วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2567

คณะกรรมการความปลอดภัยไม่เวิร์ค

 สภาพคณะกรรมการความปลอดภัย ที่พอประชุมที ก็ออกอาการแบบนี้

  • เข้าประชุมไม่ครบ ประธานไม่เข้า สมาชิกไม่ครบ ประชุมทั้งปี ประธานเข้าหนเดียว
  • ประชุมไป วิ่งเข้า วิ่งออก 
  • สมาชิกเงียบกริบ ไม่เสนอ ไม่แสดงความเห็น ไม่คัดค้าน ไม่มีมติ
  • ฝ่ายลูกจ้างพูด ฝ่ายนายจ้างเถียง หรือในทางกลับกัน บรรยากาศการประชุมคุกรุ่น 
  • มีแต่เรื่อง ส้วมแตก ส้วมตัน น้ำไม่ไหล ไฟไม่ติด หมาเข้าโรงงาน โรงอาหารข้าวไม่พอ 
  • ประธานพูดอยู่คนเดียว 
  • ขาประจำพล่ามไม่หยุด
  • เซฟตี้รับเละ ทุกอย่างเป็นหน้าที่ของเซฟตี้
  • ออกจากห้องประชุม หัวหน้าเรียกไปด่า ไปไหนมา มึงว่างมากนักรึ สิ้นปี ผลงานหด โบนัสหาย มีแต่งานราษฏร์ งานตัวเองไม่เสร็จ
  • และอีกสาระพัดร้อยแปดปัญหาที่เอาแต่พูด ไม่แก้เลยสักเรื่อง กลัวเปลืองงบประมาณ

คณะกรรมการความปลอดภัย เป็นอีกหนึ่งคณะที่กฏหมายบังคับนายจ้างให้ต้องจัดให้มี แถมกำหนดหน้าที่ไว้ชัดเจน สัดส่วนของคณะกรรมการก็มาจากฝั่งนายจ้างและลูกจ้างอย่างละเท่าๆกัน มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทำหน้าที่เป็นเลขา 

ปัญหาที่มักจะเจอ ก็คือ ไม่ค่อยมีใครอยากสมัครมาเป็นกรรมการ โดยเฉพาะฝั่งตัวแทนลูกจ้าง ส่วนฝั่งตัวแทนนายจ้างไม่ค่อยมีปัญหาเพราะแต่งตั้งกันมา ยังไงก็ต้องมาเป็น 

บรรยากาศของคณะกรรมการความปลอดภัยเป็นภาพสะท้อนวัฒนธรรมความปลอดภัย บางแห่ง ไม่มีคณะกรรมการความปลอดภัยมาต่อเนื่อง 2 ปี เพราะไม่มีใครสมัคร ผจก.ความปลอดภัยอยู่แค่ เดือนสองเดือน บางคนอยู่แค่สองอาทิตย์ลาออก บรรยากาศแบบนี้ เจ้าที่แรง สาเหตุสำคัญๆที่ทำให้คณะกรรมการความปลอดภัยไม่เวิร์คก็หนีไม่พ้นเรื่องเหล่านี้เลย
  1. เซฟตี้ เอาไว้ก่อน
  2. ไม่มีงบประมาณ
  3. ไม่มีแผนงาน
  4. มีแต่แผน ไม่มีใครทำ เซฟตี้เป็นเรื่องของ จป. สากกะเบือจนเรือรบ
  5. นายพูด ลูกน้องฟัง ห้ามถาม ห้ามเถียง
  6. ใครเสนอ คนนั้นทำ
  7. ไม่เคยเสร็จเลยสักเรื่อง
  8. กลัวเปลืองเวลางาน
  9. ไม่ไว้ใจ เดี๋ยวพวกหัวแข็งยูเนี่ยนเข้ามาแจม
  10. ไม่มี จป. ลาออกหมด 
ใครมีมากกว่า 3 ข้อ แสดงว่า วัฒนธรรมความปลอดภัยของคุณอยู่ในระดับวิกฤติ อย่าอยู่นาน ลาออกเถอะ 


วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567

ทำงานหนักจนถุงเท้าหลุด

 




"Work his sock off"

If you work your socks off, or work your tail off, you work very hard.

ผมมีเพื่อน มีหัวหน้า เป็นคนอังกฤษอยู่หลายคน ก็เลยได้พูด ได้คุย ได้เถียงกันอยู่บ่อยๆ คนอังกฤษใช้ Idioms มากมาย บางทีเราก็ยากที่จะเข้าใจอารมย์ที่อยู่เบื้องหลังคำพวกนั้น อย่างคำว่า " Smon, (my name), please do not be too difficult to Mohan Jale Jale (นามสมมติ). He is a good man, he works his socks off!!" 

ประโยคนี้ผมงงอยู่พักนึง เพราะข้อมูลที่ได้มา ไอ้นี่มันไม่ได้ขยันอะไรหรอก แต่ทำตัวเป็นเจ้าพ่อประจำโรงงาน ใครไม่เข้าไปอวยมัน มันก็บีบเขาออกหมด เซฟตี้คนเก่าๆ ถูกมันบีบจนอยู่ไม่ได้ และอีกอย่างที่รู้มา ไอ้นี่มันใช้วิธี เอาคนมารองมือรองตีน ยิ่งสาวๆด้วยแล้ว ถ้า Work her pants off จะโตเร็วมาก ชนิดที่ว่า ได้เลื่อน ได้ปรับตำแหน่งกันเร็วมากมาย Work his socks off- ขยันมากจนถุงเท้าขาด ถุงเท้าหลุด มันต้องขยันมากเลย ส่วน Work the pants off มันก็น่าจะความหมายใกล้เคียงกัน ใครไปเรียนที่อีตันมา ก็ช่วยเอามาบอกกันหน่อย เป็นวิทยาทาน

เรื่องมันก็มีอยู่ว่า ครั้งหนึ่ง ผมกำลังเดินตรวจโรงงานแห่งหนึ่ง เพราะมันเป็นช่วงโควิด เดินทางไปตรวจไปเยี่ยมประเทศอื่นไม่ได้ ว่างๆก็เลยลงไปเดินโรงงานที่ตัวเองต้องไปนั่งทำงาน เดินลัดเลาะไปจนถึงบ่อบำบัดน้ำเสีย ไม่ต้องสงสัย พวกผมก็เรียน Waste Water Treatment มา ไม่กาไม่ไก่หรอก อ่ะ บ่อสุดท้าย Retention Pond น้ำดูใสดี นึกชมอยู่ในใจ แต่สงสัยว่าทำไมประตูน้ำมันเปิด Over Flow ตลอด แบบนี้ถ้าระบบผิดปกติ มันก็ไหลออกเลย ไปไหน ไปแม่น้ำป่าสักไง กิโลเดียวเอง ฉับพลันนั้น เสียงพลั่กๆๆๆๆ ท่อขนาดใหญ่ฝั่งโน้น ปล่อยน้ำขุ่นคลั่กลงมา แล้วไหลออกไปเลย ด้วยความสงสัย ขึ้นไปดูระบบบำบัด ภาพที่ปรากฎคือ ถัง Equalization Tanks 6 ถัง พูนไปด้วยตะกอนดิน มันคือตะกอนดิน ส่วน Sedimentation Tank นิ่งสนิท ระบบบำบัดไม่ได้เดินเครื่อง อ้าวแล้วน้ำนั่นมาจากไหน 

เจ้าหน้าที่ สวล.ให้ข้อมูลว่า มันคือท่อที่ต่อตรงมาจากโรงงาน เอาไว้ระบายน้ำที่ไม่ได้บำบัดออกไป เพราะ เหตุผลร้อยแปด ผมเริ่มขุดเรื่องนี้ ก็พบว่า น้องที่ดูแลเรื่อง สวล.บันทึกเป็นรายงานเสนอนายทุกครั้ง ตั้งแต่ปี 2018 เรื่อยมา มีการปล่อยน้ำท่านี้ปีละไม่น้อยกว่า 12 ครั้ง ก็ประมาณเดือนละครั้ง พอเริ่มสอบสวน ไอ้คนที่ขยันจนกางเกงหลุดก็ประกาศกร้าวว่า ถ้า Smon นั่งเฉยๆไม่เป็น ก็จะไล่ให้ไปนั่งที่ประเทศอื่น พอเรื่องมาเข้าหู ผมก็โกรธจนแทบจะกระโดดขึ้นหลังคา Jump to the roof คราวนี้ก็ซัดกันนัว นั่นแหละคือที่มาของคำว่า Work the pants off  อุ๊ป ซี่  ปล่อยน้ำไม่บำบัดลงแหล่งน้ำสาธารณะ ปรับวันละ 200,000 บาทนะ กรรมการบริษัท เจ็ดคนก็วันละล้านสี่ ถ้าจำไม่ผิด อ้าว แล้วอุตสาหกรรมไม่รู้รึ อ้าว รู้ดิ เห็นเข้ามาดู มีรูปยืนคุยกันอยู่ แต่ไม่รู้คุยเรื่องอัลไร คงปรับกันไปหลายร้อยแหละมั้ง 

สลดแล้ว สลดอีก สลดกันต่อไป

 




ขอหักมุมจากเรื่องฮาฮา มาเป็นเรื่องสลดหดเหี่ยวกันหน่อย ว่าเวลาที่คนงาน บาดเจ็บ ล้มตายกันแต่ละที เหตุการณ์ต่อจากนั้นมันเป็นยังไง ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร

ตัวอย่าง พอเกิดเหตุ คนงานลงไปตายในบ่อบำบัดน้ำเสีย คนงานที่มาประสบเหตุก็จะตกอกตกใจ โวยวาย บางคนก็กระโจนลงไปกะว่าจะช่วยเพื่อน บางคนก็วิ่งไปบอก ไปโทรหาหัวหน้า หัวหน้าก็โทรหา ผู้จัดการ ผู้จัดการโทรหาผู้จัดการ ผู้จัดการโทรหาผู้จัดการ จังหวะนี้ อาจจะมีคนที่พอมีสติโทรหารถพยาบาล โทรไม่ติด โทรติดไม่มีคนรับ มีคนรับพูดไม่รู้เรื่อง เอาเป็นว่า รถหวอคันแรกที่มาถึงก็มักจะเป็น กู้ภัย พระเอกตัวจริงของไทย กู้ภัยก็รีบลงไปช่วยกู้ศพขึ้นมา ตำรวจมาพอดีเลย อีกสักพักหมอก็มา ชันสูตรพลิกศพ ที่ถูกแบกขึ้นมาแล้ว ตามกฏหมาย มาตรา 34 พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย 2554 นายจ้าง ซึ่งก็มักจะเป็นผู้บริหารใหญ่ๆโตๆ ยศระดับ ผอ. ผจ. ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนนายจ้าง หรือถ้าเป็นโรงงานเล็กๆ ก็เจ้าของโรงงานนั่นแหละ ต้องแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันทีที่ทราบ โดยโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิธีอื่นใดที่มีรายละเอียดพอสมควร และให้แจ้งรายละเอียดและสาเหตุ เป็นหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกจ้างเสียชีวิต  ถ้าไม่แจ้ง มีสิทธิ์โดนปรับ ห้าหมื่นบาทกันเลยเชียว ส่วนว่าแจ้งไปแล้ว พี่เค้าจะมาเลย หรือไม่มา นั่นมันก็ขึ้นอยู่กับพี่เค้าแหละ ส่วนใหญ่ ถ้าไม่เป็นข่าวครึกโครม พี่เค้าก็จะไม่ค่อยมาหรอก มาทีนึงพี่ๆเค้าก็จะยังไม่ว่าอะไรมาก ส่วนใหญ่ก็จะแค่บอกว่า จ่อๆ หรือเล็งๆ เอาผิดนายจ้าง ไม่รู้ว่าที่เล็งๆจ่อๆ มีลั่นไกไปมั่งรึยัง 



อย่างกรณีเครนถล่ม แถวพระรามสาม ก็จ่อเอาผิดนายจ้าง เหมือนกัน 

ตัดฉากกลับมาที่ เจ้าพนักงานสอบสวน เขาก็มาสอบๆไป ส่วนใหญ่ ก็ประเด็นไว้กว้างๆก่อน ว่า เป็นอุบัติเหตุ หรือ ความประมาท  พี่ๆพนักงานสอบสวนเค้าไม่ค่อยมีอะไรสลับซับซ้อน เค้าเล็งมาที่ 

มาตรา 291 "ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท"
องค์ประกอบความผิด (1) ผู้ใด (2) กระทำโดยประการใด (3) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย (4) โดยประมาท (องค์ประกอบภายใน (ไม่ต้องมีเจตนา))


การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำที่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังทั้งๆที่สามารถใช้ความระมัดระวังเช่นนั้นได้ ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 59 วรรคสี่ "กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่"

สอบคนงานที่ทำงานแถวๆนั้น สอบหัวหน้างาน สอบเจ้าของโรงงาน สอบไปสอบมา ก็อาจจะแจ้งข้อหา คนงานด้วยกันที่บังเอิ้น รอดตายมาได้ หรือไม่ก็หัวหน้างาน รึไม่ก็ไฟร์แมน ส่วนบรรดานายจ้างรอดแน่นอน ก็หลักฐานมันไปไม่ถึง ไม่เข้าองค์ประกอบ 

ส่วน เจ้าหน้าที่ตรวจแรงงาน ถ้าจะหยิบเอา มาตรา ๘ ให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวง มาเลียบๆเคียงๆ ถ้าไม่กล้าถาม ก็อ้อมๆแอ้ม ถามก็ได้ อย่างเช่น กรณีคนงานลงไปตายในบ่อบำบัดน้ำเสียนั้น เขาลงไปทำอะไรกัน ลงไปนั่งเล่นเหรอ ถ้านายจ้างจะบอกว่าไม่รู้ คำถามต่อมาก็ลองอ้อมแอ้มถามดูก็ได้ว่า ทางเข้าทางออก ไม่ได้ปิดกันไม่ให้มีคนลงไปโดยพละการดอกรึ ลองหยิบ กฏกระทรวงเรื่องที่อับอากาศมาไล่นิ้วดู มีกี่ข้อที่นายจ้างไม่ได้ทำตาม แล้วแบบนี้ ถือว่านายจ้างละเมิด มาตรา 8 วรรคแรก ใน พรบ.ความปลอดภัยมั้ย ถ้าใช่ ก็มีบทลงโทษในมาตรา 53 หรือถ้าสอบไปสอบมา การณ์ปรากฏว่า มี ผจ. ผอ.นั่นแหละเป็นคนสั่ง บังคับให้ลงไป แถมรั้นอีกว่า ลงไปล้างแป๊บเดียวเอง จป.ท้วงว่ามันคือที่อับอากาศ ก็เถียงตาปูดตาปลิ้นว่าไม่ใช่ รูเบ้อเร่อเบ้อเถร มันจะอับได้ยังไง แบบนี้ ก็มาตรา 69 เลยครับ 

มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้น เกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของบุคคลใด หรือเกิดจากการไม่สั่งการ หรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ ที่ต้องกระทําของกรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย

เชื่อผมมั้ย ว่าส่วนใหญ่ ลูกจ้างตายไปแต่ละที ไม่เคยมีนายจ้างโดนลงดาบด้วย พรบ.ความปลอดภัยเลย ฆ่าตัดตอนกันด้วย มาตรา 291 เร็ว ครบ จบง่ายดี ส่วนลูกจ้าง ยังไงก็ไปร้อง กองทุนเงินทดแทนเอาละกัน สลดแล้ว สลดอีก สลดกันต่อไป 





วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2567

ท่านประธานร่วงแล้ว

 

สลิงขาด กระเช้าลอยฟ้าหลุด ทำซีอีโอร่วงพื้นดับอนาถ  😪😪😪


ตั้งใจว่าจะเขียนถึงกรณีสลิงขาดคนงานตาย แถวๆถนนพระรามสอง ก็ไปป๊ะเอาข่าวนี้เข้า ขอแสดงความเสียใจกับการสูญเสียครั้งใหญ่ระดับซีอีโอ 

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น สามารถป้องกันได้ทั้งหมดแหละครับ บังเอิญว่างานนี้เป็นงานรื่นเริงบรรเทิงใจ กระเช้าที่ออกแบบมา ถ้าจะให้มีความปลอดภัยมากแบบว่า เป็น Safe Working Platform คนข้างล่างก็จะมองไม่เห็น-ท่านประธาน เพราะมีราวกันตกสูงๆ ครั้นจะให้ท่านใส่ PFSD=Personal Fall Arresting Device อย่างเซฟตี้ฮาร์เนส ท่านก็กลัวสูทจะยับ ถ่ายรูปแล้วมันจะไม่สวย ลำบากแท้ เรื่องเซฟตี้เนี่ย 

เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ทำให้ความทรงจำในครั้งหนึ่ง ที่ผมทำงานกับบริษัทซ่อมเครื่องยนต์ของเครื่องบิน แถวๆคลองเจ็ด ถนนลำลูกกา คราวนั้น บริษัทเปิดตัวธุรกิจใหม่ ซ่อมเทอร์ไบน์เบลด ของโรงไฟฟ้า จึงจัดงานยิ่งใหญ่ ที่ดรีมเวิลด์ ผมได้รับมอบหมายให้เป็นพิธีกร หลังจากถูกแต่งหน้าทาปากจนขาวว่อก คนคุมเวทีก็เอาสคริปท์มาบรีฟให้ฟัง

เอ่อพี่ การแสดงชุดแรกเป็นการแสดงช้างนะพี่ พอการแสดงชุดแรกจบ พี่ก็ขึ้นไปกล่าวเชิญคุณเอ็ด มากล่าวเปิดนะพี่นะ เอาตามสไตล์พี่เลย ไม่ซีเรียส (มึงไม่ซีเรียส แต่กูเครียด) แล้วการแสดงชุดแรกก็เริ่มขึ้น ช้างน้อยสี่ห้าตัวหลังจากมันออกมาเตะบอลกันพักนึง มันก็เดินชักแถวจับหางกันเข้าเวทีไป 

พิธีกร ก็ออกไปหน้าเวที กล่าวนั่นู่นนี่ แล้วก็เรียนเชิญ ดอกเตอร์เอ็ด เวอร์บิค ประธานในพิธีขึ้นเวที (จริงๆแล้วเวทีมันอยู่บนพื้นแหละ) เอ็ด เวอร์บิคก็เดินอาดๆมาหน้าเวที พลันก็มีเสียงดาบฟันกันช้งเช๊งจากหลังม่าน ตามมาด้วยนักดาบในชุดทหารโบราญ ไล่ฟันกันมาอย่างกับฉากนักเรียนตีกัน ตามมาด้วยเสียงช้างขนาดใหญ่แปร๋แปร๋น ไล่กันมาไม่ห่าง มันคือฉากยุทธหัตถี เอ็ด  เวอร์บิก หลบกับพื้น ตัวสั่น ส่วนกู ไม่ต้องพูดถึง หัวใจไปอยู่ที่ตาตุ่ม มันฟันกันนัวเนียอยู่บนหัวกูกับเอ็ดที่นั่งหลบแนบพื้น ขี้แทบแตก นั่นเป็นการผิดคิวที่เกิอบเอาชีวิตไม่รอดเลยทีเดียว เอ็ดถามรัวๆ สุมนต์ มึงจะฆ่ากูรึ  มันฟันกันอยู่แป็บนึงก็วิ่งเข้าฉากไป ผมประคองเอ็ดลุกขึ้น แล้วระล่ำระลัก "ขอบคุณท่านประธานที่ให้เกียรติร่วมแสดงในฉากอันแสนระทึกใจนี้ " รีบส่งไมค์ให้ แล้วรีบลงจากเวที วันต่อมา รีบยื่นใบลาออกเลย ขืนอยู่ กูโดนข้อหาพยายามฆ่าท่านประธานแน่ 


 

ระเบิดเถิดเทิง

 


ก่อนอื่น ขอบคุณสำนักข่าวทุกช่อง มติชน ข่าวสด ไทยรัฐ และอื่นๆ ที่ช่วยกันแจ้งข่าวสะเทือนขวัญ และเจ้าหน้าที่ทุกๆฝ่ายที่เข้าช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก

การระเบิดของโรงงานพลุ ไม่ใช่ครั้งแรกในเมืองไทย การระเบิดของรถบรรทุกเชื้อปะทุ คลังแสงของทหารก็เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เรียกได้ว่า เขย่าขวัญกันประจำปีเลยทีเดียว ระเบิดทีก็ตายกันเป็นเบือที  คำถามก็คือ เรา ได้เรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์พวกนี้บ้าง ไม่ต้องตอบก็ได้ เพราะการเกิดเหตุแบบเดิมซ้ำๆ มันบอกให้รู้ว่า เราไม่ได้เรียนรู้อะไรจากมันเลย 

เหตุระเบิดที่โรงงานพลุที่จังหวัดสุพรรณบุรีครั้งนี้ ตายไป 23 ศพ มีผู้รอดชีวิตเพียงรายเดียว คนที่ตายก็มีทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ระเบิดแหลกเหลวเป็นชิ้นเนื้อไปด้วยกัน ตอนนี้เรายังไม่รู้ว่าอะไรทำให้เกิดการระเบิด ในแง่ความปลอดภัย สาเหตุที่เป็น Immediate Causes ของการระเบิดของวัตถุระเบิดได้ ตามหลักของการจัดประเภทสารเคมี โรงงานแบบนี้ใช้วัตถุอันตราย Class 1


คนอื่นๆอ่านรหัสพวกนี้ไม่ออก ผมจะไม่ว่า ไม่บ่นอะไร แต่ท่านๆเหล่านนี้ถ้าอ่านไม่ออก บอกไม่ได้ซื่อบื้อ ผมต้องของอนุญาตหยิกคนละทีสองที

คนแรกเลย คนที่อนุญาตให้นำเข้า ผลิตและครอบครองวัตถุระเบิดพวกนี้ ใครวะ??? เอาหูม่ะ 

กระทรวงกะลาหอม กระทรวงนี้นอกจากจะถูกถามอยู่เรื่อยว่า ตะหานมีไว้ทำไม  เอาไปออกข้อสอบถามเด็กปอหนึ่ง เด็กๆมันก็ตอบได้แหละว่า ตะหานมีไว้ปาตีวัด กับเอารถถัง เรือ เครื่องบินมาโชว์ในวันเด็ก กระทรวงนี้ยังควบคุมเรื่อง การมีไว้และครอบครองพวกวัตถุที่เป็นยุทธภัณฑ์อีกด้วย อย่างพวกวัตถุระเบิด เชื้อประทุ และสารเคมีอีกหลายตัว เช่น โปแตสเซียมคลอเรท ไนเตรท ซึ่งส่วนใหญ่สามารถเอาไปทำวัตถุระเบิดได้ เพราะมันเป็นสารในคลาสที่ 5 พวกออกซิไดซิ่งเอเจ้น เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นพวกพี่เค้า ขับรถตระเวนไปตามเหมืองแร่ ที่ต้องใช้วัตถุระเบิดในการระเบิดเหมือง บางทีพี่เค้าก็มาป๊บเดียว คุยกับวิศวกรที่ดูแลการระเบิด รึไม่ก็กับนายเหมือง แล้วพี่เค้าก็กลับไป หุๆๆๆ พี่ๆเค้าขยัน 

เหตุการณ์สะเทือน จนเป็นหลุมลึกสี่เมตร ทำคนแถวทุ่งมะพร้าว ที่จังหวัดพังงาตายไปเกือบ สองร้อยคน นั่นก็เป็นเหตุการรถบรรทุกเชื้อประทุ หรือแก็บไฟฟ้า ระเบิด ลองย้อนดูเหตุการณ์

เหตุการณ์โรงอบลำใยแห้งระเบิดที่อำเภอสันป่าตอง คร่าชีวิตคนไป 39 คน ดูนี่เลย เหตุการณ์นั้นทำเอาลุงจิ๋วหวานเจี๊ยบซึ่งดำรงตำแหน่ง รอมอตอ กะลาหอมแกออกมาระล่ำระลักให้สัมภาษณ์ว่ากระทรวงแกไม่เกี่ยว กระทรวงเกษตรตะหาก ส่วนกระทรวงที่ออกตัวล้อฟรีก็กระทรวงอุด บอกว่าสถานที่ระเบิดไม่ได้รับอนุญาต ส่วนกระทรวงที่ได้หน้าได้ตาได้ใจไปเต็มๆก็กระทรวงแรงเงิน ออกมาบอกว่าจะจ่ายศพละเท่านั้นเท่านี้ แล้วก็จบเรื่องกันไป

ต่อมาก็คลังแสงที่ปากช่อง โคราชระเบิด กรณีนี้ ชาวบ้านร้านตลาดเสียชีวิตไปนับสิบ ดูคลิปแก้เหงา  ขนาดของพี่เค้าเองยังระเบิดเลย 

ต่อมาเมื่อปีก่อน โกดังแถวๆนราธิวาสระเบิด ข่าวว่าเป็นโกดังที่เก็บพลุ ดอกไม้ไฟ งานนี้ได้ข่าวมาว่าพอถามเรื่องการอนุญาตก็ติดอ่างกันไปมากมายเลยเทียว

ที่ต้องพูดถึงการอนุญาต ก็เพราะว่ามันคือต้นทางการควบคุม หากต้นทางมันหย่อนเป็นหนังกะติ๊ก ปลายทางมันก็ยานเป็นหนังกะป่อก 

กระทรวงต่อมาก็กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้เป็นคนให้อนุญาตตั้งโรงงาน ส่วนไอ้ที่จะบิดจะเบี้ยว เล่นคำว่าสถานประกอบกิจการแบบนี้ต้องขออนุญาตรึไม่ต้องขอ ก็ดูกันเอาเอง ว่า สถานที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ที่ตั้งโรงงานมันได้ผ่านการตรวจสอบกันมากมั้ย รึถ้าจะแถไถลไถเถือกกันไปว่าแอบตั้ง ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะปีก่อนก็ระเบิด

อีกกระทรวงที่จะไม่กล่าวถึงก็ไม่ได้ กระทรวงมะหาดเทย เขากับกระทรวงอุด แยกหน้าที่กันลำบาก เพราะเขาเป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของพื้นที่ ขนาดจะทำส้วมใหญ่ๆสักหลังยังต้องขอพี่เขาเลย ทำโรงงานพลุนะมึง ไม่ขอได้ไง อ่ะนี่ เอกสารที่ต้องเตรียม คล๊กเลย อย่าช้า  ก่อนพี่ๆเค้าจะอนุญาต นู่แหละมึง เกือบสองเดือน แต่ถ้าคุยกะแกดีๆ ที่เย็นๆ เพลงเบาๆ แกเซ็นเร็ว เชื่อกู 

กระทรวงถัดมาเลย ก็กระทรวงแรงงาน หยิบเอากฏกระทรวงเรื่องการจัดให้มีบุคคลากร บรรดา จอปงจอปอ มาถามเล่นๆ ว่าโรงงานพลุเนี่ยมันอยู่ในบัญชีไหนขอรับท่าน แล้วเขาจะต้องมี จอปอมั่งมั้ย ส่วนเรื่องมาตรการอื่นๆ ตามกฏกระทรวงอื่นๆ สภาพการทำงานปลอดภัยมั้ย อาจจะโดนถาดฟาดหัวโครม!!! ถามโง่ๆ ...

นี่ยังไม่รวมรถขนวัตถุระเบิดพวกนี้ ผมเคยเจอมากะตัว มีรถมาส่งของที่เหมืองยิปซัมแถวๆอำเภอหนองบัว นครสววรค์ ผมเห็นข้างรถเป็นพวกใส้กรอก หมูยอยี่ห้อหนึ่ง ก็เลยถามลูกน้องไปว่ารถใส้กรอกมาทำอะไร แถวๆโรงเก็บวัตถุระเบิด เขาก็บอกว่า ป่าวคับพี่ เป็นรถขนระเบิดเจล กับแก็บ ผมก็ถามไปว่าไม่เห็นติดเพลคาร์ดเลย เขาก็บอกว่าติดไม่ได้ครับพี่ เพราะถ้าเป็นรถขนระเบิด ตำรวจเรียกตลอดทาง โอววววแม่เจ้า แบบนี้วันดีคืนดี ไอ้รถใส้กรอกนี่ไปคว่ำ ไม่ซ้ำรอยเหตุการณ์ที่ทุ่งพร้าวหรอกรึ เอาๆๆๆๆ เอาที่สะดวกเลยมึง เรื่องนี้ต้องถามอีกกระทรวงนึง กระทรวงคม -นา-คม นี่ได้ข่าวว่าเจ้ากระทรวงคนก่อนถูก ปอชอปอ ปอปอชอ ปอปองอ และอีกหน่วยหน่วยงานอิสระ (เป็นพักๆ)ลงมือลงตีน โดนคราวนี้ไม่รู้พี่หนูจะโดนยุบพรรคมั้ย เพราะเอาไปเทียบกับคดีพรรคอนาคตวูบ ยุบเขาตาปริบ คราวนี้เลยแถแถกลำบาก ต้องร่างคำบรรยายดีๆ ดูไปเหมือนโรงงานพลุเลยมึง เหอๆๆๆๆ ประเทศกูมี ทุกอย่างที่คนอื่นไม่มี นี่ยังไม่รวมตำรวจทางหลวง ไม่รู้ว่าพี่กำนันกูออกมารึยัง แหมๆ อุตส่าห์ขี่รถนำ แถมเจอเรื่องส่วยสติกเกอร์อีก ระวังเด้อ วันหลังไปโบกรถใส้กรอก เจอใส้กรอกเทียมเข้าจะเละกันหมดนะจ่า 😅

พูดมาถึงตอนนี้ หลายคนคงเริ่มงง ว่าหูยยยยย มีหน่วยงานตั้งหลายหน่วยงานดูแล ยังเกิดเหตุไม่หยุดไม่หย่อน  สงสัยเจ้าที่แรงเนอะ  เจ้าที่แต่ละกระทรวง แรงๆทั้งน้าน 

ประวัติศาสตร์เซฟตี้

 Abraham Maslow พูดถึงเซฟตี้ไว้เมื่อปี 1943 ว่าลำดับขั้นของความต้องการของคนนั้นมีอยู่เป็นลำดับๆ เริ่มตั้งแต่ความต้องการพื้นฐาน อย่างอาหาร อา...