สมัยเด็กๆ หนังเรื่องกระสือ กับหนังอุลตร้าแมน แรงพอๆกัน
แปลกมั๊ย สมัยนั้น ดูหนังอุลตร้าแมน เด็กๆ อยากเป็นอุลตร้าแมน เหาะได้ ปล่อยแสง แจ๊ด ๆๆๆๆ ใส่สัตว์ประหลาด แต่ไม่มีใครอยากเป็นผีกระสือซักคน แปลกจัง
ถ้าปีนี้ลุงตู่ ใส่ชุดอุลตร้าตุ่ย มาเล่าเรื่องอันตรายจากรังสีให้เด็กๆฟัง คงจะช่วยกระตุ้นความอยากรู้เรื่องรังสีได้มากโขทีเดียว
เอาเถอะ ลุงแกงานเยอะ ช่วงนี้กำลังยุ่งอยู่กะการเป็นตู่ดิจิตอล แกไม่ว่างหรอก
รังสี Radiation มีสองแบบ มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา คือ รังสีที่ไม่ก่อให้เกิดประจุ หรือเรียกว่า Non-Ionizing Radiation กับ รังสีที่ก่อให้เกิดประจุ หรือ Ionizing Radiation
รังสี เป็นพลังงาน ที่อยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อันตรายที่จะเกิดขึ้นก็คืออันตรายระดับเซลล์ ระดับดีเอ็นเอ เพราะในนั้น เป็นส่วนที่เล็กที่สุดที่เมื่อมันเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ก็จะเกิดอาการเจ็บ ป่วย เสียชีวิตหลายรูปแบบ มาค่อยๆทำความเข้าใจกันก่อน
พวกรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดอิออน มักจะมีความยาวคลื่นยาว ความถี่ต่ำอย่างคลื่นแม่เหล็กจากสายไฟฟ้าแรงสูง ถึงปานกลางอย่างคลื่นวิทยุ และไมโครเวฟ ถ้าเป็นคลื่นแสง ก็ตั้งแต่ระดับอินฟราเรด ที่ตาเรามองไม่เห็น ไปจนเป็นคลื่นแสงที่ตาเรามองเห็น รวมถึงรังสีอุลตร้าไวโอเล็ท ที่บรรดาช่างเชื่อม เจอกันเป็นประจำทุกวัน
ส่วนพวกรังสีที่ก่อให้เกิดประจุ ก็เกิดมาจากสารที่อะตอมมีความไม่เสถียร (เริ่มพูดภาษาคนไม่รู้เรื่องแล้วสิเรา) คือสารกัมมันตภาพรังสี หรือที่เรียกว่า Radioactive พวกนี้มันเกิดได้ตามธรรมชาติ หรือมนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา ที่รู้จักกันและได้ยินบ่อยๆตั้งแต่เด็ก ก็อย่าง รังสี แอลฟ่า ซึ่ง เคลื่อนที่ไม่ได้ไกล ผ่านอากาศได้ไม่กี่เซ็นต์ แค่กระดาษแผ่นเดียวก็ไม่สามารถทะลุได้ แบบนี้ขืนอุลตร้ายูดปล่อยออกไป คงตกไม่พ้นหัวแม่ตีน ไอ้สัตว์ประหลาดมันคงหัวเราะก๊ากๆๆๆ รังสีเบต้า อันนี้ไปได้ไกลหน่อย แต่เจอแผ่นฟอยล์บางๆ ก็หยุดกึก อีกตัวคือรังสีแกมม่า ไอ้นี่ทะลุทะลวง ไปได้ไกลเชียว ทะลุแท่งคอนกรีตหนาๆได้สบาย แต่เจอแผ่นตะกั่วหนาๆก็ไปต่อไม่ไหว และอีกตัวยอดนิยมคือรังสีเอ็กซ์ พลังทะลุทะลวงเนื่อเยื่อมหาศาลพอๆกันทีเดียว
รังสีแบบก่อให้เกิดประจุมีอันตรายอย่างไร
สารกัมมันตภาพรังสี มักจะมีการปลดปล่อยอิเลคตรอนออกมาได้ตลอดเวลา อิเลคตรอนที่หลุดออกมา ถ้ามันทะลุทะลวงเนื้อเยื่อเรา มันก็จะไปชนอะตอมของเซลล์ ทำให้เซลล์ที่ถูกปะทะ เกิดการสูญเสียโครงสร้างในอะตอม เช่น ในร่างกายเรา ในเซลล์เรามีน้ำเป็นองค์ประกอบ น้ำ คือ H2O พอโดนอิเลคตรอนลุงตู่ชนเข้า อะตอมไฮโดรเจนก็หลุดพลั่วะ กลายเป็นประจุไฮโดรเจน และประจุ OH- ที่เรียกว่า ไฮดรอกซิล ที่บรรดาพวกเซลล์ขายเครื่องสำอางค์บอก อนุมูลอิสระ นี่แหละ คราวนี้ระส่ำ มันก็ไปจับกับสารเคมีนู่นนี่นั่น ในเซลล์ กลายเป็นสารพิษอย่าง ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ แล้วไง เซลล์เราก็ถูกทำลาย ถ้ามันไปเกิดที่โครงสร้างของยีนส์ DNA มันก็เกิด การกลายพันธุ์ กลายเป็นนินจาเต่า กลายเป็นมนุษย์หมาป่า บางคนลูกออกมากลายพันธุ์ กลายเป็นหน้าเหมือนคนข้างบ้านซะงั้น หุๆๆๆ
นอกจากนี้มันยังเกิดผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ลดลง เวลาญาติเราทำคีโมเขาถึงห้ามเข้าไปกอดรัดฟัดนัว เพราะเขากลัวติดเชื้อไง
บรรดานักบิน อย่างไฟล้ทจากซูริค พวกนี้บินสูงๆ เขาเจอรังสีคอสมิคจากดวงอาทิตย์เยอะ เสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจก แต่ผมก็ไม่เข้าใจต้อกระจกกับปัญญาอ่อนเนี่ยมันเกี่ยวกันตอนไหน ทำไมมันถึงเอาผู้โดยสารเป็นตัวประกันตั้งหลายชั่วโมงเพื่อให้ได้นอนในชั้นเฟิร์สคลาส
ที่น่ากลัวที่สุดคือการเกิดมะเร็ง ซึ่งเป็นการแบ่งตัวผิดปกติของเชลล์
การที่มันจะเกิดอันตรายแค่ไหนอย่างไร มันประกอบไปด้วยสองปัจจัย คือการทะลุผ่าน หรือ Penetration กับการกระทำต่อสิ่งที่มันทะลุผ่านไป Interactionอนุภาคอัลฟ่า ที่หลุดมาจากสารกัมมันตภาพรังสี มันประกอบไปด้วยประจุนิวตรอนกับโปรตอน มันเลยมีความเป็นประจุบวก มันใหญ่ มันทะลุไปได้ไม่ไกล ไม่กว้าง ขนาดหนังหน้าด้านๆยังผ่านไม่ทะลุชั้นขี้ไคลเลย แต่มันสามารถทำลายเซลล์ที่มันผ่านเข้าไปได้อย่างมากเลยทีเดียว ถ้ามันเกิดปนเปื้อนไปกับอาหารที่เรากิน เข้าไปข้างใน หรือหายใจเข้าไป คราวนี้ละเสร็จเลย อย่างพวกแก็สเรดอน ซึ่งเกิดตามธรรมชาติจากการสลายตัวของดิน แร่ต่างๆ พวกนี้เราไม่รู้เรื่องรู้ราวสูดเข้าไป หรือใช้วัสดุก่อสร้างที่มีพวกนี้ปนเปื้อน เจ้าของบ้านก็จะสูดเอาเรดอนเข้าไปทุกวัน ไม่นาน มะเร็งถามหา
อนุภาคเบต้า เป็นอิเลคตรอนที่หลุดออกมาจากสารกัมมันตภาพรังสี มีความเร็วสูง มันเลยทะลุเข้าชั้นผิวหนัง แต่ก็ไม่ไกลไปกว่าอัลฟ่าเท่าไรนัก ยกเว้นสูดหายใจเข้าไป
รังสีแกมม่า มันไม่มีประจุ มันเป็นพลังงานล้วนๆ มันจึงมีอำนาจทะลุทะลวงไปได้ไกลมากๆ ไปได้เป็นพันๆฟุต ทะลุเนื้อเยื่อ ทะลุคอนกรีต แต่มันจะทำลายเซลล์บางจุดที่มันผ่านเข้าไปตลอดทาง
วิธีป้องกัน
- เวลา Time เวลาเขาฉายเอ็กเรย์ มีไหมที่คนฉายมันฉาย ซื่ดๆๆๆๆๆๆๆๆ อย่างเมามัน เขาฉายแป็บเดียว เพื่อลดระยะเวลาการสัมผัส
- ระยะห่าง Distance เวลาจะฉาย อีคนฉายวิ่งออกไปหลบ บอกเราว่าอยู่นิ่งๆนะคะ แล้วมันก็วิ่งออกไปกดปุ่ม แน่จริงมึงมายืนข้างๆกูดิ
ฉากกั้น Shield ห้องเอกซเรย์จึงกั้นด้วยวัสดุที่ดูดซับรังสีได้ดี เห็นมะ อันนี้แหละ สำคัญเลย
- เวลา Time เวลาเขาฉายเอ็กเรย์ มีไหมที่คนฉายมันฉาย ซื่ดๆๆๆๆๆๆๆๆ อย่างเมามัน เขาฉายแป็บเดียว เพื่อลดระยะเวลาการสัมผัส
ใครที่ชอบปล่อยรังสีอำมหิตใส่ลูกน้อง ระวังให้ดี กระสือจะมากินตับ แบร่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น