วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558
คำบอกเล่าของประยูร - การสัมภาษณ์พยาน
ผมกล่าวกับประยูรอย่างเป็นกันเองด้วยการแนะนำตัวและบอกให้เขาทราบว่าวัตถุประสงค์ของการสอบสวนอุบัติเหตุนั้นก็เพื่อจะค้นหาความผิดปกติของระบบบริหารจัดการ และนำไปป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำขึ้นอีก และยังบอกให้ประยูรรู้ว่าเราจะสอบถามเรื่องราวต่างๆ ที่ประยูรสามารถบอกเล่าได้ โดยระหว่างนั้นเราจะทำการจดบันทึก และจะให้เขาดูอีกครั้งหลังจากการพูดคุยกัน ที่ต้องบอกว่าเราจะจดคำให้การ ก็เพื่อให้เขาไม่รู้สึกอึดอัดว่ากำลังถูกรีดข้อมูลและจดอย่างเอาเป็นเอาตาย ผมยังอธิบายให้ประยูรทราบคร่าวๆถึงขั้นตอนในการสอบสวนอุบัติเหตุ และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ และยินดีที่จะรับฟังคำแนะนำ และข้อเสนอแนะจากประยูรที่จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุต่อเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ การสร้างบรรยากาศเป็นกันเองทำให้ประยูรดูผ่อนคลายลงไปมาก
ประยูรเล่าว่า ขับรถออกจากปั๊มน้ำมัน ตอนนั้นก็ใกล้เที่ยงคืนแล้ว ฝนตกปรอยๆ เมื่อมาถึงแถวๆหน้าประตูบริษัทเกษตรรุ่งเรือง ที่อยู่ก่อนถึงทางเข้าคลังประมาณ 500 เมตร เขาเห็นอะไรตะคุ่มๆบนถนน ผมขอให้ประยูรเล่าตรงนี้ซ้ำว่า ที่เห็นอะไรตะคุ่มๆนั้นประมาณสักกี่เมตร เขากะระยะคร่าวๆจากหน้าห้องถึงหลังห้อง ก็ประมาณ 8 เมตร ตรงนี้ผมจดโน็ตลงไปข้างๆคำบอกเล่าของประยูรว่า จะหาข้อมูลเกี่ยวกับไฟตารถ ประยูรบอกว่าเขาไม่ได้แตะเบรกเลย และเขาคร่อมสิ่งนั้นไปก่อนจะได้ยินเสียงเหมือนล้อหน้าเหยียบไปบนอะไรบางอย่างแตกโพละ ประยูรบอกว่าจอดลงไปดู โดยปิดไฟหน้ารถก่อน และเห็นศพกับมอเตอร์ไซค์ เขาพยายามเดินหน้า ถอยหลังจนหลุดแล้วรีบขับรถเข้าไปจอดในศูนย์จัดส่ง เสร็จแล้วจึงแจ้งกับหัวหน้ากะว่าตนไม่ค่อยสบาย จะขอกลับไปนอนพักผ่อน
ระหว่างการสัมภาษณ์ เราถามประยูรว่า เมื่อตรวจดู SW-100 พบว่าเขาใช้ความเร็วโดยเฉลี่ยเกือบๆ 70 กม./ชม. เหตุใดจึงใช้ความเร็วขนาดนั้นทั้งๆที่ฝนตกปรอยๆและเขาเองก็บอกว่ามองทางไม่ค่อยถนัด ประยูรโอดครวญว่า ผมกะว่าจะมารับแก็สอีกสักเที่ยวแล้วจะออกไปอีกรอบ ถ้าขับช้ากว่านี้ผมก็ไม่พอกินหรอกครับ พูดถึงตรงนี้ จึงขอให้เขาเล่าขยายความให้ฟัง ประยูรเล่าเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนเหนือ เลิกกับภรรยาเก่าและมีภรรยาใหม่ แต่ยังต้องมีภาระส่งเสียทั้งสองทาง รายได้หลักมาจากเขาทั้งหมด การจ่ายเงิน รวมกับค่าเที่ยว ยิ่งทำเที่ยวได้มาก ยิ่งจะพอได้ใช้จ่ายไปเดือนๆหนึ่ง
ประยูรยืนยันว่าตนได้ตรวจสอบรถก่อนออกเดินทาง และพบว่าทุกอย่ากปกติ และหลังจากเติมน้ำมัน เดินรอบรถอีกครั้ง ไฟตาก็ปกติ
การตรวจจุดเกิดเหตุ ไม่พบร่องรอยการเบรก ด้านขวาเป็นเลนสวน ประยูรอ้างว่าขรธเกิดเหตุมีรถวิ่งสวนมาตนจึงไม่หักหลบไปเลนขวา ส่วนเลนซ้ายเป็นไหล่ทางมีเสาไฟส่องทาง ซึ่งพบว่าชำรุดอยู่ก่อนแล้วทั้งหมด ประยูรบอกว่าหักหลบซ้ายก็ชนเสา เขาจึงขับคร่อมไป (ด้วยความเร็วประมาณ 70 กม./ชม.)
หลังจากคุยกับประยูรเสร็จ ก็พูดคุยกับหัวหน้ากะชื่อวิเชียร คนนี้เป็นคนเก่าคนแก่ ท่าทางนักเลง และดูจะมีทัศนะคติเป็นลบกับทีมเซฟตี้ ด้วยเหตุที่เข้ามาตรวจและเตือนสาระพัดอย่างว่าต้องปรับปรุง และที่แย่ที่สุด ผู้จัดการของเขาเพิ่งถูกปลดไปเทื่อสองเดือนก่อนด้วยเรื่องความปลอดภัย
วิเชียรไม่ค่อยอยากจะพูดอะไรมาก ถามคำตอบคำ ด้วยความที่ช่ำชองในการถูกสอบสวน เขาหอบเอารายงานการซ่อมบำรุงรถ การเปลี่ยนอะไหล่ และเอกสารเกี่ยวกับการฝึกอบรม การจัดตารางเดินรถ ตารางการพักผ่อน มาให้ดู เราได้ตรวจสอบรถพบว่าไม่มีร่องรอยการเฉี่ยวชนใดๆ มีรอยครูดใต้ท้องรถเท่านั้นที่เห็นชัดเจน ส่วนไฟตา ใช้ได้เพียงข้างซ้ายข้างเดียว ตรงนี้ขัดกับที่ประยูรเล่าให้ฟัง
เมื่อตรวจบันทึกการบำรุงรักษา สิ่งที่ผิดปกติมากๆก็คือรถคันนี้เปลี่ยนไฟตาไแล้วถึง สี่ครั้งในช่วงเวลาเพียงสัปดาห์เดียว
ต่อมาการสัมภาษณ์หัวหน้าแผนกซ่อมบำรุง เขาเองมีบุคคลิคคล้ายๆวิเชียร เขาโวยวายว่าสั่ง๙ื้อไฟตายี่ห้อหนึ่งแต่จัดซื้อที่นี่จะไปซื้ออีกยี่ห้อหนึ่งซึ่งเป็นของเทียมอย่างแท้
ตรวจสอบเวลาที่ประยูรนำรถเข้าจากป้อมยามของคลัง พบว่าประมาณเที่ยงคืนสิบห้านาที ส่วนเวลาขณะเกิดเหตุประมาณเที่ยงคืนหกนาที ประยูรกลับออกไปราวๆเกือบเที่ยงคืนครึ่ง และเวลาประมาณเกือบตีสองมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาที่คลังแจ้งว่ารถบรรทุกเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ
ถึงตรงนี้ รู้หรือยังว่า เขาคนนั้นตายอยู่ก่อนหรือถูกเหยียบตาย รู้ได้อย่างไร
เรื่องราวยังไม่จบ ถ้าไม่สอบสวนดีๆ ก็คงจะสรุปเอาแค่ว่า ขับรถด้วยความประมาท ส่งไปอบรมให้ไม่ประมาท จบ
วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ฮ๊า !!! อ่ะ จิงดี๊???
บางโรงงาน ไม่มีอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลาหลายสิบปี แบบว่าถ้าเห็นสถิติอุบัติเหตุแล้วจะอ้าปากค้าง อุทานเบาๆว่า ฮ๊า..อ่ะ จิงดิ๊ ..
อย่างโรงนี้
อ่ะ โรงนี้มั่ง นี่เป็นกระติกต้มน้ำร้อน ที่ผมไปเจอเข้า เลยถามหัวหน้ากะว่า เฮ่ย!! ทำไมมันเป็นแบบนี้ล่ะ ที่กดก็พัง ยกขึ้นมาตูดกระติกกับตัวกระติกหลุดออกจากกัน สายไฟห้อยรุ่งริ่ง ไอ้โรงนี้ก็เหมือนกัน นานๆทีจะมีอุบัติเหตุรายงานเข้ามา ส่วนใหญ่ก็ประเภทต้องเย็บ ต้องหามแล้ว
สมมติ บริษัทหนึ่ง มีสถิติว่าทั้งปี
มีคนตาย 2 ราย บาดเจ็บสาหัส 12 ราย รวมแล้ว อุบัติเหตุรุนแรง = 2+12 = 14 ราย
แต่ทั้งปีมีรายงาน อุบัติเหตุปฐมพยาบาล 4 ราย บาดเจ็บที่พบหมอแล้วกลับบ้าน 5 ราย แค่เนี็ย รวมๆแล้ว = 9 ราย
ลองคำนวณ ค่าความโปร่งใสในการรายงานเหตุที่ไม่รุนแรง หรือ
Transparency Rate of Minor Accident = 0.03448 X 9 / 12
= 0.02586 แปลว่า บริษัทนี้ โคตรโม้
ถ้าตัวชี้วัดคำนวณออกมาได้ มากกว่าหรือ เท่ากับ 1 แสดงว่า บริษัทนี้ แหม ผู้บริหาร ผู้จัดการ พนักงาน พากันร่วมอกร่วมใจรายงานอุบัติเหตุแม้จะไม่รุนแรงโดยไม่ปิดๆบังๆมุบๆมิบๆ
ทีนี้ ลองมาดูว่า ถ้าจะคำนวณหาความโปร่งใสในการรายงานเนียร์มิส (Nearmiss Transparency Rate) ก็คำนวณแบบนี้ครับ
Nearmiss reporting Transparency rate =
0.09667 x Nearmiss case / Minor accident case
สมมติว่าบริษัทเดิมนั่นแหละ รณรงค์กันทั้งปี มีรายงาน เนียร์มิสมา 25 ราย ลองคำนวณดู เพื่อจะดูว่าโม้รึเปล่า
ความโปร่งใสในการรายงานเนียร์มิส = 0.09667 X 25 / 9 = 0.268
โอ้โฮ... แสดงว่าสถิติอุบัติเหตุที่รายงานมา โม้ชัดๆ บางคนยังสงสัย ตัวเลข 0.09667 ได้มาจากไหน ก็ได้มาจาก 29/300 ไง
ถ้าจะคำนวณหาความโปร่งใสในการรายงานสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย หรือการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ก็ใช้ค่าถ่วงน้ำหนัก 300/3000 = 0.1
ยกตัวอย่างบริษัทเดิม เมื่อตะกี้รายงานเนียร์มิสมา 25 รายทั้งปี
รายงานสภาพการณ์อันตรายมา 11 ราย ทั้งปีเนี่ยนะ จริงดิ๊
Unsafe Behavior or situation reporting transparency rate =
0.1 x 11/ 25 = 0.044
สมมติว่าบริษัทเดิมนั่นแหละ รณรงค์กันทั้งปี มีรายงาน เนียร์มิสมา 25 ราย ลองคำนวณดู เพื่อจะดูว่าโม้รึเปล่า
ความโปร่งใสในการรายงานเนียร์มิส = 0.09667 X 25 / 9 = 0.268
โอ้โฮ... แสดงว่าสถิติอุบัติเหตุที่รายงานมา โม้ชัดๆ บางคนยังสงสัย ตัวเลข 0.09667 ได้มาจากไหน ก็ได้มาจาก 29/300 ไง
ถ้าจะคำนวณหาความโปร่งใสในการรายงานสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย หรือการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ก็ใช้ค่าถ่วงน้ำหนัก 300/3000 = 0.1
ยกตัวอย่างบริษัทเดิม เมื่อตะกี้รายงานเนียร์มิสมา 25 รายทั้งปี
รายงานสภาพการณ์อันตรายมา 11 ราย ทั้งปีเนี่ยนะ จริงดิ๊
Unsafe Behavior or situation reporting transparency rate =
0.1 x 11/ 25 = 0.044
ถ้าเป็นแบบนี้ บอกได้เลยว่า ไอ้ที่ไม่มีอุบัติเหตุมาต่อเนื่อง ต้องเล่นของชัวร์
ของเขาแรง
วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ประเภทของพยาน -Types of witness
การสอบสวนอุบัติเหตุ พยานประเภทแรกที่เราต้องเจอ คือผู้ที่ร่วมในเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นคนบาดเจ็บ คนทำให้บาดเจ็บ บางทีมีหลายคน แบบว่าช่วยๆกันทำ พยานแบบนี้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเหตุการณ์ บางคนก็พูดไม่ได้ อย่างไอ้หนุ่มที่ไปนอนใต้ท้องรถของประยูร บางคนก็ไม่อยากพูด อย่างประยูร เพราะกลัวถูกลงโทษ กลัวติดคุกติดตะราง บางคนก็อยากพูด แต่เบี่ยงเบนไปเรื่องอื่น พยานกลุ่มนี้เรียกว่า Principal Witness
จากคำให้การของประยูร มีอะไรบ้างที่ท่านสามรถจับและจดประเด็นได้ เวลาจดคำให้การ ให้จดไปตามที่เขาพูด จดแจกประเด็นเป็นข้อๆ จดไปอย่าเรียบเรียงประโยคเอง แล้วอย่ามัวไปนั่งวิเคราะห์สาเหตุ ยังก่อน อย่าใจร้อนไอ้น้อง
การสัมภาษณ์พยานก็เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนกัน
พยานกลุ่มที่สอง คือ Eye witness พวกนี้ไม่ได้ร่วมทำอะไรกับเขา แต่ได้เห็นเหตุการณ์ เห็นนะ ไม่ใช่ เห็นเขาว่ามา แบบนั้นเรียกไทยมุง คือไม่มีใครเห็น พวกไทยมุงก็จะถามกันไปมาว่า มีอะไรกันนะ สรุปก็คือ ไม่มีใครรู้ ต่างจาก Eye witness พวกนี้เห็นจะๆ เห็นเขาทำ อย่างนั้นอย่างนี้ บางคนเห็นนานมาก จนเกิดอาการเสียวสยิวสยองกับเขาไปด้วย (อย่าคิดลึก อย่างเห็นคนกำลังถูกเครื่องตัดนิ้วหลุด ถึงกับครางซี๊ดออกมาด้วยความเสียว)
พยานกลุ่มที่สามคือ พวก Emergency team พวกนี้มาถึงที่เกิดเหตุ ใกล้กับเวลาเกิดเหตุ จะได้เห็นว่าตอนนั้นรถอยู่ตรงไหน ศพอยู่ตรงไหน นอนหงาย นอนคว่ำ ไฟมอดรึยัง ช่วยเหลือกันยังไง พวกนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตอบสนองเหตุฉุกเฉินได้ดี
พยานอีกกลุ่ม คือพยานประเภทที่ทำงานคล้ายๆกัน พวกที่เป็นหัวหน้า พวกที่เป็นคนจ่ายงาน พวกที่จัดการประชุม พวกตรวจสองเครื่องมืออุปกรณ์ พวกนี้ เราเรียกรวมๆว่า Organizational witness
อ่ะ มาลุ้นกันต่อกับคำถามเหล่านี้ ใครตอบถูก แจกตั๋วเครื่องบินไปกลับ ยะลา ปัตตานี
ก. คนที่นอนใต้ท้องรถ ตายก่อนเข้าไปนอน หรือถูกประยูรเหยียบตาย เราจะรู้ได้ยังไง
ข. เวลาเกิดเหตุที่ตรงเป๊ะที่สุด หาได้จากที่ไหน
ค. ชายคนนั้นเขาคือใคร เหตุใดจึงมาอยู่ใต้ท้องรถ
ง.ประยูรบอกว่าขับมาช้าๆ จริงหรือ
จ.ทำไมประยูรเห็นแค่เงาตะคุ่มๆ
เห็นมั๊ย ชักมันส์แล้วใช่มั๊ย สนใจหลักสูตรนี้ ติดต่อนี่เลย http://funnysafetytraining.blogspot.com
วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558
รักจางที่บางปะกง- คำบอกเล่าของประยูร
วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
บอกแล้วว่าอย่าตก ไอ้ตูดเอ๊ย
สมัยทำงานเป็น Regional HSE Leader Asia Pacific- แหม ชื่อตำแหน่ง ฟังดู บะเฮิ่มเทิ่มดี ดูแลโรงงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ครอบคลุมประเทศ ไทย เวียดนาม เกาหลีใต้ อินโดนีเซียและจีน รวมๆแล้ว 15 โรงงาน แต่ละโรงงาน มีสภาพไม่แตกต่างกัน ถ้าจะจัดลำดับความเพียบพร้อมของระบบการบริหารจัดการ ก็ไล่ไป ตั้งแต่ ทุเรศทุรัง...ห่วยแตก...พอเอาได้...ไม่ขี้เหร่...เท่ห์ขั้นเทพ
โรงงานที่อินโดนีเซียจัดอยู่ในขั้น ทุเรศทุรัง น่าสมเภทเวทนา
วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558
โรคไอคร่อกแคร่กของแขกโพกผ้า
สองสามวันมานี่มีข่าวสะเทือนขวัญแฟนๆวงบอยแบนแดนกิมจิ
และบรรดาพี่ป้าน้าอาที่ติดซีรี่ส์เกาหลีอย่างเอาเป็นเอาตาย
เป็นห่วงว่าพวกเขาจะได้รับอันตรายจากการแพร่ระบาดของโรคชื่อแปลกๆ ที่เรียกว่า
เมอร์ส
MERS-
ย่อมาจากคำว่า
Middle East
Respiratory Syndrome
เชื้อไวรัสโคโรน่า ติดต่อได้จากการสัมผัสโดยตรงกับผู้ติดเชื้อ เช่นสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย เสลด สารคัดหลั่ง จูบจ๊วบจ๊าบกัยผู้ติดเชื้อ แบบนี้ติดชัวร์ บางคนอาจจะสงสัยว่า ถ้าเกิดผู้ติดเชื้อ ไอ โคร่กๆ เราอยู่ใกล้ๆจะติดไหม คำตอบคือ ติด เพราะเวลาไอจามแต่ละที ละอองที่กระเด็นกระดอนออกมาจากปากของผู้ป่วยก็จะลอยไปในอากาศ เราสูดเข้าไป มันก็ย่อมติดกันได้ง่าย แต่นั่นต้องใกล้มากเลยทีเดียว ตอนนี้ยังไม่ยืนยันว่าเชื้อแพร่ได้นานๆในอากาศมากน้อยแค่ไหน รอแป๊บ แพร่ได้เมื่อไหร่แล้วจะมาบอก
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ก็บอกไปแล้วว่า
โรคนี้เกิดขึ้นและแพร่ระบาดแถวๆตะวันออกกลาง
คนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อก็คือคนที่เดินทางไปตะวันออกกลาง
อ้าว ยังงี้น้องซองจีฮอน น้องยอนจังฮู น้องรูยังป๊าค
จะติดได้ยังงัย
ประเทศไหนบ้างที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด
วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
หมอบ มุด หยุดแป๊บ
แผ่นดินไหวที่เนปาล ยังสั่นสะเทือนความรู้สึกคนทั่วโลกไม่หยุด เห็นคนเจ็บ คนตาย ซากปรักหักพังแล้วน้ำตาจะไหล เปิดหาข้อมูลในเว็ปของ OSHA https://www.osha.gov/dts/earthquakes/preparedness.html
ไล่ดูไปเจอเทคนิคการเอาตัวรอดยามเกิดแผ่นดินไหว DROP! COVER! HOLD ON! พออ่านไปได้สองบรรทัดแรก ป๊าด!! นี่มันเทคนิคเดียวกันกับที่พวกกลัวเมียในเมืองไทยชำนิชำนาญที่สุดเลยนี่หว่า เทคนิค หมอบ มุด หยุดแป๊บ
http://www.dropcoverholdon.org/ประมาณว่า กำลัง อะจิอะจึ๋ย เข้าด้ายเข้าเข็ม มีคนตะโกนบอก เฮ้ย เมียมึงมา... พร้อมๆกับเสียงครืนๆ พื้นลั่นเอี๊ยดอ๊าดตามจังหวะการก้าวเดินของนางยักษ์น้อย สิ่งแรกที่ต้องทำคือ หมอบ ใช่แล้ว หาที่หมอบ ตามสถิติพบว่า คนที่ได้รับบาดเจ็บจากแผ่นดินไหวน้อยที่สุดคือพวกที่ควบคุมสติได้ ไม่วิ่งเพล่นพล่านไปมา ยิ่งเคลื่อนไหวน้อยที่สุดเท่าไหร่ ยิ่งปลอดภัยเท่านั้น เพราะฉะนั้น หาที่หมอบก่อนเลย ก่อนจะหมอบ ดูตาม้าตาเรือด้วย ไม่ใช่ไปหมอบข้างชั้นหนังสือ ตู้กับข้าว ตู้เย็น ชั้นวางทีวี พวกนี้มันสามารถหล่นล้มลงมาได้ นั่นแหละ ใต้เตียง เหมาะมาก หมอบแล้ว ขั้นต่อมาคือ มุด น่านแหละมุดเข้าไป หาที่กำบัง เวลาแผ่นดินไหว ข้าวของ แผ่นฝ้าเพดาน อะไรต่อมิอะไรร่วงหล่นลงมา เฟอร์นิเจอร์ที่แข็งแรงอย่างพวกโต๊ะ จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะได้ ถ้าไม่เชื่อว่าพวกที่ตายๆในแผ่นดินไหว ครึ่งค่อน ตายเพราะการถูกของหล่นกระแทกใส่ สลบไปไหนต่อไม่ได้ ลองเล่นผีถ้วยแก้ว เรียกมาถามดู อ่ะ มุดเสร็จ รอหยุดแป็บ คอยฟังเสียง นางยักษ์น้อยไปรึยัง อย่าเพิ่งออกไปสุ่มสี่สุ่มห้าอาจจะถึงฆาตได้ แผ่นดินไหวก็เหมือนกัน รอให้มันหยุดก่อน แล้วค่อยออกไป
ทีนี้เอาไปฝึกกันนะ หมอบ มุด หยุดรอแป๊บ รับรอง รอด เอ้อ... ลืมบอกไปอย่าง ข้อแตกต่างระหว่างแผ่นดินไหวกับหลบเมียเนี่ย คือ ก่อนหมอบ มุด อย่าลืม เก็บกางกุ้งกางเกงที่ถอดไว้ข้างเตียงเข้าไปด้วย เดี๋ยวจะกลายเป็นศพชีเปลือยใต้เตียงซะก่อน เหอๆๆๆ
วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558
Noise Reduction Rate
ห.อูหู ห.อีอี๋
นี่เป็นบทความแรกที่ยอมลงทุนเป็นนายแบบเอง
ดูจากด้านข้าง เฉพาะตรงใบหู เรานี่ก็หล่อไม่เบาเลยนี่หว่า ส่วนเอียร์ปลั๊กดำๆนั่น
ก็ของเรา พกจนดำ
เพื่อนร่วมงานเก่า
และค่อนข้างแก่ โทรมาถามข้อสอบ จอปอเทคนิค ว่าวิธีคำนวณหาค่าความดังของเสียงหลังจากที่สวมใส่อุปกรณ์ลดเสียงแล้ว
ทำยังไง... แถมเล่าต่อว่าพวกที่ไปเรียนจอปอ ตกวิชานี้กันระนาว..
ฉบับนี้
ก็เลยจะมาสาธยายวิชาการป้องกันการสูญเสียการได้ยินแบ่งปันความรู้กันฟัง
ก่อนอื่น
ถามพวก จอปอก่อนเลย คำถามแรก เวลาที่คุณวัดเสียงที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
เช่นเสียงจากเครื่องจักร
คุณวัดด้วยเครื่องวัดที่บอกค่าความดังของเสียงเป็นสเกลอะไร สเกล เอ (dB(A))
หรือสเกล ซี dB (C).. บางคนทำหน้าหมาสงสัย
เคยเห็นหมาทำหน้าสงสัยมั๊ย น่านแหละ แบบนั้นแหละ ที่กำลังทำนั่นแหละ ไม่เชื่อลองส่องกระจกดู
ถามต่อ
ก่อนคุณจะซื้อปลั๊กอุดหู หรือซื้อที่ครอบหูมาให้พนักงานใช้
คุณใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือก บางคนบอก เลือกจากเซลล์ที่มาขายพีพีอีครับ
ถ้าขาวสวยหมวยอึ๋ม ผมไม่ซื้อครับ เพราะผมชอบกระเทย
บางคนบอกก็ดูจากระดับเสียงที่ได้จากการตรวจวัดครับ อือแล้วไง ฟังดูเข้าที
ถ้าเสียงดังเกินหรือใกล้เคียงมาตรฐานที่กฎหมา-กำหนดก็หามาตรการลดเสียงครับ
พูดถึงตรงนี้ จอปอทำหน้าหมาเศร้า...น้ำตาคลอ ...
เรื่องจะลดเสียงด้วยวิธีทางวิศวกรรม ฝันไปเถอะครับ
บริษัทผมให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยครับ แต่ไม่มีงบ...ว่าแล้วก็ปล่อยโฮออกมาอย่างสุดจะกลั้น...แล้วสาธยายต่อพร้อมสะอื้นฮักๆ
ผมก็เลยต้องซื้อเอียร์ปลั๊กให้พนักงานใส่ครับ... น่ะ กูว่าแล้วเชียว
แล้วอีตอนจะซื้อเอียร์ปลั๊กเนี่ย เคยลองคำนวณดูมั๊ยว่า
เอียร์ปลั๊กรุ่นที่เซลล์กระเทยมาเสนอนั้น สามารถลดเสียงลงได้จนอยู่ในระดับปลอดภัย
หรือที่ผรั่งเรียกว่า Protected Exposure สุดท้ายเหลือเท่าไหร่
เอองั้นถามต่ออีกหน่อย
ว่าเวลาจะแจกเอียร์ปลั๊กให้คนงานใส่ เคยอธิบายเค้ามั๊ยว่าต้องใส่ยังไง
ทำไมต้องใส่ให้ถูก ถ้าใส่ไม่ถูกจะเป็นยังไง เสียงที่ลดได้จะเหลือเท่าไร พอๆ
ไม่ต้องตอบแล้ว...
ข้างๆกล่องเอียร์ปลั๊กหรือเอียร์มัฟ
จะมีเลเบลติดไว้ เคยอ่านมั๊ย.. ทำหน้าเหมือนหมาเคยอ่านซิ น่านแหละ..
เห็นมั๊ย
มีคำว่า Noise
Reduction Rate มีตัวเลขอยู่
บางยี่ห้อก็ 14,
19, ยี่ห้อนี้ 25 หน่วยเป็น เดซิเบล มีวงเล็บบอกว่า
(ถ้าใส่อย่างที่บอก)
คราวนี้มาดูกันว่า
ไอ้คำว่า Noise
Reduction Rate หรือ
NRR เนี่ยมันหมายความว่าอย่างไร เอานะ หายใจลึกๆ
จะพูดเรื่องที่มีประโยชน์แล้วนะ
ค่า
NRR เป็นตัวเลขตัวหนึ่ง ที่บอกให้รู้ว่า
อุปกรณ์ลดเสียงนั้นสามารถลดเสียงได้เท่าไหร่ ตัวเลขนี้ได้มาจากการทดสอบในห้องทดลอง
อย่าเพิ่งรู้เลยว่าเค้าทดสอบยังไง มีกี่วิธี เอาเป็นว่ามีหลายวิธี
และมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะ ใครสนใจไปหาอ่านเอาจากลิงค์นี้ http://www.cdc.gov/niosh/z-draft-under-review-do-not-cite/hpdcompdev/pdfs/NIOSH_Compendium_Calculation.pdf
แปลง่ายๆ
หยิบเอียร์ปลั๊กมาอันหนึ่ง เห็นตัวเลข NRR = 25 dBs แปลว่า มันจะลดเสียงได้ 25 dBs จบป่ะ
ทีนี้ก็มาดูต่อว่า
ถ้าระดับเสียงที่วัดได้ในที่ทำงาน สมมติว่า เท่ากับ 95 dB(A) ถ้าใส่เอียร์ปลั๊กอันนี้เข้าไป
จะเหลือเสียงที่ทะลุเข้าไปในห.อูหู เท่าไหร่ ม่ะ มาดูสูตรคำนวณกัน
ถ้าวัดด้วยสเกล
เอ ให้ใช้สูตรคำนวณ
ระดับเสียงที่เหลืออยู่ = (ระดับเสียงที่ไม่ได้ใส่อะไร) – (NRR-7)
ม่ะแทนค่าสูตรกัน
ระดับเสียงที่เหลืออยู่
= 95 –
(25-7) = 95-18 = 77 dB
ถ้าวัดด้วยสเกล
ซี ให้ใช้สูตรคำนวณ
ระดับเสียงที่เหลืออยู่ = (ระดับเสียงที่ไม่ได้ใส่อะไร) – (NRR)
ม่ะแทนค่าสูตรกัน
ระดับเสียงที่เหลืออยู่
= 95 – (25) =
70 dB
อธิบายมาถึงตรงนี้
พวกขี้สงสัยชักเริ่มมีคำถาม อยากรู้ว่า สเกลเอ กับสเกล ซี ต่างกันยังไง เอาแบบนี้นะไอ้น้อง
มึงกลับไปลงเรียนวิชา Industrial Hygiene อีกรอบไป ขี้เกียจอธิบาย มันยาว
เอาสูตรไปใช้ทำข้อสอบก่อน
ทีนี้จะอธิบายต่อว่า
NIOSH ยังแนะนำต่อว่า ในโลกแห่งชีวิตบัดซบ
เวลาแจกเอีย์รมัฟ เอียร์ปลั๊กแต่ละแบบ แต่ละรุ่นให้คนงานไปใช้เนี่ย ค่า NRR ควรจะต้องถูกปรับลดลงไป เช่น
เอีร์ยมัฟ
ต้องเอาค่า NRR คูณด้วย 75% จะได้ค่า NRR ที่มันทำได้ในโลกแห่งความเป็นจริง
เช่น ถ้าตอนซื้อมา ข้างกล่องมันบอกว่า NRR = 45 คูณด้วย 75% ก็คือ = 33.75
ถ้าเอียร์ปลั๊กแบบโฟม
ที่ก่อนใส่ต้องบี้ๆๆๆๆแล้วมันไปพองในรูหู (Slow recovery foam) แบบนี้ ให้เอา 50% คูณ
ถ้าข้างกล่องบอกว่ารุ่นนี้ ลดได้ NRR = 25 คูณด้วย 0.50 = 12.5 แปลว่า NRR จะเหลือแค่ 12.5
ถ้าเป็นเอียร์ปลั๊กแบบในรูป
ให้เอา 30% คูณกับ NRR ก็จะเหลือแค่ 25x 0.30 = 7.5
ถ้าใช้วิธีของ
NIOSH เอาค่า NRR ที่ปรับลดค่าลงตามโลกแห่งชีวิตจริงไปใส่สูตรข้างบน ก็จะเห็นว่า โอ้วแม่เจ้า ถ้าวัดด้วย สเกลเอ
ใส่เอียร์ปลั๊กเข้าไปในที่เสียงดัง 95 dB(A) เอียร์ปลั๊กที่อีกระเทยขายให้ จะลดเสียงลงเหลือเพียงแค่ = 95 – (12.5-7) = 75.5
ทีนี้ลองคิดดู ถ้าคนงานเจียร์ชิ้นงาน เสียงดังปานฟ้าผ่า
วัดออกมาได้ 140
dB(A) ใส่เอียร์ปลั๊กอีกระเทยนั่นเข้าไป
เสียงที่เขาได้ยิน จะ = 140- (12.5-7) = 120.5 dB(A) เกินมาตรฐานมั๊ยหละ เกิ้น....
สรุปก็คือ
อย่าเชื่อกระเทย อย่าเฉยเมยต่อรายละเอียด อย่าขี้เกียจคำนวณ อย่าชวนทะเลาะ
จบดีกว่า
วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558
สมัยเด็กๆ อยู่บ้านนอกที่สุพรรณ
สมัยเจ้าคุณตาเจ้าคุณยายส่งไปดูงานที่บ้านนอก
เวลามีงานบวช งานแต่ง งานตาย งานขึ้นบ้านใหม่
โกนจุก ทุกงานแถวๆนั้น ต้องมีขนมชั้นสีฉูดฉาดเป็นของหวาน คู่กับขนมหม้อแกง
ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และขนมเม็ดขนุน อย่างหลังนี่เป็นของโปรดผมเลย เพื่อนฝูงญาติมิตรที่จะทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้
ในโอกาสหน้า อย่าลืม ขนมเม็ดขนุน แต่ขนมชั้นไม่เอา มันใส่สี
สมัยนั้นเป็นสีย้อมผ้าตรารถไฟ แม่เจ้าประคุณรุนช่อง สีชมพู สีเขียว สีแดง แป๊ด
คนที่เขาทำขนมแต่ละคน พอสีติดมือ กว่าจะล้างออก ก็หลายอาทิตย์ สมัยนั้นมันไม่รู้
เราก็กินกันเข้าไป ตอนนี้ กูรู จะมาบอกเรื่องราวที่เกี่ยวกับสารเคมี
จะได้กลายเป็นกูรู้ และระมัดระวังตัวกันมากขึ้น
ประวัติศาสตร์เซฟตี้
Abraham Maslow พูดถึงเซฟตี้ไว้เมื่อปี 1943 ว่าลำดับขั้นของความต้องการของคนนั้นมีอยู่เป็นลำดับๆ เริ่มตั้งแต่ความต้องการพื้นฐาน อย่างอาหาร อา...
-
โบ๊ะ ดึ่ง โบ๊ะ ดึ่ง ดึ่ง โบ๊ะ ดึ่ง โบ๊ะ ดึ่ง โบ๊ะ ดึ่ง ดึ่ง เปรี้ยงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ว๊าย พี่ ๆๆๆ เป็นอะไร เสียงหวีดร้องอย่างตกใจ ...
-
ผู้บริหารบางคน อาจจะคิดว่า พวกเซฟตี้ นี่มันเงินเดือนแพง ก็แหงละ งานที่พวกเซฟตี้ทำ มันโคตรยาก ขอบอก ทำให้คนไม่ขึ้นไปทำงานบนที่สูง โดยไม่...