วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ครางซื่ออ้ายแฮงๆแน อ้ายหูบ่ดี


คนหูตึงนี่ เวลาเรียกเบาๆ ไม่ค่อยได้ยิน ต้องเรียกกันดังๆ ถ้าจะให้มาคราง อุ๊ย อุ๊ย อุ๊ย ๆๆๆๆ แบบในเพลงครางชื่ออ้ายแน คงไม่เวิร์ค อ่ะ โปรโมทเพลงให้ (362) ครางชื่ออ้ายแน - ศรีจันทร์ วีสี Feat. ต้าร์ เพ็ญนภา แนบชิด ท็อปไลน์ - YouTube คงต้องตะโกนกันดังๆ สามบ้านแปดบ้าน โอย โอย ซีด ซาด ฮู้ว อ้า .... แบบเพลงประเทศกูมี

หูคนเรามันมีเท่าๆกัน คือมีสองข้าง ส่วนประกอบข้างนอก ข้างใน เหมือนๆกันหมด ต่างกันก็อีตรงที่ พอมันเปลี่ยนเป็นกระแสประสาท ส่งไปที่สมอง อีตรงนี้แหละที่มันไม่เหมือนกัน



หูคนเรามีสามส่วน คือ

หูชั้นนอก
ก็ไล่ไปตั้งแต่ ใบหู ฝรั่งมันเรียกว่า Pinna เอาไว้รวมเสียงให้เข้าไปในรูหู นอกจากนี้ โครงสร้างของใบหูซึ่งเป็นกระดูกอ่อน เวลาเคี้ยวมันจะกรุบๆ มันทำหน้าที่บอกทิศทางของเสียงว่ามาจากมางไหน ข้างบน ข้างล่าง
คนบางคน ได้ยินแต่เสียงมาจากข้างบน เสียงคนยากคนจน ไม่ค่อยได้ยิน หูตึงเป็นบางทิศทางซะงั้น
ใบหูของบรรดาสามี ยังมีประโยชน์อีกอย่างก็คือ เอาไว้ให้บรรดาเมียๆ ใช้มาตรา 44 กดขี่ข่มเหง ดึงทึ้งเอาตามอารมย์

ถัดมาก็เป็น รูหู หรือที่เรียกว่า Ear Canal ที่นี่ คลื่นเสียงจะรวมเข้ามา มักจะมีขนหู มีขี้หู ซึ่งทำหน้าที่กรอง กันสิ่งแปลกปลอมไว้ และรักษาความชุ่มชื้น บางคนขี้หูมากมายอุดเต็มรู แบบนี้ก็จะมีปัญหา เรียกเท่าไหร่ไม่ค่อยหัน ต้องบ้องหูสักที เอาขี้หูออกซะมั่ง

หูชั้นกลาง
ก็คือส่วนที่เป็นเยื่อแก้วหูหรือที่เรียกว่า  Ear Drum หรือ Tympanic Membrane ส่วนนี้ ถ้าเอาไฟส่องเข้าไปจะเห็นเป็นสีเงินมันวาวเชียว เยื่อแก้วหูจึงกั้นระหว่างโพรงของหูชั้นกลาง กับหูชั้นนอก ที่โพรงนี้ มีท่อเล็กๆ เชื่อมไปเปิดที่โพรงช่องปาก และจมูก ที่เรียกว่า ยูสเตเชี่ยนทิวบ์ ผมไม่รู้จะแปลเป็นภาษาไทยว่าอะไร ท่อนี้มันจะช่วยให้ความดันในโพรงหูส่วนกลาง กับความดันอากาศภายนอกมันบาลานซ์กัน อย่างเวลาก่อนเครื่องบินจะลง เราจะมีอาการหูอื้ออยู่พักใหญ่ๆ บางทีปวดจนแก้วหูแทบแตก ถ้าอ้าปาก หาว หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง ท่อยูสเตเชี่ยนเปิด เปาะ หูเราก็จะหายอื้อ แต่พวกนักการเมืองหลายคน มีอาการหูอื้อเรื้อรัง อื้อตลอดชีวิต

ติดกับเยื่อแก้วหู ก็จะเป็นกระดูกที่ทำหน้าที่ส่งความสั่นสะเทือนไปยังหูชั้นใน กระดูกสามชิ้นนี่เรียงกันเหมือนกระเดื่องกลองชุด เรียกว่า กระดูกค้อน หรือ Malleus  กระดูกทั่ง Incus กระดูกโกลน Stapes

พอมีเสียงเข้ามา อย่างเสียงครางใหญ่ ของผู้ชาย ฮือ อือ ดี ๆๆ แบบนี้ เยื่อแก้วหูก็จะสั่นด้วยความถี่ต่ำๆ ถ้าเป็นเสียงคราง อุ๊ย อุ๊ย อุ๊ย ๆๆๆ รัวๆ แหลมเล็ก ความถี่ก็จะสูง เยื่อแก้วหูก็จะสั่นด้วยความถี่สูง ลองนึกดูละกันว่ากระเดื่องกลองมันจะสั่นระรัวขนาดไหน

หูชั้นใน
กระดูกรูปทั่ง มันจะไกดอยู่บนอวัยวะรูปร่างคล้ายหอย แต่ผมมองว่ามันเหมือนปหอยที่มีหนวดเหมือนปลาหมึกมากกว่า ไอ้ตรงหนวดนั่น เรียกว่า Semicircular canal มันทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว ที่เป็นบ้านหมุนกันเยอะๆ ก็มาจากการทำงานที่ไม่ปกติของไอ้เจ้านี่แหละ ส่วนตรงที่เป็นตัวหอยนั่นเขาเรียกว่า คลอเคลีย เวลาที่เสียงกระทบเยื่อแก้วหู มันสั่น แรงสั่นส่งผ่านกระดูกสามชิ้น มันมากดอยู่ตรงช่องรูปไข่ของไอ้หอยตัวนี้ ข้างในตัวหอยถ้าผ่าดูจะเห็นเป็นท่อขดวนๆอยู่ ข้างในมีของเหลว พอมันถูกกด ของเหลวกระเพื่อม
ถ้าเสียงที่เข้ามาแรง ซี๊ด อ็า แรง เรียกซื่อค่อยแรงๆแน มันก็กระเพื่อมแรง ผนังท่อที่ขดไปมามันขยับ ตรงผิวของผนังมันมีเซลล์ขน ที่ส่งสัญญานประสาทไปที่สมอง แปลออกมา คนหูตึงเพราะเซลล์ขนมันตาย เกิดจากเสียงดังมากๆ แต่บางคน บางทีฟังเพลงบางเพลง เกิดอาการคลั่ง ควบคุมจริตไม่ได้ หาว่าเพลงนี้ทำลายประเทศชาติมั่งละ แบบนี้ไม่น่าจะเกิดจากหอยในหู แต่เกิดจากสมองเสียมากกว่า สมองไม่ไดี ทีเพลงคราง๙ื่ออ้ายแน ไม่เห็นบ่นว่าอะไร พิลึกเชียว


รังสีกับผีกระสือ


สมัยเด็กๆ หนังเรื่องกระสือ กับหนังอุลตร้าแมน แรงพอๆกัน

แปลกมั๊ย สมัยนั้น ดูหนังอุลตร้าแมน เด็กๆ อยากเป็นอุลตร้าแมน เหาะได้ ปล่อยแสง แจ๊ด ๆๆๆๆ ใส่สัตว์ประหลาด แต่ไม่มีใครอยากเป็นผีกระสือซักคน แปลกจัง

ถ้าปีนี้ลุงตู่ ใส่ชุดอุลตร้าตุ่ย มาเล่าเรื่องอันตรายจากรังสีให้เด็กๆฟัง คงจะช่วยกระตุ้นความอยากรู้เรื่องรังสีได้มากโขทีเดียว 




เอาเถอะ ลุงแกงานเยอะ ช่วงนี้กำลังยุ่งอยู่กะการเป็นตู่ดิจิตอล แกไม่ว่างหรอก

รังสี Radiation มีสองแบบ มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา คือ รังสีที่ไม่ก่อให้เกิดประจุ หรือเรียกว่า Non-Ionizing Radiation กับ รังสีที่ก่อให้เกิดประจุ หรือ Ionizing Radiation

รังสี เป็นพลังงาน ที่อยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อันตรายที่จะเกิดขึ้นก็คืออันตรายระดับเซลล์ ระดับดีเอ็นเอ เพราะในนั้น เป็นส่วนที่เล็กที่สุดที่เมื่อมันเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ก็จะเกิดอาการเจ็บ ป่วย เสียชีวิตหลายรูปแบบ มาค่อยๆทำความเข้าใจกันก่อน
พวกรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดอิออน มักจะมีความยาวคลื่นยาว ความถี่ต่ำอย่างคลื่นแม่เหล็กจากสายไฟฟ้าแรงสูง  ถึงปานกลางอย่างคลื่นวิทยุ และไมโครเวฟ  ถ้าเป็นคลื่นแสง ก็ตั้งแต่ระดับอินฟราเรด ที่ตาเรามองไม่เห็น ไปจนเป็นคลื่นแสงที่ตาเรามองเห็น รวมถึงรังสีอุลตร้าไวโอเล็ท ที่บรรดาช่างเชื่อม เจอกันเป็นประจำทุกวัน




ส่วนพวกรังสีที่ก่อให้เกิดประจุ ก็เกิดมาจากสารที่อะตอมมีความไม่เสถียร (เริ่มพูดภาษาคนไม่รู้เรื่องแล้วสิเรา) คือสารกัมมันตภาพรังสี หรือที่เรียกว่า Radioactive พวกนี้มันเกิดได้ตามธรรมชาติ หรือมนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา ที่รู้จักกันและได้ยินบ่อยๆตั้งแต่เด็ก ก็อย่าง รังสี แอลฟ่า ซึ่ง เคลื่อนที่ไม่ได้ไกล ผ่านอากาศได้ไม่กี่เซ็นต์ แค่กระดาษแผ่นเดียวก็ไม่สามารถทะลุได้ แบบนี้ขืนอุลตร้ายูดปล่อยออกไป คงตกไม่พ้นหัวแม่ตีน ไอ้สัตว์ประหลาดมันคงหัวเราะก๊ากๆๆๆ  รังสีเบต้า อันนี้ไปได้ไกลหน่อย แต่เจอแผ่นฟอยล์บางๆ ก็หยุดกึก อีกตัวคือรังสีแกมม่า ไอ้นี่ทะลุทะลวง ไปได้ไกลเชียว ทะลุแท่งคอนกรีตหนาๆได้สบาย แต่เจอแผ่นตะกั่วหนาๆก็ไปต่อไม่ไหว และอีกตัวยอดนิยมคือรังสีเอ็กซ์ พลังทะลุทะลวงเนื่อเยื่อมหาศาลพอๆกันทีเดียว  

รังสีแบบก่อให้เกิดประจุมีอันตรายอย่างไร


สารกัมมันตภาพรังสี มักจะมีการปลดปล่อยอิเลคตรอนออกมาได้ตลอดเวลา อิเลคตรอนที่หลุดออกมา ถ้ามันทะลุทะลวงเนื้อเยื่อเรา มันก็จะไปชนอะตอมของเซลล์ ทำให้เซลล์ที่ถูกปะทะ เกิดการสูญเสียโครงสร้างในอะตอม เช่น ในร่างกายเรา ในเซลล์เรามีน้ำเป็นองค์ประกอบ น้ำ คือ H2O พอโดนอิเลคตรอนลุงตู่ชนเข้า อะตอมไฮโดรเจนก็หลุดพลั่วะ กลายเป็นประจุไฮโดรเจน และประจุ OH- ที่เรียกว่า ไฮดรอกซิล ที่บรรดาพวกเซลล์ขายเครื่องสำอางค์บอก อนุมูลอิสระ นี่แหละ คราวนี้ระส่ำ มันก็ไปจับกับสารเคมีนู่นนี่นั่น ในเซลล์ กลายเป็นสารพิษอย่าง ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ แล้วไง เซลล์เราก็ถูกทำลาย ถ้ามันไปเกิดที่โครงสร้างของยีนส์ DNA มันก็เกิด การกลายพันธุ์ กลายเป็นนินจาเต่า กลายเป็นมนุษย์หมาป่า บางคนลูกออกมากลายพันธุ์ กลายเป็นหน้าเหมือนคนข้างบ้านซะงั้น หุๆๆๆ

นอกจากนี้มันยังเกิดผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ลดลง เวลาญาติเราทำคีโมเขาถึงห้ามเข้าไปกอดรัดฟัดนัว เพราะเขากลัวติดเชื้อไง
บรรดานักบิน อย่างไฟล้ทจากซูริค พวกนี้บินสูงๆ เขาเจอรังสีคอสมิคจากดวงอาทิตย์เยอะ เสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจก แต่ผมก็ไม่เข้าใจต้อกระจกกับปัญญาอ่อนเนี่ยมันเกี่ยวกันตอนไหน ทำไมมันถึงเอาผู้โดยสารเป็นตัวประกันตั้งหลายชั่วโมงเพื่อให้ได้นอนในชั้นเฟิร์สคลาส


ที่น่ากลัวที่สุดคือการเกิดมะเร็ง ซึ่งเป็นการแบ่งตัวผิดปกติของเชลล์

การที่มันจะเกิดอันตรายแค่ไหนอย่างไร มันประกอบไปด้วยสองปัจจัย คือการทะลุผ่าน หรือ Penetration กับการกระทำต่อสิ่งที่มันทะลุผ่านไป Interaction

อนุภาคอัลฟ่า ที่หลุดมาจากสารกัมมันตภาพรังสี มันประกอบไปด้วยประจุนิวตรอนกับโปรตอน มันเลยมีความเป็นประจุบวก มันใหญ่ มันทะลุไปได้ไม่ไกล ไม่กว้าง ขนาดหนังหน้าด้านๆยังผ่านไม่ทะลุชั้นขี้ไคลเลย แต่มันสามารถทำลายเซลล์ที่มันผ่านเข้าไปได้อย่างมากเลยทีเดียว ถ้ามันเกิดปนเปื้อนไปกับอาหารที่เรากิน เข้าไปข้างใน หรือหายใจเข้าไป คราวนี้ละเสร็จเลย อย่างพวกแก็สเรดอน ซึ่งเกิดตามธรรมชาติจากการสลายตัวของดิน แร่ต่างๆ พวกนี้เราไม่รู้เรื่องรู้ราวสูดเข้าไป หรือใช้วัสดุก่อสร้างที่มีพวกนี้ปนเปื้อน เจ้าของบ้านก็จะสูดเอาเรดอนเข้าไปทุกวัน ไม่นาน มะเร็งถามหา

 
อนุภาคเบต้า เป็นอิเลคตรอนที่หลุดออกมาจากสารกัมมันตภาพรังสี มีความเร็วสูง มันเลยทะลุเข้าชั้นผิวหนัง แต่ก็ไม่ไกลไปกว่าอัลฟ่าเท่าไรนัก ยกเว้นสูดหายใจเข้าไป
รังสีแกมม่า มันไม่มีประจุ มันเป็นพลังงานล้วนๆ มันจึงมีอำนาจทะลุทะลวงไปได้ไกลมากๆ ไปได้เป็นพันๆฟุต ทะลุเนื้อเยื่อ ทะลุคอนกรีต แต่มันจะทำลายเซลล์บางจุดที่มันผ่านเข้าไปตลอดทาง


วิธีป้องกัน

  • เวลา Time เวลาเขาฉายเอ็กเรย์ มีไหมที่คนฉายมันฉาย ซื่ดๆๆๆๆๆๆๆๆ อย่างเมามัน เขาฉายแป็บเดียว เพื่อลดระยะเวลาการสัมผัส
  • ระยะห่าง Distance เวลาจะฉาย อีคนฉายวิ่งออกไปหลบ บอกเราว่าอยู่นิ่งๆนะคะ แล้วมันก็วิ่งออกไปกดปุ่ม แน่จริงมึงมายืนข้างๆกูดิ

  • ฉากกั้น Shield ห้องเอกซเรย์จึงกั้นด้วยวัสดุที่ดูดซับรังสีได้ดี เห็นมะ อันนี้แหละ สำคัญเลย


ประเทศไทย มีกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสี พ.ศ. 2547 โน่นแล้วนะจ๊ะ
ใครที่ชอบปล่อยรังสีอำมหิตใส่ลูกน้อง ระวังให้ดี กระสือจะมากินตับ แบร่

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เควายที มือชี้ ปากย้ำ





สมาคมความปลอดภัยและสุขภาพญี่ปุ่น หรือ JISHA ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2507 หรือ 1964 ภายหลังจากการพ่ายแพ้สงคราม เมืองสำคัญๆถูกระเบิดปรมาณูถล่มพินาศ ทหารญี่ปุ่นกลับสู่แผ่นดินพระจักรพรรดิ์ด้วยร่างกายและหัวใจที่แหลกสลาย ญี่ปุ่นในยามนั้นอยู่ในสภาพลำบากยากเข็ญ
การพัฒนาประเทศและอุตสาหกรรมจึงกลายเป็นเพียงความหวังเดียวของการอยู่รอดและกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
  • เพื่อลดความผิดพลาด
  • เพื่อลดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ
  • เพื่อเพิ่มความปลอดภัย
  • เพื่อปลูกฝังจิตสำนึก
  • เพื่อสร้างทีมเวิร์ค
  • เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ
  • เพื่อกระตุ้นให้มีการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร
  • เพื่อเพิ่มทักษะในการแก้ปัญหา
คนญี่ปุ่นจึงเริ่มใช้เทคนิคที่ง่ายแสนง่ายที่เรียกว่า เควายที เพื่อสร้างวินัยในการทำงาน โดยบริษัทซูมิโตโม่ เมทัล อินดัสตรี้ส เป็นที่แรก ที่ใช้เควายที เมื่อปี พ.ศ. 2519 หรือ 1976 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

เควายทีแพร่หลายไปในหลายประเทศ โดยเฉพาะในบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทย เควายทีก็คล้ายๆกับกิจกรรมเข้าจังหวะที่ฮือฮากันอยู่พักใหญ่ๆ แล้วก็ค่อยๆซาไปในที่สุด เช่นเดียวกันกับ กิจกรรมอย่าง 5 ส. เก็มบะ อะไรเทือกนั้น ที่ยังยั่งยืน ไม่มีทีท่าจะเสื่อมความนิยมก็อย่างเช่น ทงคัสสึ ราเม็ง ซูชิ วาซาบิ ที่เอาเข้าปาก เคี้ยวและกลืนได้ คนไทยก็มักจะไม่หลงลืมเสื่อมความนิยม

คงเป็นเพราะอารมย์มันคนละโหมดกัน คนญี่ปุ่น ต้องการขจัด ความดราม่า (Illusion) ความประมาท (Carelessness)  ความมั่วซั่ว (Sloppiness) ความหย่อนยานเหยาะแหยะ (Relaxation)  การตัดสินใจที่ผิดพลาด (Mis-judgement) คลาดเคลื่อน การละเมิดกฏระเบียบ (Violation)  มีเป้าหมายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
แต่คนไทยทำเควายทีด้วยอารมย์ประมาณว่า "แม่ง อีกแระ กูละโคตรเบื่อ"  พอเสียงนาฬิกาดัง ทุกคนต้องยืนข้างๆโต๊ะ แล้วออกกำลังกาย แค่นี้กูก็จะตายแล้ว เบื่อจริงโว๊ย

พอให้ทำเควายที ก็ทำแบบขอไปที พูดๆ ชี้ๆไป เสียงดังๆ จะได้เสร็จๆ
เควายทีในบ้านเรา เลยต้องพึ่งการโปรโมท เช่น มีการแข่งขัน มีการแต่งเพลง ประกอบท่าเต้น ถ่ายวิโดีโอลงยูทูป
เควายทีแบบขอควายไปที เลยไม่ได้ช่วย กระตุ้นสมองส่วนที่เป็นสัญชาติญาน (Safety conscious brain) ไม่มีจิตสำนึก (Safety awareness)เพิ่มขึ้น ไม่กระตุ้นการเอาใจใส่ (Attention)  ได้ผลแค่ มือ ชี้ (ส่งเดช) ปากย้ำ (ส่งเดช) ทุกวัน ทำๆไปให้ซาโจ้แฮปปี้ก็พอ อิอิ

เควายทีแบบญี่ปุ่น ที่ผมเคยเห็น ตอนที่ไปดูงานที่นั่น มันคนและแบบกับที่ออกมาเต้นหยองแหยงกันในยูทูป มันคนละเรื่องกันเลย

ผมเดินตามหัวหน้างานชาวญี่ปุ่นเข้าโรงงาน พอถึงทางแยก เขาหยุด แล้วก็ชี้ซ้าย ขวา ซ้าย ปากก็พูดอะไรสักอย่างผมจำไม่ได้ ส่วนผม มัวแต่ดูโน่นดู่นี่ หยุดไม่ทัน เลยเผลอชนหลังเขาป๊าบ เป็นแบบนี้หลายที จนอดรนทนไม่ไหวจึงถามไปว่ายูทามอาร๊าย เขาก็ตอบว่า อีนี่คือเควายที อ๋อ
ตอนเปลี่ยนกะ คนงานญี่ปุ่นจะเข้าแถวในห้องคอนโทรลรูม คำนับกัน แล้วก็จะก้าวมาข้างหน้าทีละคน พูดๆๆๆๆ แล้วก็ส่งสมุดโน๊ทให้เพื่อนคู่กะที่จะเข้า ทำแบบนี้จนจบ แล้วเขาก็ทำเควายที ผมไม่เห็นมีใครมีท่าทีเบื่อหน่าย เหยาะแหยะ หรือหลบๆอยู่หลังเพื่อนเลยสักคน ไม่เหมือนที่บ้านกูเลย (ผมนึก) เควายทีแบบวาซาบิมันได้สร้าง สำนึก( Awareness) จนติดเป็นนิสัย (Habit) กลายเป็นบรรยากาศ (Climate) และหลอมรวมกลายเป็นวัฒนธรรม (Culture) ของคนญี่ปุ่นแบบแนบเนียน

ด้วยความที่เขามีวัฒนธรรมส่วนรวมแบบนั้น เวลาเขาทำอะไร เขาก็จะเอาจริงเอาจัง เซฟตี้สไตล์ญี่ปุ่นไม่ค่อยมีแบบฟอร์ม มีเช็คลิทส์ มีแบบฟอร์มอะไรมากมาย แม้แต่ที่เราเรียกว่า โปรสิเด๋อร์ (Procedure)ของญี่ปุ่นที่ผมเห็น ก็มีเป็นรูปวาด เหมือนการ์ตูนซะมากกว่าที่จะเขียนอะไรเยิ่นเย้อ

จิตสำนึกแบบฝังจนเป็นสันดานเนี่ย มันสร้างได้ ในขณะเดียวกัน ความไร้สำนึกจนเป็นกมลสันดานเนี่ย มันลบยาก

มีคนถามว่า จิตสำนึกความปลอดภัยกับจิตสำนึกเรื่องคุณภาพมันไปด้วยกันได้ไหม เอาอะไรมาใช้ทำไมมันตายหมดที่เมืองไทย ให้ทำระบบคุณภาพ ก็ติ๊กมั่วจนลูกค้าเคลมคืน ขาดทุนแถมโดนฟ้องอีก โอ๊ว อารายกานนี่ ไทยแลนด์ ทามมายเป็นอย่างนี๊ สงสัยจริงๆ
คือ... เราไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้น ...เรามีเอกราชมาช้านาน เราเลยดักดาน ภาษาอังกฤษก็ไม่แตกฉาน มึงจะทำไม พ่อแม่กูไม่เคยหวังให้เป็นขึ้ข้าใคร เขาส่งเรียนเพื่อเป็นเจ้าคนนายคน ค้าขายมันเป็นเรื่องของพวกเจ๊กจีน ญี่ปุ่นยุ่นปี่ แขกดอย ฝรั่งดองโน่น เราเลยไม่ชิน อย่ามาแตะต้องความเป็นเทย (ออกเสีย เทยยยย)

เอาง่ายๆ สูตรในการทำธุระกิจ   

           กำไร (Profit) = ยอดขาย (Sales) -ต้นทุน (Cost) 

  • Poor Safety - ทำงานห่วยแตก มีอุบัติเหตุไม่เว้นแต่ละวัน เดี๋ยวตาย เดี๋ยวเจ็บ ไฟไหม้ ระเบิด รถชน รถคว่ำ แบบนี้ มันจะมีกำไรไหม ต้นทุนบานเบอะ พอสิ้นปีไม่มีโบนัส ประท้วงอีก
  • Poor Deliver- ไม่ต้องพูดถึงว่าส่งของตรงเวลา ส่งของแบบมีคุณภาพ กูส่งให้มึงช้าไปสามวันนี่ถือว่าเป็นบุญโขแล้ว  
  • Poor production, poor maintenance อันนี้ ไม่ต้องพรรณา ถนัดอยู่แล้ว ไม่ใช่ตังค์กู ผลาญมันเข้าไป
  • Poor Quality -- โอ้ย แบบฟอร์มเขามีให้กรอก เช็คลิสท์มีให้ติ๊ก คิดไรมาก
  • Poor Service-- บริการดีๆเขามีไว้ให้ฝรั่งนู่น ให้เลียตูดยังได้เลย คนชาติเดียวกัน คนเอเชีย เอาตีนเขี่ยๆก็ดีตายห่าแล้ว
สรุปง่ายๆ ถ้าจิตสำนึกความปลอดภัยไม่มี อย่าหวังเรื่องอื่นๆจะมี ขนาดเรื่องเป็นเรื่องตายยังไม่สำนึก ยังไม่มี จะเอาอะไรอี๊ก

สมัยหนึ่ง ผมดูแลทั้งหมด 5 ประเทศ แต่ละประเทศแหม อย่าให้พูด เด็ดๆทั้งน้าน จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย เกาหลี
ผมได้ไปยืนสังเกตุการณ์ การทำ เควายที ของคนงานที่โรงงานที่รังสิต (คงไม่ต้องบอกว่าประเทศอะไร) เซฟตี้ประจำโรงงาน หันมามองผม ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ มันดูเขินๆ

เอ้า มาๆๆๆ เข้ามา วันนี้เจ้านายกูมา ทำเควายทีโชว์หน่อย
คนงานเข้ามายืนเก้ๆกังๆ มีหลายคนหลบอยู่ห่างๆ
กว่าจะเข้ามาได้นานเลย
ว่าแล้วก็เริ่มพิธีกรรม
มือชี้ปากย้ำ
ประโยคสุดท้าย พวกเขาตะโกนดังลั่นว่า

เซฟตี้ ต้องเป็นศูนย์ โอ้ เค้

ผมนี่ใจหายวาบ












ประวัติศาสตร์เซฟตี้

 Abraham Maslow พูดถึงเซฟตี้ไว้เมื่อปี 1943 ว่าลำดับขั้นของความต้องการของคนนั้นมีอยู่เป็นลำดับๆ เริ่มตั้งแต่ความต้องการพื้นฐาน อย่างอาหาร อา...