีมาตรการป้องกัน 

พูดถึงราวกันตก ป้ายเตือนอันตรายและสัญญานแสงสีส้มเห็นได้เวลากลางคืน ถ้ารูหลุมนั้นลูกจ้างอาจจะพลัดตกได้ก็ให้หาอะไรมาปิดเสีย ให้แข็งแรงพอและทำราวกั้น ข้อนี้เป็นมาตรฐานปลายเปิด ตามอัธยาศัยและจิตศรัทธาของผู้ปฏิบัติ เคยมีคนเดินเหยียบแผ่นไม้อัดที่ปิดรูลึกกว่า 5 เมตร หล่นลงไปตายระหว่างวิ่งข้ามถนนลัดเข้าไปในเกาะกลางที่บริษัทโทรคมนาคมทำค้างไว้ แต่เขาไม่ใช่ลูกจ้าง กฏกระทรวงข้อนี้เลยเอาไปใช้ไม่ถนัดนัก 

ข้อ 25 และ 26 เนื้อหาค่อยใกล้เคียงมาตรฐานที่ชาติอื่นเขาทำกัน เช่น ต้องจัดให้มีปลอกเหล็ก แผ่นเหล็ก ค้ำยัน หรืออุปกรณ์อื่น กันดินทลาย และต้องให้วิศวกรตรวจสอบ ไอ้ที่จะได้เห็น การ Shoring, Shielding มาตรฐานเรื่องการกองขี้ดิน การตรวจเนื้อดินและออกแบบการขุด ไม่มี บอกแล้วว่ามันเป็นกฏหมายหยาบๆ 

ข้อ 28 พูดเรื่องขั้นตอนการลงไปในรูในหลุมที่ลึกเกินกว่า 2 เมตร คล้ายๆเข้าที่อับอากาศ แต่หยาบๆ เน้นให้ผู้ควบคุมงานต้องมีความรู้เรื่องงานดิน และช่วยชีวิต เป่าปากกดหัวใจเป็น เน้นเก็บกู้ซะมากกว่า บอกแล้วว่ากฏหมายหยาบๆ 

ข้อ 29 ห้ามลูกจ้างลงหลุมที่กว้างไม่เกิน 75 ซม. ลึกเกินสองเมตร ก็ประมาณความกว้างบุ้งกี๋รถแบคโฮ งานถนัดของการเดินท่อเลย ห้ามได้ไง กฏหมายหยาบๆ 

งานขุด Trenching, Excavation ในมาตรฐานประเทศที่เขาเจริญแล้ว ละเอียดกว่านี้มาก เขาพูดถึง

ให้มีผู้ชำนาญการ (Competent Person) ที่รู้เรื่องประเภทของดิน A,B,C,และรู้วิธิป้องกันดินถล่มด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น Sloping, Benching, Shoring กันการถล่ม หรือที่เรียกว่า Cave-In ผมเอามาแปะไว้ เผื่อมีใครจะสนใจอ่าน แต่ไม่อยากอ่านก็ไม่เป็นไร ไม่ว่ากัน เอาเป็นว่า ดินขนาดแค่ลูกบาศก์เมตร น้ำหนักก็พอๆกับรถปิกอัพคันหนึ่ง ถ้าถล่มทับใครเข้า ขุดกันนานเลย เซฟตี้เมืองไทย วัฒนธรรมความปลอดภัยแบบไทยๆ บอกตรงๆ หยาบมาก 






 

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ไม่ต้องหามไกล

 ไฟ 22 KV ดูดลูกจ้าง


เหตุการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2568 นาย จ ชื่อจริงเขาปกปิดไว้ อาจจะชื่อ จ่องเมี๊ยะ นายจ่วงเมย หรืออาจจะชื่อนายจำรัส จำรูญ  เป็นคนเมียนมา อายุ 29 ปี เป็นลูกน้องนาย ข ชื่อจริงไม่ทราบ รู้แต่ว่าเป็นคนเมียนมาเหมือนกัน ทั้งคู่เป็นลูกจ้างบริษัทชื่อ A อาจจะย่อมาจาก Abdominal Construction หรือ เอไอเอฟ ไฟเบอร์ อะไรสักอย่าง เขาไม่บอกก็อย่าไปรู้มันเลย มันคงเป็นความลับกระมัง 
บริษัท A ได้รับว่าจ้างจากบริษัท B อาจจะเป็น บิ๊กบราเธอร์ คอนสตรัคชั่น เขาปกปิดเอาไว้ก็อย่าไปใส่ใจมันเลย 

นายจ่องเมี๊ยะ พนักงานตำแหน่งปีนเสา อันนี้ก็เป็นตำแหน่งเดียวกันกับผมสมัยเป็นเด็กเครื่องไฟ ปีนไปติดดอกลำโพงมั่ง ติดไฟมั่ง นายจ่องเมี๊ยะ ได้รับคำสั่งจากนาย ขอ ชื่อจริงไม่รู้ ผมจะเรียกว่านายขะหมิบละกัน จะได้ไม่หงุดหงิด นายขะหมิบเขาเป็นหัวหน้าว่างั้น สั่งให้จ่องเมี๊ยะขึ้นไปเพื่อตรวจสอบสัญญานโทรคมนาคมที่อุปรกรณ์ ที่ห้อยอยู่แถวๆสายแรงต่ำนั่น ที่เห็นเป็นพวงระย้า เขาใช้เหล็กฉาก ยาว 1 เมตร ที่ปลายติดอุปกรณ์ตรวจวัดความแรงของระบบโทรคมนาคม เป็นเข็มทิศ บริเวณที่นายจ่องเมี๊ยะขึ้นไปตามรูปมันเป็นหลังคากันสาดของร้านสะดวกก็ซื้อ ไม่สะดวกก็ไม่ซื้อ ใกล้ๆกันเป็นหม้อแปลง และเหนือขึ้นไปไม่ห่างนัก เป็นสายไฟ 22 KV 

นายจ่องเมี๊ยะคงถึงคราวเคราะห์ เพราะอ่านดูปรากฏว่า ทั้งบริษัท เอและบี ล้วนแต่มีระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยแบบหาที่ตำหนิไม่เจอ ระหว่างกำลังยักแย่ยักยันจ่อเหล็กฉากติดเข็มทิศขึ้นไป มันก็ดันไปโดนสายไฟแรงสูง เสียงดังเปรี๊ยะ จ่องเมี๊ยะกระตุกไม่กี่ที ไฟแลบแปรบปร๊าบ เสียชีวิตบนหลังคา ปากประตูทางเข้าวัด สร้างความตกใจสุดขีดให้แก่นายขะหมิบหัวหน้างานที่ยืนคุมงานอยู่เบื้องล่าง 

เอาล่ะ มาวิเคาะห์กันว่า ในแง่กฏหมายความปลอดภัย ใครผิด ใครถูก ดีนะ ใกล้วัด ไม่ต้องหามไปไกล 


วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2568

មិនអាចសើចបានទេ

 មិនអាចសើចបានទេ ភាសា

จะตีกันทำไม

ในขณะที่เศรษฐกิจไทยก็แสนจะทุเรศทุรัง การเมืองก็วุ่นวาย ทั้งฮั๊ว สอวอ ทั้งหลวงพ่อหลงเสียงนาง ตึกถล่มยังจับมือใครดมไม่ได้เป็นเรื่องเป็นราว ชั้นสิบสี่ก็จ่อๆจะฟ้อง รอสอทอชอก็ตีกันหัวร้างข้างแตก ไหนจะตึกประกันสังคมราคาเกือบหมื่นล้าน แล้วก็มาเรื่องไทยเขมรตีกัน เอาเข้าไป

ไปตลาดก็เจอพ่อค้าแม่ค้าทาแป้งทะนาคา ไปโลตัส ก็เจอแม่ค้าพูดไม่ค่อยชัด เติมน้ำมันก็เจอเด็กปั๊มเขมรมั่ง พม่ามั่ง ในโรงงาน ในไซท์ก่อสร้าง เราก็พึ่งพาแรงงานจากประเทศข้างเคียง คนไทยไม่ค่อยทำกันแล้วกระมัง เดี๋ยวนี้เวลาไปสอนหลักสูตร จป.บริหารภาคภาษาอังกฤษก็จะเจอคนจีนมานั่งเรียนกันเป็นกลุ่มๆ บางทีก็มี HR เป็นล่ามพูดไทยได้ จีนได้มานั่งเรียนด้วย หนักสุดคือไม่รู้เรื่องอะไรเลยเพราะเขาฟังภาษาอังกฤษไม่ออก ทำไงได้ เราก็พูดจีนไม่ได้ซะด้วย 

โลกมันเล็กลง คนมากขึ้น ที่อยู่ที่ยืน ที่เที่ยว ที่กิน การประกอบอาชีพมันฝีดเคือง 

สมมติว่า ไทยกับเขมรรบกันจริงๆ มีเครื่องบินวนมาทิ้งระเบิดกันตูมตาม มีรถถังออกมาวิ่งยิงกันตามสี่แยกไฟแดง อะไรจะเกิดขึ้นมั่ง 

หะแรก คงมีกฏอัยการศึก หรือไม่ก็เคอร์ฟิว ไปไหนมาไหนก็ต้องระวัง Line of Fire ยิงกันไปมาคงโดนหลังคาบ้านกูเข้าจนได้ 

เด็กๆวัยรุ่นน้อยลง คนแก่เยอะ ผู้หญิงน้อยกว่าชายสี่เท่า คราวประเทศเกิดสงคราม แก่ๆวัยใกล้เกษียณคงไม่แคล้วถูกต้อนไปวิ่งลุยกับระเบิดเพื่อช่วยรัฐบาลประหยัดงบค่าอุปกรณ์จีทีสองร้อยไปได้เยอะเชียว ถึงเวลานั้นคงฮาไม่ออก

ดีนะมีนายกเป็นผู้หญิง ไม่บ้าพลัง ถ้าเป็นสมัยท่านผู้นำทหาร ป่านนี้แกคงประกาศสงครามไปแล้ว เพราะไหนจะเครื่องบินรบ อาวุธยุทโธปกรณ์ เรือดำน้งเรือดำน้ำ ที่ยังไม่มีเครื่องยนต์เพราะเยอรมันไม่ยอมขายให้ ก็คงต้องเอาเครื่องนิสสันเชียงกงใส่ไปก่อน กำลังขับดันเรือหางยาวแถวๆแม่กลองได้ ใส่ไปสองสามเครื่อง เอาไปรบกับเขมรแก้เครียดก่อน 

ถ้าเป็นสมัยก่อน เด็กๆทะเลาะกัน ผู้ใหญ่ก็จะตวาดแหว มึงจะรบกันไปทำมาย อ้ายชิบหายยยย (ภาคด้วยสำเนียงสุพรรณ) ได้อารมย์ไปอีกแบบ 

เอาหล่ะ เศรษฐกิจแบบนี้ ใครจะมานั่งฝึกอบรมความปลอดภัยกันล่ะมึง เขาแย่งปราสาทกันเหยงๆ จะมานั่งขำอะไรกันนักหนา ไป้ ไปกู้ระเบิดโน่น เซฟตี้ไม่ใช่เหรอะ