KAPOK บางคนออกเสียงว่า กะโปก
บ้างก็ออกเสียงว่า กาป๊อก บ้างคนก็ออกเสียงว่า กาปอก แล้วแต่สะดวก ถ้าผมจำไม่ผิด มันเป็นไม้ประเภทนุ่น งิ้ว ที่มีฝักเป็นใยเหมือนสำลี เนื้อไม้พวกนี้จะเบาและลอยน้ำได้
PFDs
อุปกรณ์ช่วยชีวิตจากการจมน้ำ ในภาษาเซฟตี้ เราเรียกว่า Personal Floatation Device- PFDs หรืออุปกรณ์ช่วยลอยตัว บางคนร้องอ๋อ แหม อุปกรณ์ชนิดนี้ผมใช้ประจำ ผมจึงสามารถลอยตัวได้ทุกสถานการณ์
ข่าวเรือล่มจมทะเลที่ภูเก็ต จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ผู้คนต่างวิพากย์วิจารณ์ ตั้งข้อสังเกตุไปหลายๆทัศนะ บ้างก็ว่า นักท่องเที่ยวทำตัวเอง เพราะเป็นพวกทัวร์ศูนย์เหรียญ แหม ฟังท่านให้สัมภาษณ์แล้วเลยไม่มีข้อสงสัยอื่นใดอีกเลย ท่านนี่ช่างเป็นวัสดุจำพวกกะโปกจริงๆ (วัสดุเบาลอยตัวได้ดี)
ในแง่มุมของพวกเซฟตี้ พวกกระผมไม่ค่อยจะอยากไปวอแว กับพวกหัวกะโปก พวกนี้มากนัก (หัวที่เต็มไปด้วยปุยนุ่น) ตอบไปเรื่อยเปื่อย ไม่คิดหน้าคิดหลัง วันก่อนก็มีท่านผู้ใหญ่คนหนึ่ง ไปเที่ยวไล่ถามหาใบอนุญาตแถวถ้ำหลวง คนแถวนั้นเขาแทบจะเอา ตีนดันท่านออกมา เพราะเกรงว่า น้ำดินน้ำโคลนจะกระเซ็นไปโดนเครื่องแบบเต็มยศของท่านเข้า ครั้นจะเอามือดัน มือก็เปรอะโคลน ต้องตีนนี่แหละ มันเป็นเหตุฉุกเฉิน ท่านคงไม่ว่ากระไร
กลับมาที่เรื่องอุปกรณ์ช่วยชีวิตจากการจมน้ำ Personal Floatation Devices เติม เอสเข้าไปตัวหนึ่ง เพราะมันมีหลายแบบ แต่ไม่ว่ามันจะเป็นแบบไหนๆ มันก็มีอยู่สองจำพวก คือแบบที่ต้องเป่าลมเข้าไปให้พอง ก่อนใช้งาน-Inflatable PFDs กับอีกจำพวกคือไม่ต้องเป่า แต่ข้างในมันมีวัสดุอย่างกะโปก หรือโฟมยัดไว้ให้เป็นทุ่นลอยน้ำได้- Inherently Buoyant PFDs
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องสลับซับซ้อน ถึงขนาดต้องอาศัยปัญญาระดับ เจ้าพ่อรถไฟฟ้าเทสล่า แม่ผมก็ทำเป็น
สมัยเด็กๆ ตอนที่เขื่อนกระเสียว (ตอนนั้นผมยังเล็กๆ พูดไม่ชัด ชอบเรียกว่าเขื่อนกระเจี๋ยว) ยังก่อสร้างไม่เสร็จ วันดีคืนดี ปล่อยน้ำออกมา น้ำนองสิครับ เด็กๆอย่างผมสุดแสนจะชอบใจ เพราะจะได้ไปเล่นน้ำคลอง อุปกรณ์ PFDs ของแม่ผม ที่ใช้วัสดุแบบลอยน้ำได้ ก็คือ แต่น แตน แต๊น มะพร้าวแก่ๆ สองลูก ผูกไว้ด้วยกัน มีเชือกรั้งตรงหน้าอก
ส่วนของแม่ผมก็นู่นเลย ตีโป่ง ผ้าถุงเวลามันเปียกมันสามารถกักเก็กอากาศได้ โดยหลักทางวิศวกรรม ทั้งสองอย่างมันน่าจะสามารถสร้างแรงลอยตัว ได้ราวๆ 7-12 ปอนด์ ก็ประมาณ 16-29 กิโลกรัม
นั่นมันแค่น้ำคลอง เต็มตาหลิ่ง ราวทั้งหลาย ชาย หยิงงงง ขืนใส่ไอ้นี่ไปทะเลภูเก็ต ออกเรือไปกลางอ่าว ยามพายุคลั่ง ฟ้าคะนอง พายุโหมคลื่นสูง ยามที่รัฐมนตรี อธิบดี และผู้หลักบักใหญ่กำลังสาละวนกับการช่วยหมูป่าออกจากถ้ำหลวง ยามนั้น ลูกมะพร้าวกับอีโป่งแม่ผมคงอับปางเป็นแน่แท้
ประเทศที่เขาเข้มงวดเรื่อเซฟตี้ (จริงๆนะ) เขามีมาตรฐานของ PFDs อย่างของสหรัฐ ก็จะยึดตามมาตรฐานของ USCG -United State Coast Guard เป็นสรณะ ถ้าเป็นที่กะลาแลนด์ ก็ไม่รู้สินะ
จะไปยึดเอาของกรมเจ้าที่ เขาก็คงอิหลักอิเหรื่อ เพราะพวกนี้เวลาไปตรวจ ก็จะเน้น เอาใบอนุญาตมาดู เอามา ๆๆๆ พอเจอใบอนุญาตที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายเข้าไป พวกนี้ก็พูดไม่ออก มันเกรงจั๊ย เกรงใจ เพราะฉะนั้น อย่าไปยุ่งกะมัน
แบบที่ 1 เวลาจมน้ำ มันจะดันให้ หงายหน้าขึ้น ไม่สำลักน้ำ ใช้สำหรับเวลาออกทะเลไกลๆ ห่างชายฝั่ง ไกลจากพวกหน่วยกู้ภัย ผมเน้นนะ กู้ภัย ไม่เน้นเก็บศพ ถ้าอยากเป็นศพ คุณจะเอาหน้าขึ้น เอาหน้าจุ่มน้ำ ก็ไม่เป็นไร พวกนั้นเก็บให้อยู่แล้ว เขาไม่มากังวลมากนัก แบบนี้มีแรงพยุงให้ลอยตัวได้ 22-33 ปอนด์ ประมาณว่าลอยคอรอความช่วยเหลือได้หลายวัน ถ้าฉลามไม่มาคาบไปซะก่อน
แบบที่ 2 แบบนี้เจอบ่อยๆ เวลานั่งเรือ เที่ยว ไม่ห่างฝั่งมาก เกิดอะไร เอะอะ ไม่ไกล เดี๋ยวคนมาช่วย แบบนี้ลอยตัวได้ราวๆ 15-33 ปอนด์ แต่ถ้าไม่ใส่ก็ ลอยไม่ได้นะ เข้าใจไหม
แบบที่ 3 ออกแบบมาให้ใช้ในที่เสี่ยงน้อยๆ น้ำนิ่ง คลื่นลมสงบ อยู่ใกล้ฝั่ง เวลาท่านๆไปตรวจน้ำท่วมไง น้ำแค่เข่า ใส่ชุดกันซะ เต็มยศ ถุย
แบบที่ 4 แบบนี้เอาไว้แย่งกัน เวลาเรือล่ม โยนไปห่วงหนึ่ง แย่งกับ ถีบกันไปมา รอดสอง ตายสาม สูญหายเพียบ
แบบที่ 5 มีหลากหลายดีไซน์ ส่วนใหญ่ใช้เวลาเล่นกีฬาทางน้ำ กระชับ ทะมัดมะแมง