วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

เป่าสาก



บังเอิญ เปิดไปเจอกระทู้ในหน้าเพจของกรมนี้เข้า เห็นคำถามที่เจ้าของกระทู้เค้าถามแล้วน่าสนใน และคิดว่าบรรดา จป.อีกไม่น้อยที่น่าจะมีคำถามคล้ายๆกัน  บางทีคำถามไม่มีคำตอบ เงียบเหมือนเป่าสาก 
เวลาเป่าสากเนี่ย มันไม่เงียบสนิท มันจะมีเสียง พรูด แพรด เสียงลมเล็ดออกมา แต่มันฟังไม่รู้เรื่อง  



หนูเป็น จป.วิชาชีพในโรงงานค่ะ พอดีมีเรื่องอุบัติเหตุในงานมาปรึกษาค่ะข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับขั้นตอนรายงานอุบัติเหตุของบริษัท


  1. เวลากะกลางวัน/วันทำงานปกติ ถ้าเกิดเหตุขึ้น จป จะไปดูอาการร่วมกับหัวหน้างาน พิจารณาว่าต้องส่งโรงพยาบาลหรือไม่ ถ้าต้องส่งโรงพยาบาล จป.จะเป็นคนไปส่งเอง
  1. กะกลางคืนหรือทำงานนอกวันเวลาปกติ (จป หรือพนักงานระดับสตาฟ ไม่ได้มาทำงาน) หัวหน้างานจะเป็นคนพาพนักงานๆ รักษาที่โรงพยาบาล
  1. ตอนนี้ บริษัทมีตู้เก็บอุปกรณ์ปฐมพยาบาลให้อยู่ในไลน์ผลิต เพื่อให้พนักงานหยิบใช้งานได้ทันท่วงที และมีเอกสารให้บันทึกการใช้ยาติดอยู่ที่ตู้ยานั้น ไว้ให้สำหรับกะดึกเขียน (หรือกะกลางวันบางคนไม่เดินมาแจ้ง แต่เราก็มีให้เขียนไว้บ้างก็ยังดี) (ส่วนยารับประทานที่ไม่ใช่สำหรับเหตุฉุกเฉิน จป.เป็นคนจ่ายยาให้อยู่ในออฟฟิศ (ไม่มีพยาบาล)) 


ปัญหาคือ
1.1 เกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย แล้วพนักงานมาทำแผลเองที่ตู้ยา โดยไม่แจ้งหัวหน้างาน , ไม่แจ้งจป. และไม่ลงบันทึกในเอกสาร สรุปว่าไม่หลักฐานยืนยันการเกิดอุบัติเหตุในงานเลย
กรณีนี้ จะมีบางเคสที่ไปแสดงอาการอักเสบ/รุนแรงหลังเลิกงาน (เช่น ฝุ่นเข้าตา มาล้างตาที่ตู้ยา กลับไปทำง่นต่อ (แต่ไม่บันทึก) แล้วไปตาแดงอักเสบหลังกเลิกงาน , งานบาดมือ มาทำแผลแต่ไม่บันทึก แล้วไปอักเสบ บวมแดงหลังเลิกงาน) พนักงานจึงไปพบแพทย์เอง และแพทย์สอบถามแล้วทราบว่าเกิดจากการทำงาน 
• บางโรงพยาบาลจะรับเข้ากองทุนเงินทดแทนเลย โดยให้พนักงานนำใบเสร็จและ กท16 มามอบให้บริษัทฯ ภายหลัง 
- กรณีนี้ ทางบริษัทสามารถปฏิเสธการจ่ายค่ารักษาได้ไหมคะ เพราะไม่มีหลักฐานว่าเกิดในเวลางาน (คำถาม 1)
- แล้วถ้าบริษัท ไม่จ่ายค่ารักษาให้ แล้วใครจะเป็นคนจ่าย (โรงพยาบาลออกใบ กท16 มาให้แล้ว) แบบนี้ต้องเคลียร์อย่างไรคะ (คำถาม 2)
- ถ้าบริษัทต้องรับผิดชอบจ่ายค่ารักษาให้ แต่บริษัทให้ใบเตือนพนักงานเนื่องจากไม่ดำเนินการตามขั้นตอนการรายงานอุบัติเหตุ ได้หรือไม่ (คำถาม 3)
- กรณีนี้บริษัทแก้ไขโดยการแจ้งไปทางโรงพยาบาล ถ้ามีพนักงานของบริษัทนี้ ไปใช้สิทธิ์กองทุนเอง ให้โรงพยาบาลโทรมาแจ้งบริษัทก่อนได้ไหมคะ (กรณีนี้ควบคุมยาก เพราะโรงพยาบาลมีคนไข้มากมาย รวมทั้งโรงงานก็มีจำนวนมาก โรงพยาบาลคงจะจำไม่ได้ว่าโรงงานไหน กำหนดอย่างไร) (คำถาม 4)
• บางโรงพยาบาลจะปฏิเสธการรักษา โดยให้พนักงานนำหลักฐานจากบริษัทมายืนยันว่าเป็นอุบัติเหตุจากงานจริงๆ ทางโรงพยาบาลถึงจะยอมรับการรักษา
- กรณีนี้คือ พนักงานไม่มีหลักฐานอุบัติเหตุในงาน แต่ไปรักษาเอง ใช้สิทธิ์กองทุนฯ บริษัทสามารถปฏิเสธการออกเอกสารยืนยัน (ใบส่งตัวรักษา, รายงานอุบัติเหตุในงาน) ได้หรือไม่คะ (คำถาม 5)
- ถ้าบริษัทไม่จ่ายค่ารักษาให้ แล้วแจ้งให้พนักงานรักษาโดยใช้สิทธ์ประกันสังคมได้หรือไม่ (คำถาม 6) (บางครั้งเขาเกิดจากในงานจริงๆ แต่บริษัทก็ไม่ได้รู้ว่าจริงทุกครั้งไป)
- ทางบริษัทยืนยันกลับไปทางโรงพยาบาลว่า พนักงานไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่โรงพยาบาลเห็นว่าพนักงานแจ้งว่าเป็นอุบัติเหตุในงาน รวมทั้งออกเอกสาร กท16 ให้เรียบร้อย กรณีนี้จะสรุป/เคลียร์เป็นเช่นไรคะ (คำถาม 7)

ต้องเรียนทาง กรมสวัสดิฯ นะคะว่าทางบริษัทฯ ไม่ได้มีเจตนาที่จะไม่รับผิดชอบพนักงาน บริษัทได้แจ้งขั้นตอนการายงานอุบัติเหตุไป รวมถึงขั้นตอนการเบิกอุปกรณ์ การลงบันทึกให้กับพนักงานทราบแล้ว วัตถุประสงค์คือ 
1. เพื่อจะได้ทราบสาเหตุ/ความถี่/ลักษณะการเกิดอุบัติ แล้วจะได้นำมาปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน 
2. ควบคุมการใช้ยา เพราะตู้ยาที่เก็บในไลน์ บริษัทต้องการให้พนักงานใช้งานในเหตุฉุกเฉินเท่านั้น เวลาที่เกิดเหตุจริงๆ จะได้หยิบใช้ได้ทันท่วงที แต่พนักงานบางคนชอบแอบเก็บไปใช้ที่บ้าน หรือเอาไปใช้ผิดวัตุประสงค์ 
ขั้นตอนที่บริษัทกำหนดนี้ พนักงานจะชอบด่าบริษัทว่า งก บริษัทเห็นแก่ตัว ซึ่งจริงๆ แล้วโรงงาน ไม่ใช่โรงพยาบาลที่จะรักษาพนักงานหมดทุกอย่างทุกโรค บริษัทมียารักษาโรคให้ตามอาการ เพื่อให้เบาเทาอาการป่วยให้ทำงานได้ด้วยความปลอดภัย ไม่ใช่รักษาให้จนหมดโรคหมดภัย บริษัทไม่มีพยาบาลมาจ่ายยาให้ คนจ่ายยาเป็น จป ไม่ได้มีความรู้เรื่องยารักษาโรคอะไรมากมาย เพราะเรียนมาแค่พื้นฐาน พนักงานก็เบิกใช้ยาจำนวนมาก และยาบางตัวก็เป็นยาอันตราย จป.ก็ไม่อยากจ่ายมั่วๆ หรือจ่ายตามใจคนใช้ เพราะอาจเกิดอันตรายทั้งแก่คนใช้และคนจ่ายยาได้ 
คำตอบที่ได้รับจากท่าน เราจะได้นำไปแจ้งเตือนพนักงานที่ชอบทำผิดขั้นตอนเพื่อจะได้ทำให้เขาให้ความร่วมมือค่ะ เช่น 
- ถ้าไม่มีหลักฐานรายงานอุบัติเหตุ โรงงานจะไม่จ่ายค่ารักษาให้ 
- หรือโรงงานจะออกใบเตือน ถ้าไปใช้สิทธิ์กองทุนฯ โดยพละการ
ขอบพระคุณค่ะ
อ่านกระทู้จากต้นฉบับ



คำตอบคือ!!!!

กระทู้คำถามที่ถามมานี้เป็นเรื่องของความปลอดภัยในการทำงานรบกวนถามเข้าไปในส่วนของความปลอดภัยฯ จะได้คำตอบจากเจ้าหน้าที่เฉพาะ เนื่องจากส่วนนี้เป็นส่วนของคุ้มครองแรงงานจะเชี่ยวชาญไม่เท่าสำนักความปลอดภัยแรงงาน หรือจะโทร.สอบถามโดยตรงก็ได้ที่ 0 2448 9128-39

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562

N95 เดอะเบสจริงหรือ


หน้ากาก N95 ขาดตลาด ผู้คนแตกตื่นกลัวตายกันยกใหญ่

ผมนั่งดูปรากฏการณ์ความแตกตื่นของผู้คนในสังคมมาสักพักใหญ่ พร้อมๆไปกับการดูปรากฏการณ์ของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ผ่านทางสื่อ โดยหน่วยงานของรัฐ และข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางสื่อโลกออนไลน์ ชั่งใจอยู่นานว่าจะพูดดีหรือจะนิ่งเสียตำลึงทอง ใจหนึ่งก็คิดว่ายุคสมัยนี้ ใครๆก็สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้พอๆกัน ใจหนึ่งก็คิดว่า เราก็ร่ำเรียนมาในสายวิชาชีพ อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เรียนสุขศาสตร์อุตสาหกรรม เรียน พิษวิทยา เรียนอะไรต่อมิอะไรมา จะพูดดีมั๊ยว๊า

PM 2.5 คืออะไร

ถึงตอนนี้ ใครรู้บ้างว่ามันคืออะไร --- ตอนที่มีเจ้าหน้าที่จากกลุ่มกรีนพีซออกมาให้ข่าว เมื่อราวๆ กลางๆปีที่แล้ว ตอนนั้นไม่มีใครสนใจอะไร นักข่าวก็เรียกมันว่า สาร พีเอ็ม 2.5 แหมทำเอากรูละงง สารอะไรวะ แถมโหมกระพือซะว่ามันอันตรายอย่างโน้นอย่างนี้ สูดเข้าไปถึงตายทีเดียว แต่จนแล้วจนรอด ไม่มีใครสนใจอะไร



มลพิษในอากาศที่เราสูดดมกันเข้าไปในแต่ละวัน มันมีอยู่หลายแบบ ได้แก่

  • ฝุ่น (Dust) ซึ่งก็คือ อนุภาคของของแข็ง ที่เกิดจากการบด การขัด การตัดการกระแทก ฟุ้งกระจายไปในอากาศ ฝุ่นบางอย่างก็ใหญ่มาก จนศาลรัฐธรรมนูญ ไอ้คนหัวล้านๆบอกว่า ให้รัฐบาลยุติโครงการรถไฟความเร็วสูงไปกำจัดถนนลูกรังในประเทศนี้ให้หมดเสียก่อน ฝุ่นซิลิกา ฝุ่นแอสเบสทอส ฝุ่นที่นักศึกษาจบใหม่ต้องฝึกเตะกันไว้ ก่อนจะได้งาน
  • ละออง (Mist) ซึ่งก็คือ อนุภาคของของเหลว   ที่เกิดจากการฉีดอัดมันผ่านหัวฉีดเล็กๆ เช่นสีสเปรย์ ยาฉีดยุง น้ำหอม ลอยฟุ้งไปในอากาศ หรือเวลาเราไอ จาม น้ำลายกระเซ็นเป็นละอองไปทั่ว ตอนที่มีโรคระบาด อย่างไข้หวัดนก ผู้คนจะกลัวกันมาก ใครจามออกมาทีในลิฟท์ แทบอยากจะถีบกระเด้งออกไปเลยเชียว ละอองน้ำในอากาศในฤดูหนาว ที่เราเรียกว่าหมอก พยัพหมอก นั่นก็เป็น Mist ประเภทหนึ่ง หรือเวลาเขาเล่นคอนเสริต เอาน้ำแข็งแห้งใส่ลงไปในน้ำร้อน นั่นก็เป็นละอองเหมือนกัน กรดบางอย่าง เปิดฝาป็อกออกมา มีละอองลอยฉุยขึ้นมาเชียว

  • ฟูม (Fume)    เป็นอนุภาคของโลหะหนัก    ที่เกิดการควบแน่นในอากาศ เช่นโลหะที่กลายเป็นไอระเหยจากเตาหลอม จากการเจียร์ การเชื่อม การตัดด้วยแก็ส อันนี้น่ากลัว เพราะช่างทั้งหลายสูดกันทุกวัน ให้ใส่หน้ากากก็ไม่ใส่

  • ไอ (Vapor) เป็นอนุภาคของของเหลวที่เปลี่ยนสถานะเป็นแก็ส ลอยไปในอากาศ

  • ก๊าซ (Gas) มันคือสถานะหนึ่งของสาร

  • ควัน (Smoke) เป็นชื่อเรียกรวมๆสำหรับมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้  มีทุกอย่างที่เอ่ยมาข้างบนนั่น

คำว่า อนุภาค หรือ Particulate - Particle จึงเป็นคำรวมๆ

อนุภาคที่เล็กกว่า 0.5 ไมครอน มันจะเข้าไปถึงปอดได้ พอไปถึงปอดมันก็แพร่ไปได้ทุกที่ แล้วแต่ว่าอนุภาคพวกนั้นมันเป็นอะไร ถ้าเป็นก๊าซ คาร์บอนมอนนอกไซด์ ก็ไปจับกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ได้ดีกว่าออกซิเจนตั้งหลายร้อยเท่า ถ้าเป็นฝุ่นซิลิกา ก็ไปทำให้เกิดแผลในถุงลมปอด เป็นซิลิโคซิส ถ้าเป็นควัน ก็อมกันทุกวัน พวกนั้นก็เล็กกว่า 2.5 ไมครอนทั้งนั้นเลย แหม

PM 2.5 น่ากลัวไหม

ขนาด 2.5 ไมครอน นี่มันเล็กขนาดไหน
ไมครอน มันย่อมาจากคำว่า ไมโครเมตร หรือ 1 ใน 1,000,000 ส่วนของหนึ่งเมตร หรือ 0.00004 ของหนึ่งนิ้ว ป๊าด ยังนึกไม่ออกอยู่ดี  อ่ะดูรูปเปรียบเทียบ เมื่อเทียบกับเม็ดเลือดแดง ซึ่งมีขนาด 7 ไมครอน ถุงลมปอด หรือ Alvioli ของเราจะมีเส้นเลือดฝอยขนาดเล็กๆสานกันระหว่างเส้นเลือดแดงกับเส้นเลือดดำ คล้ายๆลูกตะกร้อ นึกออกมั๊ย แสดงว่า PM 2.5 มันจะผ่านจากถุงลมปอดเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรง ฟังดูแล้วน่ากลัวเชียว แต่ช้าก่อน อย่าเพิ่งตกใจ เพราะท่านที่เป็นสิงห์อมควันทั้งหลาย ได้พิสูจน์ให้เราเห็นแล้ว ด้วยการสูดเอา PM 2.5 ที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือเป็นประจำ วันละหลายๆมวน แล้วไม่เห็นพวกมันจะตายชักกระแด่วๆซะที  ดังนั้น อย่าแตกตื่นตกใจไป พีเอ็มสองจุดห้า ไม่ทำอันตรายให้ตายได้ในทันที ผมกล้ารับประกัน ถ้าไม่จริง ผมให้โทรมารังควานได้สามวันโดยจะไม่ตอบโต้ใดๆ



เส้นผม ซึ่งมีขนาด 70 ไมครอน บางคนผมเส้นใหญ่ บางคนไม่มีผม ก็เทียบกับขนตรงไหนก็ได้ ขนาดของมันก็ราวๆ 70-75 ไมครอน
อะไรที่มันทะลุทะลวงถึงระบบทางเดินหายใจ มันน่ากลัวทั้งนั้นแหละ คำว่า พีเอ็ม สองจุดห้า มันคืออนุภาคที่มีขนาด เล็ก 2.5 ไมครอน หรือเล็กกว่านั้น มันไม่ใช่แค่ฝุ่น มันมีหลายๆอย่างรวมๆกัน การที่มีดอกเตอร์ท่านหนึ่งออกมากล่าวหาว่ามันเกิดจากการก่อสร้าง จึงไม่ถูกต้อง ยิ่งจะขอให้หยุดก่อสร้างไปจนกว่าฝุ่นจะตกลงพื้นหมด ยิ่งบ้ากันไปใหญ่ แค่นี้ก็แทบจะอดตายกันอยู่แล้ว 


สรุปสั้นๆ มันน่ากลัว มันมาจากหลายแหล่งกำเนิด และต้องมีการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้น ระยะยาว แต่ไอ้ที่เอาน้ำมาพ่นเป็นละอองตามสี่แยก อันนี้ ปัญญาอ่อนไปหน่อย แต่จะทำไงได้ มันคิดได้แค่นั้นก็ดีแล้ว เดี๋ยวเขาจะด่าสวนเอาว่ามือไม่พายเอาตีนราน้ำ


ดังนั้น ถ้าจะถามว่า อนุภาคขนาด 2.5 ไมครอน หรือเล็กกว่านั้น มันมาจากไหน คำตอบก็คือ มันมาจากพวกเรานี่แหละครับ  เราไม่ว่ากัน ไม่โทษนั่นโทษนี่ จะว่าอากาศเสียมาจากรถ ก็จะโทษกันไปโทษกันมา ว่าเพราะอีปูว์ ปล่อยให้ซื้อรถคันแรกเยอะเกิน พวกเศรษฐีจะพาลของขึ้น คว้านกหวีดมาเป่า ปรี๊ดๆๆๆ เผลอสูดเอามลพิษตายไปเสียก่อน ส่วนคนยากจนอย่างผม ก็จะเกิดอาการหัวร้อน ที่อดทนการกดขี่ ดูถูกเหยียดหยามแบ่งแยกชนชั้น ไพร่สถุล ก็จะเกิดอาการของขึ้นพาลจะยกพวกมาปิดถนนให้รถติดเล่น เดือดร้อนบรรดาพวกขุนทหารต้องลากสไนป์เปอร์มายิงหัวพวกไพร่เล่นกันอีกหน มันจะยุ่งกันใหญ่


เอาเป็นว่า เมืองใหญ่ๆหลายๆประเทศ เขาประสบปัญหาแบบนี้มาก่อนเรา แล้วเขามีวิธีจัดการ
หลายประเทศ จัดการระบบการจราจรอย่างได้ผล มีระบบราง ระบบขนส่งที่ดี รถไม่มาก รถไม่ติด ถึงมี เขาก็เป็นรถไฟฟ้า แต่ประเทศสี่จุดสูญ (สูญเสียทุกอย่าง แม้กระทั่งอิสระภาพ) อย่างเรา ยังทะเลาะกันไม่เลิก คงอีกนาน
หลายๆประเทศ เขาเข้มงวด กับแหล่งมลพิษ จับปรับกันหนักๆ
หลายๆประเทศ เขาเข้มงวดแม้กระทั่งเมรเผาศพ ไม่เหมือนบ้านเรา มีวัดทุกหัวมุม แต่ละวัดมีงานเผาศพแต่ละวันไม่รู้กี่เมร ตั้งแต่บ่ายไปจนเย็นค่ำ เผากันโขมง ไอ้ที่เผาๆนะ สาระพัดอย่างยัดเข้าไป ชุดหรู กระเป๋า เสื้อ ผ้ารองเท้า ไหนจะมีพวกโละหะหนัก อย่างสารอุดฟัน ฟอร์มาลีน ที่อัดกันเข้าไป แต่ละศพไม่รู้กี่ขวด เผาส่งวิญญานสู่สรวงสรรค์ แต่ดันไปไม่ไกล ลอยปกคลุมอยู่ วันดีคืนดี เกิดปรากฏการณ์ฟ้าสีน้ำตาล ที่ต่างประเทศเขาเรียกว่า Photo Chemical Smog เอาเป็นว่าปัญหาแบบนี้ ด้วยสติปัญญาของท่านผู้นัม แกคงไม่มีปัญญาทำอะไรได้


หน้ากากแบบไหน เหมาะกับ PM 2.5 จำเป็นไหมต้อง N95


เรื่องหน้ากาก N95 นี่ก็มั่วกันมาตั้งแต่สมัยโรค SAR ระบาด

ตอนนู้น สมัยโรคไข้หวัดนก ไข้ซาร์ โรคอีโบล่า ระบาด ทางองค์การอนามัยโลกออกประกาศว่าให้เจ้าหน้าที่สวมใส่หน้ากาก N95 คราวนี้ก็เกิดการโกลาหล หน้ากากที่ไม่มีเลเบลว่า N95 คนก็หาว่าใช้ไม่ได้ มันกรองฝุ่นขนาดเล็กไม่ได้ บ้างก็ว่า หน้ากากแบบ N95 สามารถกรองอะไรเล็กๆได้ ขนาดเชื้อไวรัสยังกรองได้ ว่าไปนั่น ทีนี้ก็เกิดขาดตลาด พ่อค้าที่หัวใสก็เอาหน้ากากอะไรก็ได้มา ทำตรายาง N95 ปั๊มจึ๊กๆไป ขายดิบขายดี หมอบางคนก็ออกมาแนะนำว่า เอาหน้ากากอนามัย แล้วเอากระดาษเช็ดตูดพับสองชั้น ก็จะกรองได้เท่า N95 แหมๆๆๆ นี่ถ้ามีขี้ติดด้วยนิดส์นึง จะกรองได้เยอะกว่านะหมอ




ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักสิ่งที่เราเรียกๆว่าหน้าก่ง หน้ากากกันซะก่อนดีมั๊ยครับ ที่เราเรียกๆว่าหน้ากากเนี่ย จริงๆแล้วมันไม่ค่อยจะถูกเท่าไหร่ เพราะหน้ากากมันคือ Face Mask-- อย่างที่พวกหมอ พยาบาล ใส่ในห้องผ่าตัด แบบนั้นเขาเรียกว่า Surgical Mask ซึ่งออกแบบมาเพื่อ แต่น แตน แต๊น  กันน้ำลายหมอกระเด็นใส่คนใข้เวลาพวกเขาพูด คุย ไอ จาม เพื่อกันละอองของเหลวที่จะกระเซ็นออกมา ดังนั้น Surgical Mask จึงไม่สามารถกันอนุภาคเล็กๆอะไรที่จะสูดหายใจเข้าไป ส่วนเอากระดาษเช็ดตูดมาพับรองอีกสองชั้น ผมก็ไม่แน่ใจ เพราะว่า สิ่งที่เราใส่เพื่อป้องกันระบบทางเดินหายใจของเรา เรียกว่า Respirator บังเอิ้นที่ภาษาไทยมันไม่รู้จะแปลว่าอะไร ก็เลยเรียกมันว่าหน้ากาก เหมือนๆกับเวลาใครได้เป็นนายก ต่อให้ห่วยแตกแค่ไหน ออกทีวีทีเหมือนหมาบูลด็อก ออกมาเห่าโฮ่งๆๆ ก็ยังต้องเรียกพวกมันว่า พณ.ท่าน ผมไม่รู้ว่าแปลเป็นภาษาหยาบๆว่าอะไร ถ้าแปลได้จะแปลให้ฟังเลย เอาเป็นว่า Respirator ถูกออกแบบมาและใช้กันมานานมากแล้ว จำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
  1. Air Purified Respirator --ชนิดกรองอากาศ

  2. Air Supplied Respirator --ชนิดที่ได้อากาศจากถัง หรือท่อจ่ายอากาศ ที่เราเห็นในหนังเวลานักดับเพลิง ใส่เข้าไป

หน้ากาก N95 ที่เราเรียกๆกัน มันก็คือ Air Purified Respirator ชนิดหนึ่งนั่นเอง ต้าดา  หน้ากากแบบกรองอากาศเนี่ย แยกย่อยออกไปได้หลายแบบ อย่างที่เห็น คือแบบใช้แล้วทิ้ง กับอีกแบบที่มีโครงเป็นยาง ครอบจมูก มีตลับใส้กรอง ถอดเปลี่ยนได้ บางรุ่นก็ครอบทั้งใบหน้า มีตลับยาวๆ เหมือนในหนังสตาร์วอร์




บางรุ่นก็มีปั๊ม ดูดเอาอากาศ ผ่านใส้กรอง แล้วจ่ายอากาศเข้าไปให้เราหายใจ แต่ละรุ่นก็จะมีขีดความสามารถในการปกป้องเราไม่เท่ากัน หรือที่เรียกว่า Assigned Protective Factor เริ่มเยอะแระ พวกเรียนน้อยจะเริ่มตากลับ เริ่มหลับ เอาเป็นว่า หน้ากากแบบ N95 เป็นแบบใช้แล้วทิ้ง และมีค่า Assign Protective Factor แค่ 10เอ็กซ์ (ไว้จะมาเล่าต่อ)

ตัวอักษร N 95 มันคืออะไรอ่ะ

ก่อนอื่น ต้องบอกว่า หน่วยงานที่เขาจัดระดับประสิทธิภาพการกรองของ Respirator เนี่ย เขาคือองค์กรที่เรียกว่า NIOSH- National Institute for Occupational Safety and Health สถาบันอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) เป็นหน่วยงานวิชาการ ไม่ได้ออกกฎหมาย ไม่เหมือนบ้านเรา ไม่มีหลักวิชาการ ออกแต่กฎหมาย
NIOSH เขามีหน่วยงานที่ทำการทดสอบ Respirator และให้การรับรอง ในอเมริกา หน้ากากที่จะเอาไปให้ลูกจ้างใช้ มักจะต้องดูว่าผ่านการรับรองมาตรฐานมาก่อนรึเปล่า ถ้าเป็นบ้านเรา ข้างกล่องมีแต่ภาษา กว่างตุ้ง ภาษาแต้จือ ผมก็ไม่แน่ในว่าใช่รึเปล่า
นี่กำลังพูดถึงแบบใช้แล้วทิ้งนะครับ ส่วนที่เอามาทำหน้ากาก มักจะทำมาจากเส้นใยเซรามิค เส้นใยมิเนอร์รัลไฟเบอร์ ใครนึกไม่ออกก็นึกถึงฝอยขัดหม้อ ยี่ห้อสกอตไบร้ท์ละกัน แม่ผมพูดภาษาอังกฤษได้หลายคำก็ไอ้พวกนี่แหละ ไปซื้อแฟ๊บ ไปซื้อสกอตไบ้ท (แกออกเสียงแบบนี้) เอาละ นึกดูนะว่า ฝอยขัดหม้อ อัดกันจนบางเฉียบ เป็นหน้ากากที่พวกเราใส่ คิดดูละกันว่ามันจะสามารถกรองอนุภาคได้มากมายขนาดไหน


เวลาที่อนุภาคที่ลอยอยู่ในอากาศ ไม่ว่ามันจะเป็นอะไร เล็ก ใหญ่แค่ไหน ไม่รู้แหละ ผ่านเข้าไป อนุภาคพวกนี้ก็จะถูกกรองโดยวิธีการเหล่านี้คือ เอาวิชาการหน่อยนะ จะได้หายงง จะได้เลิกเถียงกันว่า อึ้ย อันนี้ไม่ใช่ เอ็นเก้าสิบห้านะมึง ใส่ไม่ได้นะ
  • Impaction --อนุภาคใหญ่ๆมักจะชนปั่กเข้ากันเส้นใย แล้วติดอยู่
  • Interception --อนุภาคเล็กลงมาหน่อยรอดรูไปได้บ้าง ก็ผ่านไม่ได้ ติดอยู่ข้างใน บางคนบอก ไหน ไม่เห็นมีเลย เดี๋ยวปั๊ด ก็มันเล็กจนมองไม่เห็นไง
  • Diffusion --ที่เล็กกกกกมากกกกก อย่าง PM 2.5  เชื้อไวรัส อนุภาคนาโน พวกนี้ จะผ่านเข้าไปตามการไหลของอากาศ แล้วโดนอัดเข้าไปติดอยู่ ไปไม่รอด
  • Electrostatic attraction-- หน้ากากบางรุ่น เส้นใยมีประจุไฟฟ้า ช่วยในการจับอนุภาคได้อีกต่างหาก







อย่างนี้ มันก็กรองอนุภาคได้พอๆกันละสิ

ทำหน้าเหมือบรรลุธรรม ใช่ครับ โดยหลักการแล้วเป็นเช่นนั้น อนุภาคก็คืออนุภาค ใหญ่เล็ก กูจับหมด ถึงตรงนี้หลายคนยังทำหน้าเป็นหมาสงสัย อ้าวแล้ว N95 มันไม่ใช่รุ่นที่กรองได้ดีที่สุด ละเอียดที่สุดหรอกรึ
โนครับ N แปลว่า NOT -เส้นใยที่ใช้ไม่สามารถจับอนุภาคที่มีน้ำมัน อย่างไอน้ำมัน น้ำมันเครื่อง ไอระเหยที่มีส่วนผสมของน้ำมัน ไม่เชื่อลองใส่ไปยืนข้างๆผัดกระเพราะดูดิ
หน้าการแบบใช้แล้วทิ้งมีสามเกรด คือ N, R และ P




R= Resist  แปลว่า ใช้กับไอน้ำมันได้บ้าง ในงานที่ไม่โดนจังๆ อย่างงานพ่นสีนี่ไม่ได้เลย ต้องใช้รุ่นที่เป็นรหัส P= Proof
แต่ละแบบนั้นก็จะมีประสิทธิภาพในการกรอง ตั้งแต่ เอาละตั้งสติดีๆนะ
95%
99%
99.97%




ทีนี้ก็ลองแปลดูนะครับ หน้ากากรุ่น N95 แปลว่ามันกรองอนุภาคต่างๆได้ 95 เปอร์เซ็น ชัดยัง ฝุ่นใหญ่ฝุ่นเล็ก ไอ ละออง ไอระเหย ฟูม อะไรกูไม่รู้แหละ กูกรองได้ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ ส่วนหน้ากากสีเขียวที่เรียกว่า เซอร์จิคอลแมส ที่กระทรวงสาธารณสุขออกมาบอกว่าต้องมี อย. นั้นมันไม่่ผ่านการรับรองจากผู่้ใดว่ามันกรองได้เท่าไหร่ เพราะเขาเอาไว้กัน Droplet น้ำลาย ส่วนกระดาษเช็ดตูดนั้น เอาไปขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์ มันจะทำให้การกรองเป็นไปได้อย่างที่ผมเล่ามารึเปล่า อันนี้ต้องส่งไปให้ NIOSH ทดสอบครับ




มีหน้ากากหลายรุ่น ที่ไม่มี N95 Mark แต่เป็นของที่อ้างมาตรฐานยุโรป เช่น P1, P 2 P3 P4 ซึ่งถ้าจะเทียบๆก็คือ

P1 กรองได้ 80 %
P2 กรองได้ 95%
P3 กรองได้ 99%
P4 กรองได้ 99.97%




จุดใหญ่ใจความของการเลือกหน้ากาก ผู้เลือกจะต้องรุ้ว่า ใส่เพื่ออะไร
  1. ใส่เพื่อกันนายด่า --อันนี้ มึงไม่ต้องใส่ก็ได้ เปลือง ชิ้นนึงหลายบาท
  2. ใส่เพื่อกันอนุภาคที่มีอันตรายและมีระดับความเข้มข้นในอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน พูดง่ายๆ มีแต่ไม่เกินมาตรฐาน ก็ต้องไปดูลักษณะงาน ระยะเวลาในการสัมผัส วิธีทำงาน และการยากง่ายในการจัดการ บางทีให้หน้ากากแบบมีตลับกรองที่มีค่า APF สูงๆ ก็จะได้ปลอดภัย แต่ใส่ลำบากอึดอัด เอาเข้าจริงมันก็ไม่ใส่ ตายคือเก่า
  3. ผลการตรวจวัดสภาพแวดล้อม ปริมาณสารอันตรายในอากาศ ถ้าอยู่ในระดับ IDLH- Immediate Danger To Life and Health เป็นอันตรายคอขาดบาดตาย แบบนี้ N95 ก็เอาไม่อยู่ ต้องใช้รุ่น Air Supplied Respirator เท่านั้น
เอาละครับ ใครที่ยังข้องใจว่ารุ่นนั้น รุ่นนี้ ใช้ได้ไหม ก็ถามมานะครับ อ่ะ N95 เจ๋งสุดเลยมั๊ย   NO!  it is NOT !






ประวัติศาสตร์เซฟตี้

 Abraham Maslow พูดถึงเซฟตี้ไว้เมื่อปี 1943 ว่าลำดับขั้นของความต้องการของคนนั้นมีอยู่เป็นลำดับๆ เริ่มตั้งแต่ความต้องการพื้นฐาน อย่างอาหาร อา...