วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

เซฟตี้ กับ ยามตีแหม่ง

เป็นเซฟตี้มาหลายปี บทบาทหน้าที่เปลี่ยนไปจากสมัยแรกๆ เป็น จป. ทำงานคนเดียว เมื่อปี พ.ศ. 2528 สมัยนั้นยังไม่มีกฎหมายความปลอดภัยอะไรมากมาย ทำมันทุกเรื่อง ไม่มีลูกน้อง ที่พอจะพึ่งพาได้ก็มีบรรดา รปภ.ที่เขายกมาให้ดูแล เพราะชื่อตำแหน่งมันไปหมิ่นเหม่ใกล้เคียงกัน "เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย" จนเดี๋ยวนี้ เวลาโฆษกเขาแนะนำวิทยากร ก็มักจะเติมให้ว่า อดีต เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย บริษัทนั่นนู่นนี่ 

พอเติบโตมา เปลี่ยนจากเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นผู้จัดการ ก็ยังไม่วาย ได้รับตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายรักษาความปลอดภัย ป๊าดโธ่ จะว่ากันไปแล้ว หน่วยงานสองหน่วยนี่มันแยกกันไม่ได้ งานรักษาความปลอดภัย หรือที่เรียกว่า Security Management มันมีความเหมือนกับงานเซฟตี้อยู่หลายอย่าง และที่เหมือนกันแบบแยกกันไม่ได้เลยก็คือ การป้องกันและระงับความสูญเสีย เพราะฉะนั้น ในเมืองนอก เขาจึงมีแผนก Loss Prevention and Control ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างสองหน้าที่นี้ก็คือ งานรักษาความปลอดภัย เน้นไปที่ภัยที่จะเกิดจากเจตนาของคน เช่น ลักขโมย วางเพลิง ทำร้ายร่างกาย ก่อวินาศกรรม ทุจริต บุกรุก เป็นต้น ในขณะที่งานด้านความปลอดภัย จะเน้นไปที่ภัยที่เกิดจาก อันตรายหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ไม่พึงประสงค์ ไม่ได้วางแผนไว้ให้มันเกิดแบบนั้นแบบนี้ เรียกรวมๆว่า Incident หรือ ถ้ามีความสูญเสียเกิดขึ้น ก็เรียกว่า Accident ใครที่ยังมั่วๆอยู่กับคำนิยามสองคำนี่ก็ไปหาตำหรับตำรามาอ่านเสียใหม่


ด้วยความเหมือนและความต่าง ของงานสองแบบนั่น เรายังมีความเหมือนกันแบบแยกกันไม่ออกอีกประการหนึ่งก็คือ กระบวนการบริหารความเสี่ยง ที่มีจุดเริ่มต้นแบบเดียวกันก็คือ การประเมินความเสี่ยง

งานรักษาความปลอดภัย หรือ รปภ. เป็นงานที่ต้องประเมินความเสี่ยง ว่าอะไรที่ไหน มีจุดอ่อน มีความล่อแหลม เป็นช่องว่างให้เกิดความสูญเสีย เพราะฉะนั้น หากมีบริษัท รปภ.เข้ามาหาผม แล้วถามผมว่า จะเอา รปภ.กี่คน เอาผู้ชายกี่คน เอาผู้หญิงกี่คน แบบนี้ ผมจะบอกว่า ไปไกลๆเลย คุณเข้ามาขายบริการรักษาความปลอดภัย และบอกว่าเป็นมืออาชีพ แต่กลับข้ามขั้นตอนที่สำคัญที่สุดไปได้อย่างน่าโมโห ทำไมคุณไม่สำรวจสภาพต่างๆ ประเมินความเสี่ยง ระบุจุดล่อแหลมต่างๆแล้วค่อยเสนอมาตรการที่เหมาะสมในการรักษาความปลอดภัยมา บางจุดการใช้เครื่องมือ ระบบตรวจจับ และส่งสัญญาน มีความจำเป็นมากกว่าไปเอาคนมาใส่ชุดยืนตะเบะตะบี้ตะบัน  ประตูหน้าต่าง รั้ว ที่มีอยู่ต้องเพิ่มเติม ต้องดัดแปลงปรับปรุง แสงสว่าง ต้นไม้ที่ยื่นกิ่งล้ำข้ามรั้วมา พวกนี้ บริษัทรักษาความปบอดภัยแบบจับเสือมือเปล่า แบบประเภทหากินง่าย ไปต้อนคนขึ้นรถมาจากบ้านนอก เอามาใส่ชุด รปภ. สอนขวาหันซ้ายหันแล้วเอามาลงประจำจุด จะโดนผมด่าหนัก และยิ่งไอ้ประเภท ชาร์จค่าวิทยุ ไฟฉาย กระบี่กระบอง ค่าเครื่องแบบบ้าบอคอแตกมา แบบนี้ไปไกลๆ(ตีน) ถ้า รปภ.ของคุณไม่สามารถสื่อสารกันด้วยโทรจิตได้ หรือเห็นในที่มืดได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์พวกนั้น ก็แสดงว่า เขาจะทำงานได้เต็มที่ไม่ได้โดยไม่ใช้วิทยุ เพราะฉะนั้น อย่ามาชาร์จเงินผมเพื่ออุปกรณ์ที่จะทำให้คุณทำงานได้ มันไม่เมกเซนส์  และร้อยทั้งร้อยครับ บริษัท รปภ.ในบ้านเรา มันมั่ว มันมีสี มันมีนาย แต่มันไม่มืออาชีพ ไอ้พวกนี้ ไม่เคยได้งานจากผมแน่นอน ส่วนไอ้พวกที่เคยได้งาน เพราะมีใต้โต๊ะ มีนอกมีในกับคนเก่าๆ รับรองได้ กระเจิง เคยมีเจ้าของบริษัท รปภ. เป็นจ่า อยู่แถวๆบ่อวิน มาขู่ผมถึงถิ่น หลังจากโดนยกเลิกสัญญา บ้านเรามันเป็นแบบนี้แหละ และนี่เป็นเหตุผลเดียวที่ผมทำใจลำบากเวลาถูกประกาศว่าเป็น ผู้จัดการรักษาความปลอดภัย เพราะคนที่เขาทำงานด้านนี้ เขาไม่มีความเป็นมืออาชีพ รปภ.มาแต่ละนาย ไม่กล้าแม้กระทั่งจะขอตรวจบัตรพนักงาน ไม่กล้าตรวจค้นใคร ไม่กล้าที่จะทำตามมาตรการรักษาความปลอดภัยแบบมืออาชีพ คุณว่าจริงไหม จ้างมานั่งเฝ้าป้อมยามโดยแท้


สมัยอยู่โรงไฟฟ้า ระบบรักษาความปลอดภัย ก็เป็นแบบที่ผมว่า ยาม มีหน้าที่อันทรงเกียรติประการหนึ่ง คือ คอยวิ่งถือธงเขียวนำหน้ารถ เอ็มดี วิ่งเหยาะๆ จากปากประตูโรงงานโอเลฟิน เพียงแค่ว่า นายจะได้ไม่ต้องลงไปแลกบัตร เพียงแค่ว่าจะได้บายพาสระบบรักษาความปลอดภัยของเขา เพียงแค่ว่าเพื่ออำนวยความสะดวก และเพียงแค่ว่า เป็นการอวยเกียรติเจ้านาย ทำไมล่ะ เป็นเอ็มดี ติดบัตรพนักงานมันลำบากตรงไหน ไม่มีบัตรเรอะ ก็ลงไปแลกบัตร บันทึกการเข้าออก มันจะตายเรอะ หรือว่าชอบแบบที่ว่าใครจะเดินเข้าเดินออกโรงไฟฟ้าเมื่อไหร่ก็ได้ เผลอไปกดปุ่มฉุกเฉิน แก็สเทอร์ไบน์ร่วงไปสักบล็อกหนึ่งแล้วลูกค้าอีกยี่สิบสามสิบรายไฟดับ โดนปรับบานเบอะ ชอบแบบนั้นเรอะ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://i-worksafe.blogspot.com/2010/12/emergency-pre-planning.html


นี่แหละตัวอย่าง แพระดิมชิฟท์ เปลี่ยนมุมมองในเรื่องความเสี่ยง มันเปลี่ยนยาก ถ้าสันดานไม่เปลี่ยน มองความเสี่ยงไม่ออก ถึงมองออก ก็ไม่เชื่อถือว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ถึงเชื่อ ก็ไม่ทำตามมาตรการที่จะลดความเสี่ยงเหล่านั้นลงอย่างเคร่งครัด เจ้ายศเจ้าอย่าง บายพาสหมดทุกระบบ เหลือแต่กาก โรงไฟฟ้าที่ว่านี้ พวกหมวกสีทองนี่ตัวดีเลย เจ้ายศเจ้าอย่าง ซ้อมแผนฉุกเฉินที จะมีคนจัดเตรียมหมวกสีทองวางบนโต๊ะปูผ้าขาวไว้ให้ พวกนี้ ปีชาติหนึ่งอยู่ออฟฟิศที่กรุงเทพ แต่กลับมีชื่อเป็น อีเมอร์เจนซี่คอมมานเดอร์ อบรมอะไรที่เกี่ยวกับ Emergency Comnand Center ก็ไม่เคย โอย กรูจะบ้า ให้ไอ้พวกบ้านี่สั่งการระงับเหตุ มีหวังตายกันเป็นเบือ เริ่มต้นผิด ก็ติดเป็นสันดาน พอจะเปลี่ยนให้ถูก แหมดิ้นพล่าน โวยวาย นั่นนู่นนี่ นี่ไง พวกที่ยากต่อการเปลี่ยนมุมมองในการบริหารความเสี่ยง สันดานชิบ!!
เรื่องทำนองนี้มีอีกมากมาย เล่ากันไม่จบ เอาไว้มาต่อกันว่า เราจะจัดการกับการต่อต้านความเปลี่ยนแปลงกันอย่างไร


http://i-worksafe.blogspot.com/2010/12/emergency-pre-planning.html

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

พาราไดม์ชิฟท์ ปาร้าดำชิบ


มีข่าวเฮดไลน์อยู่สองข่าวที่ทำให้ผมรู้สึกสลดหดหู่ ก็คือ ข่าวระเบิดที่ถังเก็บน้ำเสียของโรงงานแห่งหนึ่งในภาคอีสาน และข่าวเรือล่ม คนตาย คนสูญหายร่วมๆ 26 ศพ

หัวข้อที่เขียนวันนี้ คือ Paradigm shift regarding risk -การเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับความเสี่ยง - หุหุ ฟังดูเป็นงานเป็นการเกิ้น! เอาแบบสไตล์ผมเลยนะ  เป็นการเปลี่ยนกมลสันดานเรื่องการบริหารความเสี่ยง!!

บางคนคงเริ่มสงสัยและเริ่มเดาไปพลางๆว่ามันคืออัลไลย์ ... อะไร(วะ) พาราไดม์ ชื่อคล้ายๆโรงแรมม่านรูด เอ...มันจะเหมือน พาราไดซ์ไหมหน้อ... เอะ รึว่ามันคือปาร้าดำชิบ ผลิตภัณฑ์ใหม่ เอาปลาร้ามาทำแผ่นอบกรอบใส่ถุงส่งนอก ...
Paradigm -ตามดิกชันนารี อ่านว่า "แพ-ระ-ดิม" กระดกลิ้นเล็กน้อยตอนออกเสียง แพร์ หระ ดิ่ม จะฟังดูดีขึ้นเยอะ มันแปลว่า แบบอย่าง หรือต้นแบบ หรือโมดล อะไรทำนองนั้น ส่วนชิฟท์ ออกเสียง ถึๆ ข้างหลังหน่อยหนึ่ง แปลว่า เคลื่อนหรือเลื่อน อ่ะ แล้วมันแปลว่าอัลไลย์ ภาษาวัยรุ่นสมัยนี้ เวลาเอามารวมๆกันแล้วมันฟังดูพิลึก กึ ดี ...

สมัยนู้นๆๆๆๆๆ ตอนยังไม่มีรถยนต์ใช้ พาหนะสำคัญในเมืองนอกคือม้า ขี้ม้า หี้ กั่บๆๆๆ ยิงกันสนั่นในหนังเด็กเลี้ยงควาย (Cow Boy movies) จะเห็นว่า เบาะรองนั่งกันขนม้าทิ่มตูด (ภาษาไทยแท้) ก็ถูกออกแบบมาให้มีรูปร่างเข้ากับสองอย่าง คือหลังม้า กับตูดคนนั่ง ต่อมา พอมีรถจักรยาน อานรถจักรยานก็ยังออกแบบมาให้เหมือนอานม้าอยู่ดี ยิ่งจักรยานแข่ง อานแหลมเปี้ยว นั่งแล้วเจ็บตรูดชะมัด เบาะรถมอเตอร์ไซค์ แม้แต่เบาะรถยนต์สมัยแรกๆ ยังคงรูปร่างแบบอานม้า กว่าจะเปลี่ยนรูปร่างมาเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน มันต้องผ่านการยอมรับและการต่อต้านมาหลายชั่วอายุคนเลยทีเดียว ไอ้ปรากฏการณ์ที่คนเกิดการเปลี่ยนกรอบความคิดและยอมรับสิ่งใหม่ๆนั่นแหละ เรียกว่า ปาร้าดำชิบ หรือ แพระดิมชิฟท์ถึ โอ้วแม่เจ้า เถียงกันข้ามศตวรรษ หากใครเกิดไปออกแบบอานหน้าตาแปลกๆมาละก็ จะถูกประนามหยามเหยียดว่านอกคอก พิเรนทร์ บัดซบ สิ้นคิด อะไรประมาณนั้นเลยเชียว





การเปลี่ยนวิธีคิด หรือกรอบความคิดเกี่ยวกับความเสี่ยง ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการการที่จะเปลี่ยนบรรยากาศด้านความปลอดภัยในองค์กร หรือที่เรียกว่า เซฟตี้ไคลเมท ถึ (Safety Climate) บางคนทำหน้างงหนักเข้าไปอีก ยกตัวอย่างเช่น ในบางองค์กร บรรยากาศความปลอดภัย มันสบายๆ ไม่ซีเรียส คือ มึงอยากทำก็ทำ ไม่อยากทำกูก็ไม่ได้ว่าอะไร อยากมาเมื่อไหร่ก็มา อยากเชื่อมตรงไหนก็เอาเลย หู้ย!! เปอร์หม่ง เปอร์หมิด เรอะ วุ้ย!!! เปิดก็ได้ ไม่เปิดก็ได้ - นี่เป็นบรรยากาศความปลอดภัยแบบหนึ่ง ที่ระบบการจัดการไม่ได้เข้มงวด กฎระเบียบ มีไว้อวดตอนออดิท 

บางแห่ง จะเข้า จะออก เครื่องไม้เครื่องมือ ตรวจกันละเอียดเปะ คนที่จะมาทำงานก็อบรมกันอย่างกับจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย ก่อนจะทำงานได้ต้องขออนุญาต มีคนไปตรวจหน้างาน อันไหนไม่ถูกก็จะต้องแก้ไข จนกว่าจะเห็นว่าปลอดภัย จึงเริ่มทำงาน มิหนำซ้ำจะมีคนมาตรวจอยู่เรื่อยๆ หากเกิดการฝ่าฝืน จะถูกสั่งหยุด ดีไม่ดีอาจจะถูกเนรเทศออกนอกไซท์งานเอาเสียง่ายๆ  นี่ก็เป็นบรรยากาศอีกแบบหนึ่ง ทีนี้ลองจินตนาการว่า ไอ้เซฟตี้ มันมาจากบรรยากาศแบบมาคุแบบหลัง ส่วนไอ้ผู้จัดการ ไอ้วิศวกร ไอ้ซุปเปอร์ไวเซอร์ มันมาจากบรรยากาศแบบสบายๆ แบบโรงงานเถ้าแก่ มันจะเกิดอะไรขึ้น แพระดิมชิฟท์ถึ คงมันส์พิลึก มันก็เป็นไปได้สองทาง คือ เซฟตี้แพ้ ลาออก ถูกบีบ ถูกอัด กระเด็น ไปขายประกัน ไอ้พวกสบายๆเฮๆๆๆๆ หนุกๆๆๆ สามวันต่อมา ปล่อยผู็รับเหมาไปเชื่อมถัง ไม่ตรวจวัด ไม่กำจัดก็าซไวไฟ ระเบิดตูม ตายสาม คราวนี้ละมึง แพระดิมชิฟท์ของแท้ ชิบหายไง เป็นประเภท ไม่เห็นศพ ไม่หลั่งน้ำตา ไอ้ฟาย
การเปลี่ยนกรอบความคิดเกี่ยวกับความเสี่ยงมันจึงเป็นเรื่องที่ต้องเปลี่ยนตั้งแต่สิ่งเหล่านี้ คือ
1. อันตรายทุกอย่าง มีระดับความเสี่ยงที่ไม่เหมือนกัน ในสถานะการณ์ที่ต่างกัน ความเสี่ยงก็ไม่เท่ากัน
2. ความเสี่ยงที่ค้างอยู่ หรือที่เรียกว่า เรซิดวลริสก์กึ (Residual Risk) จะต้องอยู่ในระดับที่เรียกว่า อาหลาบ (ALARP)
มีใครรู้จักอาหลาบมั๊ย อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://i-worksafe.blogspot.com/2010/11/alarp.html
3. ความเสี่ยง เป็นเครื่องมือในการบริหาร ที่แห่งไหนที่ประเมินความเสี่ยงเพียงแค่ให้ได้ OSHAS 18000 แล้วเก็บเข้าลิ้นชัก เอาไว้อวดออดิทเทอร์ ก็เตรียมได้เลย ความเสี่ยงมันต้องถูกเอามาใช้ทุกวัน ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะมีคนแบบไหนในบรรยากาศแบบไหน คนต้องยึดเอาความเสี่ยงเป็นจุดยุติในการโต้เถียง ถ้าความเสี่ยงสูงมากๆ จะหยุดก็ต้องหยุด ไม่ใช่มาด่ากัน มึงรู้มั๊ย กรูเป็นคราย!!! เฮ้ย กรูเป็นผู้จัดการโครงการนาว้อย !!! พอระเบิดตูม!!! กรูไม่รู้ กรูไม่ได้เป็นผู้จัดการโครงการ ถุย! ไอ้ฟาย
4 ความเสี่ยงเป็นเครื่องมือในการชี้ชัดความเร่งด่วน และการจัดสรรทรัพยากร เพื่อจัดการกับมัน ไอ้ประเภท เป็นมะเร็งแล้วเอายาหม่องตราลิงมาทา ขอทีเถอะ
อธิบายมาถึงตรงนี้ จะเห็นว่า แพหระดิมฉิบ มันเป็นการเขย่าองค์กร ตั้งแต่หัวจรดหาง ถ้าความคิด มุมมองเกี่ยวกับความเสี่ยงยังไม่เปลี่ยน รอไปเถอะครับ อย่าหวังว่าจะได้เข้าไกล้คำว่า ซีโร่ฮาร์ม คงมีแต่ซี้แล้วหามประการเดียวเท่านั้นแหละครับ ไปดูข่าวงมศพก่อนนะ ยังหาไม่เจออีกสามศพ
จบก่อนดีกว่า ตัดเข้าโฆษณา ข้าวเกรียบรสปราร้าดำ ตราฉิบหาย กินแล้วจะติดใจ คำเดียวสั้นๆ ฉิบหาย ฉิบหาย กร่อบๆๆๆๆๆ

ประวัติศาสตร์เซฟตี้

 Abraham Maslow พูดถึงเซฟตี้ไว้เมื่อปี 1943 ว่าลำดับขั้นของความต้องการของคนนั้นมีอยู่เป็นลำดับๆ เริ่มตั้งแต่ความต้องการพื้นฐาน อย่างอาหาร อา...