กระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกาสั่งปรับบริษัทอลาบามาคอนสตัคชั่น ข้อหาปล่อยปละให้คนงานฉาบปูนอายุ 33 ปีเกิดอาการป่วยจากความร้อน เพ้อ อาเจียน หมดสติและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ผลการสอบสวนพบว่าคนงานดังกล่าว ทำงานในวันที่ระดับค่าดัชนีความร้อน (Heat Index) สูงถึง 107 ดีกรีและระดับความชื้นสัมพัทธ์ 85 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นยังพบว่ามีคนงานอีก 18 คนที่ถูกให้ทำงานในสภาพเดียวกันเป็นเวลา 10 ชั่วโมงต่อกะเลยทีเดียว อ่านจากข้อมูลต้นฉบับเอาเอง
เรื่องคนงานอยู่ๆก็ตาย ในหน้าร้อนในเมืองกะลาแลนด์นี่ ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีให้เห็นกั้นทุกปี แต่ขอประทานโทษ ไม่มีการสอบสวนดำเนินการเอาผิดใดๆกับนายจ้าง บ่าวร้อนเหลือเกินแล้วเจ้านาย บางคนอาจจะส่ายหัวว่าแหม มันจะอารายกันนักหนา ร้อนก็ไปหลบร่มดี๊ เขาจ้างมาทำงาน ไม่มีใครร้อนถึงตายหรอก แหมลูกจ้างสมัยนี้มันสำอางค์เหลือเกิ้น
ประเทศกะลาแลนด์เนี่ย เอาค่าระดับความร้อนที่วัดแบบ WBGT -Wet Bulb Globe Temperature มากำหนดเป็นมาตรฐานเพื่อไม่ให้ลูกจ้างที่ทำงานในลักษณะงานแบบ เบา งานปานกลาง และงานหนัก ต้องเจอกับความร้อนที่เกินกว่าที่กฏหมายกำหนด จนเกิดอันตรายขึ้น ตรงนี้ผมต้องชื่นชมความพยายามของหน่วยงานที่ออกกฏหมายว่า มีความก้าวหน้ามากขึ้น เพราะ WBGT เอาปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้เกิดอันตรายจากความร้อนมาประกอบ เช่น อุณหภูมิจากแสงแดดที่วัดกลางแจ้ง ความชื้นในอากาศ ความเร็วลม หรือการระบายอากาศ เรียกว่า ถ้างานยิ่งหนัก ก็ยิ่งต้องระวังไม่ให้ทำงานในที่ที่อุณหภูมิเกินกว่าที่กำหนด ไม่งั้น ต้องหามส่งหมอ หรือไม่ก็ฝากสับปะเหร่อไปจัดการ
เอาล่ะ กฏหมายก็มีแล้ว จป.บริหาร จป.หัวหน้างาน จป.เทคหน่งเทคนิค ไปจนระดับวิชาชีพก็มีแล้ว แต่ยังมีลูกจ้างบ่นบอกว่า ผมเพลียจังเลย แล้วล้มชักกะแด่กๆ เพราะความร้อน แบบนี้ จะให้เรียกว่าอะไร ถูกของเขมรรึไง ก่อนจะหามเขาไปเผา ลองถามดูบ้างมั้ย ทำไมเขาถึงตาย