วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

พาราไดม์ชิฟท์ ปาร้าดำชิบ


มีข่าวเฮดไลน์อยู่สองข่าวที่ทำให้ผมรู้สึกสลดหดหู่ ก็คือ ข่าวระเบิดที่ถังเก็บน้ำเสียของโรงงานแห่งหนึ่งในภาคอีสาน และข่าวเรือล่ม คนตาย คนสูญหายร่วมๆ 26 ศพ

หัวข้อที่เขียนวันนี้ คือ Paradigm shift regarding risk -การเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับความเสี่ยง - หุหุ ฟังดูเป็นงานเป็นการเกิ้น! เอาแบบสไตล์ผมเลยนะ  เป็นการเปลี่ยนกมลสันดานเรื่องการบริหารความเสี่ยง!!

บางคนคงเริ่มสงสัยและเริ่มเดาไปพลางๆว่ามันคืออัลไลย์ ... อะไร(วะ) พาราไดม์ ชื่อคล้ายๆโรงแรมม่านรูด เอ...มันจะเหมือน พาราไดซ์ไหมหน้อ... เอะ รึว่ามันคือปาร้าดำชิบ ผลิตภัณฑ์ใหม่ เอาปลาร้ามาทำแผ่นอบกรอบใส่ถุงส่งนอก ...
Paradigm -ตามดิกชันนารี อ่านว่า "แพ-ระ-ดิม" กระดกลิ้นเล็กน้อยตอนออกเสียง แพร์ หระ ดิ่ม จะฟังดูดีขึ้นเยอะ มันแปลว่า แบบอย่าง หรือต้นแบบ หรือโมดล อะไรทำนองนั้น ส่วนชิฟท์ ออกเสียง ถึๆ ข้างหลังหน่อยหนึ่ง แปลว่า เคลื่อนหรือเลื่อน อ่ะ แล้วมันแปลว่าอัลไลย์ ภาษาวัยรุ่นสมัยนี้ เวลาเอามารวมๆกันแล้วมันฟังดูพิลึก กึ ดี ...

สมัยนู้นๆๆๆๆๆ ตอนยังไม่มีรถยนต์ใช้ พาหนะสำคัญในเมืองนอกคือม้า ขี้ม้า หี้ กั่บๆๆๆ ยิงกันสนั่นในหนังเด็กเลี้ยงควาย (Cow Boy movies) จะเห็นว่า เบาะรองนั่งกันขนม้าทิ่มตูด (ภาษาไทยแท้) ก็ถูกออกแบบมาให้มีรูปร่างเข้ากับสองอย่าง คือหลังม้า กับตูดคนนั่ง ต่อมา พอมีรถจักรยาน อานรถจักรยานก็ยังออกแบบมาให้เหมือนอานม้าอยู่ดี ยิ่งจักรยานแข่ง อานแหลมเปี้ยว นั่งแล้วเจ็บตรูดชะมัด เบาะรถมอเตอร์ไซค์ แม้แต่เบาะรถยนต์สมัยแรกๆ ยังคงรูปร่างแบบอานม้า กว่าจะเปลี่ยนรูปร่างมาเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน มันต้องผ่านการยอมรับและการต่อต้านมาหลายชั่วอายุคนเลยทีเดียว ไอ้ปรากฏการณ์ที่คนเกิดการเปลี่ยนกรอบความคิดและยอมรับสิ่งใหม่ๆนั่นแหละ เรียกว่า ปาร้าดำชิบ หรือ แพระดิมชิฟท์ถึ โอ้วแม่เจ้า เถียงกันข้ามศตวรรษ หากใครเกิดไปออกแบบอานหน้าตาแปลกๆมาละก็ จะถูกประนามหยามเหยียดว่านอกคอก พิเรนทร์ บัดซบ สิ้นคิด อะไรประมาณนั้นเลยเชียว





การเปลี่ยนวิธีคิด หรือกรอบความคิดเกี่ยวกับความเสี่ยง ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการการที่จะเปลี่ยนบรรยากาศด้านความปลอดภัยในองค์กร หรือที่เรียกว่า เซฟตี้ไคลเมท ถึ (Safety Climate) บางคนทำหน้างงหนักเข้าไปอีก ยกตัวอย่างเช่น ในบางองค์กร บรรยากาศความปลอดภัย มันสบายๆ ไม่ซีเรียส คือ มึงอยากทำก็ทำ ไม่อยากทำกูก็ไม่ได้ว่าอะไร อยากมาเมื่อไหร่ก็มา อยากเชื่อมตรงไหนก็เอาเลย หู้ย!! เปอร์หม่ง เปอร์หมิด เรอะ วุ้ย!!! เปิดก็ได้ ไม่เปิดก็ได้ - นี่เป็นบรรยากาศความปลอดภัยแบบหนึ่ง ที่ระบบการจัดการไม่ได้เข้มงวด กฎระเบียบ มีไว้อวดตอนออดิท 

บางแห่ง จะเข้า จะออก เครื่องไม้เครื่องมือ ตรวจกันละเอียดเปะ คนที่จะมาทำงานก็อบรมกันอย่างกับจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย ก่อนจะทำงานได้ต้องขออนุญาต มีคนไปตรวจหน้างาน อันไหนไม่ถูกก็จะต้องแก้ไข จนกว่าจะเห็นว่าปลอดภัย จึงเริ่มทำงาน มิหนำซ้ำจะมีคนมาตรวจอยู่เรื่อยๆ หากเกิดการฝ่าฝืน จะถูกสั่งหยุด ดีไม่ดีอาจจะถูกเนรเทศออกนอกไซท์งานเอาเสียง่ายๆ  นี่ก็เป็นบรรยากาศอีกแบบหนึ่ง ทีนี้ลองจินตนาการว่า ไอ้เซฟตี้ มันมาจากบรรยากาศแบบมาคุแบบหลัง ส่วนไอ้ผู้จัดการ ไอ้วิศวกร ไอ้ซุปเปอร์ไวเซอร์ มันมาจากบรรยากาศแบบสบายๆ แบบโรงงานเถ้าแก่ มันจะเกิดอะไรขึ้น แพระดิมชิฟท์ถึ คงมันส์พิลึก มันก็เป็นไปได้สองทาง คือ เซฟตี้แพ้ ลาออก ถูกบีบ ถูกอัด กระเด็น ไปขายประกัน ไอ้พวกสบายๆเฮๆๆๆๆ หนุกๆๆๆ สามวันต่อมา ปล่อยผู็รับเหมาไปเชื่อมถัง ไม่ตรวจวัด ไม่กำจัดก็าซไวไฟ ระเบิดตูม ตายสาม คราวนี้ละมึง แพระดิมชิฟท์ของแท้ ชิบหายไง เป็นประเภท ไม่เห็นศพ ไม่หลั่งน้ำตา ไอ้ฟาย
การเปลี่ยนกรอบความคิดเกี่ยวกับความเสี่ยงมันจึงเป็นเรื่องที่ต้องเปลี่ยนตั้งแต่สิ่งเหล่านี้ คือ
1. อันตรายทุกอย่าง มีระดับความเสี่ยงที่ไม่เหมือนกัน ในสถานะการณ์ที่ต่างกัน ความเสี่ยงก็ไม่เท่ากัน
2. ความเสี่ยงที่ค้างอยู่ หรือที่เรียกว่า เรซิดวลริสก์กึ (Residual Risk) จะต้องอยู่ในระดับที่เรียกว่า อาหลาบ (ALARP)
มีใครรู้จักอาหลาบมั๊ย อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://i-worksafe.blogspot.com/2010/11/alarp.html
3. ความเสี่ยง เป็นเครื่องมือในการบริหาร ที่แห่งไหนที่ประเมินความเสี่ยงเพียงแค่ให้ได้ OSHAS 18000 แล้วเก็บเข้าลิ้นชัก เอาไว้อวดออดิทเทอร์ ก็เตรียมได้เลย ความเสี่ยงมันต้องถูกเอามาใช้ทุกวัน ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะมีคนแบบไหนในบรรยากาศแบบไหน คนต้องยึดเอาความเสี่ยงเป็นจุดยุติในการโต้เถียง ถ้าความเสี่ยงสูงมากๆ จะหยุดก็ต้องหยุด ไม่ใช่มาด่ากัน มึงรู้มั๊ย กรูเป็นคราย!!! เฮ้ย กรูเป็นผู้จัดการโครงการนาว้อย !!! พอระเบิดตูม!!! กรูไม่รู้ กรูไม่ได้เป็นผู้จัดการโครงการ ถุย! ไอ้ฟาย
4 ความเสี่ยงเป็นเครื่องมือในการชี้ชัดความเร่งด่วน และการจัดสรรทรัพยากร เพื่อจัดการกับมัน ไอ้ประเภท เป็นมะเร็งแล้วเอายาหม่องตราลิงมาทา ขอทีเถอะ
อธิบายมาถึงตรงนี้ จะเห็นว่า แพหระดิมฉิบ มันเป็นการเขย่าองค์กร ตั้งแต่หัวจรดหาง ถ้าความคิด มุมมองเกี่ยวกับความเสี่ยงยังไม่เปลี่ยน รอไปเถอะครับ อย่าหวังว่าจะได้เข้าไกล้คำว่า ซีโร่ฮาร์ม คงมีแต่ซี้แล้วหามประการเดียวเท่านั้นแหละครับ ไปดูข่าวงมศพก่อนนะ ยังหาไม่เจออีกสามศพ
จบก่อนดีกว่า ตัดเข้าโฆษณา ข้าวเกรียบรสปราร้าดำ ตราฉิบหาย กินแล้วจะติดใจ คำเดียวสั้นๆ ฉิบหาย ฉิบหาย กร่อบๆๆๆๆๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ติดคุกเพราะชำนาญการ

 พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มีข้อกำหนดมากมายหลายมาตรา รับกันมาเป็นทอดๆ ไล่ไปตั้งแต่มาตรา 4 ที่เ...