วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กระทำการโดยประมาท ใครทำไว้วะ


อยากได้แบบนี้มั่งจัง


 

กฎหมาย บิล ซี-45

ประเทศแคนาดา ออกกฎหมายแก้ไขกฎหมายอาญา และประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2004 สิบปีมาแล้ว กฎหมายฉบับนี้กำหนดความรับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพในสถานประกอบการ และกำหนดโทษขั้นรุนแรงในการละเมิดกฎหมายจนเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต กฏหมายฉบับนี้ยังเอาผิดกับองค์กร รวมถึงระดับกลุ่มบริษัท ผู้กระทำการแทน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลการทำงาน

กฎหมายนี้เพิ่มข้อความลงไปในหมวดใหม่ ของกฎหมายอาญาเลย เป็นหมวด 217.1 ใจความว่า

บุคคลใดๆที่ทำ หรือมีหน้าที่ ในการกำกับดูแลถึงวิธีการทำงาน หรือทำหน้าที่ใดๆของบุคคล มีหน้าที่ตามกฏหมายที่จะต้องรับผิดชอบขั้นตอนต่างๆที่สมเหตุสมผลในการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากการทำงานนั้นต่อบุคคลนั้นหรือบุคคลอื่นๆ

ข้อ 22.1 และ 22.2 ในกฎหมายอาญา ให้เอาผิดกับองค์กร และผู้ทำการแทน สำหรับการละเลยและการฝ่าฝืนอื่นๆ

ทำไมแคนาดาออกกฎหมายในหมวดนี้

กฎหมายฉบับนี้เรียกอีกอย่างว่า เวสต์เทรย์ บิล สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์เหมืองถ่านหินเวสต์เทรย์ที่เมือง โนวาสโคเทียระเบิดเมื่อปี 1992 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นคนงานทั้งหมด 26 ราย เหตุการระเบิดเกิดจากการติดไฟของแก็สมีเธน ซึ่งแม้ว่าจะมีการร้องเรียนจากคนงาน สหภาพแรงงาน และหน่วยงานราชการก่อนหน้านั้น แต่บริษัทไม่ดำเนินการอะไรอย่างดีพอ จนเกิดเหตุโศกนาฎกรรมขึ้นในที่สุด

ตำรวจและหน่วยราชการจับมือใครมาดมไม่ได้สักคน ได้แต่ยืนกุมกระดือตาปริบๆ เหมือนเมืองไทยเลย กฎหมายเพียบ แต่ใช้ไม่ได้เลยซักฉบับ "นี่ก็เห็นร่ำๆจะเลือกนายก เลือกรัฐมนตรีโดยตรง กูว่า ไม่ต้องเลือกเลยดีกว่า อยู่กันไปแบบนี้แหละ เบื่อก็ลุกมาประท้วงกันที ปฏิวัติกันทีนึง มันส์ดีออก (ผีผู้ชุมนุมเข้าสิงครับ ผมไม่ได้พูดเองนะ)"

ที่สหรัฐอเมริกา มีการฟ้องในข้อหา Wrongful Death แปลเป็นไทยก็คือ ผิดเต็มๆจนเป็นเหตุให้มีผู้ถึงแก่ความตาย ก็คือว่า สามารถฟ้องร้องเอาผิดกับคนที่ทำให้บุคคลอันเป็นที่รักของผู้ฟ้องถึงแก่ความตาย เนื่องมาจากการปล่อยปละละเลย หรือ Negligence การฟ้องร้องค่าเสียหายยังสามารถไล่เบี้ยไปถึงบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ที่รับผิดชอบ และหน่วยงานที่รับผิดชอบสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายจนถึงตาย อย่างเช่น ไอ้พวกขุดถนน ไม่ตั้งป้าย ไม่กั้นรั้ว ไม่ติดไฟ ไม่ให้สัญญาน แล้วรถวิ่งตกลงไปตาย แบบนี้ ถ้าเป็นที่อเมริกา สามารถฟ้องเอาผิดกับคนที่เกี่ยวข้อง ยาวไปจนถึงกรมทางหลวงที่รับผิดชอบงานนั้น เรียกว่าฟ้องกันให้รวยไปข้างหนึ่ง บางคนตาลุกโพลง แหม ช่างดีเสียนี่กระไร ไอ้แก่กับกิ๊กมัน ขับรถไปตกหลุมตายดั่งใจแล้วยังฟ้องได้ตังค์ เรียกค่าเสียหายจากการตายของบุคคลอันเป็นที่รักด้วย (อุแหวะ) การฟ้องแบบนี้ยังรวมไปถึง การที่คนงานเสียชีวิต จากการกระทำหรือไม่กระทำของนายจ้าง แหมฟังดูแล้ว อยากให้เมืองไทยมีแบบนี้มั่งจัง

ยกตัวอย่าง คดี เมื่อปี 2010 ศาลสั่งให้บริษัทแห่งหนึ่งจ่ายค่าเสียหายแก่เด็กสองคนที่ต้องสูญเสียพ่อไปในการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน เป็นวงเงินถึง 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย ที่ค่าเงินบาท ด่อกแด่ก 30 บาทต่อดอลลาร์ เท่ากับ 48 ล้านบาท ไงล่ะ

จะว่าไปแล้ว กฎหมายไทยก็มีนะ ไอ้ข้อความทำนองนี้ ใน พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 แต่โทษที่กำหนด อย่างมากก็แค่ติดคุกหนึ่งปี ปรับไม่เกิน 400,000 บาท ส่วนใหญ่ ก็ไม่เคยถึงคนใหญ่ๆโตๆในบริษัท อย่างมากก็ โฟร์แมน ซวยทั้งขึ้นทั้งล่อง  งานก็จะเอาเร็ว เซฟตี้ก็ไม่ให้งบให้เวลา

คนงานโดนเครื่องตัดนิ้งกุด เหลือสามนิ้ว ไอ้นี่ ถ้าไปเดินเกะกะแถวอนุสาวรีย์ มีหวังโดนข้อหากระทำการอันก่อความไม่สงบ พกพาสามนิ้วไปในที่สาธารณะ คสช.รับไม่ได้ โดยเอาไปปรับทัศนคติแน่

 

 

กฏหมายอาญาของบ้านเรานะเรอะ เฮอะ (กว่าจะตีความว่ากระทำการโดยประมาท เป็นเหตุให้มีผู้ถึงแก่ชีวิต แล้วฟ้องกันจบ กว่าจะไปต่อคดีแพ่ง คดีมันล้มตั้งแต่ขยับตูดออกจากโรงพักแล้ว

 

 

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ยางระเบิดดังปุ



อุบัติเหตุที่ทำให้สถิติแตกโพละ ที่เพิ่งเกิดที่โรงงานของเราที่ชลบุรี ทำให้ต้องย้อนกลับมาดูสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในกิจกรรมต่างๆที่นอกเหนือไปจากงานที่เกี่ยวกับการผลิตและการซ่อมบำรุงปกติ งานพวกนี้มักไม่ค่อยมีใครสนใจ ประเมินอันตรายและจัดการกับความเสี่ยง งานพวกนี้มักจะทำโดยคนไม่กี่คน ทำอยู่ในมุมมืด แดนสนธยา ไม่ค่อยมีการตรวจ การอบรม หรือมาตรการใดๆ

งานถอดเปลี่ยนยาง เติมลมยาง รถตักแร่ รถบรรทุก รถยก ที่ทั้งคนทำและคนยืนดูมองข้ามอันตรายไปโดยสิ้นเชิง

ปะยาง เติมลมยาง ถือว่าเป็นงานกระจอกสำหรับช่างทั้งหลาย พวกเก๋าๆ ไม่ค่อยทำเอง ส่วนใหญ่ใช้เด็กใหม่ทำมากกว่า

 

รูปที่เห็น เป็นการถ่ายโดยใช้กล้องความเร็วสูง 1500 ภาพต่อวินาที จับภาพของยางที่กำลังถูกเติมลม โดยมีหุ่นเด็กปั๊มชะตาขาดยืนดูอยู่ ภาพสุดท้ายยางระเบิดสลัดกระทะล้อที่ทั้งใหญ่และหนักกระแทกใบหน้าและศีรษะหุ่นตัวนี้ ผลก็คือ ตายคาที่
แล้วคุณละ เคยไปยืนดูช่างเปลี่ยนยางเติมลมใกล้ๆแบบนี้หรือไม่ ถ้าเคย แนะนำให้โอนมรดก หนี้สิน ที่ดิน ลูกเมียให้คนอื่นซะ เพราะไม่นานหรอก เมียจะเป็นหม้าย ลูกจะกำพร้า เจ้าหนี้จะชวดได้เงินคืน
 
 
 
 
มาตรการป้องกัน
·       ก่อนการเติมลมยางควรตรวจสอบสภาพยาง น็อตกระทะล้อและสภาพของกระทะล้อ ให้ดีว่าอยู่ในสภาพที่ชำรุดหรือไม่
·       วางยางในคอกเติมลม
·       ตรวจสอบหัวเติมลม สาย และตัววัดแรงดันลม
·       กันพื้นที่อย่าให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าใกล้
·       สวมแว่นตานิรภัยทุกครั้ง เพราะแรงระเบิดจะซัดสาดเศษหินเศษดินเข้าตาแตกได้ง่ายๆ
·       อย่าเติมลมเกินพิกัดกำหนด
·       อย่าใช้แก็สหรือความร้อนเป่ากระทะล้อที่ใส่ยางที่เติมแล้วเด็ดขาด
·       สำหรับพนักงานแวร์เฮาส์ อย่าเข้าใกล้ยางล้อรถที่มาบรรทุกของจนเต็มแล้วโดยไม่จำเป็น อย่าใช้ฆ้อน ท่อนเหล็กเคาะเช็คลมยางรถที่บรรทุกของ หรือยางที่วิ่งมาร้อนๆ
 
 
 


อีสามตัว


การทำอะไรที่ไม่ปลอดภัย หรือที่เรียกว่าอันเซฟแอกชั่น เป็นพฤติกรรม ที่คนเราเป็นกันทุกคน ที่ทำแบบนั้น มีคำอธิบายได้ว่า

ก็ทำแบบนี้มาเป็นร้อยๆพันๆครั้ง ไม่เห็นเป็นอะไร

ปีนบันได ก็ไม่เห็นต้องมีคนจับ บันไดขะโยกขะเยก ก็ใช้มาเป็นชาติแล้ว ไม่เห็นเคยตก สายไฟแบบนี้ก็ใช้กันทุกที่ ไม่เห็นเคยโดนไฟช๊อตสักที ลงบันได ไม่เคยจับราว แถมโทรศัพท์อีกต่างหาก ไม่เคยตกบันได จะอะไรกันนักกันหนา

เมาแล้วขับ ก็เรื่องธรรมดา ไม่เห็นจะเคยชนใคร แว่นนี่ก็เหมือนกัน ใส่แล้วปวดตา ปวดหัว บีบขมับ คับจมูก ท้องผูก คลื่นใส้ ใข่ดันบวม โอ๊ย รำคาญ  ร้อยทั้งร้อยครับ ถ้าโดนไปสักที จะไม่ทำแบบนั้นอีกเลย

ทั้งหมดนั้น เป็นพฤติกรรม หรือที่เรียกว่า บีเฮฟวิเออร์ Behavior

ภาษาไทยแบบคนคุ้นเคยกัน เรียกว่า สันดาน (น่าจะหมายถึงพฤติกรรมแย่ๆที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกแก้ไม่หาย)

นักวิชาการด้านความปลอดภัย เริ่มหันมาสนใจเรื่องพฤติกรรม กันมานานพอสมควร หลังจากที่ใช้ความพยายามป้องกันอุบัติเหตุ ด้วยมาตรการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือ เทคนิคทางวิศวกรรม การฝึกอบรม การออกกฎ ข้อบังคับ

สมัยก่อน ผมเรียกวิธีพวกนี้ว่า ทฤษฎีอีสามตัว 3E

 

ทฤษฎีอีสามตัว เป็นเรื่องที่ผมเขียนลงวารสารบริษัทสมัยอยู่โรงไฟฟ้าเอกชน จั่วหัวเรื่องแบบนี้เลย ส่งให้อีนางสนมของ เจ้านาย นังนี่เป็นผู้จัดการแผนกประชาสัมพันธ์ ปรากฏว่าไม่ถึงครึ่งชั่วโมง มันส่งต้นฉบับกลับมา บอกว่า หัวเรื่อง ไม่สุภาพ อ้าว อีนี่... ก็ตัวอีสามตัวจะให้อ่านยังไง อีสามตัวไม่สุภาพตรงไหน
·       อีแรก คืออีเอ็นจิเนียริ่ง Engineering คือวิศวกรรม
·       อีที่สองคืออีเอ็ดยูเคชั่น Education การให้ความรู้ การศึกษา
·       อีที่สามคืออีเอ็นฟอร์ซเม้นท์ Enforcement คือการใช้กฎกติกา
 
อีเวรนี่ ไม่ทันอ่าน ตีเรื่องกลับ จะเอาเรื่องที่เป็นวิชาการเซฟตี้ ก็นี่งัยอีหอก นี่แหละวิชาการสำคัญเลยนะมึง (สมัยก่อนนั้นผมปากจัดมาก จำได้ว่าอีนี่โดนผมด่าเป็นหมันไปเลย) มันไม่เอาเรื่องผมไปลง ตัดเรื่องผมออก แล้วไปเขียนคอลัมน์เอง เลาะรั้วโรงงาน มีแต่เรื่อง หมาเจ้านายชื่อนั้นชื่อนี้ อู๊ย น่ารักอย่างนั้นอย่างนี้ แหวะ ใครอยากรู้วะ ว่าหมาเจ้านายชื่ออะไร มันชอบแดกใส้กรอกบีเคพี อีควาย (ขออภัย พูดถึงอีนี่แล้วมันเดือดดาล  พุทโธ ไว้ เย็นไว้ หายใจเข้า พูธ หายใจออกโธ)
 
กลับเข้าเรื่องดีกว่า ทฤษฎีอีสามตัวเหมือนว่าจะเอาอยู่ อย่างอันตรายจากการข้ามถนน มีอันตรายเกิดจากรถราขวักไขว่ ชนคนก็ตาย ชนกันเองก็พัง แก้ด้วยวิธีวิศวกรรมทำยังไง ก็สร้างสะพานลอยไง  สะพานลอยนี่เป็นวิธีทางวิศวกรรมที่ผมไม่ค่อยเห็นในประเทศไหนๆ ที่เมืองไทยนี่เยอะสุดแล้ว กะว่าสร้างสะพานลอยเสร็จ ผู้คนจะข้าม จะใช้มัน แต่เปล่าเลย วิ่งข้ามถนนเหมือนเดิม สะพานลอยกลายเป็นที่สำหรับขอทาน หรือพวกโจรขโมยใช้ทำมาหากิน

สะพานลอยไม่เวิร์ค คนยังวิ่งข้ามถนนใต้สะพานลอย ผู้บริหารหัวเหม่ง ไม่ท้อถอย วิ่งข้ามถนนใต้สะพายลอยใช่มั๊ย ทำราวกั้นเลย ทำรั้วกั้น ยาวไปเลย ทำเสร็จแล้วเป็นไง  มันปีนข้ามรั้ว วิ่งข้ามถนนใต้สะพานลอยเหมือนเดิม รถชนตายท่าเดิมเลย

ทีนี้ก็รณรงค์กันเป็นการใหญ่ ใช้อีตัวที่สอง เอ็ดยุเคชั่น ให้ความรู้ ทำป้ายโฆษณา แล้วงัย ... ทั้งเด็กผู้ใหญ่ นักเรียนนักศึกษา ครูบาอาจารย์ ปีนรั้ว วิ่งข้ามถนนใต้สะพานลอย เช่นเดิม

ใช้อีตัวสุดท้าย Enforcement เอาตำรวจมาไล่จับไล่ปรับ เอาจ่าเฉยมาตั้ง เอากล้องมาติด โอ้ว แม่เจ้า... ประเทศสาระขันธ์นี่ สามอียังเอาไม่อยู่ เลยต้องยึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญ ปฏิรูปประเทศกันยกใหญ่ (ไปนู่นได้ยังไงนะเรา)
 
ทฤษฎีเขาน่ะดี ครับ แต่ไม่สามารถเข้าถึงพฤติกรรมคนไทย เมื่อสักครู่ผมแปลว่าไงนะครับ อ๋อ ไม่เข้าถึงสันดานคนไทย ครับๆ ทำนองนั้น เพราะว่าทฤษฎีทางพฤติกรรมมันละเอียดอ่อน น่าสนใจ มาถึงตรงนี้ เลยจะเล่าให้ฟัง ว่า มีทฤษฎีอะไรบ้าง ที่เกี่ยวกับพฤติกรรม Behavioral Science

เอาจากเก่ามาหาใหม่เลยนะครับ
ทฤษฏีเอ็กซ์วายแซท XYZ บางคนงงๆ ทฤษฏีอะไรวะ ฟังดูเหมือนหนังเอ๊กซ์  ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เมืองนอกมันไม่รู้จักกันหรอก หนังเอ๊กซ์ เอ๊กซ์มูฟวี่ ไปหาซื้อ ฝรั่งมันงง มันคิดว่ามันฝรั่งทอดกรอบ
ทฤษฎีเอ็กซ์วายนี่ ค้นพบโดยฝรั่ง (คนไทยเรียกชาวต่างชาติว่าฝรั่ง น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า ฟร้านซ (France) พวกฝรั่งเศษ หรือพวก ฟร้านเซส ทำนองนั้น ไอ้ฝรั่งนี่มันชื่อว่า ดั๊กลาสแมคเกรเกอร์ ค้นพบเมื่อปี 1960 ก่อนผมเกิดห้าปี ตอนนั้นผมคงยังเป็นสัมภเวสีอยู่มั๊ง ไอ้นี่มันบอกว่า คนเรามีสองแบบ คือพวกเอ็กซ์ เป็นคนจำพวกขี้เกียจมาแต่อ้อนแต่ออก ใช้คำว่า อินเฮียร์เร้นทลี่ คือเกิดมาก็มีขี้ติดมาเลย เรียกขี้ชนิดนี้ว่าขี้เกียจ
ดั๊กลาสบอกอีกว่า พวกนี้ไม่ชอบทำงาน จะต้องคอยกำกับบังคับบัญชา กันอย่างใกล้ชิด เผลอเป็นหลับ ขยับเป็นแดก ทำนองนั้น เทคนิคการบริหารพวกเอ็กซ์ก็ต้องใช้การลงโทษ ถึงจะเอาอยู่ แบบว่า ออกมาชูสามนิ้วใช่มั๊ย  ไปจับไปอาบน้ำกันในค่ายทหาร พวกนี้ต้องเจอท่าเก็บสบู่ อะไรทำนองนั้น
อีกพวกหนึ่งคือพวกวาย คนแบบนี้เป็นประเภททะเยอทะยาน กระเหี้ยนกระหือ กระตือรือร้น พวกบ้าพลังอย่างเจ๊เนตรนี่แหละ

คนแบบวาย การทำงานมันโคครสนุก เหมือนเล่น ไม่เคยเบื่อ เลย ต่างกับพวกเอ๊กซ์ ไอ้พวกนี้ ขนาดให้เล่น จัดงานปีใหม่ งานแฟมิลี่เดย์ ไอ้พวกนี้ยังเบื่อเลย ขนาดไม่ได้ทำงานนะ โฮ่ๆๆๆ โดนละดิ โดนหลายคนเลย พวกวายนี่ ขืนทำโทษ โกรธจนลูกบวช แต่ถ้าชมนิดชมวันละหน่อย พวกนี้ทำตายเลย มันบ้ายอ
 
ริงๆแล้ว ไอ้ดั๊กลาสมันค้นพบทฤษฎีนี้ทีหลังปู่ย่าตายายเราเสียอีก ทฤษฎีรักวัวให้ผูกรักลูกให้ตีรักสามีให้หยิก รักกิ๊กให้มือถือ เราเจอก่อนมันอีก
ทฤษฎีในการสร้างแรงจูงใจของดั๊กลาสเกิดขึ้นและต่อยอดมาจากทฤษฎีของ อับบราฮัม มาสโลว์ 1943 ที่บอกว่า มนุษย์เราเนี่ย จะมีแรงจูงใจทำอะไรก็ต่อเมื่อความต้องการในแต่ละขั้นๆได้รับการตอบสนองก่อน
 
ความต้องการขั้นต่ำสุดของมนุษย์ก็คือ ความต้องการทางกายภาพ ท้องต้องอิ่ม มีน้ำดื่ม มีที่หลับนอน มีที่ขับถ่าย ถ้าคนยังหิว ไม่มีบ้าน ไม่มีส้วม ไม่มีเซ็กซ์ ไม่ได้สืบพันธุ์ จะไปบอกมันบอกว่า เฮ๊ย ใส่แว่นนะ ใส่เอียร์ปลั๊กดิ ใส่เซฟตี้ฮาร์นเนสนะ มันไม่สนหรอก บริษัทก็เหมือนกัน ยอดขายไม่ดี กำไรไม่มี ขาดทุนทุกเดือน โบนัสไม่มี จะให้ทำเซฟตี้ ฝันไปเถอะ
 
ความต้องการขั้นแรกได้รับหมดแล้ว มีบ้าน มีรถ มีเมีย คราวนี้ก็เรื่องความปลอดภัย บ้านก็ต้องปลอดภัย กันฝนกันแดด ร้อนไปใช่มั๊ย ซื้อฝ้าตราช้างมาติดดิ ดีนะ ของเค้าดี มีงานมีการทำ สภาพจิตใจ สภาพร่างกาย ดี พวกนี้ ให้ทำเซฟตี้ เขาก็เอา
ขั้นต่อมา ทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง พวกนี้เริ่มแสวงหาเพื่อนฝูง บางคนนั่งดูเฟสบุคทั้งวัน ใครส่งอะไรมา กูยังไม่อ่านเลย กดไลค์ไปก่อน เพื่อนจะได้รัก พวกที่มีเมียแล้วตอนขั้นที่หนึ่ง ก็เริ่มหารักแท้ ความสุขสมทางเพศ จากคู่รักใหม่ คนไทยเรียกกิ๊กกั๊ก
มีครบหมดแล้ว ขั้นเอสตีม พวกนี้ เริ่มแสวงหาความภาคภูมิใจ อย่างเล่นการเมือง เป็นนายก ไปไหนมีแต่คนยกมือไหว้ ใครๆนับหน้าถือตา มือเป็นฝักถั่ว (บางคนยกนิ้วกลางให้ยังคิดว่ามันยกมือไหว้เลย รับไหว้ปะลกปะลก
ขั้นต่อมา พวกที่แสวงหาความสุขสุดยอด ทำอะไรแปลกๆ เช่น กระโดดร่มดิ่งพสุธาตอนอายุเก้าสิบแปด ดำน้ำแต่งงานกลางทะเลลึก แสวงหาโมกขธรรม หาทางบรรลุจุดสุดยอดทางใจ (ต่างกับพวกแรกนะครับ ไอ้พวกแรกมีวิธีถึงจุดสุดยอดเหมือนกัน แต่สุขไม่เท่ากัน พวกนั้นมันสุขแปบเดียว)
ทฤษฎีมาสโลว์นี่ ผมใช้บ่อยๆ บางทีเห็นพวกฝรั่งเอามาใช้แล้วขัดใจ เพราะเวลาจะให้รางวัลคนงาน พวกฝรั่งบอกว่า อย่าไปแจกของ แจกเงิน แจกมาม่า แจกกาแฟ เดี๋ยวจะเคยตัวแบบทฤษฎีเอ็กซวาย ให้แจกเป็นใบประกาศนียบัตร สงสารคนงาน รับรางวัลเซฟตี้ดีเด่น ได้ใบประกาศไปใบหนึ่ง พอถึงบ้าน พ่อๆ ได้อะไรมา พ่อบอก นี่งัย กระดาษนี่ เอาไป(แดก) มันไม่ใช่ง่ะ ให้รางวัลไม่ตรงความต้องการ แรงจูงใจมันไม่เกิด กูรู้ ไม่ให้โบนัสแต่ให้ใบประกาศ เพราะพวกมึงขี้ตืด อย่ามาอ้างส่งเดช ไอฟาย (ต้องให้หลวงพี่สั่งสอนอีกสองป๊าบ ไอ้พวกนี้)

 
ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมอย่างชัดเจน จะทำให้เราแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสุดท้ายแล้ว พฤติกรรมที่ปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในองค์กร ก็จะทำให้เกิดสภาพหรือบรรยากาศการทำงานที่คนหมู่มากทำตามๆกัน อย่างปลอดภัย เหมือนอย่างเรื่องลิงห้าตัว ไว้วันหลังจะมาขยายความตรงนี้ต่อ วันนี้เอาไว้แค่นี้ก่อน
 
ษมน รจนาพัฒน์
December 18, 2014
 
 
 
 
 
 
 

 


วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Entanglement ฉุดกระชากงั่บๆ

 

Entanglement


แปลเป็นภาษาไทยว่าฉุด ดึง รั้ง พัวพัน ติดอีรุงตุงนัง อะไรประมาณนั้น คำนี้จะพบเห็นตามป้ายเซฟตี้เล็กๆที่ติดอยู่ข้างเครื่องจักร เช่นตรงฝาครอบโซ่สายพาน พูลเล่ หรือตรงจุดที่มีการหมุนเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนของเครื่องจักรที่อาจจะเกิดการฉุด ดึงเอาผม เสื้อผ้า เครื่องประดับ เนคไทด์ เข้าไป หรือแม้แต่การที่จุดเหล่านี้จะดึงถุงมือ แปรงทำความสะอาด ผ้าขี้ริ้ว  นิ้วมือ หรือแขนของคนงานเข้าไป

ในการทำงานตามปกติกับเครื่องจักรที่มีจุดหมุน จุดหนีบประเภท Running In Nip point ที่ไม่มีการ์ดป้องกันและคนงานต้องมีการป้อนวัตถุดิบ เช่นกระดาษ หรือแผ่นวัสดุ หรือวัตถุดิบเข้าไปในเครื่องเพื่อรีด บด อัด เคลือบ สาระพัดจะทำ สภาพทำนองนี้จะเกิดอุบัติเหตุและเกิดการบาดเจ็บต่อคนงานที่ค่อนข้างรุนแรง เช่น คำว่า Crushing ซึ่งหมายถึงการบดบี้ บดขยี้ (ฟังดูแล้วอาจจะรู้สึกวาบหวาม) แต่ถ้าดูภาพประกอบข้างล่างอาจจะได้อีกอารมณ์หนึ่ง



อย่างรูปนี้เป็นเด็กคุมเครื่องพิมพ์ กำลังป้อนกระดาษแล้วลูกกลิ้งของเครื่องพิมพ์มันดึงทั้งกระดาษและมือของเขาเข้าไป อีตอนถูกดึงมันคงไม่ได้รู้สึกวาบหวามอะไรแต่อีตอนครัชชิ่ง หรือบดขยี้นี่สิ ความรู้สึกตอนนั้นมันคงสุดจะบรรยาย สุดท้ายเขาก็ได้รับการช่วยเหลือ กระดูกนิ้วมือและแขนหักหลายที่ นั่นคือตัวอย่างของภาษาเซฟตี้สองคำที่เกี่ยวข้องกับคำว่า เอ็นแทงเกิ้ลเม้นท์ แต่ในหลายๆกรณีคนที่ถูกดึงเข้าไปในเครื่องจักรอาจจะไม่โชคดีทุกคน เพราะเครื่องจักรบางอย่างมันมีแอ็คชั่นแบบ

Cutting, stabbing and puncturing

ซึ่งก็คือ บาด ทิ่มทะลวงและเจาะทะลุ ส่วนใหญ่เหยื่อมักจะกลับบ้านด้วยสภาพสุดสยองอย่างเจ้าของมือนี้เป็นสาวอีสานมาทำงาน 

 

แถวเมืองชล โรงงานอาหารกระป๋อง คุมเครื่องบดเนื้อ ถุงมือของเธอเข้าไปติดในเครื่อง ตอนแรกก็ยังไม่ลึกมาก เธอหยุดเครื่องทันแล้วขอให้เพื่อนคนงานอีกคนมาช่วย แต่บังเอิญ อีนังนั่นมันเป็นคนเขมรพูดไทยไม่รู้เรื่อง บอกให้กดปุ่มเดินเครื่องย้อนทาง มันดันกดปุ่มเดินเครื่องต่อ นิ้วของสาวเคราะห์ร้ายเลยกุดหมดเลย

รูปนี้ออกจะวาบหวามไปสักนิดเพราะคนเจ็บถูกถลกเสื้อไปหมด และเสียชีวิตคาเครื่อง เหตุเกิดจากการที่เสื้อผ้าหลวม กรุยกราย ทำงานใกล้ๆเครื่องจักรที่หมุนด้วยความเร็ว เมื่อเครื่องดึงเสื้อเข้าไปก็ติดเข้าไปทั้งตัว พวกที่ชอบแต่งตัวแบบเพื่อชีวิต ผมเผ้ากระเซอะกระเซิง ใส่กางเกงหลุดตูด เสื้อหลวมโครก ระวังให้ดี ส่วนพวกหน้าตาดี มาจากออฟฟิศกรุงเทพผูกไทด์ใส่สายคล้องบัตรพนักงานก็ระวัง เพราะคนหน้าตาไม่ดีที่คุมเครื่องอาจจะหมั่นใส้เอาได้ แล้วปล่อยให้ดิ้นกระแด่วๆตอนสายคล้องบัตรถูกดึงเข้าเครื่อง

 

วิธีป้องกันอันตรายจากเอ็นแทงเกิ้ลเม้น, ครัชชิ่ง, คัตติ้ง, สะแต๊บบิ้ง, พั๊งเจอริ่ง, เทือกนี้ต้องเริ่มจากการออกแบบเครื่องจักรที่ปลอดภัย  มีการ์ดที่ดี มือ นิ้ว เข้าไปไม่ได้ มีระบบหยุดเครื่องจักรอัตโนมัติเมื่อฝาครอบถูกเปิดออก เมื่อจะมีการซ่อมแซม ต้องมีการตัดไฟ ติดกุญแจ เก็บกุญแจของตัวเอง ใครทำใครติด อย่าไปคิดว่าคนอื่นใส่กุญแจแล้วตัวเองไม่ต้องใส่เพิ่ม คิดแบบนี้ไม่รอดมานักต่อนักแล้ว

ต้องขออภัยหากรูปประกอบมีความน่าหวาดเสียวมาก แต่ท่านเชื่อหรือไม่ ว่าอันตรายประเภทเอ็นแทงเกิ้ลเม้นท์จะไม่มีทางเกิดได้เลยถ้าคนไม่เอามือแหย่เข้าไประหว่างที่เครื่องจักรทำงาน ร้อยทั้งร้อย ไปถามดูเถอะ จะตอบเป็นเสียงเดียวกัน กูรีบ

ษมน รจนาพัฒน์
10 December 2014

 


 

 

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Amputation ฉับเดียว เสียวไปนาน


ไม่ต้องบรรยายต่อแล้วใช่มั๊ย ว่า Amputation แปลว่าอะไร

เคยไปสัมภาษณ์งานอยู่ที่หนึ่ง เขาถามผมว่า คุณไม่เคยทำงานในโรงงานปิโตรเคมีมาก่อน คุณจะทำงานเซฟตี้ได้หรือ (สมัยนั้นยังไม่อยากเข้าวงการเคมี)

ฟังให้ดีนะไอ้น้อง งานเซฟตี้เนี่ย ต่อให้อยู่โรงน้ำปลา โรงงานบดขี้หมูอัดเม็ด ถ้ามันจะเก่ง มันก็เก่งได้เท่ากัน เพราะมันเรียนตำราเล่มเดียวกัน บางคนอยู่โรงปิโตรเคมี ทั้งชีวิตมันได้ทำอยู่เรื่องเดียว คุม รปภ. คุมพนักงานดับเพลิง คุมห้องพยาบาล คุมห้องฝึกอบรม เหลี่ยมมุมมันยังไม่เท่าพวกที่เผชิญโลกมาหลากหลายอุตสาหกรรม เจอเครื่องจักรมาสาระพัด เจอปัญหามาร้อยแปด อย่าถามคำถามโง่ๆอีก เข้าใจไหม

กลับเข้าเรื่องดีกว่า ว่าแต่ว่า เอ็งรู้มั๊ยว่าการป้องกันการกุดด้วนเนี่ย ต้องทำยังงัย

ไม่ต้องทำท่านึกนาน กูรู้มึงคิดไม่ออก เพราะวันๆนั่งแต่ในห้องคอนโทรลรูม งานซ่อมมึงก็ไม่ทำเอง จ้างผู้รับเหมาตลอด เผลอๆแอบไปตั้งบริษัทมารับเหมางานตัวเองอีกต่างหาก จะบอกให้ ลูกน้องมึงนั่นแหละโคตรกร่างๆ ที่โดนยึดบัตรไล่ออกไปเมื่อสามวันก่อน มันบอกมันจะมาฟ้องมึง (ขอโทษครับ ฟินไปหน่อย อดีตวิญญานเฮี้ยนสมัยเป็นเซฟตี้หนุ่มๆเข้าสิง)

การป้องกันคนถูกเครื่องจักรกัดนิ้วกุด ง่ายมากครับ ข้อแรก ก็อย่าเอานิ้วแหย่เข้าไปให้มันกัดสิครับ เขาบอกให้หยุดเครื่อง ตัดพลังงาน ล็อกกุญแจแขวนแท็ก ก็ทำเถิดครับ ทำให้มันอยู่ในสภาพที่เรียกว่า ซีโร่อีเนอร์จี้สะเตจ (Zero Energy Stage) น่ะ ทำงง ไหนบอกอยู่ปิโตรเค็มงัย แค่นี้ทำโง่
ข้อสอง อยากแหย่ก็แหย่ไป แต่อย่าให้เข้าถึงจุด โอปะเรติ้งพ้อยท์ (Operating Point) หรือจุดที่เครื่องจักรกระทำใดๆกับชิ้นงาน เช่น บด บี้ อัด ตัด เฉือน ขูด เย็บ ไส ถาก ถาง กลึง เจียร์ รีด รูด ดูด ดึง ทึ้ง แทะ สาระพัด เขาเรียกว่า โอปะเรติ้งพ้อยท์ อีกจุดหนึ่งก็คือ พาวเวอร์ทรานสะมิดชั่นพ้อยท์ (Power transmittion point) อย่างพวกสายพาน พูลเลย์ โซ่ เฟือง เพลา ล้อ อะไรพวกนั้น และส่วนประกอบอื่นๆที่เป็น มูฟวิ่ง แมคคานิคอล พ้อยท์ เติมเอส ที่พูดมาข้อนี้ก็คือ เรื่องการป้องกันการเข้าถึงเครื่องจักร ที่เรียกว่า แมชีนการ์ดดิ้งงัย เข้าใจยัง

ถ้าจะไล่เรียงไป ก็ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ออกแบบเครื่อง ออกแบบระบบป้องกัน การติดตั้ง การซ่อมบำรุง เรื่อยไปจนถึงเรื่องหญ้าปากคอก คือการใช้ ไม่ใช้ ถุงมือในการทำงานกับเครื่องจักรที่มีมูฟเม้นท์ที่เป็นอันตรายต่อการฉุดดึง เอาถุงมือเข้าไปติดแล้วพาลทำให้มึอถูกกัดถูกทับจนขาดไปด้วย

สมัยก่อน กฎหมายไทย ห่วย มีแค่กว้างๆ ในประกาศกระทรวงมหาดไทย สมัยนี้ กฎหมายดี รัดกุม แต่คนบังคับใช้ห่วย สรุปก็คือ ยังห่วยเท่าเดิม
พวกห่วยคงเส้นคงวาก็คือพวกประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน ตอนเก็บเงินเขา ขาดสลึงขาดสตางค์ โวยวายราวกับจะตาย พอเขาเจ็บป่วย เบิกยากแสนยาก

พวกนี้น่าจะส่งไปอยู่อิหร่าน ที่นั่น เขามีเครื่องทำให้กุด สำหรับพวกขี้ขโมย พวกชอบข่มขืนกระทำชำเรา เขาจับมาลงโทษ เอามือยัดเข้าเครื่อง ฉับเดียว กุดเลย


ไปดีกว่า เสียวว่ะ


ษมน รจนาพัฒน์
9 December 2014



ภาษาไทยก็ไม่ดี ภาษาเซฟตี้ก็ไม่ได้...เมื่อไอแคมเจอไอฟาย


 

ไอแคม-ICAM


คิดอยู่หลายวันว่าจะเขียนเรื่องอะไรที่มันเข้ากับบรรยากาศ เอิร์นเดอะไรซ์ทูโกร หรือต้องมีปัญญาซื้อข้าวกินเองคุณถึงจะโต  อันนี้ไม่เกี่ยวกับโปรแกรมสุดฮิต ( Earn The Right to Grow) อันใดทั้งสิ้น แต่บังเอิญมันออกเสียงคล้ายๆกัน อย่ากระนั้นเลย เรามาเรียนภาษาเซฟตี้กันวันละคำสองคำ แล้วแต่พื้นที่จะอำนวย เริ่มกันด้วยคำว่า ไอแคม เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า ไอ-ซี-เอ-เอ็ม ย่อมาจากคำว่า Incident Causal Analysis Model

ป็นแบบจำลองที่ฝรั่งมันคิด จะบอกว่าเราคิดเอง ไม่มีใครเชื่อหรอก ถึงเป็นเรื่องจริงก็ไม่มีทางเชื่อ จริงมั๊ย

ใช้อธิบายให้เห็นว่า การที่จะทำให้เกิดผลลัพท์ที่ดีมีความปลอดภัย ก็จะต้องมีเครื่องมือในการดักจับความผิดพลาดทั้งหลายทั้งปวงที่ใช้การได้ และกับดักที่ว่านี้จะดีไม่ดีก็มาจากตัวบุคคลและทีมที่จะช่วยกันดูช่วยกันลดความผิดพลาดลง ซึ่งนั่นก็ต้องมาจากการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้คนและทีมงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทั้งหมดทั้งสิ้นมันต้องมาจากความเอาจริงเอาจังขององค์กร พูดแบบนี้ คนที่เรียนสูงๆจะไม่เข้าใจ เพราะมันง่ายไป เอาแบบยากๆชัดๆ เช่น

พนักงานคนหนึ่ง กำลังนั่งเก็บเศษวัสดุออกจากใต้สายพานหลังจากที่แผ่นบอร์ดมันเข้าไปติดค้างและช่วยกันแคะช่วยกันเคลียร์เพิ่งเสร็จ  ระหว่างนั้นก็ปรากฏว่ารถฟอร์คลิฟท์ที่จอดติดเครื่องรออยู่ใกล้ๆ (ใกล้มากชนิดที่ว่าถอยปรูดเดียวเหยียบแบนเลย) สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ คนขับรถถอยจริงๆ ตั้งใจว่าจะแค่ขยับรถ แต่ปรากฏว่ารถมันไถลเพราะพื้นมันเปียก เลยไปกระแซะเอาคนที่นั่งอยู่ล้มลงไป นี่คือผลลัพท์ที่เป็นผลมาจากกับดักความผิดพลาดที่มันหายไป กับดักที่ว่าก็คือ กฎความปลอดภัยในการขับรถฟอร์คลิฟท์ที่กำหนดให้ ก่อนสตาร์ทรถอย่าเพิ่งปลดเบรกมือ ก่อนออกรถให้มองซ้าย ขวา หน้าหลัง ถ้ามีคนอยู่ใกล้ๆให้บอกให้เขาหลบไปไกลๆบีบแตรหรือตะโกน เฮ่ย โฮ่ย อะไรก็ได้ ส่วนคนที่อยู่ใกล้รถก็มีกฎว่า ให้หลบไปให้พ้น เพราะฉะนั้นถ้ากับดักความผิดพลาดทำงานครบถ้วน คนขับก็ตะโกน คนนั่งใกล้ก็หลบให้ เหตุมันก็ไม่เกิด แต่อนิจจังวัตตะสังขารา อุปาทะวะธรรมมิโน... มันไม่ทำเลย คนขับก็ไม่ได้ให้สัญญาน ไอ้คนนั่งก็ไม่หลบ ลงเอย รถเหยียบเข่าถลอก

พี่น้องเอ้ย... เหตุทำนองนี้มันไม่ใช่เพิ่งเกิด มันเกิดมานาน คนไม่ทำตามกฎ คนที่ดูแลไม่เน้นย้ำกำชับกำชา ทีมไม่เวิร์ค สุดท้ายกฎที่มีมันก็ค่อยๆกุดไป หายไปทีละข้อสองข้อ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ถ้าวิเคาระห์เจาะลึก ก็จะพบว่า สภาพงานที่เร่งรีบ ลุกลี้ลุกลนเพื่อเอาเครื่องจักรให้ทำงานให้ได้ ไม่รู้เหมือนกันว่าความรู้สึก สภาพแวดล้อมแบบนี้มันเกิดขึ้นตอนไหน ทุกคนรู้แต่ว่า อย่าให้เครื่องหยุดนาน ก็รู้แหละว่าเซฟตี้ต้องมาก่อน แต่เอาไว้ก่อนได้มั๊ย ให้โปรดักชั่นแซงแป๊บเดียว เดี๋ยวสิ้นปีไม่มีโบนัส นี่ขนาดขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แว่วๆมาว่าเมืองจีน เกาหลี เวียดนามขายไม่ดี เมืองไทยเลยต้องร่วมรับผิดชอบไม่เอาโบนัส (ข่าวลือ) นี่แหละคือสภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมคนให้คิด ให้ทำ ให้ทิ้งและหลงลืมความปลอดภัย โทษใครไม่ได้หรอกครับมันเกิดของมันโดยอัตโนมัติ เป็นจิตวิทยาของคนเรา ใครจะมาพร่ำพูดและทำแต่เรื่องเซฟตี้จริงๆจังๆ เราอยู่ในโลกธุระกิจ และนั่นแหละคือความเป็นจริงที่บรรดาบิ๊กบอส จมูกโด่ง หัวล้าน พุงปลิ้น ตาน้ำข้าวเขารับฟังไม่ได้ พวกนี้ท่องเป็นอยู่คำเดียว โอว เซฟตี้อิสนัมเบอร์วันไพรออริที่ Oh! Safety is our number one priority !  แต่เอาเข้าจริงๆ จับต้องเป็นชิ้นเป็นอันไม่มี ไอ้ที่ขอไปก็หั่นงบกระจาย แบบนี้เขาเรียก ออกาไนซ์เซชั่น แฟคเธ่อร์ เข้าใจไหม

เวลาสอบสวนอุบัติเหตุนั้น ตัวที่อยู่ท้ายๆทางขวามือนั้นหาไม่ยาก ส่วนใหญ่ แค่ถามไปก็สารภาพหมดเปลือก ผมรีบครับ ผมไม่นึกว่าเขาจะไม่หลบ อีกคนก็บอก ผมไม่นึกว่าเขาจะถอย

นี่ ไอ้น้อง ถามจริงๆเหอะ รีบๆแบบนี้ เขาจ่ายตังค์เอ็งเพิ่มมั๊ย จะบอกให้นะ จะรีบจะไม่รีบ เอ็งก็ได้ค่าแรงไปซื้อข้าวกินเท่าเดิม เอ็งจะรีบไปทำไมฟะ นั่นคือคนงาน

ส่วนผู้บริหาร มีอยู่ที่หนึ่ง จ้างเราร่างโครงการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยที่ยั่งยืน เราก็ทำให้อย่างละเอียด ทุกทฤษฎีที่หยิบใช้ ทดสอบมากับมือ ใช้มาตั้งหลายแห่ง เปลี่ยนโรงงานนรกเป็นบ้านแห่งที่สองมาก็หลายที่ เสนอราคาไปไม่ถึงล้าน ไม่เอา ไปจ้างฝรั่งมาทำ เสียไปสี่สิบล้าน... ไอ้นี่ไม่เคยทำงานอะไรเลย มันมาท่องๆถุยๆให้ฟัง...

จะบอกให้นะ เมืองนอก ไม่มีหลักสูตร อาชีวอนามัยและความปลอดภัยผลิตเซฟตี้เก่งๆแบบเราหรอก (ไม่เก่งจริงไม่กล้าด่าใครออกอากาศ) พวกเซฟตี้อย่างมาก ก็มาจากพวกจบไฮสกูล พวกทหารเรือ จบอย่างมากก็แค่ใบประกาศ แต่ไม่รู้เป็นงัย พอฝรั่งพูด คนไทยพยักหน้างึ่กงั่ก ฝรั่งมา โอ้โฮ ผู้จัดการทั้งหลาย ขยันเดินโรงงานกันไข่ดันบวม ไข่เหนียวเลย

เรื่องเดียวกัน เซฟตี้คนไทยพูดจนปากจะฉีกถึงรูทวารหนัก ไม่ฟัง ไม่ทำ ฝรั่งเอาตีนชี้ทีเดียว พรุ่งนี้เสร็จ เฮ้อ ไอ้ฟาย... สอนระบบบริหารความปลอดภัย คนไทยสอนมันไม่ฟัง..จ้างฝรั่งมาสอน เสียตังค์ไปสิบสองล้าน นั่งพยักหน้างั่กๆ สอนเรื่องเดียวกันเลย สมน้ำหน้าดีมั๊ย ไอ้เวร (ไม่เจาะจงใคร)  นี่แหละ บางทีเลยไม่อยากพูดภาษาไทย เขียนภาษาไทย มันไม่ขลัง ต้องปนภาษาฝรั่ง หรือไม่ก็สอนเป็นภาษาอังกฤษซะเลย เอาเข้าจริง แม่งฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่อง ระยำจริง กูนึกว่าเก่ง ไอ้หอก

ขออภัย พูดไทย(ดีๆ)ไม่ค่อยชัด

 


ษมน รจนาพัฒน์

  

ประวัติศาสตร์เซฟตี้

 Abraham Maslow พูดถึงเซฟตี้ไว้เมื่อปี 1943 ว่าลำดับขั้นของความต้องการของคนนั้นมีอยู่เป็นลำดับๆ เริ่มตั้งแต่ความต้องการพื้นฐาน อย่างอาหาร อา...