วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
Line of Fire
โบ๊ะ ดึ่ง โบ๊ะ ดึ่ง ดึ่ง โบ๊ะ ดึ่ง โบ๊ะ ดึ่ง โบ๊ะ ดึ่ง ดึ่ง
เปรี้ยงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ว๊าย พี่ ๆๆๆ เป็นอะไร
เสียงหวีดร้องอย่างตกใจ
ช่วย.....พี่.....ด้วย......พี่.......ถูก......ยีงงงงงงง.......คร่อก
อ่านข่าวนี้แล้ว ผมมีอารมณ์เดียวเลย .... กะลาแลนด์นี่มันจะบ้ากันใหญ่แล้ว.... แห่ขันหมาก...จะปี้ (คำนี้มาจากคำว่า PEE Personal Erotically Engagement ) กัน....ต้องยิงปืนฉลอง อะไรของพวกมึงเนี่ย
ในภาษาเซฟตี้ มีคำหนึ่งที่ผม เน้นนักเน้นหนา กับลูกน้องว่าอย่าให้มี นั่นก็คือคำว่า Line of Fire
แปลว่า ทางปืน พวกจบนอก งง เพราะพูดไทยคำอังกฤษคำ เลยแปลไปว่า ควายเข้าแถว
ไลน์ออฟไฟร์ คือสถานการณ์ที่จะได้รับบาดเจ็บได้ จากการที่มีวัตถุ สิ่งของ เคลื่อนที่ เหวี่ยง หล่น ปลิว กระเด็น ดีด พุ่ง ยิง ไปในทิศทางนั้น แล้วมีคนไปขวางทาง อย่างกรณีนี้ ยิงปืน ถ้ายิงขึ้นฟ้า ลูกปืนก็พุ่งขึ้นฟ้า แล้วบังเอิญมีนกอีแร้งชะตาขาดบินผ่านมาพอดี ลูกปืน โบ๊ะเข้าที่ซอกตูด ร่วงผลอยลงมา แบบนี้เขาเรียก ไลน์ออฟไฟร์
อย่างเวลาทำงานกับเครน มีการยกของ แล้วปรากฏว่าสลิงขาด จังหวะเดียวกับที่ซิกแน่นแมน (ออกเสียงแบบสุพรรณเลย) กะลังยืน (ที่สุพรรณ ไม่มีคำว่า กำลัง เราพูดว่า กะลัง) ทำท่าปอบหยิบอยู่ใต้ของที่มันกะลังยก ของที่ร่วงลงมาหล่นตุ๊บบนหัว เละคาที่ แบบนี้ เรียกว่า ไลน์ออฟไฟร์
คุณเชื่อไหมว่า ความเสี่ยงแบบนี้แหละที่คนไทย เจ็บ และตายมากที่สุด เพราะอะไรรู้ไหม คำตอบก็คือ.....แต่น แต้น แต๊น.... สันดานครับ
มันมีสันดานสองอย่างที่ทำให้ควายเข้าแถวตายกันบ่อยๆก็คือ
ก. สันดานมักง่าย ฮึ่ย...มึงเชื่อกูดิ ไม่ต้องหรอก เรื่องมาก ไม่ตรวจอุปกรณ์ ไม่ ไม่ ๆๆๆๆ ที่สำคัญ ไม่มีการกั้นพื้นที่
ข. สันดานดื้อ เขากั้นไว้ ห้ามเข้า กูก็ปีน
สมัยอยู่สิงค์โปร์ จำได้เลยว่า คนงานไทย พอลงจากรถได้ มันกรูกันลอดรั้ว ̣(Barricade) ที่เขากั้นไว้ มีป้ายห้ามด้วย ลอดกันเป็นฝูง ทั้งหัวหน้า ลูกน้อง ลอดกันใหญ่
ไอ้ที่ลอดเข้าไปนั่นน่ะ เป็นพื้นที่ซึ่งเขากั้นไว้สำหรับงานยกด้วยเครน
ผมเริ่มงานวันแรก พอเห็นบั่กห่านี่ลอดกัน ผมก็เป่านกหวีดประจำกาย แหะๆ ผมไม่ใช่ กปปส. ตอนนั้นยังไม่มีเลย พอเป่านกหวีด ปรี๊ดดดดดด ก็มีเสียงตอบรับเป็นภาษาไทยว่า กรวยยยยยย
ไลน์ออฟไฟร์ เป็นอุบัติเหตุที่ป้องกันได้ ด้วยวิธีง่ายๆ ก็คือ อย่าให้โดนใคร กันพื้นที่ เวลาเกิดอะไรขึ้นจะได้ไม่มีใครตาย
แต่ในเมืองกะลาแลนด์เนี่ย อุปกรณ์ที่แพงที่สุด คืออะไรรู้ไหม ป้ายกับรั้วครับ ส่วนใหญ่จะเน้นใช้ ธงราว แบบธงกถินผ้าป่า
ส่วนใหญ่ พวกที่โดนหนีบ โดนกระแทก ก็พวกที่ทำงานนั่นแหละ ประเภท กูต้องยืนใกล้ๆ ถึงจะเท่ห์ เคยเห็นไหม เวลายกของ ไม่ค่อยใช้ แท่กไลน์ (Tag line) กูชอบประคองใกล้ๆ ทำราวกับว่า ถ้าหล่นลงมา กูจะอุ้มไว้
ลองไปดูนะครับ ไอ้ที่โดนของตกใส่ ของกระเด็นใส่ เหวี่ยงใส่ ร้อยทั้งร้อย มันเกิดจากสาเหตุที่เป็น Immediate Cause อยู่สองประการ ก็คือ มีพลังงานที่ปลดปล่อยจากแหล่งพุ่งออกไป และ ข้อสอง ไปขวางทางมัน
ส่วนกรณียิงปืนมั่วซั่ว เพียงเพื่อเฉลิมฉลองว่าเดี๋ยวเถอะมึง กูจะ โบ๊ะ ดึ่ง โบ๊ะ กันแล้ว ผมว่ามันบ้าครับ
ไปดีกว่า ไปรำหน้านาคแล้ว ได้เวลา เข้าหอ ดึ่ง ดึ่ง โบ๊ะ ดึ่ง ดึ่ง
วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
Kala Land 4.0
วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ศาลเอียง
- มีโปรแกรม (Programs ) ถ้าเป็นที่กะลาแลนด์ เขาจะชอบพูดกันให้เท่ห์มากขึ้นว่า มีการบูรณาการ (บอกตรงๆ ผมโคตรเอียนกับคำนี้เลย) ที่กะลาแลนด์เนี่ย อุดมสมบูรณ์ไปด้วยมาตรการสาระพัด ที่ไหนในโลกหล้าเขามีอะไร กะลาแลนด์มีทุกอย่าง เผลอๆ ดีกว่าด้วย แต่....
- มีมาตรฐาน (Standards) คือที่อื่นๆ เวลาเขากำหนดมาตรการ เขาก็ต้องอิงมาตรฐาน แต่ที่กะลาแลนด์ เรามีมาตรฐานเดียว ก็คือ มาตรฐานตาม มอก. (มาตรฐานออกโดยกู) อย่าได้ไปเถียง ไปถามเข้าเชียวนะมึง พวกเอี้ยนี่มันเป็นคนโคตรดี ถ้ามึงขืนสงสัย มึงจะโดนเขวี้ยงด้วยโพเดี้ยม ตายคาที่นะเว้ย
- การเป็นไปตามนั้น (Compliance) คือ การปฏิบัติตามมาตรการและมาตรฐาน แต่ที่กะลาแลนด์ ข้อนี้ ไม่มี เพราะเป็นเรื่องที่เราต้องมีการปฏิรูปกันก่อน เพื่อให้เกิดการบูรณาการ และการสอดประสาน การร่วมสังสรรค์ พันธนาการ บรรเจิด เกิดการสังเคราะห์ ตกผลึก ผนึกประสานแนวร่วม รวบรวมความสามัคคี อันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว กันก่อน (เหนื่อยว่ะ)
สุดแสนจะอัพเซ็ท
วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560
โรค อาไร ง่ะ ไม่เคยได้ยิน
เข้าไปดูในประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กําหนดชนิดของโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทํางาน
มันมีโรคระบบหายใจที่เกิดจากการทำงาน ลำดับที่ 6 โรคซิเดโรสิส ก็เลยสงสัยว่ามันคือโรคอะไร ตอนแรกอยากจะเดาไปมั่วๆ เพราะชื่อโรคมันคล้ายซินเดอเรร่า เอะ รึ่ว่าจะเกี่ยวกับแม่เลี้ยงวะ รึไม่ก็ติดมาจากคนแคระ เพราะบางฉบับ เคยนินทาว่าซินเดอเรร่า เสียสาวให้คนแคระทั้งเจ็ด ป๊าด ไปกันใหญ่ มั่วแล้วเรา นั่นมันสโนว์ไวท์นี่หว่า เหอๆๆๆ บัวใต้น้ำจริงๆเลยกรู ฮ่าๆๆๆ เอิ้กๆๆๆ ขำอะไรกัน ทำไม อย่างผม ทำงานเพื่อประเทศชาติมามากมาย พูดผิดไม่ได้รึไง...เดี๋ยวเขวี้ยงด้วยโพเดี้ยม !!!ไปสืบกันดีกว่า ว่าโรคนี้ คนไทยเป็นได้รึเปล่า แต่ผมว่านะ มีหลายโรคทีเดียว ที่คนไทยเขาไม่เป็นกัน คือ เป็นโรคอะไรก็ไม่รู้ พอตายก็เผาๆกันไป คงไม่ใช่โรคจากการทำงานหรอก คนไทยเขาไม่เป็นกัน
เหมือนโรคซิลิโคซิส พอผมพูด มีอีบ้า ไอ้บ้าหลายคนออกมาดิ้นพล่าน จะฟ้องร้องผม หาว่าทำให้องค์กรเสื่อมเสียชื่อเสียง อีห่าเอ้ย กูพูดเพื่อให้ความรู้คน มึงเสือกอะไรด้วย มึงไม่อยากเป็นก็เรื่องของมึงดิ กูก็ไม่อยากให้ใครเป็น อะจบไปเรื่องนั้น ประเดี๋ยวแม่งฟ้องกูอีก
มาดูโรคชื่อแปลกนี่กัน เวลาเป็นจะได้ออกเสียงถูก จะได้ไม่อายเขา เวลายมมะบาลถาม มึงเป็นอะไรตาย ก็ออกเสียงให้ถูกๆ ออกเสียงว่า ซิเดอร์ เวลาออกเสียงอาร์ กระดกลิ้น แล้วเอาเสียงอาร์รวมกับเสียงโอ มันจะฟังคล้ายๆฝรั่ง อย่าไปออกเสียงว่า สิเด๋อ มันฟังคล้ายๆเพื่อนผม ไอ้นี่คนอุดร
sid·er·o·sis
(sid'ĕr-ō'sis),“ไม่เข้าใจแม่งถามได้ไงวะเนี่ย...เอ๊ะมันเกี่ยวตรงไหนวะ”(โรคเครียดจากการไม่ทำงาน)
เมื่อวาน เห็นแว๊บๆในยูทูป (ยู ทิ้ว เบอะ) มีไอ้บ้าคนหนึ่งหัวฟัดหัวเหวี่ยงตอบคำถามนักข่าว ไม่เห็นหน้า ฟังแต่เสียง ถามนักข่าวว่า “ไม่เข้าใจแม่งถามได้ไงวะเนี่ย...เอ๊ะมันเกี่ยวตรงไหนวะ”
หลังจากนั้นก็ พูดเรื่องบัวใต้น้งใต้น้ำ ก็น่านนะดิ มันไม่เห็นจะเกี่ยวกัน ไอ้บ้านี่ (นักข่าวแหละมั๊ง)วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560
แบ้งค์กงเต็ก กับเพอร์มิททูเวิร์ค
โดนัลทัมป์คงใจแทบขาดถ้ามาเห็นบ้านเราเผาแบ้งค์ดอลลาร์เป็นปึกๆ
วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
Reptelian Brain มึงกราบรถกู
ผมเคยเขียนเรื่อง สมองกิ้งก่า ปัญญากิ้งกือไปแล้วรอบหนึ่ง วันนี้ มีอีกแล้วครับ ปรากฎการ "กราบรถกู" ดูวิดีโอนี้แล้วชอบมาก
สุดยอดครับ ก้มกราบรถกูให้เครดิตเจ้าของภาพ และวิดีโอ
จะว่ากันไปแล้ว เราทุกๆคน มีสิทธิ์ที่จะตกอยู่ภายใต้ภาวะ สมองเหี้ยครอบงำได้ง่ายๆ อาการก็ไม่แตกต่างกัน นั่นก็คือ การแสดงอำนาจ ข่มคนอื่น ที่มาล่วงล้ำอาณาเขต หรือจะเป็นภัยคุกคาม พวกสัตว์เลื้อยคลาน เหี้ย ตะกวด กิ้งก่า หมา แมว เป็นเหมือนกันหมด ไม่เว้นแม้กระทั่งคน เพราะอย่างที่ทราบ เรามีสมองส่วนเล็กๆที่อยู่ใต้สุด ที่หลงเหลือมาจากวิวัฒนาการ นั่นก็คือ Reptelian Brain เวลามันทำงาน สมองส่วนที่เป็น Emotional Brain กับ สมองส่วนทีทำหน้าที่ในการคิดพิจารณามันหยุดทำงาน ในเพลานั้น แผงคอ ชูชัน ใบหน้า แววตา เกรี้ยวกราด เขี้ยวในปากเผยอกว้าง อะดรีนาลีนฉีดเต็มที่ หัวใจเต้นแรงรัว เลือดไหลพลุ่งพล่านไปยังกล้ามเนื้อทุกส่วนที่เตียมพร้อมสำหรับการใช้กำลัง นั่นล่ะ อาการสมองเหี้ย
หัดนั่งสมาธิ ควบคุมสติอารมย์กันบ้างนะ สมองเหี้ยจะได้ไม่ออกมาอาละวาดบ่อยๆ
วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559
เซฟตี้ กับ ยามตีแหม่ง
เป็นเซฟตี้มาหลายปี บทบาทหน้าที่เปลี่ยนไปจากสมัยแรกๆ เป็น จป. ทำงานคนเดียว เมื่อปี พ.ศ. 2528 สมัยนั้นยังไม่มีกฎหมายความปลอดภัยอะไรมากมาย ทำมันทุกเรื่อง ไม่มีลูกน้อง ที่พอจะพึ่งพาได้ก็มีบรรดา รปภ.ที่เขายกมาให้ดูแล เพราะชื่อตำแหน่งมันไปหมิ่นเหม่ใกล้เคียงกัน "เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย" จนเดี๋ยวนี้ เวลาโฆษกเขาแนะนำวิทยากร ก็มักจะเติมให้ว่า อดีต เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย บริษัทนั่นนู่นนี่
พอเติบโตมา เปลี่ยนจากเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นผู้จัดการ ก็ยังไม่วาย ได้รับตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายรักษาความปลอดภัย ป๊าดโธ่ จะว่ากันไปแล้ว หน่วยงานสองหน่วยนี่มันแยกกันไม่ได้ งานรักษาความปลอดภัย หรือที่เรียกว่า Security Management มันมีความเหมือนกับงานเซฟตี้อยู่หลายอย่าง และที่เหมือนกันแบบแยกกันไม่ได้เลยก็คือ การป้องกันและระงับความสูญเสีย เพราะฉะนั้น ในเมืองนอก เขาจึงมีแผนก Loss Prevention and Control ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างสองหน้าที่นี้ก็คือ งานรักษาความปลอดภัย เน้นไปที่ภัยที่จะเกิดจากเจตนาของคน เช่น ลักขโมย วางเพลิง ทำร้ายร่างกาย ก่อวินาศกรรม ทุจริต บุกรุก เป็นต้น ในขณะที่งานด้านความปลอดภัย จะเน้นไปที่ภัยที่เกิดจาก อันตรายหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ไม่พึงประสงค์ ไม่ได้วางแผนไว้ให้มันเกิดแบบนั้นแบบนี้ เรียกรวมๆว่า Incident หรือ ถ้ามีความสูญเสียเกิดขึ้น ก็เรียกว่า Accident ใครที่ยังมั่วๆอยู่กับคำนิยามสองคำนี่ก็ไปหาตำหรับตำรามาอ่านเสียใหม่
ด้วยความเหมือนและความต่าง ของงานสองแบบนั่น เรายังมีความเหมือนกันแบบแยกกันไม่ออกอีกประการหนึ่งก็คือ กระบวนการบริหารความเสี่ยง ที่มีจุดเริ่มต้นแบบเดียวกันก็คือ การประเมินความเสี่ยง
งานรักษาความปลอดภัย หรือ รปภ. เป็นงานที่ต้องประเมินความเสี่ยง ว่าอะไรที่ไหน มีจุดอ่อน มีความล่อแหลม เป็นช่องว่างให้เกิดความสูญเสีย เพราะฉะนั้น หากมีบริษัท รปภ.เข้ามาหาผม แล้วถามผมว่า จะเอา รปภ.กี่คน เอาผู้ชายกี่คน เอาผู้หญิงกี่คน แบบนี้ ผมจะบอกว่า ไปไกลๆเลย คุณเข้ามาขายบริการรักษาความปลอดภัย และบอกว่าเป็นมืออาชีพ แต่กลับข้ามขั้นตอนที่สำคัญที่สุดไปได้อย่างน่าโมโห ทำไมคุณไม่สำรวจสภาพต่างๆ ประเมินความเสี่ยง ระบุจุดล่อแหลมต่างๆแล้วค่อยเสนอมาตรการที่เหมาะสมในการรักษาความปลอดภัยมา บางจุดการใช้เครื่องมือ ระบบตรวจจับ และส่งสัญญาน มีความจำเป็นมากกว่าไปเอาคนมาใส่ชุดยืนตะเบะตะบี้ตะบัน ประตูหน้าต่าง รั้ว ที่มีอยู่ต้องเพิ่มเติม ต้องดัดแปลงปรับปรุง แสงสว่าง ต้นไม้ที่ยื่นกิ่งล้ำข้ามรั้วมา พวกนี้ บริษัทรักษาความปบอดภัยแบบจับเสือมือเปล่า แบบประเภทหากินง่าย ไปต้อนคนขึ้นรถมาจากบ้านนอก เอามาใส่ชุด รปภ. สอนขวาหันซ้ายหันแล้วเอามาลงประจำจุด จะโดนผมด่าหนัก และยิ่งไอ้ประเภท ชาร์จค่าวิทยุ ไฟฉาย กระบี่กระบอง ค่าเครื่องแบบบ้าบอคอแตกมา แบบนี้ไปไกลๆ(ตีน) ถ้า รปภ.ของคุณไม่สามารถสื่อสารกันด้วยโทรจิตได้ หรือเห็นในที่มืดได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์พวกนั้น ก็แสดงว่า เขาจะทำงานได้เต็มที่ไม่ได้โดยไม่ใช้วิทยุ เพราะฉะนั้น อย่ามาชาร์จเงินผมเพื่ออุปกรณ์ที่จะทำให้คุณทำงานได้ มันไม่เมกเซนส์ และร้อยทั้งร้อยครับ บริษัท รปภ.ในบ้านเรา มันมั่ว มันมีสี มันมีนาย แต่มันไม่มืออาชีพ ไอ้พวกนี้ ไม่เคยได้งานจากผมแน่นอน ส่วนไอ้พวกที่เคยได้งาน เพราะมีใต้โต๊ะ มีนอกมีในกับคนเก่าๆ รับรองได้ กระเจิง เคยมีเจ้าของบริษัท รปภ. เป็นจ่า อยู่แถวๆบ่อวิน มาขู่ผมถึงถิ่น หลังจากโดนยกเลิกสัญญา บ้านเรามันเป็นแบบนี้แหละ และนี่เป็นเหตุผลเดียวที่ผมทำใจลำบากเวลาถูกประกาศว่าเป็น ผู้จัดการรักษาความปลอดภัย เพราะคนที่เขาทำงานด้านนี้ เขาไม่มีความเป็นมืออาชีพ รปภ.มาแต่ละนาย ไม่กล้าแม้กระทั่งจะขอตรวจบัตรพนักงาน ไม่กล้าตรวจค้นใคร ไม่กล้าที่จะทำตามมาตรการรักษาความปลอดภัยแบบมืออาชีพ คุณว่าจริงไหม จ้างมานั่งเฝ้าป้อมยามโดยแท้
สมัยอยู่โรงไฟฟ้า ระบบรักษาความปลอดภัย ก็เป็นแบบที่ผมว่า ยาม มีหน้าที่อันทรงเกียรติประการหนึ่ง คือ คอยวิ่งถือธงเขียวนำหน้ารถ เอ็มดี วิ่งเหยาะๆ จากปากประตูโรงงานโอเลฟิน เพียงแค่ว่า นายจะได้ไม่ต้องลงไปแลกบัตร เพียงแค่ว่าจะได้บายพาสระบบรักษาความปลอดภัยของเขา เพียงแค่ว่าเพื่ออำนวยความสะดวก และเพียงแค่ว่า เป็นการอวยเกียรติเจ้านาย ทำไมล่ะ เป็นเอ็มดี ติดบัตรพนักงานมันลำบากตรงไหน ไม่มีบัตรเรอะ ก็ลงไปแลกบัตร บันทึกการเข้าออก มันจะตายเรอะ หรือว่าชอบแบบที่ว่าใครจะเดินเข้าเดินออกโรงไฟฟ้าเมื่อไหร่ก็ได้ เผลอไปกดปุ่มฉุกเฉิน แก็สเทอร์ไบน์ร่วงไปสักบล็อกหนึ่งแล้วลูกค้าอีกยี่สิบสามสิบรายไฟดับ โดนปรับบานเบอะ ชอบแบบนั้นเรอะ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://i-worksafe.blogspot.com/2010/12/emergency-pre-planning.html
นี่แหละตัวอย่าง แพระดิมชิฟท์ เปลี่ยนมุมมองในเรื่องความเสี่ยง มันเปลี่ยนยาก ถ้าสันดานไม่เปลี่ยน มองความเสี่ยงไม่ออก ถึงมองออก ก็ไม่เชื่อถือว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ถึงเชื่อ ก็ไม่ทำตามมาตรการที่จะลดความเสี่ยงเหล่านั้นลงอย่างเคร่งครัด เจ้ายศเจ้าอย่าง บายพาสหมดทุกระบบ เหลือแต่กาก โรงไฟฟ้าที่ว่านี้ พวกหมวกสีทองนี่ตัวดีเลย เจ้ายศเจ้าอย่าง ซ้อมแผนฉุกเฉินที จะมีคนจัดเตรียมหมวกสีทองวางบนโต๊ะปูผ้าขาวไว้ให้ พวกนี้ ปีชาติหนึ่งอยู่ออฟฟิศที่กรุงเทพ แต่กลับมีชื่อเป็น อีเมอร์เจนซี่คอมมานเดอร์ อบรมอะไรที่เกี่ยวกับ Emergency Comnand Center ก็ไม่เคย โอย กรูจะบ้า ให้ไอ้พวกบ้านี่สั่งการระงับเหตุ มีหวังตายกันเป็นเบือ เริ่มต้นผิด ก็ติดเป็นสันดาน พอจะเปลี่ยนให้ถูก แหมดิ้นพล่าน โวยวาย นั่นนู่นนี่ นี่ไง พวกที่ยากต่อการเปลี่ยนมุมมองในการบริหารความเสี่ยง สันดานชิบ!!
เรื่องทำนองนี้มีอีกมากมาย เล่ากันไม่จบ เอาไว้มาต่อกันว่า เราจะจัดการกับการต่อต้านความเปลี่ยนแปลงกันอย่างไร
วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559
พาราไดม์ชิฟท์ ปาร้าดำชิบ
มีข่าวเฮดไลน์อยู่สองข่าวที่ทำให้ผมรู้สึกสลดหดหู่ ก็คือ ข่าวระเบิดที่ถังเก็บน้ำเสียของโรงงานแห่งหนึ่งในภาคอีสาน และข่าวเรือล่ม คนตาย คนสูญหายร่วมๆ 26 ศพ
หัวข้อที่เขียนวันนี้ คือ Paradigm shift regarding risk -การเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับความเสี่ยง - หุหุ ฟังดูเป็นงานเป็นการเกิ้น! เอาแบบสไตล์ผมเลยนะ เป็นการเปลี่ยนกมลสันดานเรื่องการบริหารความเสี่ยง!!
บางคนคงเริ่มสงสัยและเริ่มเดาไปพลางๆว่ามันคืออัลไลย์ ... อะไร(วะ) พาราไดม์ ชื่อคล้ายๆโรงแรมม่านรูด เอ...มันจะเหมือน พาราไดซ์ไหมหน้อ... เอะ รึว่ามันคือปาร้าดำชิบ ผลิตภัณฑ์ใหม่ เอาปลาร้ามาทำแผ่นอบกรอบใส่ถุงส่งนอก ...
Paradigm -ตามดิกชันนารี อ่านว่า "แพ-ระ-ดิม" กระดกลิ้นเล็กน้อยตอนออกเสียง แพร์ หระ ดิ่ม จะฟังดูดีขึ้นเยอะ มันแปลว่า แบบอย่าง หรือต้นแบบ หรือโมดล อะไรทำนองนั้น ส่วนชิฟท์ ออกเสียง ถึๆ ข้างหลังหน่อยหนึ่ง แปลว่า เคลื่อนหรือเลื่อน อ่ะ แล้วมันแปลว่าอัลไลย์ ภาษาวัยรุ่นสมัยนี้ เวลาเอามารวมๆกันแล้วมันฟังดูพิลึก กึ ดี ...
สมัยนู้นๆๆๆๆๆ ตอนยังไม่มีรถยนต์ใช้ พาหนะสำคัญในเมืองนอกคือม้า ขี้ม้า หี้ กั่บๆๆๆ ยิงกันสนั่นในหนังเด็กเลี้ยงควาย (Cow Boy movies) จะเห็นว่า เบาะรองนั่งกันขนม้าทิ่มตูด (ภาษาไทยแท้) ก็ถูกออกแบบมาให้มีรูปร่างเข้ากับสองอย่าง คือหลังม้า กับตูดคนนั่ง ต่อมา พอมีรถจักรยาน อานรถจักรยานก็ยังออกแบบมาให้เหมือนอานม้าอยู่ดี ยิ่งจักรยานแข่ง อานแหลมเปี้ยว นั่งแล้วเจ็บตรูดชะมัด เบาะรถมอเตอร์ไซค์ แม้แต่เบาะรถยนต์สมัยแรกๆ ยังคงรูปร่างแบบอานม้า กว่าจะเปลี่ยนรูปร่างมาเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน มันต้องผ่านการยอมรับและการต่อต้านมาหลายชั่วอายุคนเลยทีเดียว ไอ้ปรากฏการณ์ที่คนเกิดการเปลี่ยนกรอบความคิดและยอมรับสิ่งใหม่ๆนั่นแหละ เรียกว่า ปาร้าดำชิบ หรือ แพระดิมชิฟท์ถึ โอ้วแม่เจ้า เถียงกันข้ามศตวรรษ หากใครเกิดไปออกแบบอานหน้าตาแปลกๆมาละก็ จะถูกประนามหยามเหยียดว่านอกคอก พิเรนทร์ บัดซบ สิ้นคิด อะไรประมาณนั้นเลยเชียว
การเปลี่ยนวิธีคิด หรือกรอบความคิดเกี่ยวกับความเสี่ยง ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการการที่จะเปลี่ยนบรรยากาศด้านความปลอดภัยในองค์กร หรือที่เรียกว่า เซฟตี้ไคลเมท ถึ (Safety Climate) บางคนทำหน้างงหนักเข้าไปอีก ยกตัวอย่างเช่น ในบางองค์กร บรรยากาศความปลอดภัย มันสบายๆ ไม่ซีเรียส คือ มึงอยากทำก็ทำ ไม่อยากทำกูก็ไม่ได้ว่าอะไร อยากมาเมื่อไหร่ก็มา อยากเชื่อมตรงไหนก็เอาเลย หู้ย!! เปอร์หม่ง เปอร์หมิด เรอะ วุ้ย!!! เปิดก็ได้ ไม่เปิดก็ได้ - นี่เป็นบรรยากาศความปลอดภัยแบบหนึ่ง ที่ระบบการจัดการไม่ได้เข้มงวด กฎระเบียบ มีไว้อวดตอนออดิท
บางแห่ง จะเข้า จะออก เครื่องไม้เครื่องมือ ตรวจกันละเอียดเปะ คนที่จะมาทำงานก็อบรมกันอย่างกับจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย ก่อนจะทำงานได้ต้องขออนุญาต มีคนไปตรวจหน้างาน อันไหนไม่ถูกก็จะต้องแก้ไข จนกว่าจะเห็นว่าปลอดภัย จึงเริ่มทำงาน มิหนำซ้ำจะมีคนมาตรวจอยู่เรื่อยๆ หากเกิดการฝ่าฝืน จะถูกสั่งหยุด ดีไม่ดีอาจจะถูกเนรเทศออกนอกไซท์งานเอาเสียง่ายๆ นี่ก็เป็นบรรยากาศอีกแบบหนึ่ง ทีนี้ลองจินตนาการว่า ไอ้เซฟตี้ มันมาจากบรรยากาศแบบมาคุแบบหลัง ส่วนไอ้ผู้จัดการ ไอ้วิศวกร ไอ้ซุปเปอร์ไวเซอร์ มันมาจากบรรยากาศแบบสบายๆ แบบโรงงานเถ้าแก่ มันจะเกิดอะไรขึ้น แพระดิมชิฟท์ถึ คงมันส์พิลึก มันก็เป็นไปได้สองทาง คือ เซฟตี้แพ้ ลาออก ถูกบีบ ถูกอัด กระเด็น ไปขายประกัน ไอ้พวกสบายๆเฮๆๆๆๆ หนุกๆๆๆ สามวันต่อมา ปล่อยผู็รับเหมาไปเชื่อมถัง ไม่ตรวจวัด ไม่กำจัดก็าซไวไฟ ระเบิดตูม ตายสาม คราวนี้ละมึง แพระดิมชิฟท์ของแท้ ชิบหายไง เป็นประเภท ไม่เห็นศพ ไม่หลั่งน้ำตา ไอ้ฟาย
การเปลี่ยนกรอบความคิดเกี่ยวกับความเสี่ยงมันจึงเป็นเรื่องที่ต้องเปลี่ยนตั้งแต่สิ่งเหล่านี้ คือ
1. อันตรายทุกอย่าง มีระดับความเสี่ยงที่ไม่เหมือนกัน ในสถานะการณ์ที่ต่างกัน ความเสี่ยงก็ไม่เท่ากัน
2. ความเสี่ยงที่ค้างอยู่ หรือที่เรียกว่า เรซิดวลริสก์กึ (Residual Risk) จะต้องอยู่ในระดับที่เรียกว่า อาหลาบ (ALARP)
มีใครรู้จักอาหลาบมั๊ย อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://i-worksafe.blogspot.com/2010/11/alarp.html
3. ความเสี่ยง เป็นเครื่องมือในการบริหาร ที่แห่งไหนที่ประเมินความเสี่ยงเพียงแค่ให้ได้ OSHAS 18000 แล้วเก็บเข้าลิ้นชัก เอาไว้อวดออดิทเทอร์ ก็เตรียมได้เลย ความเสี่ยงมันต้องถูกเอามาใช้ทุกวัน ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะมีคนแบบไหนในบรรยากาศแบบไหน คนต้องยึดเอาความเสี่ยงเป็นจุดยุติในการโต้เถียง ถ้าความเสี่ยงสูงมากๆ จะหยุดก็ต้องหยุด ไม่ใช่มาด่ากัน มึงรู้มั๊ย กรูเป็นคราย!!! เฮ้ย กรูเป็นผู้จัดการโครงการนาว้อย !!! พอระเบิดตูม!!! กรูไม่รู้ กรูไม่ได้เป็นผู้จัดการโครงการ ถุย! ไอ้ฟาย
4 ความเสี่ยงเป็นเครื่องมือในการชี้ชัดความเร่งด่วน และการจัดสรรทรัพยากร เพื่อจัดการกับมัน ไอ้ประเภท เป็นมะเร็งแล้วเอายาหม่องตราลิงมาทา ขอทีเถอะ
อธิบายมาถึงตรงนี้ จะเห็นว่า แพหระดิมฉิบ มันเป็นการเขย่าองค์กร ตั้งแต่หัวจรดหาง ถ้าความคิด มุมมองเกี่ยวกับความเสี่ยงยังไม่เปลี่ยน รอไปเถอะครับ อย่าหวังว่าจะได้เข้าไกล้คำว่า ซีโร่ฮาร์ม คงมีแต่ซี้แล้วหามประการเดียวเท่านั้นแหละครับ ไปดูข่าวงมศพก่อนนะ ยังหาไม่เจออีกสามศพ
จบก่อนดีกว่า ตัดเข้าโฆษณา ข้าวเกรียบรสปราร้าดำ ตราฉิบหาย กินแล้วจะติดใจ คำเดียวสั้นๆ ฉิบหาย ฉิบหาย กร่อบๆๆๆๆๆ
วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หรือที่เรียกว่า หลีดเด้อชิบ (ออกเสียงแบบไทยกระแดะ) หรือ ลีดเด้อฉิบ (ออกเสียงแบบสำเนียงอเมริกันตกยาก คือมาอยู่กับเมียไทยหลายปี คำส่งคำศัพท์ลืมเกลี้ยง นอนอยู่เถียงนาน้อยเป็นเวลาเนิ่นนาน)
คำนี้คำเดียวเนี่ยนะ สร้างความมึนงง ให้แก่ผู้คนมาหลายชั่วศตวรรษ โดยเฉพาะ คนไทย ที่ในยามนี้ ท่านผู้นัม มีปัญหาภาวะผู้นำเอามากๆ นี่เห็นร่ำๆว่าจะอยู่เป็นนายกต่อไปอีกสักยี่สิบปี ตายกูตาย แค่นี้ก็จะเลียกระดานกันอยู่แล้ว โอยๆ (ผมพูดถึงท่านผู้นัม ของชนเผ่าดั้งแปบนะ คนที่เอาเรื่องเสือตาเหลืองมาเล่าให้ฟังไง จำได้มั๊ย )
ภาวะผู้นำ มันมีอยู่สามแบบ ที่ส่งผลเรื่องความปลอดภัย
แบบแรก เรียกผู้นำแบบนี้ว่า ผู้นำแบบ คสช. คือผู้นำแบบว่า คุณสั่งมาผมจึงช่วย ผู้นำแบบนี้ เป็นประเภทที่ว่า เดินผ่านไปเห็นถังน้ำมันหกรั่วอยู่ พวกนี้จะรีบเดินผ่านไปอย่างรวดเร็ว ประมาณว่า คุณไม่ได้สั่ง ผมเลยไม่ช่วย บางคนขนาดน้ำมันหกขวางทาง มันยังกระดึ๊บๆ ผ่านไปหน้าตาเฉย บางคนก็บ่น กระปอด กระแปด กระปริบ กระปรอย ว่า แหม ดูซิเนี่ย อันตรายจังเลย แหม เซฟตี้เราเนี่ยไม่เอาใจใส่ดูแลเลย ว่าแล้วก็ถ่ายรูปแชะ แล้วเดินจากไป
แบบที่สอง ผู้นำแบบ สทรร. เสือกทุกเรื่องที่มีเรา ผู้นำแบบนี้ ไม่ต้องมีใครมาสั่ง ทำเลย กระวีกระวาดจัดการหาผ้าขี้ริ้ว มาซับมาเช็ด หาทรายมากลบ หาป้ายมาวาง กลัวคนอื่นและตัวเองจะได้รับอันตราย ถ้าเป็นสมัยยุคหิน ผู้นำแบบนี้แหละที่กระโดดขวางเสือเขี้ยวยาวไว้ จนโดนเสือคาบไปแดรก
แบบที่สาม เรียกว่า ทูเกตเตอร์วีสะตอง คือแบบว่าทุกเรื่องไม่ใช่ภาระของใครคนใดคนหนึ่ง แต่พวกเราด้วยกันทั้งหมดช่วยเป็นหูเป็นตา ไม่ใช่ว่า ใครเอากระเป๋าเป้มาวางไว้ข้างศาลพระพรหม กูไม่สนใจ ไม่ใช่ธุระกู สุดท้าย ตูมสนั่น
คุณว่าในกะลาแลนด์แดนดั้งแปบนี้ มีภาวะผู้นัมแบบไหนเยอะกว่ากัน
ติดคุกเพราะชำนาญการ
พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มีข้อกำหนดมากมายหลายมาตรา รับกันมาเป็นทอดๆ ไล่ไปตั้งแต่มาตรา 4 ที่เ...
-
โบ๊ะ ดึ่ง โบ๊ะ ดึ่ง ดึ่ง โบ๊ะ ดึ่ง โบ๊ะ ดึ่ง โบ๊ะ ดึ่ง ดึ่ง เปรี้ยงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ว๊าย พี่ ๆๆๆ เป็นอะไร เสียงหวีดร้องอย่างตกใจ ...
-
ผู้บริหารบางคน อาจจะคิดว่า พวกเซฟตี้ นี่มันเงินเดือนแพง ก็แหงละ งานที่พวกเซฟตี้ทำ มันโคตรยาก ขอบอก ทำให้คนไม่ขึ้นไปทำงานบนที่สูง โดยไม่...