วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

คนเดียวหัวหาย...


เคยบ้างไหมที่คุณต้องอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ เช่น



1.     มาถึงที่ทำงานแต่เช้ามืด หรือกลับจากที่ทำงานตอนที่ไม่เหลือใครเลย มันช่างวังเวงสิ้นดี... บางคนส่ายหน้าหัวแทบหลุด มีด้วยเหรอมาทำงานแต่เช้ามืด กลับทีหลัง ไม่เค้ย... มีแต่มาถึงเกือบเที่ยง กลับประมาณบ่ายสอง...ยังคึกคักอยู่เลย ไม่วังเวง

2.     จัดกะใหม่ เหลือคนอยู่กระจุกเดียว ...บางคนนึกเถียงในใจ คนนะไม่ใช้ขน เรียกว่ากระจุกเดียวได้ไง...

3.     โรงงานหยุดเครื่อง เงียบเชียบ...คือมันขายดียังกับเทน้ำเทท่า ต้องหยุดเครื่องบ้างเดินเครื่องบ้าง ไม่งั้นจะรวยเกินไป...ไม่สอดคล้องกับนโยบาย ไรท์ทูโก...(ตามึงต้องไปแระ)

4.     ทำความสะอาดออฟฟิศ/ โรงงานหลังชั่วโมงทำงานปกติ เหลือกันแค่ยามสุดหล่อกับแม่บ้านสุดสวย.

5.     ซ่อมเครื่อง เพราะมันพังเป็นรูทีน หรือซ่อมเครื่องตามแผนงาน (วางแผนว่ามันพังเป็นรูทีนไง)

6.     ทดลองเดินเครื่องที่เพิ่งติดตั้งใหม่ เจ้าของหวงมาก ใส่ม่านซะรอบ มิดชิด ใช้คนสองสามคน กลัวความลับรั่วไหล

7.     เดินตรวจสอบไปตามจุดต่างๆในโรงงาน บางที่ไม่เคยกล้ำกรายเข้าไปเลยพับผ่า อยู่โรงงานมาเกือบสามปี ไม่เคยเข้าไปห้องนี้เลย...มีผ้าสามสีผูกไว้ด้วย

8.     เป็นพนักงานผลิต แต่เจ้านายใช้ให้อยู่ทำความสะอาดเครื่องหลังงานเลิก...อยู่กันสองสามคน อยู่มากไม่ได้ โอทีเกิน

9.     เป็นฝ่ายขาย ตะลอนไปตามถิ่นทุระกันดาร เพื่อขายสินค้า หรือตามเก็บเงินลูกหนี้...(เหมือนขายยาลูกกลอนตามบ้านนอก ไปคนเดียวหมาไล่ฟัดเกือบตาย)

 



สถานการณ์ที่ยกตัวอย่างมานั้น เป็นลักษณะงานที่ฝรั่งเรียกว่า Lone Worker หรือ Working in Isolation

ภาษาไทยเข้าทำนอง คนเดียวหัวหาย

ลักษณะงานแบบนี้ นายจ้าง หรือผู้จัดการ หรือหัวหน้างานมีหน้าทีในการดูแลและป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะลักษณะงานที่นำมาซึ่งสถานการณ์แบบคนเดียวหัวหายนั้น บางทีพนักงานอยู่ไกลจากผู้คน ไม่มีมองเห็นหรือได้ยิน เวลาเกิดอะไรขึ้น ไม่มีใครรู้ และไม่มีใครช่วยได้ทัน และเป็นงานที่มีอันตรายและความเสี่ยง เช่นซ่อมเครื่องจักร ไฟฟ้า เข้าที่อับอากาศ เป็นต้น

มาตรการป้องกันมีอะไรบ้าง
 
1.      ประเมินลักษณะงาน แจกแจงอันตรายที่อาจจะเกิด ระดับความเสี่ยงและกำหนดมาตรการป้องกัน ไม่ใช่สุ่มสี่สุ่มห้าสั่งลูกน้องทำงาน โดยเฉพาะงานที่กฎหมายห้ามทำคนเดียว เช่น งานที่อับอากาศ งานที่สูง งานยกด้วยเครน งานไฟฟ้าแรงสูง งานที่ต้องเข้าไปในที่ร้อนมากๆ เช่นเตา งานที่ต้องดูแลเงินสดเป็นจำนวนมากๆ แค่ร้อยสองร้อยไม่ต้องกังวล งานที่เสี่ยงต่อการตกและจมน้ำ เป็นต้น
2.      ก่อนจะให้เขาทำงานประเภทนี้ ตอบคำถามนี้ก่อน  หลีกเลี่ยงได้ไหม”… ถ้าไม่ได้จริงๆ ตอบคำถามพวกนี้อีกแป๊บนึง ก่อนตัดสินใจ
ก.      มีคนปฐมพยาบาลอยู่ใกล้ๆ หรือพอจะเรียกหายามฉุกเฉินได้ไหม
ข.      เขาอยู่ในจุดที่คนอื่นมองไปแล้วเห็นได้ไหม
ค.     คนอื่นสามารถได้ยินเสียงขอความช่วยเหลือของเขาได้ไหม
ถ้าตอบว่า ไม่ทั้งสามข้อนี้ นั่นแหละ เขาอยู่ในความเสี่ยงแบบคนเดียวหัวหาย หยุดเลย อย่าเพิ่งทำ แต่เดี๋ยวก่อน ถ้าเขา...
 
ง.      เขามีอุปกรณ์สื่อสารหรือเครื่องส่งสัญญานขอความช่วยเหลือได้ไหม  ถ้าคำตอบคือ มี ก็สามารถลงมือทำงานนั้นได้
จ.      หน่วยฉุกเฉินสามารถเข้าให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงทีหรือไม่ ทันท่วงทีช่วยเหลือนะ ไม่ใช่มาทันเก็บศพ อันนั้นไม่นับ ถ้าหน่วยฉุกเฉินมาได้เร็ว ทันการณ์ ช่วยได้ปลอดภัย ก็ทำได้ แต่ถ้า กว่าจะกระเยาะกระแยะมา ตายพอดี แบบนี้ หยุดเลย หามาตรการเพิ่มเติมเสียก่อน
 
 
 
มาตรการเพิ่มเติมที่ต้องจัดให้มีคือ
 
1.     ระบบบัดดี้ เกิดเหะหะขึ้นมา จะได้ช่วยกันได้ เวลาเลือกบัดดี้ เลือกไอ้ที่มันรู้เรื่อง ซื่อบื้อเป็นซอมบี้อย่าเอาไปจับคู่กัน
2.     ระบบสื่อสาร เช่นวิทยุ โทรศัพท์มือถือ (ต้องมีสัญญาน ใส่ซิม เติมเงินให้พร้อมนะ ไม่ใช่ส่งสากกะเบือให้เขา)
3.     ให้รายชื่อผู้ที่เขาต้องติดต่อด้วย ชี้แจงให้ชัดเจน อย่าลืม ดูว่า เขาพูดภาษาไทยได้ไหม เดี๋ยวโทรติดแล้วคุยกันไม่รู้เรื่อง จะลำบาก
4.     ในประเทศที่เขามีตังค์ เขาจะจัดให้พนักงานพกพาเครื่องส่งสัญญานฉุกเฉินติดตัว (Man-down-alarm)  ที่ส่งสัญญานเรียกความช่วยเหลือและแจ้งเข้าศูนย์ควบคุมอัตโนมัติหากเขาหมดสติไม่ไหวติง เครื่องหนึ่งก็ราวๆ สามสี่หมื่น บริษัทเรารวยมาก เอาไว้ก่อน ใช้สามข้อนั่นก่อน ถูกและดี
 
ที่กล่าวมาทั้งหมด คือมาตรการที่ผู้เกี่ยวข้องควรทราบและนำไปปฏิบัติ ส่วพนักงานเองก็พึงระลึกไว้เสมอว่า อย่าเอาตัวไปอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น โดยไม่ปรึกษาหัวหน้าก่อน จำไว้ คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย แต่ถ้าสองคนซื่อบื้อเหมือน ไอฟาย ...ตายทั้งคู่เลย ไม่เหงา...


วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กระทำการโดยประมาท ใครทำไว้วะ


อยากได้แบบนี้มั่งจัง


 

กฎหมาย บิล ซี-45

ประเทศแคนาดา ออกกฎหมายแก้ไขกฎหมายอาญา และประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2004 สิบปีมาแล้ว กฎหมายฉบับนี้กำหนดความรับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพในสถานประกอบการ และกำหนดโทษขั้นรุนแรงในการละเมิดกฎหมายจนเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต กฏหมายฉบับนี้ยังเอาผิดกับองค์กร รวมถึงระดับกลุ่มบริษัท ผู้กระทำการแทน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลการทำงาน

กฎหมายนี้เพิ่มข้อความลงไปในหมวดใหม่ ของกฎหมายอาญาเลย เป็นหมวด 217.1 ใจความว่า

บุคคลใดๆที่ทำ หรือมีหน้าที่ ในการกำกับดูแลถึงวิธีการทำงาน หรือทำหน้าที่ใดๆของบุคคล มีหน้าที่ตามกฏหมายที่จะต้องรับผิดชอบขั้นตอนต่างๆที่สมเหตุสมผลในการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากการทำงานนั้นต่อบุคคลนั้นหรือบุคคลอื่นๆ

ข้อ 22.1 และ 22.2 ในกฎหมายอาญา ให้เอาผิดกับองค์กร และผู้ทำการแทน สำหรับการละเลยและการฝ่าฝืนอื่นๆ

ทำไมแคนาดาออกกฎหมายในหมวดนี้

กฎหมายฉบับนี้เรียกอีกอย่างว่า เวสต์เทรย์ บิล สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์เหมืองถ่านหินเวสต์เทรย์ที่เมือง โนวาสโคเทียระเบิดเมื่อปี 1992 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นคนงานทั้งหมด 26 ราย เหตุการระเบิดเกิดจากการติดไฟของแก็สมีเธน ซึ่งแม้ว่าจะมีการร้องเรียนจากคนงาน สหภาพแรงงาน และหน่วยงานราชการก่อนหน้านั้น แต่บริษัทไม่ดำเนินการอะไรอย่างดีพอ จนเกิดเหตุโศกนาฎกรรมขึ้นในที่สุด

ตำรวจและหน่วยราชการจับมือใครมาดมไม่ได้สักคน ได้แต่ยืนกุมกระดือตาปริบๆ เหมือนเมืองไทยเลย กฎหมายเพียบ แต่ใช้ไม่ได้เลยซักฉบับ "นี่ก็เห็นร่ำๆจะเลือกนายก เลือกรัฐมนตรีโดยตรง กูว่า ไม่ต้องเลือกเลยดีกว่า อยู่กันไปแบบนี้แหละ เบื่อก็ลุกมาประท้วงกันที ปฏิวัติกันทีนึง มันส์ดีออก (ผีผู้ชุมนุมเข้าสิงครับ ผมไม่ได้พูดเองนะ)"

ที่สหรัฐอเมริกา มีการฟ้องในข้อหา Wrongful Death แปลเป็นไทยก็คือ ผิดเต็มๆจนเป็นเหตุให้มีผู้ถึงแก่ความตาย ก็คือว่า สามารถฟ้องร้องเอาผิดกับคนที่ทำให้บุคคลอันเป็นที่รักของผู้ฟ้องถึงแก่ความตาย เนื่องมาจากการปล่อยปละละเลย หรือ Negligence การฟ้องร้องค่าเสียหายยังสามารถไล่เบี้ยไปถึงบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ที่รับผิดชอบ และหน่วยงานที่รับผิดชอบสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายจนถึงตาย อย่างเช่น ไอ้พวกขุดถนน ไม่ตั้งป้าย ไม่กั้นรั้ว ไม่ติดไฟ ไม่ให้สัญญาน แล้วรถวิ่งตกลงไปตาย แบบนี้ ถ้าเป็นที่อเมริกา สามารถฟ้องเอาผิดกับคนที่เกี่ยวข้อง ยาวไปจนถึงกรมทางหลวงที่รับผิดชอบงานนั้น เรียกว่าฟ้องกันให้รวยไปข้างหนึ่ง บางคนตาลุกโพลง แหม ช่างดีเสียนี่กระไร ไอ้แก่กับกิ๊กมัน ขับรถไปตกหลุมตายดั่งใจแล้วยังฟ้องได้ตังค์ เรียกค่าเสียหายจากการตายของบุคคลอันเป็นที่รักด้วย (อุแหวะ) การฟ้องแบบนี้ยังรวมไปถึง การที่คนงานเสียชีวิต จากการกระทำหรือไม่กระทำของนายจ้าง แหมฟังดูแล้ว อยากให้เมืองไทยมีแบบนี้มั่งจัง

ยกตัวอย่าง คดี เมื่อปี 2010 ศาลสั่งให้บริษัทแห่งหนึ่งจ่ายค่าเสียหายแก่เด็กสองคนที่ต้องสูญเสียพ่อไปในการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน เป็นวงเงินถึง 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย ที่ค่าเงินบาท ด่อกแด่ก 30 บาทต่อดอลลาร์ เท่ากับ 48 ล้านบาท ไงล่ะ

จะว่าไปแล้ว กฎหมายไทยก็มีนะ ไอ้ข้อความทำนองนี้ ใน พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 แต่โทษที่กำหนด อย่างมากก็แค่ติดคุกหนึ่งปี ปรับไม่เกิน 400,000 บาท ส่วนใหญ่ ก็ไม่เคยถึงคนใหญ่ๆโตๆในบริษัท อย่างมากก็ โฟร์แมน ซวยทั้งขึ้นทั้งล่อง  งานก็จะเอาเร็ว เซฟตี้ก็ไม่ให้งบให้เวลา

คนงานโดนเครื่องตัดนิ้งกุด เหลือสามนิ้ว ไอ้นี่ ถ้าไปเดินเกะกะแถวอนุสาวรีย์ มีหวังโดนข้อหากระทำการอันก่อความไม่สงบ พกพาสามนิ้วไปในที่สาธารณะ คสช.รับไม่ได้ โดยเอาไปปรับทัศนคติแน่

 

 

กฏหมายอาญาของบ้านเรานะเรอะ เฮอะ (กว่าจะตีความว่ากระทำการโดยประมาท เป็นเหตุให้มีผู้ถึงแก่ชีวิต แล้วฟ้องกันจบ กว่าจะไปต่อคดีแพ่ง คดีมันล้มตั้งแต่ขยับตูดออกจากโรงพักแล้ว

 

 

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ยางระเบิดดังปุ



อุบัติเหตุที่ทำให้สถิติแตกโพละ ที่เพิ่งเกิดที่โรงงานของเราที่ชลบุรี ทำให้ต้องย้อนกลับมาดูสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในกิจกรรมต่างๆที่นอกเหนือไปจากงานที่เกี่ยวกับการผลิตและการซ่อมบำรุงปกติ งานพวกนี้มักไม่ค่อยมีใครสนใจ ประเมินอันตรายและจัดการกับความเสี่ยง งานพวกนี้มักจะทำโดยคนไม่กี่คน ทำอยู่ในมุมมืด แดนสนธยา ไม่ค่อยมีการตรวจ การอบรม หรือมาตรการใดๆ

งานถอดเปลี่ยนยาง เติมลมยาง รถตักแร่ รถบรรทุก รถยก ที่ทั้งคนทำและคนยืนดูมองข้ามอันตรายไปโดยสิ้นเชิง

ปะยาง เติมลมยาง ถือว่าเป็นงานกระจอกสำหรับช่างทั้งหลาย พวกเก๋าๆ ไม่ค่อยทำเอง ส่วนใหญ่ใช้เด็กใหม่ทำมากกว่า

 

รูปที่เห็น เป็นการถ่ายโดยใช้กล้องความเร็วสูง 1500 ภาพต่อวินาที จับภาพของยางที่กำลังถูกเติมลม โดยมีหุ่นเด็กปั๊มชะตาขาดยืนดูอยู่ ภาพสุดท้ายยางระเบิดสลัดกระทะล้อที่ทั้งใหญ่และหนักกระแทกใบหน้าและศีรษะหุ่นตัวนี้ ผลก็คือ ตายคาที่
แล้วคุณละ เคยไปยืนดูช่างเปลี่ยนยางเติมลมใกล้ๆแบบนี้หรือไม่ ถ้าเคย แนะนำให้โอนมรดก หนี้สิน ที่ดิน ลูกเมียให้คนอื่นซะ เพราะไม่นานหรอก เมียจะเป็นหม้าย ลูกจะกำพร้า เจ้าหนี้จะชวดได้เงินคืน
 
 
 
 
มาตรการป้องกัน
·       ก่อนการเติมลมยางควรตรวจสอบสภาพยาง น็อตกระทะล้อและสภาพของกระทะล้อ ให้ดีว่าอยู่ในสภาพที่ชำรุดหรือไม่
·       วางยางในคอกเติมลม
·       ตรวจสอบหัวเติมลม สาย และตัววัดแรงดันลม
·       กันพื้นที่อย่าให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าใกล้
·       สวมแว่นตานิรภัยทุกครั้ง เพราะแรงระเบิดจะซัดสาดเศษหินเศษดินเข้าตาแตกได้ง่ายๆ
·       อย่าเติมลมเกินพิกัดกำหนด
·       อย่าใช้แก็สหรือความร้อนเป่ากระทะล้อที่ใส่ยางที่เติมแล้วเด็ดขาด
·       สำหรับพนักงานแวร์เฮาส์ อย่าเข้าใกล้ยางล้อรถที่มาบรรทุกของจนเต็มแล้วโดยไม่จำเป็น อย่าใช้ฆ้อน ท่อนเหล็กเคาะเช็คลมยางรถที่บรรทุกของ หรือยางที่วิ่งมาร้อนๆ
 
 
 


อีสามตัว


การทำอะไรที่ไม่ปลอดภัย หรือที่เรียกว่าอันเซฟแอกชั่น เป็นพฤติกรรม ที่คนเราเป็นกันทุกคน ที่ทำแบบนั้น มีคำอธิบายได้ว่า

ก็ทำแบบนี้มาเป็นร้อยๆพันๆครั้ง ไม่เห็นเป็นอะไร

ปีนบันได ก็ไม่เห็นต้องมีคนจับ บันไดขะโยกขะเยก ก็ใช้มาเป็นชาติแล้ว ไม่เห็นเคยตก สายไฟแบบนี้ก็ใช้กันทุกที่ ไม่เห็นเคยโดนไฟช๊อตสักที ลงบันได ไม่เคยจับราว แถมโทรศัพท์อีกต่างหาก ไม่เคยตกบันได จะอะไรกันนักกันหนา

เมาแล้วขับ ก็เรื่องธรรมดา ไม่เห็นจะเคยชนใคร แว่นนี่ก็เหมือนกัน ใส่แล้วปวดตา ปวดหัว บีบขมับ คับจมูก ท้องผูก คลื่นใส้ ใข่ดันบวม โอ๊ย รำคาญ  ร้อยทั้งร้อยครับ ถ้าโดนไปสักที จะไม่ทำแบบนั้นอีกเลย

ทั้งหมดนั้น เป็นพฤติกรรม หรือที่เรียกว่า บีเฮฟวิเออร์ Behavior

ภาษาไทยแบบคนคุ้นเคยกัน เรียกว่า สันดาน (น่าจะหมายถึงพฤติกรรมแย่ๆที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกแก้ไม่หาย)

นักวิชาการด้านความปลอดภัย เริ่มหันมาสนใจเรื่องพฤติกรรม กันมานานพอสมควร หลังจากที่ใช้ความพยายามป้องกันอุบัติเหตุ ด้วยมาตรการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือ เทคนิคทางวิศวกรรม การฝึกอบรม การออกกฎ ข้อบังคับ

สมัยก่อน ผมเรียกวิธีพวกนี้ว่า ทฤษฎีอีสามตัว 3E

 

ทฤษฎีอีสามตัว เป็นเรื่องที่ผมเขียนลงวารสารบริษัทสมัยอยู่โรงไฟฟ้าเอกชน จั่วหัวเรื่องแบบนี้เลย ส่งให้อีนางสนมของ เจ้านาย นังนี่เป็นผู้จัดการแผนกประชาสัมพันธ์ ปรากฏว่าไม่ถึงครึ่งชั่วโมง มันส่งต้นฉบับกลับมา บอกว่า หัวเรื่อง ไม่สุภาพ อ้าว อีนี่... ก็ตัวอีสามตัวจะให้อ่านยังไง อีสามตัวไม่สุภาพตรงไหน
·       อีแรก คืออีเอ็นจิเนียริ่ง Engineering คือวิศวกรรม
·       อีที่สองคืออีเอ็ดยูเคชั่น Education การให้ความรู้ การศึกษา
·       อีที่สามคืออีเอ็นฟอร์ซเม้นท์ Enforcement คือการใช้กฎกติกา
 
อีเวรนี่ ไม่ทันอ่าน ตีเรื่องกลับ จะเอาเรื่องที่เป็นวิชาการเซฟตี้ ก็นี่งัยอีหอก นี่แหละวิชาการสำคัญเลยนะมึง (สมัยก่อนนั้นผมปากจัดมาก จำได้ว่าอีนี่โดนผมด่าเป็นหมันไปเลย) มันไม่เอาเรื่องผมไปลง ตัดเรื่องผมออก แล้วไปเขียนคอลัมน์เอง เลาะรั้วโรงงาน มีแต่เรื่อง หมาเจ้านายชื่อนั้นชื่อนี้ อู๊ย น่ารักอย่างนั้นอย่างนี้ แหวะ ใครอยากรู้วะ ว่าหมาเจ้านายชื่ออะไร มันชอบแดกใส้กรอกบีเคพี อีควาย (ขออภัย พูดถึงอีนี่แล้วมันเดือดดาล  พุทโธ ไว้ เย็นไว้ หายใจเข้า พูธ หายใจออกโธ)
 
กลับเข้าเรื่องดีกว่า ทฤษฎีอีสามตัวเหมือนว่าจะเอาอยู่ อย่างอันตรายจากการข้ามถนน มีอันตรายเกิดจากรถราขวักไขว่ ชนคนก็ตาย ชนกันเองก็พัง แก้ด้วยวิธีวิศวกรรมทำยังไง ก็สร้างสะพานลอยไง  สะพานลอยนี่เป็นวิธีทางวิศวกรรมที่ผมไม่ค่อยเห็นในประเทศไหนๆ ที่เมืองไทยนี่เยอะสุดแล้ว กะว่าสร้างสะพานลอยเสร็จ ผู้คนจะข้าม จะใช้มัน แต่เปล่าเลย วิ่งข้ามถนนเหมือนเดิม สะพานลอยกลายเป็นที่สำหรับขอทาน หรือพวกโจรขโมยใช้ทำมาหากิน

สะพานลอยไม่เวิร์ค คนยังวิ่งข้ามถนนใต้สะพานลอย ผู้บริหารหัวเหม่ง ไม่ท้อถอย วิ่งข้ามถนนใต้สะพายลอยใช่มั๊ย ทำราวกั้นเลย ทำรั้วกั้น ยาวไปเลย ทำเสร็จแล้วเป็นไง  มันปีนข้ามรั้ว วิ่งข้ามถนนใต้สะพานลอยเหมือนเดิม รถชนตายท่าเดิมเลย

ทีนี้ก็รณรงค์กันเป็นการใหญ่ ใช้อีตัวที่สอง เอ็ดยุเคชั่น ให้ความรู้ ทำป้ายโฆษณา แล้วงัย ... ทั้งเด็กผู้ใหญ่ นักเรียนนักศึกษา ครูบาอาจารย์ ปีนรั้ว วิ่งข้ามถนนใต้สะพานลอย เช่นเดิม

ใช้อีตัวสุดท้าย Enforcement เอาตำรวจมาไล่จับไล่ปรับ เอาจ่าเฉยมาตั้ง เอากล้องมาติด โอ้ว แม่เจ้า... ประเทศสาระขันธ์นี่ สามอียังเอาไม่อยู่ เลยต้องยึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญ ปฏิรูปประเทศกันยกใหญ่ (ไปนู่นได้ยังไงนะเรา)
 
ทฤษฎีเขาน่ะดี ครับ แต่ไม่สามารถเข้าถึงพฤติกรรมคนไทย เมื่อสักครู่ผมแปลว่าไงนะครับ อ๋อ ไม่เข้าถึงสันดานคนไทย ครับๆ ทำนองนั้น เพราะว่าทฤษฎีทางพฤติกรรมมันละเอียดอ่อน น่าสนใจ มาถึงตรงนี้ เลยจะเล่าให้ฟัง ว่า มีทฤษฎีอะไรบ้าง ที่เกี่ยวกับพฤติกรรม Behavioral Science

เอาจากเก่ามาหาใหม่เลยนะครับ
ทฤษฏีเอ็กซ์วายแซท XYZ บางคนงงๆ ทฤษฏีอะไรวะ ฟังดูเหมือนหนังเอ๊กซ์  ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เมืองนอกมันไม่รู้จักกันหรอก หนังเอ๊กซ์ เอ๊กซ์มูฟวี่ ไปหาซื้อ ฝรั่งมันงง มันคิดว่ามันฝรั่งทอดกรอบ
ทฤษฎีเอ็กซ์วายนี่ ค้นพบโดยฝรั่ง (คนไทยเรียกชาวต่างชาติว่าฝรั่ง น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า ฟร้านซ (France) พวกฝรั่งเศษ หรือพวก ฟร้านเซส ทำนองนั้น ไอ้ฝรั่งนี่มันชื่อว่า ดั๊กลาสแมคเกรเกอร์ ค้นพบเมื่อปี 1960 ก่อนผมเกิดห้าปี ตอนนั้นผมคงยังเป็นสัมภเวสีอยู่มั๊ง ไอ้นี่มันบอกว่า คนเรามีสองแบบ คือพวกเอ็กซ์ เป็นคนจำพวกขี้เกียจมาแต่อ้อนแต่ออก ใช้คำว่า อินเฮียร์เร้นทลี่ คือเกิดมาก็มีขี้ติดมาเลย เรียกขี้ชนิดนี้ว่าขี้เกียจ
ดั๊กลาสบอกอีกว่า พวกนี้ไม่ชอบทำงาน จะต้องคอยกำกับบังคับบัญชา กันอย่างใกล้ชิด เผลอเป็นหลับ ขยับเป็นแดก ทำนองนั้น เทคนิคการบริหารพวกเอ็กซ์ก็ต้องใช้การลงโทษ ถึงจะเอาอยู่ แบบว่า ออกมาชูสามนิ้วใช่มั๊ย  ไปจับไปอาบน้ำกันในค่ายทหาร พวกนี้ต้องเจอท่าเก็บสบู่ อะไรทำนองนั้น
อีกพวกหนึ่งคือพวกวาย คนแบบนี้เป็นประเภททะเยอทะยาน กระเหี้ยนกระหือ กระตือรือร้น พวกบ้าพลังอย่างเจ๊เนตรนี่แหละ

คนแบบวาย การทำงานมันโคครสนุก เหมือนเล่น ไม่เคยเบื่อ เลย ต่างกับพวกเอ๊กซ์ ไอ้พวกนี้ ขนาดให้เล่น จัดงานปีใหม่ งานแฟมิลี่เดย์ ไอ้พวกนี้ยังเบื่อเลย ขนาดไม่ได้ทำงานนะ โฮ่ๆๆๆ โดนละดิ โดนหลายคนเลย พวกวายนี่ ขืนทำโทษ โกรธจนลูกบวช แต่ถ้าชมนิดชมวันละหน่อย พวกนี้ทำตายเลย มันบ้ายอ
 
ริงๆแล้ว ไอ้ดั๊กลาสมันค้นพบทฤษฎีนี้ทีหลังปู่ย่าตายายเราเสียอีก ทฤษฎีรักวัวให้ผูกรักลูกให้ตีรักสามีให้หยิก รักกิ๊กให้มือถือ เราเจอก่อนมันอีก
ทฤษฎีในการสร้างแรงจูงใจของดั๊กลาสเกิดขึ้นและต่อยอดมาจากทฤษฎีของ อับบราฮัม มาสโลว์ 1943 ที่บอกว่า มนุษย์เราเนี่ย จะมีแรงจูงใจทำอะไรก็ต่อเมื่อความต้องการในแต่ละขั้นๆได้รับการตอบสนองก่อน
 
ความต้องการขั้นต่ำสุดของมนุษย์ก็คือ ความต้องการทางกายภาพ ท้องต้องอิ่ม มีน้ำดื่ม มีที่หลับนอน มีที่ขับถ่าย ถ้าคนยังหิว ไม่มีบ้าน ไม่มีส้วม ไม่มีเซ็กซ์ ไม่ได้สืบพันธุ์ จะไปบอกมันบอกว่า เฮ๊ย ใส่แว่นนะ ใส่เอียร์ปลั๊กดิ ใส่เซฟตี้ฮาร์นเนสนะ มันไม่สนหรอก บริษัทก็เหมือนกัน ยอดขายไม่ดี กำไรไม่มี ขาดทุนทุกเดือน โบนัสไม่มี จะให้ทำเซฟตี้ ฝันไปเถอะ
 
ความต้องการขั้นแรกได้รับหมดแล้ว มีบ้าน มีรถ มีเมีย คราวนี้ก็เรื่องความปลอดภัย บ้านก็ต้องปลอดภัย กันฝนกันแดด ร้อนไปใช่มั๊ย ซื้อฝ้าตราช้างมาติดดิ ดีนะ ของเค้าดี มีงานมีการทำ สภาพจิตใจ สภาพร่างกาย ดี พวกนี้ ให้ทำเซฟตี้ เขาก็เอา
ขั้นต่อมา ทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง พวกนี้เริ่มแสวงหาเพื่อนฝูง บางคนนั่งดูเฟสบุคทั้งวัน ใครส่งอะไรมา กูยังไม่อ่านเลย กดไลค์ไปก่อน เพื่อนจะได้รัก พวกที่มีเมียแล้วตอนขั้นที่หนึ่ง ก็เริ่มหารักแท้ ความสุขสมทางเพศ จากคู่รักใหม่ คนไทยเรียกกิ๊กกั๊ก
มีครบหมดแล้ว ขั้นเอสตีม พวกนี้ เริ่มแสวงหาความภาคภูมิใจ อย่างเล่นการเมือง เป็นนายก ไปไหนมีแต่คนยกมือไหว้ ใครๆนับหน้าถือตา มือเป็นฝักถั่ว (บางคนยกนิ้วกลางให้ยังคิดว่ามันยกมือไหว้เลย รับไหว้ปะลกปะลก
ขั้นต่อมา พวกที่แสวงหาความสุขสุดยอด ทำอะไรแปลกๆ เช่น กระโดดร่มดิ่งพสุธาตอนอายุเก้าสิบแปด ดำน้ำแต่งงานกลางทะเลลึก แสวงหาโมกขธรรม หาทางบรรลุจุดสุดยอดทางใจ (ต่างกับพวกแรกนะครับ ไอ้พวกแรกมีวิธีถึงจุดสุดยอดเหมือนกัน แต่สุขไม่เท่ากัน พวกนั้นมันสุขแปบเดียว)
ทฤษฎีมาสโลว์นี่ ผมใช้บ่อยๆ บางทีเห็นพวกฝรั่งเอามาใช้แล้วขัดใจ เพราะเวลาจะให้รางวัลคนงาน พวกฝรั่งบอกว่า อย่าไปแจกของ แจกเงิน แจกมาม่า แจกกาแฟ เดี๋ยวจะเคยตัวแบบทฤษฎีเอ็กซวาย ให้แจกเป็นใบประกาศนียบัตร สงสารคนงาน รับรางวัลเซฟตี้ดีเด่น ได้ใบประกาศไปใบหนึ่ง พอถึงบ้าน พ่อๆ ได้อะไรมา พ่อบอก นี่งัย กระดาษนี่ เอาไป(แดก) มันไม่ใช่ง่ะ ให้รางวัลไม่ตรงความต้องการ แรงจูงใจมันไม่เกิด กูรู้ ไม่ให้โบนัสแต่ให้ใบประกาศ เพราะพวกมึงขี้ตืด อย่ามาอ้างส่งเดช ไอฟาย (ต้องให้หลวงพี่สั่งสอนอีกสองป๊าบ ไอ้พวกนี้)

 
ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมอย่างชัดเจน จะทำให้เราแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสุดท้ายแล้ว พฤติกรรมที่ปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในองค์กร ก็จะทำให้เกิดสภาพหรือบรรยากาศการทำงานที่คนหมู่มากทำตามๆกัน อย่างปลอดภัย เหมือนอย่างเรื่องลิงห้าตัว ไว้วันหลังจะมาขยายความตรงนี้ต่อ วันนี้เอาไว้แค่นี้ก่อน
 
ษมน รจนาพัฒน์
December 18, 2014
 
 
 
 
 
 
 

 


ติดคุกเพราะชำนาญการ

 พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มีข้อกำหนดมากมายหลายมาตรา รับกันมาเป็นทอดๆ ไล่ไปตั้งแต่มาตรา 4 ที่เ...