วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2561

มะ มาให้พี่ดูดซะโดยดี


คอการเมืองอย่างผม ไปไหน ต้องมีมือถือติดมือไปด้วย เดี๋ยวนี้มือถือดูทีวีได้หมดแล้ว บังเอิญวันนั้นปิดไม่ทัน เพราะมัวแต่สาละวนกับการดูด นายกออกมาพูด ได้ยินแว่วๆ จับต้นชนปลายได้ว่า การดูด เป็นธรรมนองคลองธรรมของระบอบประชาธิปไตย

ภาษาเซฟตี้ มีอันตรายจากแรงดูดอยู่เหมือนกัน เลยอยากเอามาเล่ามาเตือนกัน กลัวลืม ตอนนี้ เห็นปรากฏการณ์ของการไล่ดูด ส.ส. มีทั้งพวกอยากโดนดูดใจจะขาด และพวกที่ออกมาโวยว่าพรรคของตัวเองกำลังถูกดูด



























ใครจะไปนึกว่าถังใบบะเริ่ม จะถูกดูดยุบวาบราวกับกระป๋องน้ำอัดลมเปล่าถูกบีบ ไม่น่าเป็นไปได้ว่าแรงดูดจากปั๊มตัวกะเปี๊ยกจะสร้างความบรรลัยได้ถึงปานนั้น

ถังใบนี้ อยู่ระหว่างการซ่อมแซม ช่างมันลืมเอาพลาสติคที่ปิดรูหายใจ ที่ภาษาเซฟตี้เรียกว่า Atmospheric Vent Valve ออก ปิดไว้กันผงกันฝุ่น หวังดี พองานเสร็จ เดินเครื่อง เดินปั๊ม ถังยุบแป่บ


หลักทางฟิสิกส์ บอกว่า

แรง แปรผันตรงกับความดันและพื้นที่ หรือสูตรคำนวณหาแรงก็คือ

Force = Pressure x Area

 
สูตรนี้ ไม่ได้ใช้เฉพาะเรื่อง แรงดูดอย่างเดียว แรงดันก็เหมือนกัน
สมมุติว่า ในถังใบนี้ มีความดันที่  10 psi บนพื้นที่ผิวขนาด 12นิ้ว x 12 นิ้ว

จะพบว่า มีแรงกระทำต่อผนังของถังถึง 1440 ปอนด์ เลยทีเดียว
ดังนั้น ไอ้ประเภท ไม่ยอมระบายแรงดันที่คาถังออกก่อน แล้วถอดน็อตรอบแมนโฮล ระวังเถอะ พอน็อตหลุดออกหมด ฝาแมนโฮลหลุดผึงราวกับมีใครถีบออกมา ไอ้ที่บอกว่า หึย ฝาหนักขนาดนี้ มันจะหลุดออกมาเองได้ยังไง
แนะนำให้เอาหน้าไปรอไว้เลย เดี๋ยวรู้ 

อย่างกรณีนี้ ฝาถังไซโลปูน หลุดผึงปลิวมาตกหน้ารถคนดวงแข็ง ต่อหน้าต่อตา รถราเบรกกันฝุ่นตลบ คิดว่ายานอวกาศที่บิ๊กตือไปซื้อมือสองมาจากจีนเกิดตกกลางถนน กร๊ากๆๆๆ

ลองสอบดูดีๆ ถ้าไม่มีเพรสเชอร์จากลมอัดเข้าไปเพื่อทำอะไรสักอย่าง ผมว่ามันต้องเกิดจากเจ้าที่เจ้าทางแน่นอน ไม่มีเหตุอื่น  เอาแค่แรงดัน 10 psi เป่าปูนเข้าไซโล บวกกับไอ้ชุ่ย ไม่ใส่น๊อตให้ครบ เปรี้ยง โครม ครืดๆๆๆๆ


 

กลับมาที่เรื่องดูดดีกว่า เรื่องแอบดูดขี้ในบ่อเพื่อนนี่ ถ้าดูดไม่ดี เผลอไผลไปสร้างบรรยากาศที่ติดลบ คือรูหายใจมันอุดตัน แรงดันข้างในเป็นลบไปนิดเดียว แรงกดอากาศมหาศาลจะดันให้ผนังของถังใบนี้ยุบได้ภายพริบตา

ผมไปเจอการทดสอบการยุบตัวของถังคาร์โก้ เป็นเอกสารในเวปไซท์ ใครใคร่อ่านก็คลิกไป

Cargo Tank Suck In


ฟิสิกส์ ของแรง อย่างข้างบนนั่น ก็เพื่อจะอธิบายว่า แรงที่เกิดขึ้น บนพื้นที่หน้าตัด มหาศาลเพียงไหน

ยังมีกฎของบอยลส์ ที่บอกว่า

แรงดันที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของถัง จะยังคงเป็นเช่นเดิน ตราบใดที่ปริมาตรของอากาศในถังยังเป็นดั่งเดิม ฟังดูเหมือนสุภาษิตขงตื้อ ตื้ออยากเป็นนายก ทำยังไงก็ได้ให้ฉันได้เป็นนายก

p1v1 = p2v2

 
สมมุติว่า ถังใบนี้ มีไอระเหยอยู่ข้างใน 60 แกลลอน ที่ความดันบรรยากาศ ปกติ 14.7 psi แล้วจัดการดูดไอนั่นออกมา 100 แกลลอน โดยปิดรูระบายไว้อย่างแน่นหนา (แบบใช้มาตรา 44 ห้ามโน่นนี่นั่นไว้เสียทั้งหมด ห้ามหายใจ เข้า ออก ห้ามตด ) แรงดันที่เกิดขึ้น หรือ p2 จะได้เท่ากับ การย้ายข้างสลับขั้ว
 

p2 = p1xv1 หารด้วย v2

p2 = 14.7 x 60 หารด้วย 160 ได้ออกมาเท่ากับ 5.5
 
เพราะฉะนั้น หลังจากการดูดไปแล้ว แรงดันในถัง จะ เท่ากับ 5.5 -14.7 = -9.2 psi
 
 
เห็นยัง ดูดไม่ดูตาม้าตาเรือ อุดรูหายใจไว้หมด เห็นยัง เพรสเชอร์ติดลบ ไอ้ฟาย ฮึ่ย
 
 
อ่ะ ทีนี้มาดู ไอ้ประเภท สร้างบรรยากาศร้อนระอุ แถมอุดรูไว้หมด ไม่ให้ได้หายใจหายคอ
 
สูตรคำนวณ เรื่อง ไอดีลแก็ส
 
 

p1/T1 =p2/T2 


ประมาณว่าหยั่งงี้คือ เอาเครื่องพ่นล้างด้วยไอน้ำ ไปล้างๆ ๆๆๆๆๆๆ จนข้างในร้อนระอุไป 200 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 660 เควิน ปิดรูระบาย รูหายใจ ปิดให้หมด แล้วให้ไปนั่งดูละครแม่การะเกด จนถังเย็นลงเหลือ 30 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 490 เควิน ทีนี่มาดูค่าความดันในประเทศ p2 = p1 x T2/T1 อ่ะ แทนค่าในสูตร
 
จะเห็นว่า แรงดัน p2 =  14.7 x 490 / 660 = 10.9 psi
 
แรงดันที่แตกต่าง = 10.9-14.7 = 3.8 psi เชียวนะมึง
 
แล้วทีนี้ เอาไปคูณกับพื้นที่ผิวดูทีรึ เป็นไง เห็นรึยัง ว่าแรงที่กดทับลงไปทุกหัวระแหง มันมากมายมหาศาลขนาดไหน ไอ้ฟาย ทำอะไร คิดซะมั่ง ฮึ่ย เห็นแล้วหงุดหงิด
 
 

ระวังเถอะ ดูดส่มสี่สุ่มห้า ถังขี้แตกขึ้นมา จะเหม็นกันไปหมดนะจะบอกให้

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ติดคุกเพราะชำนาญการ

 พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มีข้อกำหนดมากมายหลายมาตรา รับกันมาเป็นทอดๆ ไล่ไปตั้งแต่มาตรา 4 ที่เ...