ผู้บริหารบางคน อาจจะคิดว่า พวกเซฟตี้ นี่มันเงินเดือนแพง ก็แหงละ งานที่พวกเซฟตี้ทำ มันโคตรยาก ขอบอก
ทำให้คนไม่ขึ้นไปทำงานบนที่สูง โดยไม่จำเป็น ถือเป็นเรื่องยากในลำดับที่หนึ่ง
ทำให้เขาเชื่อว่า การขึ้นไปทำงานบนที่สูงนั้นมีความเสี่ยงต่อการตกจากที่สูง เป็นความท้าทายในลำดับที่สอง
ทำให้เขาเชื่อว่าการตกจากที่สูงแล้วจะนำมาซึ่งการบาดเจ็บที่รุนแรง อาจพิการ แขนขาหัก หรือถึงตาย ถือเป็นความยากในลำดับที่สาม
ทำให้เขาใส่อุปกรณ์ป้องกันตกแล้วกระแทกพื้น ถือเป็นความยากอันดับที่สี่
ทำให้เขาใส่อุปกรณ์แล้วคล้องเกี่ยวกับจุดรับน้ำหนักตลอดเวลาถือเป็นความยากอันดับที่ห้า
บริษัททั้งหลาย ที่มีนโยบายความปลอดภัย
เขียนเป็นท่วงทำนองที่ว่า
เราจะถือว่าเรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญสูงที่สุด อะไรทำนองนี้
ต้องถือว่ากล้าหาญชาญชัยมาก ผู้บริหารที่เขียนและเซ็นลงนามในนโยบายนั้นสมควรได้รับการยกย่อง
ช่างกล้ามาก เพราะเขียนแบบนี้ พอเอาเข้าจริง ไอ้คนที่อยู่รองๆลงมา
มันไม่เอาไปปฏิบัติหรอก อย่างในรูป ถามว่าที่กำลังทำอยู่นั้นปลอดภัยหรือไม่
คำตอบที่ได้ก็จะมีหลากหลายมาก ถ้าไปถามผู้จัดการที่เป็นคนสั่งให้ไอ้กร๊วกนี่ขึ้นไป
เขาก็คงจะตอบว่า โฮ่ย แค่นี้ ไม่ตายหรอก หรือไม่ก็ โฮ่ย ขึ้นไปแป๊บเดียว หรือไม่ก็
เสียเวลาตายห่า มัวแต่ไปหาบันดงบันได ไม่ต้องทำมาหาแดกกันแล้ว ครับ นั่นแหละ
เพราะเซฟตี้ไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุดของเขา
แม้มันจะเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของซีอีโอของบริษัทก็ตาม เรื่องของมึง
จะว่าไป ที่ผู้จัดการคนนี้ตอบก็ไม่ใช่เรื่องแปลก
เพราะว่า สถานที่แห่งนี้ ไม่มีอุปกรณ์ ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก จะไปหาบันได
หรือแพลทฟอร์มที่มีบันได มีราวกันตก มีล้อเข็นไปมาได้ มันก็ไม่มี
ของบประมาณไปก็ถูกตัดเหี้ยน เพราะฉะนั้น
ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงมันต้องต่อยอดจากนโยบายที่ว่านั่น
แล้วลงมือตรวจสอบดูว่า มีงานตรงไหน แบบไหน ที่คนต้องทำงานบนที่สูง
แล้วจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งป้องกัน เช่น ทำทางขึ้นทางลง มีราวกันตก
มีแท่นยืนทำงาน ที่ปลอดภัย
เพราะการมีสิ่งเหล่านี้จะทำให้การต้องทำงานบนที่สูงมีความปลอดภัยมากที่สุด
คนส่วนใหญ่ มักจะโต้แย้งว่า ขึ้นไปทำแป็บเดียว ไม่เสี่ยงหรอก ไม่ตกหรอก เรื่องนี้ต้องอธิบายกันยาวครับ
สิ่งแรกที่ต้องทำให้เข้าใจก็คือ ที่ว่าแป็บเดียว ไม่ตกหรอก นั้นไม่จริง ความจริงก็คือ การตกจากที่สูง ใช้เวลาเพียงแค่เสี้ยววินาที ที่เขาจะตกถึงพื้น
ตามหลักฟิสิกส์ มีสูตรคำนวณหาความเร็วในการที่นายคนนี้จะตกถึงพื้น เป็นเท่าไหร่ คือ
V = (V02+2gs)1/2 หรือ V = √ (V02+2gs)
V = ความเร็วตอนที่นายคนนี้ตกกระแทกพื้น
V0 = ความเร็วเริ่มต้นก่อนที่เขาจะตกลงมา ซึ่งมีค่า เท่ากับ 0
g = ความเร่งอันเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก มีค่า = 32.2 ฟุต/วินาที2
s = ระยะทางที่เขาร่วงลงมาถึงพื้น
แทนค่าสูตร เอาเป็นว่า ตู้นี้สูง 9 ฟุต กว้าง 9 ฟุต ยาวหรือลึก 20 ฟุต วางอยู่บนหางพ่วง สูงประมาณ 5 ฟุต เพราะฉะนั้น ระยะที่เขาจะตกถึงพื้นก็เท่ากับ 9+5 =14 ฟุต
V= √0 +2(32.2)(14)
V = 30.01 ฟุต/วินาที
นั่นหมายความว่า แค่กระพริบตา นายคนนี้ก็ตกถึงพื้นแล้ว จะจับจะฉวยอะไรไม่ทันหรอก
แล้วถ้าตกกระแทกพื้น ทำให้ปูนตรงนั้นยุบไป ¼ นิ้ว ลองคำนวณดูซิว่า นายคนนี้กระแทกพื้นด้วยแรงเท่าไหร่ ตามสูตรคำนวณ
F1 = Wa / g = WG
F1 = แรงที่นายคนนี้จะกระแทกกับพื้น
W = น้ำหนักตัวของนายคนนี้ เอาเป็นว่าประมาณ 190 ปอนด์
G = ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก เท่ากับ 32.2 ฟุต/วินาที2
a = ความหน่วง หน่วยเป็น ฟุต/วินาที2
G = แรงที่เรียกว่า G-Force
ก่อนอื่น เราต้องรู้ค่า ความหน่วงหลังจากกระแทกพื้นเสียก่อน อย่างที่บอก เขาตกกระแทกพื้น ปูนยุบไป ¼ นิ้ว เอาไปแทนค่าในสูตร
a = V2/2d
a = ความหน่วง หน่วยเป็น ฟุต/วินาที2
V = ความเร็วตอนที่นายคนนี้ตกกระแทกพื้น
d = ระยะทางที่เกิดความหน่วง ในที่นี้เราประมาณว่า ¼ นิ้วที่ปูนยุบไป
เพราะฉะนั้น
a = (30.1)2 / 2(1/4*1/12)
a = 21,744.24 ฟุต/วินาที2
เอาแทนค่าในสูตรคำนวณแรงกระแทก จะได้เท่ากับ
F1 = Wa/g = 190 * 21744.24 /32.2 = 128,304.5 ปอนด์
แรงกระแทกมหาศาลขนาดนี้ กระดูกกระเดี้ยวไม่หัก ไม่แตก ก็ไม่รู้จะว่ายังงัย อยากรู้ไหมว่าเขาจะตกถึงพื้นด้วยเวลากี่วินาที ลองคำนวณดูครับ
t = √ 2s/g
t = เวลาที่ใช่ในการร่อนลงกระแทกพื้น
s = ระยะทางที่เขาร่วงลงมาถึงพื้น มีค่า 14 ฟุต
g = ความเร่งอันเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก มีค่า = 32.2 ฟุต/วินาที2
แทนค่าดู
t = √ 2*14 /32.2
t = 0.9 วินาที
พอจะขยับปีกบินทันไหม
หาแรง G = a/g = 21744.24/32.2 = 675 แรงพอจะทำให้คอหักได้ไหม
นี่คือเหตุผลว่า คนที่ใส่ฮาร์นเนสขึ้นที่สูง แล้วไม่คล้องเกี่ยวอะไร ชอบอ้างว่าแป็บเดียวเอง ส่วนใหญ่ไปเฝ้ายมบาลด้วยเวลาเพียงแค่ไม่ถึงวินาที สูตรนี้เอาไปคำนวณดูเล่นๆก็ได้ สำหรับคนที่อยากโดดตึกตาย สมมติตึกสูงสิบชั้น ก็ประมาณ 100 ฟุต ลองแทนค่าดูว่าใช้เวลากี่วินาที คุณจะตกถึงพื้น นานพอจะส่งไลน์มั๊ย
ที่สาธยายมามากมาย ก็เพื่อให้เข้าใจว่า การทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย มันมีหลักที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่ดังต่อไปนี้
1. ถ้าไม่จำเป็น หรือหลีกเลี่ยงที่จะต้องทำงานบนที่สูงได้ ก็ให้หลีกเลี่ยง เช่นนำงานมาเตรียมข้างล่าง ประกอบเสร็จแล้วค่อยยกขึ้นไป เป็นต้น
2. ถ้าจำเป็นต้องขึ้นที่สูง ที่นั้นจะต้องมีสภาพที่เรียกว่า Safe Working Platform นั่นคือมีทางขึ้นทางลงที่ปลอดภัย กล่าวคือขึ้นลงได้อย่างปลอดภัย ไม่ใช่ปีนป่ายข้างๆนั่งร้าน แบบนั้นเขาไม่เรียกว่าการขึ้นลงอย่างปลอดภัย มีราวกันตก มีราวจับ เพื่อให้สามารถจับได้เวลาเดินขึ้นเดินลง ที่เรียกว่า Three Points of Contact และต้องปูพื้นเต็ม ไม่มีร่องมีรูที่จะตกลงไปได้ พูดแบบนี้ก็พอจะนึกออกว่า นั่งร้านแบบไหว้เจ้า หรือขอไปที ไม่เข้าข่ายที่ว่านี้เลย เพราะฉะนั้นได้โปรดอย่าทำ
3. ถ้าเมื่อไหร่ที่ต้องออกไปนอก Safe Working Platform และมีลักษณะการทำงานที่เสี่ยงต่อการตก จะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการตกที่เรียกว่า Fall Arresting Device เช่นฮาร์นเนส และที่สำคัญต้องคล้องเกี่ยวกับจุดยึดรับน้ำหนักที่ได้มาตรฐาน อุปกรณ์เหล่านี้ต้องได้รับการตรวจสอบ
4. คนที่ใช้อุปกรณ์เหล่านี้ต้องได้รับการฝึกอบรมให้เข้าใจวิธีใช้ที่ถูกต้องและปลอดภัย
สรุปง่ายๆ
คุณและลูกน้องของคุณ หรือผู้รับเหมาของคุณจะไม่ต้องทำในสิ่งที่ผมพูดเลยแม้แต่ข้อเดียว ถ้า “คุณบินได้”
ตามสบายเลย พ่อคุณพ่อทูนหัว พ่อยอดขมองอิ่ม เอาเลยคร๊าบ เต็มที่เลยคร๊าบ