วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

Noise Reduction Rate


ห.อูหู ห.อีอี๋


 

นี่เป็นบทความแรกที่ยอมลงทุนเป็นนายแบบเอง ดูจากด้านข้าง เฉพาะตรงใบหู เรานี่ก็หล่อไม่เบาเลยนี่หว่า ส่วนเอียร์ปลั๊กดำๆนั่น ก็ของเรา พกจนดำ

 

เพื่อนร่วมงานเก่า และค่อนข้างแก่ โทรมาถามข้อสอบ จอปอเทคนิค ว่าวิธีคำนวณหาค่าความดังของเสียงหลังจากที่สวมใส่อุปกรณ์ลดเสียงแล้ว ทำยังไง... แถมเล่าต่อว่าพวกที่ไปเรียนจอปอ ตกวิชานี้กันระนาว..

ฉบับนี้ ก็เลยจะมาสาธยายวิชาการป้องกันการสูญเสียการได้ยินแบ่งปันความรู้กันฟัง

 

ก่อนอื่น ถามพวก จอปอก่อนเลย คำถามแรก เวลาที่คุณวัดเสียงที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่นเสียงจากเครื่องจักร คุณวัดด้วยเครื่องวัดที่บอกค่าความดังของเสียงเป็นสเกลอะไร สเกล เอ (dB(A))  หรือสเกล ซี dB (C).. บางคนทำหน้าหมาสงสัย เคยเห็นหมาทำหน้าสงสัยมั๊ย น่านแหละ แบบนั้นแหละ ที่กำลังทำนั่นแหละ ไม่เชื่อลองส่องกระจกดู

ถามต่อ ก่อนคุณจะซื้อปลั๊กอุดหู หรือซื้อที่ครอบหูมาให้พนักงานใช้ คุณใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือก บางคนบอก เลือกจากเซลล์ที่มาขายพีพีอีครับ ถ้าขาวสวยหมวยอึ๋ม ผมไม่ซื้อครับ เพราะผมชอบกระเทย บางคนบอกก็ดูจากระดับเสียงที่ได้จากการตรวจวัดครับ อือแล้วไง ฟังดูเข้าที ถ้าเสียงดังเกินหรือใกล้เคียงมาตรฐานที่กฎหมา-กำหนดก็หามาตรการลดเสียงครับ พูดถึงตรงนี้ จอปอทำหน้าหมาเศร้า...น้ำตาคลอ ... เรื่องจะลดเสียงด้วยวิธีทางวิศวกรรม ฝันไปเถอะครับ บริษัทผมให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยครับ แต่ไม่มีงบ...ว่าแล้วก็ปล่อยโฮออกมาอย่างสุดจะกลั้น...แล้วสาธยายต่อพร้อมสะอื้นฮักๆ ผมก็เลยต้องซื้อเอียร์ปลั๊กให้พนักงานใส่ครับ... น่ะ กูว่าแล้วเชียว แล้วอีตอนจะซื้อเอียร์ปลั๊กเนี่ย เคยลองคำนวณดูมั๊ยว่า เอียร์ปลั๊กรุ่นที่เซลล์กระเทยมาเสนอนั้น สามารถลดเสียงลงได้จนอยู่ในระดับปลอดภัย หรือที่ผรั่งเรียกว่า Protected Exposure สุดท้ายเหลือเท่าไหร่

 

เอองั้นถามต่ออีกหน่อย ว่าเวลาจะแจกเอียร์ปลั๊กให้คนงานใส่ เคยอธิบายเค้ามั๊ยว่าต้องใส่ยังไง ทำไมต้องใส่ให้ถูก ถ้าใส่ไม่ถูกจะเป็นยังไง เสียงที่ลดได้จะเหลือเท่าไร พอๆ ไม่ต้องตอบแล้ว...

ข้างๆกล่องเอียร์ปลั๊กหรือเอียร์มัฟ จะมีเลเบลติดไว้ เคยอ่านมั๊ย.. ทำหน้าเหมือนหมาเคยอ่านซิ น่านแหละ..

เห็นมั๊ย มีคำว่า Noise Reduction Rate มีตัวเลขอยู่ บางยี่ห้อก็ 14, 19, ยี่ห้อนี้ 25 หน่วยเป็น เดซิเบล มีวงเล็บบอกว่า (ถ้าใส่อย่างที่บอก)

คราวนี้มาดูกันว่า ไอ้คำว่า Noise Reduction Rate หรือ NRR เนี่ยมันหมายความว่าอย่างไร เอานะ หายใจลึกๆ จะพูดเรื่องที่มีประโยชน์แล้วนะ

ค่า NRR เป็นตัวเลขตัวหนึ่ง ที่บอกให้รู้ว่า อุปกรณ์ลดเสียงนั้นสามารถลดเสียงได้เท่าไหร่ ตัวเลขนี้ได้มาจากการทดสอบในห้องทดลอง อย่าเพิ่งรู้เลยว่าเค้าทดสอบยังไง มีกี่วิธี เอาเป็นว่ามีหลายวิธี และมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะ ใครสนใจไปหาอ่านเอาจากลิงค์นี้  http://www.cdc.gov/niosh/z-draft-under-review-do-not-cite/hpdcompdev/pdfs/NIOSH_Compendium_Calculation.pdf

 แปลง่ายๆ หยิบเอียร์ปลั๊กมาอันหนึ่ง เห็นตัวเลข NRR = 25 dBs แปลว่า มันจะลดเสียงได้ 25 dBs จบป่ะ

ทีนี้ก็มาดูต่อว่า ถ้าระดับเสียงที่วัดได้ในที่ทำงาน สมมติว่า เท่ากับ 95 dB(A) ถ้าใส่เอียร์ปลั๊กอันนี้เข้าไป จะเหลือเสียงที่ทะลุเข้าไปในห.อูหู เท่าไหร่ ม่ะ มาดูสูตรคำนวณกัน

ถ้าวัดด้วยสเกล เอ ให้ใช้สูตรคำนวณ

ระดับเสียงที่เหลืออยู่  = (ระดับเสียงที่ไม่ได้ใส่อะไร) – (NRR-7)  

ม่ะแทนค่าสูตรกัน

ระดับเสียงที่เหลืออยู่ = 95 – (25-7)  = 95-18 = 77 dB

ถ้าวัดด้วยสเกล ซี ให้ใช้สูตรคำนวณ

ระดับเสียงที่เหลืออยู่  = (ระดับเสียงที่ไม่ได้ใส่อะไร) – (NRR) 

ม่ะแทนค่าสูตรกัน

ระดับเสียงที่เหลืออยู่ = 95 – (25) = 70 dB

 

อธิบายมาถึงตรงนี้ พวกขี้สงสัยชักเริ่มมีคำถาม อยากรู้ว่า สเกลเอ กับสเกล ซี ต่างกันยังไง เอาแบบนี้นะไอ้น้อง มึงกลับไปลงเรียนวิชา Industrial Hygiene อีกรอบไป ขี้เกียจอธิบาย มันยาว

เอาสูตรไปใช้ทำข้อสอบก่อน

ทีนี้จะอธิบายต่อว่า NIOSH ยังแนะนำต่อว่า ในโลกแห่งชีวิตบัดซบ เวลาแจกเอีย์รมัฟ เอียร์ปลั๊กแต่ละแบบ แต่ละรุ่นให้คนงานไปใช้เนี่ย ค่า NRR ควรจะต้องถูกปรับลดลงไป เช่น

เอีร์ยมัฟ ต้องเอาค่า NRR คูณด้วย 75% จะได้ค่า NRR ที่มันทำได้ในโลกแห่งความเป็นจริง เช่น ถ้าตอนซื้อมา ข้างกล่องมันบอกว่า NRR = 45  คูณด้วย 75%  ก็คือ = 33.75 

ถ้าเอียร์ปลั๊กแบบโฟม ที่ก่อนใส่ต้องบี้ๆๆๆๆแล้วมันไปพองในรูหู (Slow recovery foam) แบบนี้ ให้เอา 50% คูณ  ถ้าข้างกล่องบอกว่ารุ่นนี้ ลดได้ NRR = 25  คูณด้วย 0.50 = 12.5 แปลว่า NRR จะเหลือแค่ 12.5

ถ้าเป็นเอียร์ปลั๊กแบบในรูป ให้เอา 30% คูณกับ NRR ก็จะเหลือแค่ 25x 0.30 = 7.5

 

ถ้าใช้วิธีของ NIOSH เอาค่า NRR ที่ปรับลดค่าลงตามโลกแห่งชีวิตจริงไปใส่สูตรข้างบน ก็จะเห็นว่า โอ้วแม่เจ้า  ถ้าวัดด้วย สเกลเอ ใส่เอียร์ปลั๊กเข้าไปในที่เสียงดัง 95 dB(A) เอียร์ปลั๊กที่อีกระเทยขายให้ จะลดเสียงลงเหลือเพียงแค่  = 95 – (12.5-7) = 75.5 

 

ทีนี้ลองคิดดู  ถ้าคนงานเจียร์ชิ้นงาน เสียงดังปานฟ้าผ่า วัดออกมาได้ 140 dB(A)  ใส่เอียร์ปลั๊กอีกระเทยนั่นเข้าไป เสียงที่เขาได้ยิน จะ =  140- (12.5-7) = 120.5 dB(A) เกินมาตรฐานมั๊ยหละ เกิ้น....

 

สรุปก็คือ อย่าเชื่อกระเทย อย่าเฉยเมยต่อรายละเอียด อย่าขี้เกียจคำนวณ อย่าชวนทะเลาะ จบดีกว่า

 

ษมน รจนาพัฒน์

23 January 2015



วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

สมัยเด็กๆ อยู่บ้านนอกที่สุพรรณ


สมัยเจ้าคุณตาเจ้าคุณยายส่งไปดูงานที่บ้านนอก

 

เวลามีงานบวช งานแต่ง งานตาย งานขึ้นบ้านใหม่ โกนจุก ทุกงานแถวๆนั้น ต้องมีขนมชั้นสีฉูดฉาดเป็นของหวาน คู่กับขนมหม้อแกง ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และขนมเม็ดขนุน อย่างหลังนี่เป็นของโปรดผมเลย เพื่อนฝูงญาติมิตรที่จะทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ ในโอกาสหน้า อย่าลืม ขนมเม็ดขนุน แต่ขนมชั้นไม่เอา มันใส่สี สมัยนั้นเป็นสีย้อมผ้าตรารถไฟ แม่เจ้าประคุณรุนช่อง สีชมพู สีเขียว สีแดง แป๊ด คนที่เขาทำขนมแต่ละคน พอสีติดมือ กว่าจะล้างออก ก็หลายอาทิตย์ สมัยนั้นมันไม่รู้ เราก็กินกันเข้าไป ตอนนี้ กูรู จะมาบอกเรื่องราวที่เกี่ยวกับสารเคมี จะได้กลายเป็นกูรู้ และระมัดระวังตัวกันมากขึ้น


 


ผมหยิบ เอกสารกำกับความปลอดภัยของสารเคมี หรือที่เรียกว่า แมททีเรียลเซฟตี้เดต้าชีต (Material Safety Data Sheet) มาสักฉบับ แล้วจะค่อยๆอธิบายไปช้าๆ

เอกสารนี้ มันมีประโยชน์ก็อีตรงที่มันถูกบังคับให้ผู้ผลิตสารเคมี ผู้จำหน่าย ต้องบอกให้ผู้ใช้รู้จักสารเคมีตัวนั้นในทุกแง่ทุกมุม เพราะในเมืองนอก ขืนมีคนเอาสารเคมีไปใช้แล้วเกิดอันตราย เพราะไม่รู้ ไอ้บริษัทนั้นมันมีหวังโดนฟ้องล้มละลายกันไปข้างหนึ่ง นั่นเมืองนอกนะครับ เมืองไทย ยังไม่เคยได้ยินว่าใครฟ้องใคร เบื่อพูดแล้ว เรื่องการบ้านการเมือง ความเจริญขึ้นความเจริญลงของประเทศสาระขันธ์นี่ เอาเป็นว่า เรามาเข้าเรื่องดีกว่า

แมททีเรียลเซฟตี้เดต้าชีต (กูจะอ่านเดต้าชีตหนักกะบาลใครหือ มึงอยากอ่านดาต้าชีต ก็เรื่องของมึงดิ ปฏิรูปก่อน ค่อยเถียง...ขออภัย ผีผู้ชุมนุมเข้าสิง)
 
 
 
ในท่อนที่ 1 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวสารเคมีและผู้ผลิตผู้จำหน่าย เวลาฟ้องร้องจะได้ฟ้องถูกชื่อถูกคน
อย่างสารเคมีตัวนี้ ชื่อทางการค้าว่า ดิสโซฟวีน (ทำปากจู๋ๆเอาฟันล่างไปชนกับริมฝีปากบน เวลาออกเสียงวีน มันจะคล้ายเสียง หวึๆๆ) ชื่อทางเคมีของมันคือ ไดเอทธิลีนเอมีนเพ็นตะอะซีติคแอสิด หรือ เพ็นตะโซเดี่ยมซ้อลท์ (ถึ)
มีตัวย่อถัดมาเขียนว่า C.A.S. Registry No. มันย่อมาจากคำว่า เคมิคอล แอบสะแตรค รีจีสตรี้ นัมเบอร์ ถ้าจะว่าไปก็คือ เลขประจำตัวประชาชนของสารตัวนี้แหละ ที่ขึ้นทะเบียนไว้ บางคนทำหน้างงๆ ขึ้นทะเบียนไว้กับใคร โอ้โห อยากรู้ลึก ขึ้นไว้กับกำนันมั๊ง !! ฮึ่ย ไว้จะมาขยายความให้ ตอนนี้เอาแค่ว่า ถ้าสารเคมีตัวนี้มีปัญหา จะโทรแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดการกรณีสารเคมีหกรั่วไหล ตามกฎหมา ไทย ก็กระทรวงอุตสาหกรรม โทรไปป๊าบ กระทรวงนี้ พิมพ์หมายเลขนี้เข้าไปป๊าบ ดึงข้อมูลออกมาปรื๊ดดด รู้เลยว่าต้องจัดการยังงัย เมืองนอกเขาทำได้นะ เขามีเค็มเทรค บ้านเราไม่รู้มีรึยัง เพราะ พรบ.นี้ออกมาตั้งแต่ปี 2535 นู่นสมัยพฤษภาทมิฬนู่น ทำรึยังไม่รู้ ไม่เคยเป็นรัฐมนตรี ส่วนไอ้พวกมานั่งเป็นรัฐมนตรีก็ไม่รู้เรื่อง วันๆตีกอลฟ์ตีอีกบอีก้อยไปเรื่อย มันไม่รู้หรอก อย่าไปยุ่งกะมันเลย เอาเป็นว่าตัวเลข CAS สำคัญมาก เพราะเป็นเลขประจำตัวประชาชน ไม่ซ้ำกัน เมืองไทยมีเลขประชาชนซ้ำกันได้ด้วยนะ จะบอกให้ ไทยแลนด์โอนลี่ ที่ไหนไม่มี กูมีหมด พูดไปเดี๋ยวไอ้พวกขวาจัดไล่ไปอยู่ประเทศอื่นอีก คร๊าบพี่ ผมรักชาติค๊าบพี่ แหม บ่นนิดบ่นหน่อย ทำขยับนกหวีด เดี๋ยวตบนกหวีดเข้าคอเลย ฮึ่ย
ถัดมาก็เป็นสูตรทางเคมี พวกที่เขาเรียนเคมีมาเห็นป๊าบ รู้เลย ว่าสารตัวนี้อยู่กลุ่มไหน กปปส. เสื้อแดง เสื้อเหลือง มีฤทธิ์ทางการเมือง มีแบ็ค ไม่มีแบ็ค อะตอมจับกันแบบไหน มีกี่แขน มีมือที่มองไม่เห็นจับอยู่ด้วยมั๊ย รู้หมด
ถัดมาก็ ชื่อ ที่อยู่เบอร์โทร ผู้ผลิต และที่สำคัญ เบอร์โทร กรณีเกิดเหตุฉุกละหุก



 

ข้อมูลในส่วนนี้สำคัญมาก ต้องอ่าน และทำความเข้าใจให้ดี บางคนบอก โหพี่ ภาษาอังกฤษ ผมไม่ได้ใช้นานแระ ตั้งแต่ย้ายไปเรียนเยระมัน พอเจ้าคุณปู่เสีย กลับมาเรียนที่บุรีรัมย์ ไม่ได้ใช้นาน อ่านไม่ออก.. มะจะอ่านให้ฟังทีละบรรทัด โอเข

 

บรรทัดแรก สิ่งที่พึงรู้ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน มันบอกว่า สารเคมีตัวนี้จัดได้ว่าเป็นสารที่อันตราย ตามกฎหมายกระทรวงแรงงานสหรัฐ เรื่องมาตรฐานการสื่อให้รู้ถึงอันตราย (29 CFR 1910.1200) อ่ะ ข้างหลังยกมือ จะถามว่าอะไร อ๋อ...บ้านเรามีมั๊ย กฎหมา แบบเนี๊ย... คำตอบคือ...แถ่น แทน แท๊น... มีครับ กฎหมาเราชื่อว่า กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.. ๒๕๕๖

 

ไว้จะมาชำแหละให้ฟังอีกที เกี่ยวกับกฎหมาฉบับนี้ เดี๋ยวไม่จบ

บรรทัดถัดมา มีคำว่า Warning! วาร์นนิ่ง แปลว่า คำเตือน

·       สารเคมีตัวนี้กัดกร่อนโลหะอะลูมิเนียม

·       สารตัวนี้เจือปนด้วยไตรโซเดี่ยม หรือ เอ็นทีเอ เล็กน้อยซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อไต หรือทำให้เกิดมะเร็งที่ไตของสัตว์ทดลอง (ไม่ได้บอกว่าไตของคนนะ ไปคิดเอาเองมั่ง บางเรื่องให้คิดไม่รู้จักคิด บางเรื่องไม่ให้คิดมากก็ดันเอาไปคิด)

·       สารเคมีตัวนี้ทำให้เกิดอันตรายต่อฟีตัส อันนี้หมายถึงตัวอ่อนที่ยังอยู่ในครรภ์ ของสัตว์ทดลอง

·       หลีกเลี่ยง อย่าให้เข้าตา ผิวหนัง หรือเปื้อนเสื้อผ้า เอาไปฝากลูกเมียที่บ้าน เขาไม่รู้อิโหน่อิเหน่

·       สารเคมีตัวนี้ ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เวลาใช้งานมัน อ่ะ มีคำถาม ทำไมต้องใส่ ไม่ใส่ได้มั๊ย ด๊าย... แต่นายจ้างต้องห้ามลูกจ้างทำงานกับสารเคมี ผิดกฎหมาย เอ็งก็ด้วย ไม่ใช่เฉพาะนายจ้าง .. แต่อย่าว่าอย่างนั้นอย่างนี้เลย รู้รึยังว่ามันอันตราย.. บางคนเถียง ผมไม่มีตัวอ่อนในครรภ์ครับพี่ มีแต่ตัวอ่อนห้อยอยู่นอกครรภ์ ตัวเท่าใส้กรอก โตเป็นบางที ฉี่ทีต้องประคอง

·       บรรทัดถัดมา บอกว่า สารเคมีตัวนี้ สีเหลืองจางๆใส เป็นของเหลว มีกลิ่นแอมโมเนียอ่อนๆ พูดง่ายๆ สีเหลืองคล้ายฉี่ กลิ่นก็คล้ายๆ ใครไม่รู้กลิ่นฉี่เป็นงัย ไปขอดมของเพื่อนไป

บรรทัดถัดมา ผลกระทบต่อสุขภาพ

 

สารเคมีตัวนี้เข้าสู่ร่างกายได้ด้วยเส้นทางหลักได้แก่ ทางตา ทางผิวหนัง และการสูดดม

ถัดมา มีคำว่า แอคคิ้วท์ถึ เอ็กโพเชอร์ แปลว่า ผลกระทบแบบเฉียบพลัน

·       เข้าตา ทำให้ระคายเคืองตา

·       ถูกผิวหนังแค่แป๊บๆไม่เป็นไร ถูกทุกวัน ซ้ำๆ ระคายเคืองผิว

·       หายใจเอาไอระเหยเข้มข้นเข้าไป ฮู่ย เชื่อกูดิ อย่างมึง ไม่เป็นไรหรอก ล้อเล่น ระคายเคืองทางเดินหายใจ

เอาล่ะ เห็นยังว่า เอกสารฉบับนี้มีประโยชน์มาก อย่างน้อยๆ ก็ห่อกล้วยแขกได้ เช็ดก้นก็ได้ ถ้าอ่านก็ดี อ่านแล้วคิดตามก็เกิดประโยชน์ เอาไว้แค่นี้ก่อนนะ

 

ษมน รจนาพัฒน์

17 December 2014

คนเดียวหัวหาย...


เคยบ้างไหมที่คุณต้องอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ เช่น



1.     มาถึงที่ทำงานแต่เช้ามืด หรือกลับจากที่ทำงานตอนที่ไม่เหลือใครเลย มันช่างวังเวงสิ้นดี... บางคนส่ายหน้าหัวแทบหลุด มีด้วยเหรอมาทำงานแต่เช้ามืด กลับทีหลัง ไม่เค้ย... มีแต่มาถึงเกือบเที่ยง กลับประมาณบ่ายสอง...ยังคึกคักอยู่เลย ไม่วังเวง

2.     จัดกะใหม่ เหลือคนอยู่กระจุกเดียว ...บางคนนึกเถียงในใจ คนนะไม่ใช้ขน เรียกว่ากระจุกเดียวได้ไง...

3.     โรงงานหยุดเครื่อง เงียบเชียบ...คือมันขายดียังกับเทน้ำเทท่า ต้องหยุดเครื่องบ้างเดินเครื่องบ้าง ไม่งั้นจะรวยเกินไป...ไม่สอดคล้องกับนโยบาย ไรท์ทูโก...(ตามึงต้องไปแระ)

4.     ทำความสะอาดออฟฟิศ/ โรงงานหลังชั่วโมงทำงานปกติ เหลือกันแค่ยามสุดหล่อกับแม่บ้านสุดสวย.

5.     ซ่อมเครื่อง เพราะมันพังเป็นรูทีน หรือซ่อมเครื่องตามแผนงาน (วางแผนว่ามันพังเป็นรูทีนไง)

6.     ทดลองเดินเครื่องที่เพิ่งติดตั้งใหม่ เจ้าของหวงมาก ใส่ม่านซะรอบ มิดชิด ใช้คนสองสามคน กลัวความลับรั่วไหล

7.     เดินตรวจสอบไปตามจุดต่างๆในโรงงาน บางที่ไม่เคยกล้ำกรายเข้าไปเลยพับผ่า อยู่โรงงานมาเกือบสามปี ไม่เคยเข้าไปห้องนี้เลย...มีผ้าสามสีผูกไว้ด้วย

8.     เป็นพนักงานผลิต แต่เจ้านายใช้ให้อยู่ทำความสะอาดเครื่องหลังงานเลิก...อยู่กันสองสามคน อยู่มากไม่ได้ โอทีเกิน

9.     เป็นฝ่ายขาย ตะลอนไปตามถิ่นทุระกันดาร เพื่อขายสินค้า หรือตามเก็บเงินลูกหนี้...(เหมือนขายยาลูกกลอนตามบ้านนอก ไปคนเดียวหมาไล่ฟัดเกือบตาย)

 



สถานการณ์ที่ยกตัวอย่างมานั้น เป็นลักษณะงานที่ฝรั่งเรียกว่า Lone Worker หรือ Working in Isolation

ภาษาไทยเข้าทำนอง คนเดียวหัวหาย

ลักษณะงานแบบนี้ นายจ้าง หรือผู้จัดการ หรือหัวหน้างานมีหน้าทีในการดูแลและป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะลักษณะงานที่นำมาซึ่งสถานการณ์แบบคนเดียวหัวหายนั้น บางทีพนักงานอยู่ไกลจากผู้คน ไม่มีมองเห็นหรือได้ยิน เวลาเกิดอะไรขึ้น ไม่มีใครรู้ และไม่มีใครช่วยได้ทัน และเป็นงานที่มีอันตรายและความเสี่ยง เช่นซ่อมเครื่องจักร ไฟฟ้า เข้าที่อับอากาศ เป็นต้น

มาตรการป้องกันมีอะไรบ้าง
 
1.      ประเมินลักษณะงาน แจกแจงอันตรายที่อาจจะเกิด ระดับความเสี่ยงและกำหนดมาตรการป้องกัน ไม่ใช่สุ่มสี่สุ่มห้าสั่งลูกน้องทำงาน โดยเฉพาะงานที่กฎหมายห้ามทำคนเดียว เช่น งานที่อับอากาศ งานที่สูง งานยกด้วยเครน งานไฟฟ้าแรงสูง งานที่ต้องเข้าไปในที่ร้อนมากๆ เช่นเตา งานที่ต้องดูแลเงินสดเป็นจำนวนมากๆ แค่ร้อยสองร้อยไม่ต้องกังวล งานที่เสี่ยงต่อการตกและจมน้ำ เป็นต้น
2.      ก่อนจะให้เขาทำงานประเภทนี้ ตอบคำถามนี้ก่อน  หลีกเลี่ยงได้ไหม”… ถ้าไม่ได้จริงๆ ตอบคำถามพวกนี้อีกแป๊บนึง ก่อนตัดสินใจ
ก.      มีคนปฐมพยาบาลอยู่ใกล้ๆ หรือพอจะเรียกหายามฉุกเฉินได้ไหม
ข.      เขาอยู่ในจุดที่คนอื่นมองไปแล้วเห็นได้ไหม
ค.     คนอื่นสามารถได้ยินเสียงขอความช่วยเหลือของเขาได้ไหม
ถ้าตอบว่า ไม่ทั้งสามข้อนี้ นั่นแหละ เขาอยู่ในความเสี่ยงแบบคนเดียวหัวหาย หยุดเลย อย่าเพิ่งทำ แต่เดี๋ยวก่อน ถ้าเขา...
 
ง.      เขามีอุปกรณ์สื่อสารหรือเครื่องส่งสัญญานขอความช่วยเหลือได้ไหม  ถ้าคำตอบคือ มี ก็สามารถลงมือทำงานนั้นได้
จ.      หน่วยฉุกเฉินสามารถเข้าให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงทีหรือไม่ ทันท่วงทีช่วยเหลือนะ ไม่ใช่มาทันเก็บศพ อันนั้นไม่นับ ถ้าหน่วยฉุกเฉินมาได้เร็ว ทันการณ์ ช่วยได้ปลอดภัย ก็ทำได้ แต่ถ้า กว่าจะกระเยาะกระแยะมา ตายพอดี แบบนี้ หยุดเลย หามาตรการเพิ่มเติมเสียก่อน
 
 
 
มาตรการเพิ่มเติมที่ต้องจัดให้มีคือ
 
1.     ระบบบัดดี้ เกิดเหะหะขึ้นมา จะได้ช่วยกันได้ เวลาเลือกบัดดี้ เลือกไอ้ที่มันรู้เรื่อง ซื่อบื้อเป็นซอมบี้อย่าเอาไปจับคู่กัน
2.     ระบบสื่อสาร เช่นวิทยุ โทรศัพท์มือถือ (ต้องมีสัญญาน ใส่ซิม เติมเงินให้พร้อมนะ ไม่ใช่ส่งสากกะเบือให้เขา)
3.     ให้รายชื่อผู้ที่เขาต้องติดต่อด้วย ชี้แจงให้ชัดเจน อย่าลืม ดูว่า เขาพูดภาษาไทยได้ไหม เดี๋ยวโทรติดแล้วคุยกันไม่รู้เรื่อง จะลำบาก
4.     ในประเทศที่เขามีตังค์ เขาจะจัดให้พนักงานพกพาเครื่องส่งสัญญานฉุกเฉินติดตัว (Man-down-alarm)  ที่ส่งสัญญานเรียกความช่วยเหลือและแจ้งเข้าศูนย์ควบคุมอัตโนมัติหากเขาหมดสติไม่ไหวติง เครื่องหนึ่งก็ราวๆ สามสี่หมื่น บริษัทเรารวยมาก เอาไว้ก่อน ใช้สามข้อนั่นก่อน ถูกและดี
 
ที่กล่าวมาทั้งหมด คือมาตรการที่ผู้เกี่ยวข้องควรทราบและนำไปปฏิบัติ ส่วพนักงานเองก็พึงระลึกไว้เสมอว่า อย่าเอาตัวไปอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น โดยไม่ปรึกษาหัวหน้าก่อน จำไว้ คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย แต่ถ้าสองคนซื่อบื้อเหมือน ไอฟาย ...ตายทั้งคู่เลย ไม่เหงา...


วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กระทำการโดยประมาท ใครทำไว้วะ


อยากได้แบบนี้มั่งจัง


 

กฎหมาย บิล ซี-45

ประเทศแคนาดา ออกกฎหมายแก้ไขกฎหมายอาญา และประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2004 สิบปีมาแล้ว กฎหมายฉบับนี้กำหนดความรับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพในสถานประกอบการ และกำหนดโทษขั้นรุนแรงในการละเมิดกฎหมายจนเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต กฏหมายฉบับนี้ยังเอาผิดกับองค์กร รวมถึงระดับกลุ่มบริษัท ผู้กระทำการแทน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลการทำงาน

กฎหมายนี้เพิ่มข้อความลงไปในหมวดใหม่ ของกฎหมายอาญาเลย เป็นหมวด 217.1 ใจความว่า

บุคคลใดๆที่ทำ หรือมีหน้าที่ ในการกำกับดูแลถึงวิธีการทำงาน หรือทำหน้าที่ใดๆของบุคคล มีหน้าที่ตามกฏหมายที่จะต้องรับผิดชอบขั้นตอนต่างๆที่สมเหตุสมผลในการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากการทำงานนั้นต่อบุคคลนั้นหรือบุคคลอื่นๆ

ข้อ 22.1 และ 22.2 ในกฎหมายอาญา ให้เอาผิดกับองค์กร และผู้ทำการแทน สำหรับการละเลยและการฝ่าฝืนอื่นๆ

ทำไมแคนาดาออกกฎหมายในหมวดนี้

กฎหมายฉบับนี้เรียกอีกอย่างว่า เวสต์เทรย์ บิล สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์เหมืองถ่านหินเวสต์เทรย์ที่เมือง โนวาสโคเทียระเบิดเมื่อปี 1992 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นคนงานทั้งหมด 26 ราย เหตุการระเบิดเกิดจากการติดไฟของแก็สมีเธน ซึ่งแม้ว่าจะมีการร้องเรียนจากคนงาน สหภาพแรงงาน และหน่วยงานราชการก่อนหน้านั้น แต่บริษัทไม่ดำเนินการอะไรอย่างดีพอ จนเกิดเหตุโศกนาฎกรรมขึ้นในที่สุด

ตำรวจและหน่วยราชการจับมือใครมาดมไม่ได้สักคน ได้แต่ยืนกุมกระดือตาปริบๆ เหมือนเมืองไทยเลย กฎหมายเพียบ แต่ใช้ไม่ได้เลยซักฉบับ "นี่ก็เห็นร่ำๆจะเลือกนายก เลือกรัฐมนตรีโดยตรง กูว่า ไม่ต้องเลือกเลยดีกว่า อยู่กันไปแบบนี้แหละ เบื่อก็ลุกมาประท้วงกันที ปฏิวัติกันทีนึง มันส์ดีออก (ผีผู้ชุมนุมเข้าสิงครับ ผมไม่ได้พูดเองนะ)"

ที่สหรัฐอเมริกา มีการฟ้องในข้อหา Wrongful Death แปลเป็นไทยก็คือ ผิดเต็มๆจนเป็นเหตุให้มีผู้ถึงแก่ความตาย ก็คือว่า สามารถฟ้องร้องเอาผิดกับคนที่ทำให้บุคคลอันเป็นที่รักของผู้ฟ้องถึงแก่ความตาย เนื่องมาจากการปล่อยปละละเลย หรือ Negligence การฟ้องร้องค่าเสียหายยังสามารถไล่เบี้ยไปถึงบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ที่รับผิดชอบ และหน่วยงานที่รับผิดชอบสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายจนถึงตาย อย่างเช่น ไอ้พวกขุดถนน ไม่ตั้งป้าย ไม่กั้นรั้ว ไม่ติดไฟ ไม่ให้สัญญาน แล้วรถวิ่งตกลงไปตาย แบบนี้ ถ้าเป็นที่อเมริกา สามารถฟ้องเอาผิดกับคนที่เกี่ยวข้อง ยาวไปจนถึงกรมทางหลวงที่รับผิดชอบงานนั้น เรียกว่าฟ้องกันให้รวยไปข้างหนึ่ง บางคนตาลุกโพลง แหม ช่างดีเสียนี่กระไร ไอ้แก่กับกิ๊กมัน ขับรถไปตกหลุมตายดั่งใจแล้วยังฟ้องได้ตังค์ เรียกค่าเสียหายจากการตายของบุคคลอันเป็นที่รักด้วย (อุแหวะ) การฟ้องแบบนี้ยังรวมไปถึง การที่คนงานเสียชีวิต จากการกระทำหรือไม่กระทำของนายจ้าง แหมฟังดูแล้ว อยากให้เมืองไทยมีแบบนี้มั่งจัง

ยกตัวอย่าง คดี เมื่อปี 2010 ศาลสั่งให้บริษัทแห่งหนึ่งจ่ายค่าเสียหายแก่เด็กสองคนที่ต้องสูญเสียพ่อไปในการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน เป็นวงเงินถึง 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย ที่ค่าเงินบาท ด่อกแด่ก 30 บาทต่อดอลลาร์ เท่ากับ 48 ล้านบาท ไงล่ะ

จะว่าไปแล้ว กฎหมายไทยก็มีนะ ไอ้ข้อความทำนองนี้ ใน พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 แต่โทษที่กำหนด อย่างมากก็แค่ติดคุกหนึ่งปี ปรับไม่เกิน 400,000 บาท ส่วนใหญ่ ก็ไม่เคยถึงคนใหญ่ๆโตๆในบริษัท อย่างมากก็ โฟร์แมน ซวยทั้งขึ้นทั้งล่อง  งานก็จะเอาเร็ว เซฟตี้ก็ไม่ให้งบให้เวลา

คนงานโดนเครื่องตัดนิ้งกุด เหลือสามนิ้ว ไอ้นี่ ถ้าไปเดินเกะกะแถวอนุสาวรีย์ มีหวังโดนข้อหากระทำการอันก่อความไม่สงบ พกพาสามนิ้วไปในที่สาธารณะ คสช.รับไม่ได้ โดยเอาไปปรับทัศนคติแน่

 

 

กฏหมายอาญาของบ้านเรานะเรอะ เฮอะ (กว่าจะตีความว่ากระทำการโดยประมาท เป็นเหตุให้มีผู้ถึงแก่ชีวิต แล้วฟ้องกันจบ กว่าจะไปต่อคดีแพ่ง คดีมันล้มตั้งแต่ขยับตูดออกจากโรงพักแล้ว

 

 

ติดคุกเพราะชำนาญการ

 พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มีข้อกำหนดมากมายหลายมาตรา รับกันมาเป็นทอดๆ ไล่ไปตั้งแต่มาตรา 4 ที่เ...