ระเบิดกันแต่ละที บ้านซ่องห้องหอ เละตุ้มเปะ ชาวบ้านร้านช่องเดือดร้อนกันไปหมด ดีแต่ว่ามันแว่บเดียว เสียวกันทั้งหมู่บ้าน
ถ้าเป็นบ้านกูนะมึง ข่าวแบบนี้ ไม่มีหรอก ไอ้ที่ตายไปห้าศพนั่น ก็น่าจะเกิดจากความประมาท ก็กำแพงมันไม่แข็งแรง เข้าไปให้มันทับได้ยังไง รึไม่ก็ ลางร้าย รปภ.ฝันเห็นนางตานีเดินมายักคิ้วให้ก่อนจะสะดุ้งตื่น
กำลังจะบอกว่า กฏหมายด้านความปลอดภัย ที่เมืองนอกเขาเอาจริงเอาจัง คดีนี้ฟ้องกันมาหลายปี โดยผู้บริหารสองคนทำผิด พรบ.ความปลอดภัย 1974
บางคนที่ไปเรียน จป.บริหาร จป.หัวหน้างานมา เริ่มขมวดคิ้ว มีด้วยเรอะที่ผู้บริหารจะโดนโทษจำคุก ก็ต้องบอกว่า มีสิครับ มีอยู่ทั้ง ใน พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 และ พรบ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัย 2554 ในมาตรา 69
ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้น เกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของบุคคลใด หรือเกิดจากการไม่สั่งการ หรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ ที่ต้องกระทําของกรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
ในประเทศสารขันแบบไทยๆเนี่ย ไม่มีหรอก อย่างมาก ก็จะจับบรรดา หัวหน้างาน พวกโฟร์แมน รึไม่ก็กรรมกรที่อยู่ตรงนั้นแหละ รอมันออกจากโรงพยาบาล ยัดข้อหากระทำการโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย (แต่โชคดีมึงรอดมาได้ เลยต้องยัดคดีนี้ให้)
กฏหมายไทย มีโทษจำคุกนายจ้างที่ไม่ทำตามมาตรฐานมากมายที่เขียนไว้ในกฏกระทรวง ตามมาตรา 53 จำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ขอประทานโทษ ยังไม่เคยเห็นใครโดน อย่างมากก็จ่อเอาผิดนายจ้าง จ่ออยู่นั้น จ่อจนเสียวเยี่ยวแทบปริบ
อุบัติเหตุทำนองนี้ ถ้าไม่มีมุบมิบปรับกันใต้ร่มไม้ มันสามารถสาวไปจนถึงตอว่าใครหนอสั่งระงับการซ่อมบำรุง ใครหนอแอบงุบงิบเอางบเซฟตี้ไปปลูกบ้านให้เมียน้อย ใครกันว้อยที่สั่งปลดเซฟตี้คนก่อนข้อหาบังอาจเถียงผู้อำนวยการ
มันมีกฏกระทรวงปี 2553 กำหนดให้นายจ้างต้องมีระบบบริหารความปลอดภัย นัยว่าลอกเอา OSHMS 2001 มาทั้งดุ้น ในกฏกระทรวงนี้ ถ้าจะเอากันจริงๆ นายจ้างที่เห็นความปลอดภัยเป็นเรื่องไม่สำคัญ ส่อแววจะติดคุกกันระนาว อย่างน้อยๆ ก็ 1 ปี บรรดาผู้บริหารทั้งหลายเองก็มีสิทธิโดนด้วยตามมาตรา 69
เดชะบุญ เราได้เกิดร่วมแผ่นดินกับคนดีมีบุญ คนพวกนี้ ไม่กี่คนจึงมีอภิสิทธ์มากกว่าคนเป็นล้านๆคน กฏหมายมันก็เลยเป็นได้แค่กฏหมา คนยากคนจนคนกรรมกรก็ต้องผจญเวรผจญกรรมกันต่อไป จบบทความด้วยความช้ำใจ ขำไม่ออก เซฟตี้ฮาไม่ออก
เครดิต pptv online หนุ่มช่างซ่อม ร้องสื่อ เกิดอุบัติเหตุในโรงงาน ไร้คนเหลียวแล วอนโรงงานเยียวยา : PPTVHD36
กฏหมายความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็น พรบ. และบรรดากฏกระทรวง ประกาศกระทรวงมากมาย ถ้าเอามาบังคับใช้กันให้มันจริงจัง เข้มงวดกวดขันกัน ไม่มัวแต่จะให้บรรดานายจ้างไปจัดงานปีใหม่เลี้ยงหมูหัน ทะเลเผาในช่วงปีใหม่ และคอยแต่จะดูสถิติบนกระดาษอย่างเดียว ผู้ใช้แรงงานก็จะปลอดภัยขึ้น
งานนี้ ลูกจ้างใช้งาน MEWP- Mobile Elevated Working Platform เพื่อปฏิบัติงานบนที่สูง ข้อแรกเลย ตามมาตรา 6 หน้าที่นายจ้าง ต้องจัดให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย ยังไม่ต้องลงลึกไปถึงกฏกระทรวง เอามาตรานี้ก่อน ทำรึยัง ทำงานบนที่สูง มีอันตรายต่อชีวิตหรือไม่
มาตรา ๑๔ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในสภาพการทํางานหรือสภาพแวดล้อมในการ ทํางานที่อาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างแจ้ง ให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทํางานและแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ ลูกจ้างจะเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทํางาน นายจ้างทำรึยัง
มาตรา 8 ไปดูซิว่า กฏกระทรวงที่เกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง มีกี่ฉบับ
เอาแค่สองสามมาตรานี่ ถ้านายจ้างไม่ได้ทำ ก็ต้องดำเนินการ อย่ามัวแต่ไปเอาผิดกับลูกจ้างคนอื่นในข้อหากระทำการโดยประมาท นั่นมันเป็นการตัดตอนความรับผิดชอบของนายจ้าง
พูดเรื่องกฏหมายทีไร ก็ของขึ้นเมื่อนั้น เพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยไม่ทำหน้าที่เชิงรุก รึใครจะเถียง
ทำไมต้องรอให้ลูกจ้างร้องขอความเป็นธรรม ทำให้เขาเถอะ ขอร้อง
ในการบริหารจัดการงานประเภทนี้ ควรต้องมี
1. Procedure ที่ควบคุมการทำงานบนที่สูง และเมื่อต้องใช้ MEWP มีข้อกำหนดที่ชัดเจนหรือไม่
2.มี Procedure แล้ว พนักงานได้รับการฝึกอบรมมั้ย
3.อบรมแล้ว เวลาเขาทำงาน มีการกำกับดูแลมั้ย เอาง่ายๆ ทำไมไม่มีการตัดและล็อกเครน ทำไมไม่จัดให้มีการกั้นพื้นที่ ทำไมไม่จัดให้มี ฺBankman หรือ Flagman ลองดูทีว่ามี Permit To Work สำหรับงานนี้มั้ย
4 ถ้านายจ้างตอบว่า มีๆๆๆๆๆๆ เคยมีการตรวจประเมินระบบ PTW กันบ้างมั้ย เรื่องนี้ถ้าจะหยิบกฏกระทรวงปี 2553 มาใช้ นายจ้างก็โดนอีก
แต่ไม่ใช้ ทำไมต้องรอให้ลูกจ้างร้องขอความเป็นธรรม รออะไร
เพื่อนๆชาวเยอรมัน
ชาวออสเตรียที่นั่งร่วมวงสนทนาเกี่ยวกับเหตุบ้านการเมืองไทย
เขาจะระมัดระวังมากเลยที่จะพูดถึงรัฐบาล และสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นที่เมืองไทย
คุยเรื่องขับรถดีกว่า
ยูขับรถเองใช่ไหม?? เกือบจะทุกคนบอก
เยสๆๆๆ สนุกไหมขับรถที่เมืองไทย
ทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวกันเลย CRAZY !!!
ถ้าเช่นนั้น
ความเร็วเป็นปัจจัยที่เพิ่มอัตราการเกิดอุบัติเหตุจริงๆหรือ
ผมแกล้งถาม ที่บ้านยูมีออโต้บาห์น ไม่ใช่รึ (Autobahn) คนเยอรมัน คนออสเตรีย เขามีถนนที่ไม่จำกัดความเร็ว ประมาณว่า รถแกมีแรงเท่าไหร่ ก็ใส่ให้สุด ยกเว้นบางช่วง เช่นจุดที่มีการก่อสร้าง จุดที่มีถนนเปียกลื่น และจุดที่ผ่านเมือง แบบนี้อุบัติเหตุไม่เยอะดอกรึ ผมถาม โนว์ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ พวกเขาตอบรัวๆ แล้วมองหน้ากันยิ้มๆ
ไม่เหมือนออโต้บานที่เมืองไทย พวกนี้หลายคนได้เมียไทย รู้จักสำบัดสำนวน ออโต้ย่อมาจากคำว่าอัตโนมัติ บานก็มาจากคำว่าบานตะไท แปลรวมๆก็คือขับไปดีๆรถโดนชนบานตะไทตายเกลื่อนถนน ฮา...
ครับ
ประเทศไทยติดอันดับสองของโลกที่มีอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด และครองอันดับหนึ่งในเอเชียที่การขับขี่บนนถนนอันตรายที่สุด
อย่างที่บทความต่างๆนอกประเทศใช้คำว่า Deadly!!! เพื่อนๆในวงสนทนาเติมให้อีกสองสามอย่าง ว่าคนไทย
เฟรนด์ลี่ ขนาดชกฝรั่งเบ้าตาแตก ยังชกไปยิ้มไปเลย น่ารักมว๊าก คนไทยชอบยิ้ม ดีใจ เสียใจ โกรธ หรืออารมย์เสีย
คนไทยยิ้มตลอด คนดี คนบ้า ไอดูไม่ออก ทุกคนเดินยิ้มกันหมดเลย
ที่เยอรมัน
อัตราการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตบนออโต้บห์น แค่ 1.45 เคสต่อการเดินทาง 1000 ล้านกิโลเมตรเอง ทั้งปีก็จะมีอยู่น้อยกว่า 400 เคส ที่บ้านกู แค่สงกรานต์ เจ็ดวัน
ก็ตายไปห้าหกร้อย นี่ยังไม่รวมปีใหม่ ตรุษจีน ออโต้บานที่บ้านกูปีๆหนึ่งตายเกือบสามหมื่นคน
กูยิ้ม พูดไปยิ้มไป
คำถามกลับกัน
การตรวจจับความเร็ว
มันช่วยแก้ปัญหาและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนนท้องถนนออโต้บานที่บ้านกูได้จริงหรือ
(ที่พูดกูๆมึงๆเนี่ย
เป็นการปรารภในใจ ผมสนิทกับตัวเองที่สุดเลยพูดกูๆมึงๆกันได้)
เรื่องการกำหนดจำกัดความเร็ว เป็นเรื่องที่ประเทศต่างๆใช้กัน เพื่อเป็นการบังคับใช้กฎหมาย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ ว่ากันว่าเป็นกลไก Enforcement ซึ่งเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งในการสร้างความปลอดภัยตามหลักอีสามตัว (Education-Engineering-Enforcement) เพื่อนในวงข้าวขยายให้ฟังว่า ที่ออโต้บาห์น เป็นถนนที่เป็นแบบ Access Restriction ถนนถูกออกแบบมาด้วยสมองของวิศวกร ด้วยหลักวิศวกรรม รถราที่นั่น จะว่าไปแล้ว ก็เป็นรถที่ได้มาตรฐานทางวิศวกรรมสูงๆดีๆ ยี่ห้อดังๆทั้งนั้น ไม่เหมือนออโต้บานที่เมืองไทย แบบว่ากูนึกจะเอาแท่งปูน เอาอะไรมากั้น กูนึกจะเอาป้ายไปแปะห้ามเลี้ยว ห้ามตรง กูก็ทำ กูนึกจะขุดตรงไหนกูก็ขุด ที่บ้านไอไม่มี เมืองไทยนี่เฟรนด์ลี่ดี ทำอะไรก็ได้ สบายๆเลย ฮา ส่วนเรื่อง Education ไอไม่พูด
เพราะวันนี้ไอมาเป็นนักเรียน
ยูเป็นครู ไอไม่ขอออกความเห็น ส่วน Enforcement อย่าให้ไอพูด เดี๋ยวยูจะอาย อืมๆๆๆ
ไม่ต้องพูดทั้งหมดก็ได้ กูอาย
โดยหลักการแล้ว
การขับรถเร็ว ไม่ใช่สาเหตุทั้งหมดของการเกิดอุบัติเหตุ
แต่การขับรถเร็วทำให้โดนใบสั่งส่งมาในตู้ไปรษณีย์เกือบจะทุกๆสัปดาห์ บางที่ความเร็วเกินแค่
2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ก็โดนแล้ว เดี๋ยวนี้ กล้องตรวจจับความเร็วมีทั่วไปหมด
แถมด้วยกล้องตรวจจับการเปลี่ยนเลน ขับข้ามเส้นทึบ อีกยี่สิบเซ็นต์เองจะสุดแล้วเปลี่ยนเลนชิดซ้ายเพื่อเตรียมขึ้นทางด่วน
ผมว่าคนจำนวนไม่น้อยที่มีความรู้สึกคล้ายๆกันว่า มันจะอะไรกันนักกันหนา ถนนเชื่อมระหว่างจังหวัด
อย่างสายเอเซีย จำกัดความเร็วที่ 90 เห็นรถวิ่งกันครึ่กๆๆๆ ไปกันเป็นร้อยทั้งนั้น
พอก็เร่งแซงคันหน้าเกิน 90 โดนเลย
(แม่งเอ้ย!!! สบถในใจ)
ความเร็ว
(Speed) ส่งผลอย่างไรต่อการเกิดอุบัติเหตุ
1. ทำให้ระยะหยุด (Stopping distance) ยาวขึ้น โดยเฉพาะเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานที่ต้องเบรกกระทันหัน
มันหยุดไม่อยู่ ใครที่ไม่เข้าใจว่าระยะหยุดคืออะไร
ผมเขียนไว้ในบทความเรื่อง ตายหมู่เลยรึจ่า คลิกลิงค์นี้
2. ทำให้ระบบความปลอดภัยที่ถูกออกแบบมาเกินกว่าที่จะรับไหว
เช่น แรงปะทะที่เกิดขึ้นต่อห้องโดยสาร เกินกว่าที่โครงสร้างรถที่ออกแบบมาจะรับไว้ได้
ผลที่เกิดก็คือ รถทั้งคันยุบกลายเป็นกองเหล็กยู่ยี่
ให้บรรดากู้ภัยได้มีโอกาสใช้เครื่องตัดถ่างเพื่องัดศพออกมาจากซากรถ
3. ทำให้การตัดสินใจแก้ไขสถานการณ์คับขันมันไม่ทันการณ์
4. ทำให้การบังคับรถยากขึ้น รถบางรุ่น
แค่ความเร็วเกินร้อยก็แทบจะเหาะได้แล้ว
5. ทำให้การให้สัญญาน การหลบหลีกอันตรายทำได้น้อยลง
เมื่อเอาไปรวมกับ
สภาพถนนที่ชำรุด ป้ายจราจรมีบ้าง
ไม่มีบ้าง ติดผิดที่ผิดทาง
การควบคุมการจราจรประเภทที่แอบๆมุมมืดแล้วกระโดดมาขวางรถกระทันหัน
และเพื่อนร่วมทางที่ชอบการขับขี่แบบหวาดเสียว แซงแบบเสียวๆ ขับจี้ตูดให้เสียว
ขับปาดซ้ายปาดขวา รวมไปถึงพวกหัวร้อน ขี้โมโห เจ้าพ่อ เจ้าแม่ ขาใหญ่ขาเล็ก
เด็กแว้น พวกขี้เมา ขี้ยา ม้าดีด สาระพัดบนนถนนในบ้านเมืองเรา
การที่ท่านรัฐมนตรีเสนอปรับอัตราจำกัดความเร็ว ผมนี่แหละคนหนึ่งที่ไม่คัดค้าน เพราะรำคาญใบสั่งเหลือทนส่วนสภาพถนนที่กล่าวมาจะเป็นอย่างไร มันไม่เกี่ยวกับร่ากฎหมายที่ท่านกำลังเสนอ ผมก็ไม่ก้าวก่าย เอาที่สบายใจเถิดครับ สำหรับผม การใช้ความเร็ว เป็นความรับผิดชอบของคนขับรถ ไม่งั้นเขาคงไม่มีคันเร่งไว้ให้เหยียบให้ผ่อน มีแต่คนไม่เต็มเท่านั้นแหละที่เอาแต่เหยียบอย่างเดียว ผ่อนไม่เป็น
อะแหนะ!!! ไอ้คันหลังนั่น เร่งติดตูดมาเช๊ยะ !!! แบบนี้มันต้องเห็นฤทธิ์อีมาสด้าแก่ซูมๆ ม่ะ
บรื๊นๆๆๆๆๆๆๆ
ระบบ Telematics
กับการบริหารการขนส่งสมัยใหม่
(Telematics and new era of logistic management)
หากวันนู้น ผมหิ้วกระเป๋าที่บรรจุบรรดาโบรชัวร์
และสาระพัดอุปกรณ์เดินเข้าไปหาอาเสี่ย อาเฮีย อาซ้อ
ที่เป็นเจ้าของบริษัทรับจ้างขนส่ง ไม่ว่าจะขนคน ขนของ ทั้งที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ หรือขนาดกลางๆ
เป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือแม้แต่ธุระกิจเล็กๆในครอบครัว ตระกูล เล้ง ตระกูลฉ่าง ตระกูลหวัง
ตระกูลฮั่ว แล้วบอกว่า เอ่อ ครือๆๆๆ ผมจะมาเสนอขายระบบ เทเลแมติกส์
ก็คงจะเจอคำถามประมาณว่า
· “อารายของลื้อวะ เทเลแมติ๊ก...”
· “มังช่ายทามอารายวะ เทเลแมติ๊กเนี่ย”
· “มังแพงม๊าย”
· “ช้าย ทามอารายวะ”
· อั๊ว ชอบแบบทามมะดา เทคโนโลยีเยอะๆ อั๊วช้ายม่ายเป็ง
บอกตรงๆนะครับ มันก็ออกจะเข้าใจยากอยู่เหมือนกัน ที่จะอธิบายให้บรรดา
เฮียเข้าใจได้ง่ายๆ เอาเป็นว่า ผมจะพยายามถามๆ ว่าเฮียๆ
เคยเจอปัญหาแบบนี้มั่งไหมครับ
ปัญหาโลกแตก เลยครับ น้ำมันหาย แบบว่าเติมเต็มถัง แล้วอยู่ๆไปมันไม่พอ
ไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง รถแอบเลี้ยวเข้าคอก เสมียนกับคนรถมันรู้กัน
ตัวเลขบัญชีน้ำมันไม่ตรงความจริง
ปัญหาที่สอง รถออกนอกเส้นทาง
บางทีไปเกิดอุบัติเหตุในเส้นทางที่เราไม่ได้อนุญาตให้มันวิ่ง
ปัญหาที่สาม ไปถึงที่หมายล่าช้า ถูกลูกค้าด่าเช็ด
ปัญหาที่สี่ คนขับตีนผี เทกระจาด นี่ถ้าไม่ได้ซื้อประกันไว้ บรรลัยกันไปหลายรอบ
ปัญหาที่ห้า รถเสียกลางทาง หารถเปลี่ยนไม่ทัน ส่งของผิดเวลา
ลูกค้ายกเลิกสัญญา ฉิบหายกันไปหมด
ปัญหาที่หก คนขับรถ เดี๋ยวเข้าเดี๋ยวออก อยู่กันไม่ทน
ปัญหาที่เจ็ด ถ้าเป็นรถส่งสินค้าแบบตู้เย็น ไปถึงที่หมาย
ตู้เย็นดันเสียไปตั้งแต่ตอนไหนไม่รู้ หมู ไก่ เน่าหมดเลย
ปัญหาที่แปด เวลาให้นอนมันไม่นอน ไม่จอด หลับใน เทกระจาด
ปัญหาที่ เก้า กำหนดเส้นทางไม่ได้ บางทีมีการสร้างสะพาน ทำทาง
รถไปไม่ถึงที่หมายตามเวลา
ปัญหาที่สิบ ทุนหายกำไรหด หมายศาลกองเต็มโต๊ะ
ที่พรรณามานั่นน่ะ ถ้าเป็นสมัยก่อน ก็ต้องพึ่ง เจ้าพ่อเห้งเจีย
กุมารทอง หรือไม่ก็ฮกลกซิ่ว จิวแปะทง ให้ท่านคอยสอดส่องให้ แต่เดี๋ยวนี้ ท่านมี
เจ้าพ่อ เทเลแมติกส์ ตอบได้ทุกโจกท์ที่สาธยายมา เทเลแมติกส์ ย่อมาจากคำว่า
คอมมิวนิเคชั่น บวกกับคำว่า อินโฟร์แมติกส์
เกริ่นมาตอนแรกเกือบจะดีแล้วเชียว พอเจอไอ้สองคำนี่เข้า อาเฮียก็หันกลับไปซดน้ำชาทำตาปริบๆต่อ
เอางี้ ระบบเทเลแมติกส์เนี่ย มันประกอบไปด้วย
การติดตั้งอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์อย่างเช่น ระบบ จีพีเอส ระบบนำร่อง
และเซ็นเซอร์ต่างๆ เข้าไป แล้วมันส่งข้อมูลผ่านระบบการสื่อสารสมันใหม่
ไม่ว่าจะเป็นระบบ สามจี สี่จี ห้าจี ทำให้เฮียๆสามารถดูข้อมูลเหล่านั้นผ่านคอมพิวเตอร์
แทบเบล็ท หรือมือถือ ได้แบบเรียลไทม์ พูดง่ายๆก็คือ อาเฮีย
อาซ้อจะลดค่าใช้จ่ายต่างๆและทำการบริหารจัดการระบบการขนส่ง
เริ่มต้นง่ายๆ แบบนี้นะครับ
ระบบเทเลแมติกส์ จะทำให้ข้อมูลต่างๆ ถูกส่งผ่านระบบสื่อสารไร้สายมาถึงผู้ที่บริหารจัดการได้โดยตรง
ยกเป็นกรณีตัวอย่างเช่น
มีบริษัทรับเหมาขนส่งสินค้ารายหนึ่ง
สมมุติว่าชื่อบริษัทลี้กิมเฮงทรานสปอร์ต เข้าไปรับสินค้าที่โรงงานซึ่งเป็นลูกค้า ที่มีข้อกำหนดเข้มงวดมากมาย
อาทิเช่น คนขับรถทุกคันจะต้องมีใบขับขี่ ท.3 ขึ้นไป ต้องไม่เกิดอุบัติเหตุเกินกว่า 2 ครั้งต่อระยะทางรวม
200,000 กิโลเมตร ถ้าเกินนั้นจะถูกยกเลิกสัญญา
ต้องส่งสินค้าตรงเวลา และอื่นๆอีกมากมาย อยู่มาวันหนึ่ง คนขับรถหัวใส
มีใบขับขี่ตามที่กำหนด เข้าไปรับสินค้าออกมา ขับพ้นประตูโรงงานก็ลงรถ แล้วให้ลูกชายอายุ
18 ปีขึ้นขับแทน ปรากฎว่าไปเกิดอุบัติเหตุ พลิกคว่ำ
สินค้าหกล้นรั่วลงคลอง ไฟไหม้เป็นวงกว้าง นี่ถ้าเป็นระบบเทเลแมติกส์ เมื่อเปลี่ยนคนขับรถที่ไม่ได้อนุญาต
รถจะไม่สามารถสตาร์ทติดได้ แม้แต่แอบเปลี่ยนคนขับ
กล้องที่ตรวจจับใบหน้าก็จะตรวจพบอยู่ดี แบบนี้ เหตุการณ์นั้นจะไม่เกิดขึ้น
อาเฮียเองก็จะได้รับข้อมูลแม้ว่าตอนนั้นเฮียอาจจะกำลังตีกอล์ฟอยู่
รถที่ใช้ความเร็วเกิน เฮียก็รู้
รถอยู่ตรงไหน มันก็โชว์บนแผนที่ อีกกี่กิโลจะถึงลูกค้า เฮียก็รู้
อธิบายมาถึงขั้นนี้ เฮียเริ่มมองหน้าอาซ้อเลิกลั่ก แกแอบกระซิบว่า
อั๊วไม่เอาฟังก์ชั่นนี้ได้มั้ยวะ ขืนอาซ้อรู้ว่ามันทำได้ขนาดนี้
เอามาติดรถเฮียเข้ามั่ง ชิกอ๋ายเลยกู
รถใช้น้ำมันไปมากน้อย เพิ่มขึ้น ลดลงเท่าไหร่เฮียรู้หมด
รถออกนอกเส้นทาง ไปจอดนิ่งๆ ดูดน้ำมันในคอก เฮียก็รู้
รถคันไหนครบกำหนดเข้าซ่อมบำรุง เฮียก็รู้
โอย... อีกสาระพัดประโยชน์เลยครับ
อาซ้อ ชะโงกหน้ามาถาม “แล้ว
มังแพงมั๊ย อาตี๋”
โอ่ย ซ้อ ไม่แพงเลยครับ ถูกกว่าค่าน้ำมันที่ถูกแอบดูดไปในคอก
ถูกกว่ายางที่แอบไปถอดเปลี่ยนเอายางหล่อดอกมาใส่แทนซะอีก เอาแบบที่ว่า
รถติดเครื่อง ถ้าไม่วิ่ง จอดตรงไหนซ้อเห็นหมดเลย
เอ่ยมาถึงตรงนี้ อาซ้อแกมีแววปล๊าบขึ้นมาในสายตา แกกวาดหางตาไปทางอาเฮียซึ่งตอนนี้ก้มหน้าก้มตาลูบคลำนาฬิกาหลายเรือนบนข้อมืออย่างไม่รู้ไม่ชี้
ลื้อจาคลำอารายนักหนา ไอ้นาฬิกาเนี่ย บอกไอ้ตือเพื่อนลื้อให้มันเอามาคืนซะมั่งนะ เพื่อนชิกหายอาราย ยืมแล้วไม่คืน เก๋าเจ๊ง
อาตี๋ พรุ่งนี้เอามาติดรถเฮียแกก่อนเลยทุกคัน
สมัยที่ผมสอนเทคนิคการสอบสวนอุบัติเหตุด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า
Causal Tree Analysis และ Bow-Tie
ซึ่งจะเปิดโปงความบกพร่องล้มเหลวของระบบการจัดการ
(Management system failure) ที่มีมาเนิ่นนาน
ในแบบที่แบบจำลอง Swiss Cheese Model เรียกว่า
Latent Failure แทนที่จะไปสาละวนแก้ปัญหาโทษเอากับพนักงานผู้ปฏิบัติงาน
แบบว่า คนขับหลับใน คนขับเผลอเรอ คนขับไม่มองทาง รถคันหน้าเบรคกระทันหัน
หมาวิ่งตัดหน้า เรื่อยไปจนโทษผีสางนางไม้สิ่งที่ไม่มีตัวตนชนิดที่ว่า แยกผีสิง
โค้งร้อยศพ ไปเรื่อยเปื่อย กรณีนี้
มันสะท้อนภาพของความบกพร่องในระบบการจัดการแบบชนิดที่เรียกว่า
ไฟลุกตอผุดกันเลยทีเดียว
ไม่ว่าคุณจะไถไปทางไหนก็ไม่พ้นอยู่ดี
ม่ะ มาลองไถๆกันดู
1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้
รถบรรทุกน้ำมันพุ่งชนท้ายรถพ่วงที่จอดติดไฟแดงอยู่อย่างรุนแรงใช่หรือไม่ ?? - ไถไปว่า
“โอโนว์
การเฉี่ยวชนครั้งนี้ไม่รุนแรงเรย (ทำเสียงอาฉีเสียงหล่อ จะได้อารมย์มากขึ้น)
2.
อ่อ
เรอะ!!! งั้น
ถ้าไม่รุนแรงเหตุใดน้ำมันมากมายจึงทะลักทะลายออกมานองพื้นถนน ไหลไปตามท่อระบายน้ำ
และเกิดไฟลุกไหม้ในวงกว้างได้ ??? เอ่อ
ครือ... ข้อนี้เรากำลังรอกองพิสูจน์หลักฐานรวบรวมข้อมูล เรายืนยันได้ว่า
รถที่บรรทุกน้ำมันนั้นไม่มีการรั่วไหลชำรุดขณะเกิดเหตุ ??? ถ้าจะไถต่อให้ดูดีขึ้นก็อาจจะเอ่ยเปรยๆว่า
เรากำลังสงสัยว่ามีการพยายามขโมยน้ำมันโดยกลุ่มผู้ไม่หวังดี (น่าน
เติมประเด็นให้เบี่ยงไปอีกนิด) แต่ข้อเท็จและจริงที่ปนกันก็คือ
รถคันนี้บรรทุกน้ำมันใช่หรือไม่ หรือจะไถว่าเป็นรถบรรทุกน้ำหวาน
เมื่อน้ำมันเกิดรั่วไหลออกมาก็แสดงว่าถังเกิดความเสียหายขณะชน
ถ้าอ้างว่ามีคนพยายามขโมยน้ำมันก็ต้องมีหลักฐานพิสูจน์ได้ มีพยานรู้เห็น
ไอ้ที่จะไถไปนั้น ไปไม่รอด
3.
เป็นการชนที่รุนแรง
?? ทำไมคนขับไม่เบรค ??? อันนี้ไถไปทางไหนก็โดนทุกดอก
“เบรคแล้ว
แต่เบรคไม่อยู่... เบรคไม่ทัน รถคันหน้าหยุดกระทันหัน ...
ไม่ได้เบรคเพราะกำลังหลับใน... อ่ะ ไถไปเรื่อยๆ
4.
ถ้าอ้างว่ารถเบรคไม่อยู่
ข้อนี้ก็พิสูจน์ได้จากวัตถุพยานเลยเชียว ถ้าอ้างว่ารถคันหน้าหยุดกระทันหัน
ก็ยิ่งพิสูจน์ได้จากพยาน เผลอๆอาจจะมีวงจรปิดที่บังเอิ้นบังเอิญ ปิดไม่ทัน
เลยพอจะมีคลิปไว้ให้ดูกันได้ ส่วนเรื่องคนขับหลับใน ถ้าเป็นที่ประเทศออสเตรเลีย
ว่าด้วยก็หมาย Chain Of Responsibility -COR รับรองได้งานนี้เถ้าแก่มีสิทธิ์ติดคุก
แทนที่จะเป็นคนขับรถ แต่ที่เมืองที่ยังไม่รู้แลยว่า
บิ๊กตุ่ยที่ไปสั่งปิดเหมืองทองเขา... ที่ไปทำอะไรห่วยๆไว้มากมาย ...เป็นตัวอะไรแน่
เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือเป็นไอ้ตัวที่ยึดอำนาจประชาชนไป
เมืองนี้คนที่ส่อติดคุกน่าจะเป็นคนขับซะมากกว่า
ผมไม่หวังไกลว่าประเทศนี้เมืองนี้จะมีกฎหมายการขนส่งทางบกที่ไล่เบี้ยให้ผู้ประกอบการต้องมีระบบการจัดการนั่นนู่นนี่แบบเมืองนอก
กลัวจะโดนไล่ไปอยู่ต่างประเทศกะเขาด้วย แต่ผมก็หวังลึกๆว่า บริษัทผู้ว่าจ้าง
ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ น่าจะมีมาตรฐานการจัดการที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
ที่ถูกถ่ายทอดความคาดหวังไปยังผู้รับจ้างผ่านกระบวนการต่อรองกดดันด้วยระบบการบริหารสัญญาจ้างแบบจริงจัง
เน้นนะครับ แบบจริงจัง
5.
มาลองดูกันสิว่า
ระบบการบริหารการจัดการขนส่ง
ที่กระจอกและพื้นๆที่สุดที่บริษัทกระจอกๆทุกแห่งควรจะมีนั้นมีอะไรบ้าง เอาแบบคร่าวๆนะ ไม่ต้องทุกตัวหรอก
a.
มีระบบการบริหารความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสุขภาพ (Safety, Health Environmental Management system) บางที่ก็ย่อว่าระบบชีเมเนจเม้นท์
เอาเถอะจะชีจะเถร ก็ต้องมีกระบวนการเหล่านี้ ได้แก่ มีนโยบาย Policy มีการวางแผน
มีการดำเนินการ มีการประเมินผล และปรับปรุง นี่เป็นขั้นพื้นฐานสุดๆ
กฎหมายความปลอดภัยก็บังคับไว้เป็กฎกระทรวงให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 50
คนต้องมีไอ้ระบบชีเถรเมเนจเม้นท์
ไอ้รถคันนี้ เพื่อนผมมันแซว ว่าเป็นบริษัทเมิงเรอะ แหมอ่านชื่อไม่ทัน
พวกเล่นเอาผ้าเขียวมาคลุมไว้ก่อน คุณว่าเขามีระบบที่ว่านั่นไหม มี๊!!!! ตอบเสียงสูง
ไม่มีจะไปประมูลวิ่งน้ำมันให้บริษัทนี้ได้ยังไง เอาเป็นว่า เชื่อว่ามี
แต่ว่า เขามีมาตรฐานไหม โอ๊ยยยยยคู้น
เรื่องนี้มันคงต้องคุยกันยาว ว่าแต่ว่าจะเอาเรื่องไหนล่ะ เรื่องรถ
เรื่องถัง เรื่องคน เรื่องเวลาหลับเวลานอน มีหมดแหละ!!!! แต่ว่า แหะๆๆๆ
มันจะให้เป๊ะไปทุกเรื่องมันก็ไม่ได้หรอกนะคุณ ... หงึกๆๆๆๆ
b.
ระบบการจัดการเรื่องรถ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมาตรฐานยาง มาตรฐานรถ มาตรฐานถัง ปั๊ม ท่อ โอย!!!! ก็อย่างที่บอก ...เรื่องนี้มันเป็นเรื่องเงินเรื่องทอง
เรื่องต้นทุน ผมว่าบริษัทไหนๆเขาก็ซีเรียส ยกเว้น!!!! บริษัทที่คนเขาเอารถมาร่วมวิ่ง แบบว่า
คนขับกับเมีย มาทำงานเป็นคนขับรถเด็กติดรถ และเป็นเจ้าของรถ
แบบนี้จะไปบังคับกันมากๆก็ไม่ได้หรอก คุณเข้าใจไหม??? หงึกๆๆๆๆๆๆ
c.
ระบบการจัดการคนขับ โอ่ย คู้นๆๆๆๆๆ
หาคนขับรถบ้านเราไม่ใช่หากันง่ายๆนา เดี๋ยวเข้า เดี๋ยวออก ขับทางไกล ทางเสี่ยงๆ
ไม่มีใครอยากวิ่ง เดี๋ยวนี้คนขับรถ จ้างไม่แพงหรอก
แต่เขาก็ได้รายได้จากจำนวนเที่ยวมั่งอะไรมั่ง แบบว่าทำมากได้มาก ขับมากได้มาก
จะให้มามัวนอนตามที่กฎหมายบังคับจะไปพอกินอาราย ส่วนมากเขาก็รู้กันหมดแหละ
ขึ้นรถปั๊บ ใครจะไปโง่รูดใบขับขี่ !!! ขืนรูดก็รู้สิว่าใครขับ
!! อ้าวแบบนี้ขนส่งเขาไม่รู้หรอกรึ
??? รู้ สิ
แต่ไม่รู้ว่าใครขับ ใครเร็ว.... อ้าวเรอะ แล้วเขาไม่มาตรวจกันหรอกเรอะ??? ....ยิ้มแหยๆ
....ตรวจครับ ...โต๊ะนึง จบ!!
ที่พูดๆมานั้น ผมพูดกับตัวเอง ด้วยความหงุดหงิด ในวันที่ผู้บริหารของบริษัทแห่งหนึ่งมาขอให้เตรียมข้อมูลสำหรับสอนผู้ประกอบการขนส่งผลิตภัณฑ์ และถามแล้วถามอีกว่าจะพูดอะไรให้พวกเขาฟัง จะออกไปในแนวโน้มน้าว หรือออกแนวบังคับให้ทำตาม...
ถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบการบริหารจัดการ ไม่ใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผล ในการที่จะควบคุมป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนอย่างเข้มงวด แบบนี้....ก็จะเป็นไปในอีหรอบนี้ชั่วนิจนิรันดร....
อยู่ๆกันป่ะ เฮ้อ จบดีกว่า เครียดจังเนอะไอ้หมีเนอะ ม่ะ
มาให้พ่อหอมที ฟ๊อดดดดดดด.... อ่ะ เพลงม่ะ วัน ทู ทรี โฟร์ ไคว้ ....
ระยะ
(ไม่รู้จักคิด)
สูตรคำนวณความเร็ว
(Velocity) สมัยที่เรียนฟิสิกส์
ที่ไหนๆ ก็คือ V = S คือระยะทางที่วัตถุนั้นเคลื่อนที่ไป
หารด้วย t คือเวลาที่ใช้ไปในการเคลื่อนที่
V = S/t
ข่าวครึกโครมเมื่อสองสามวัน
ว่าคดีรถเฟอรรารี่ชนแล้วลากตำรวจไปสองร้อยเมตร จากนั้นขับหนีเข้าบ้าน
จากนั้น...ผ่านไปแปดปี อัยการสั่งไม่ฟ้อง และหนึ่งในหลักฐานใหม่คือ
มีท่านผู้เชี่ยวชาญ สาขาอะไรสักอย่าง ตามข่าวว่าเป็นหนึ่งเดียวในประเทศ
ทำการคำนวณใหม่ พบว่า รถเฟอรารี่คันนั้น ขับด้วยความเร็วต่ำกว่า 80 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
ซึ่งไม่ถือเป็นการขับรถเกินความเร็วที่กฏหมายกำหนด โอว!!! พระเจ้า !!!! อีมาสด้าแก่ๆของผมเนี่ย แตะนิดแตะหน่อยก็ขึ้นร้อย
ร้อยสิบร้อยยี่แล้ว นี่โดนใบสั่งไปสี่ใบแล้วครับ
นี่ยังไม่รวมข้อกล่าวหา
ขับรถในขณะเมาสุรา หรือของเมาอย่างอื่น ตามมาตร 9 พรบ. จราจรทางบก 2562 ด้วยเหตุผลพิสดารว่าตอนขับไม่ได้เมา
อาจจะเมาหลังขับ แหมๆๆๆๆ ไหนผลตรวจเลือดพบสารอนุมูลโคเคน ป๊าด
คำชี้แจงว่าน่าจะเกิดจากยารักษาฟัน
ตายห่าละซี!!
ยาสีฟันสูตรโบราณที่ใช้อยู่อาจจะมีฝิ่น
กระท่อมเข้าสูตร เอาละเว้ย!!! ปล่อยให้เขาเถียงกันไป
ใครแพ้ก็หน้าแหกไปเอง งานนี้ ทั้งตำรวจ อัยการ กระเตงกันไป
ตั้งคณะทำงานมาไม่รู้กี่ชุด รอดูว่าจะลงเอยยังไง
เปลี่ยนโหมดเป็นซีเรียสแล้วนะครับ
ทำหน้าซีเรียสเหมือนนายตำรวจที่ออกมาแถลงข่าวว่า เอ่อ ผมไม่ค่อยมีความรู้ด้านกฏหมาย
โธ่ ไอ้กระทิง !!สูตรนี้คือ
มีวิธีคำนวนหยาบๆ
ซึ่งผมไม่แนะนำ เพราะเดี๋ยวจะหาว่าใช้ไม่ได้
ระยะหยุด S- (Stopping Distance) = ระยะคิดและตอบสนอง (Perception-Reaction
Distance) + ระยะเบรก (Braking
Distance)
สูตรคำนวณของ ASSHTO - American Association of State Highway and
Transportation Official
S = (0.278 *t *V)+(V)2 ÷(V)2÷(254
*(f+G))
ไปอ่านข้างล่างก่อนแล้วค่อยมาดูการแทนค่า
S = (0.278 * 0.75 *79)+(79)2 ÷(79)2÷(254
*(0.7+30))
S= 16.47 +0.8 = 17.2703334 เมตร
เอาคดีเฟอรรารี่นี่ก็แล้วกัน คดีนี้ชนกระจาย ตำรวจ อัยการ นายก สอวอ สอ นอ ชอ สอ สอ คอ รอ มอ เทคโน ลอ กอ บอ กระจายเกลื่อน ให้ได้อายกันไปถ้วนหน้า ชนยับเยิน ชนกระเด็นกระดอน ชนจนหน้ารถยุบเป็นรูปท้ายมอเตอร์ไซค์ กระจกหน้ายุบ แบบนี้ เซียนอย่างผมบอกได้เลย
ระยะหยุด (Stopping
Distance) ไม่พอ
ผมไปค้นมาว่ารถสูตรหนึ่ง แบบซีอิ้วขวดเขียวเนี่ย รถอะไร
มีระยะหยุดเจ๋งที่สุด เฟอรารี่ 488 GTB มีระยะหยุดที่ผ่านการทดสอบในสนามอยู่ที่
39.6 เมตร
เมื่อรถคันนั้นวิ่งด้วยความเร็ว 70 ไมล์ต่อชั่วโมง
แปลงหน่วยเป็นกิโลเมตรก็อยู่ที่ 112.654 กิโลเมตร
ต่อชั่วโมง ถือว่าเป็นระยะหยุดชนิดสั่งได้
สมราคาจริงๆ ถ้าเป็นอีแก่ของผม ความเร็วขนาดนั้น ใครมายืนขวาง ในระยะ 39 เมตร อย่างตำรวจจราจร มียืนโบกกระทันหัน
รับประกันได้ กระจาย!!! แบบว่า
พอลงจากรถไปจะเอาใบสั่ง อ้าว จ่าหายไปไหนว๊ะ เห็นแว่บๆ
ถ้าค่ำคืนนั้น
จ่าเขาขับรถอยู่ไกลๆ และน้องเขาขับมาช้าๆ อย่างที่กูรูผู้นั้นเขาคำนวณมา
ว่าน้องเขาขับมาแค่ V= 79 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และคืนนั้น น้องเขาตาใสแจ๋ว
ไม่ง่วง ไม่คึก ไม่ดีด ไม่ตัดสินใจช้ากว่ามนุษย์ขี้เหม็นทั่วไป
เวลาเห็นอะไรตัดหน้า สมองสั่งตีน ตีนกระทืบเบรก ระยะนี้คนที่ประสาทเฉียบคมประมาณ 0.75
วินาที คนทั่วไปราวๆ t= 1 วินาที หลังจากเหยียบเบรก ระบบเบรกทำงาน
ห้ามล้อกึก รถจะยังไถลไปต่อได้อีก ขึ้นกับความเร็วรถก่อนเบรก ขึ้นกับสภาพยาง
แรงเสียดทานกับถนน สถาพถนนแห้งหรือเปียก เคสนี้ถนนแห้งแกร่ก และขึ้นกับสภาพถนนว่าลาดเอียงหรือไม่
รวมๆแล้วรถจะพุ่งไปอีกระยะหนึ่งก่อนหยุดสนิท
กรณีนี้
ความเร็วรถ V =ประมาณ 79
กิโลเมตรต่อชั่วโมงตามที่กูรูเขาคำนวณและตามที่อัยการยกคำสั่งไม่ฟ้อง
ถนนแห้งรึเปล่า เหตุเกิดเวลาตีห้า กทม.อาจจะขยันรถน้ำต้นไม้มั้ง เอาๆๆๆ
ถนนเป็นยางมะตอย ค่าความเสียดทานคงประมาณ 0.7 ถ้าจะช่วยผู้ต้องหาก็เอาใส่ไปน้อยๆ
ถนนไม่ลาดเอียง หรือถ้าจะช่วยๆกันก็ใส่ไป 30 องศา
จากที่ได้คำนวณมาตามสูตรของแอชโต
(ASSHTO) แปลความโดยแอชโชล
(ชื่อเหมือนลูกครึ่งเกาหลีเหนือกับอเมริกัน)
ก็แปลได้ว่า
ถ้าน้องเค้า (เดี๋ยวนี้ตัวอะไรๆพอขึ้นเป็นข่าว
ไม่ว่าจะเป็นพะยูน หมาขี้เรื้อน หอยทาก คนในโลกออนไลน์ก็จะเรียกว่าน้องเก๊า)
ขับรถด้วยความเร็วแค่ 79 กิโลเมตรต่อชั่งโมง
บนนถนนสุขุมวิท ถนนแห้งแกรก รถของน้องเก๊า ยางใหม่เอี่ยม
ถนนตรงนั้นมีความลาดเอียงตามสำนวนของจ่าฉุนที่ไปดูที่เกิดเหตุ
หลังจากห่อศพเพื่อนของตัวเองเสร็จก็ลงบันทึกไปว่า ความลาดเอียง 30 องศา แหมกะจะลงเยอะกว่านี้ก็อาย )
สรุปแบบเมาๆเลยละกัน
รถคันนี้จะหยุดได้ในระยะ
17.2703334 เมตร ก่อนการชน
พูดง่ายๆคือ ยังไงก็ไม่ชน ถ้าจ่าเขาไม่คิดสั้น
ไม่จงใจขับตัดหน้าน้องเก๊า ยังไงน้องก็ต้องเบรกทัน สำนวนที่วิเคราะห์โดย
มิสเตอร์แอสโชล์ มันน่าจะไม่ฟ้องให้น้องเก๊าตกใจหนีไปอยู่เมืองนอกเสียตั้งนาน
และที่สำคัญ คนที่ต้องเอาตังค์ 300 ล้านไปจ่าย
น่าจะเป็นพี่จ่าเขานะแหละ
พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มีข้อกำหนดมากมายหลายมาตรา รับกันมาเป็นทอดๆ ไล่ไปตั้งแต่มาตรา 4 ที่เ...